26 ก.พ. 2019 เวลา 00:00 • การศึกษา
ถอดบทเรียนจากการสูญพันธุ์ครั้งที่ 3 (The third mass extinction) สู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น !!!
1
ซากฟอสซิลไครนอยด์ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำสมัยนั้นพบทางตะวันตกของออสเตรเลีย
เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่โลกได้บันทึกไว้จากการคำนวณการเกิดของนักวิทยาสตร์ (Extinction event) มีทั้งหมด 5 ครั้ง แต่ละครั้งสร้างความเสียหายกับสิ่งมีชีวิตบนโลก นำมาสู่การสูญพันธุ์ด้วยสาเหตุแตกต่างกัน แต่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 3 ในยุคเพอร์เมียนนั้น สาเหตุเกิดจากอะไรและเราสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากเหตุการณ์นั้น ก่อนที่จะนำไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 (The sixth mass extinction)
Cr. The matter
การสูญพันธุ์ครั้งที่ 3 นั้นย้อนกลับไปเมื่อ 250 ล้านปีก่อน ในยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian–Triassic )ในตอนนั้นโลกมีอาการโคม่า หายใจโรยริน สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลสูญพันธุ์ไปกว่า 96% ส่วนทางบกหาหลักฐานประกอบได้ยากกว่า แต่คาดว่าน่าจะพอๆกัน นักวิทยาศาสตร์ทำแบบจำลองรูปแบบการสูญพันธุ์ครั้งนั้น พบว่าสัมพันธ์โดยตรงกับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งตอนนั้นเกิดจากการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟในไซบีเรีย แล้วการเกิดของภูเขาไฟส่งผลกระทบอะไรต่อ?
1
การปะทุของภูเขาไฟครั้งใหญ่ Cr. Julio Lacerda
หลังจากการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่และยาวนาน นอกจากลาวาจะไหลออกจากปล่อง และไหลลงสู่พื้นดินแล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็ถูกปล่อยออกมาอย่างมหาศาลในชั้นบรรยากาศเช่นกัน ก๊าซในชั้นบรรยากาศจะดักจับความร้อน มีผลทำให้ในมหาสมุทรอุณหภูมิเพิ่มขึ้นราว 7 องศาเซลเซียส และเกิดฝนกรด ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตจำนวนมากสูญพันธุ์อย่างรวดเร็ว
สัตว์น้ำตายไปกว่า 90% Cr. Julio Lacerda
เมื่อโลกร้อนขึ้น มหาสมุทรจะยิ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำลง เนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำสูงขึ้น ซึ่งน้ำร้อนดูดซับออกซิเจนได้น้อยกว่าน้ำเย็น
จนนำไปสู่การสูญพันธุ์ที่พืชและสัตว์เกือบจะหมดโลกเลยที่เดียว
Synapsid Lystroeaurus รอดตายในยุคนั้น และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ในยุคถัดมา Cr. Julio Lacerda
จะเห็นได้ว่า สาเหตุสำคัญคือการมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น เมื่อเทียบกับตอนนี้คือการเกิดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse effect) นำมาสู่การเกิดสภาวะโลกร้อน (Climate change) และในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ระดับก๊าซออกซิเจนในมหาสมุทรลดลงไปแล้ว 2% อุณหภูมิผิวน้ำสูงขึ้น ส่งผลให้ในบางพื้นที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นกรดเพิ่มขึ้น ได้จากก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO₂) ในอากาศ ละลายลงในทะเล เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับน้ำ จะเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก (H₂CO₃) ทำให้น้ำทะเลเป็นกรดเพิ่มขึ้น
ภาพแผนที่โลกแสดงความเป็นกรดของน้ำทะเล ยิ่งสีเหลืองจะเป็นกรดมาก Cr. printerest
แม้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเราจะเทียบไม่ได้กับการระเบิดของภูเขาไฟครั้งประวัติศาสตร์ แต่ในปัจจุบันอัตราการปล่อยของคาร์บอนไดออกไซด์รายปีสูงกว่าปลายยุคเพอร์เมียน และหากเราใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจนหมดเกลี้ยง อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะร้อนขึ้นกว่า 8 องศาเซลเซียส ภายในปี 2300...
ซึ่งคาดกันว่าในยุคปัจจุบันนอกจากสิ่งมีชีวิตจะต้องเผชิญกับสภาวะโลกร้อนแล้ว ผลกระทบด้านอื่นๆ ก็อาจนำมาสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อีกครั้ง หลังจากผ่านมากว่า 65 ล้านปี ตั้งแต่หมดยุคไดโนเสาร์ จนทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครองโลกในปัจจุบัน....
การสูญพันธุ์เป็นเรื่องปกติของสิ่งมีชีวิต เพราะ ทุกๆ วันก็จะมีสัตว์หรือพืชสายพันธุ์เกิดใหม่ และมีสายพันธุ์ที่ค่อยๆหายไปในเวลาเดียวกัน ที่เรียกว่า "Background Extinction" คือในรอบ 100 ปี จะมีสายพันธุ์หายไปไม่เกิน 1 ใน 10,000 สายพันธุ์
แต่ในปัจจุบัน สิ่งมีชีวิตอาจสูญพันธุ์มากกว่าที่จะเกิดชนิดพันธุ์ใหม่ แต่สิ่งมีชีวิตชนิดนึงที่น่าจะอยู่เป็นกลุ่มสุดท้ายก็คือ มนุษย์ ถ้าเราจะรอให้ถึงวันนั้นเท่ากับว่าเรากำลังนับถอยหลังสู่การสูญพันธุ์ของมนุษยชาติอย่างสมบูรณ์เหมือนกับชนิดอื่นๆ เรามาเริ่มช่วยกันคนละเล็กละน้อย ช่วยลดโลกร้อนในวันนี้ อาจจะไม่มาก แต่ถ้าทำกันหลายๆคน อาจจะพอช่วยชะลอการเกิดหายนะนี้ลงได้ครับ...
นกอ็อกใหญ่ อยู่บนหนังสือ "ประวัติศาสตร์นับศูนย์: สู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6"ชะตากรรมตัวสุดท้ายตายอย่างน่าสงสารเพราะถูกกล่าวหาเป็นนกปีศาจ จนทำให้มันถูกรุมฆ่าที่ประเทศ ไอซ์แลนด์ (ไว้วันหลังจะมาเล่าให้ฟัง)
Cr. The New York Times
The Matter
ToxicAnt
Wikipedia
The Sixth Extinction
1
โฆษณา