17 ก.พ. 2019 เวลา 06:23
เคยสงสัยไหมว่า ยาแก้แพ้แต่ละตัวมันต่างกันไหม ? แล้วจะใช้แบบไหนดี ?
โพสนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับยาแก้แพ้ในแบบเข้าใจง่ายๆ โดยเภสัชกร Youcare
ยาแก้แพ้สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มครับ
1. ยาแก้แพ้กลุ่มเก่าหรือกลุ่มที่ออกฤทธิ์ง่วงซึม (conventional antihistamines)
2. ยาแก้แพ้กลุ่มใหม่หรือกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม (non-sedating antihistamines)
1
.
ยาแก้แพ้กลุ่มเก่าหรือกลุ่มที่ออกฤทธิ์ง่วงซึม (conventional antihistamines) สาเหตุที่ทำให้ง่วงซึ่มเนื่องจากยาสามารถซึมผ่านเข้าสมองและระบบประสาทได้ ยาในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กัน เช่น chlorpheniramine (CPM),
brompheniramine (มักผสมในยาลดน้ำมูกเด็ก), hydroxyzine (ในขนาดสูงใช้เป็นยาช่วยผ่อนคลาย),
diphenhydramine (สามารถใช้เป็นยาแก้ไอได้), dimenhydrinate (ยาแก้เมารถ),
ketotifen (รักษาและป้องกันภูมิแพ้ได้)
1
ยากลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ได้หลายอย่าง ทั้งแก้แพ้ต่างๆ น้ำมูกไหล แก้คัน ผื่นลมพิษ แก้ไอ(จากอาการระคายคอ) แก้เมารถ ช่วยให้ผ่อนคลาย เนื่องจากยาสามารถซึมผ่านเข้าสมองได้ทำให้สามารถออกฤทธิ์เหล่านี้ได้
ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้นอกจากง่วงซึมแล้วยังทำให้เกิดอาการปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ไม่สบายทางเดินอาหาร ดังนั้นไม่ควรทานยาในกลุ่มนี้ขณะขับรถ หรือทานร่วมกับการดื่มสุรา หรือยาที่ออกฤทธิ์ง่วงซึมอื่นๆ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจากผลข้างเคียงของยาที่เพิ่มขึ้นได้
คนชรา ผู้ป่วยที่มีการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและสมอง ควรระวังการใช้เนื่องยาจากผ่านสมองได้ รวมถึงหญิงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้เนื่องจากยาสามารถซึมผ่านน้ำนมสู่ทารกได้
ยากลุ่มนี้มักออกฤทธิ์สั้นประมาณ 6-8 ชม. ทำให้ 1 วันอาจต้องทาน 3-4 ครั้ง
สรุป : ยากลุ่มนี้เหมาะกับคนที่ต้องการฤทธิ์ง่วงซึม หรือฤทธิ์เสริมอื่นๆเช่น ช่วยให้ผ่อนคลาย เมารถ แก้ไอ(จากการระคายคอ) แต่ต้องระวังไม่ทานเวลาขับรถ ดื่มสุรา หรือกำลังทานยาที่มีฤทธิ์ง่วงซึมอยู่
.
ยาแก้แพ้กลุ่มใหม่หรือกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม (non-sedating antihistamines) ยากลุ่มนี้ไม่ทำให้ง่วงซึมหรือง่วงซึมน้อยเนื่องจากยากลุ่มนี้ถูกออกแบบโครงสร้างมาให้ผ่านเข้าสมองได้น้อยมาก ทำให้ไม่เกิดการง่วงซึม ยาในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้เช่น
Cetrizine, Loratadine, Fexofenadine เป็นต้น
ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพแก้แพ้ แก้คัน ผื่นลมพิษได้ดีไม่ต่างจากยากลุ่มเก่า แต่สำหรับผื่นลมพิษจากงานวิจัยพบว่า ยา cetrizine สามารถลดผื่นลมพิษได้เร็วที่สุดในยากลุ่มเดียวกัน เพราะยาออกฤทธิ์ได้เร็ว แต่ยากลุ่มใหม่นี้จะลดอาการเมารถ อาการน้ำมูกไหล ได้ไม่ดีเท่ากลุ่มเก่า และไม่มีฤทธิ์ช่วยผ่อนคลายเหมือนยากลุ่มเก่า
ยากลุ่มใหม่จะ "ไม่พบ" ผลข้างเคียงปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ไม่สบายทางเดินอาหาร
แต่ ! ยากลุ่มนนี้ต้องใช้อย่างระวังในผู้ป่วยโรคตับ ไต และโรคหัวใจบางชนิด เนื่องจากอาจทำให้โรคร้ายแรงขึ้นได้
ยากลุ่มใหม่สามารถออกฤทธิ์ได้ยาวกว่ายากลุ่มเก่า โดยสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 12-24 ชม. ทำให้ 1 วัน ทานเพียง 1-2 เม็ด ทำให้สะดวกต่อการใช้มากกว่า และในปัจจุบันมีการดัดแปลงโครงสร้างยาบางตัวในกลุ่มนี้ให้จับสารก่อภูมิแพ้ได้ดีขึ้น ให้ผ่านเข้าสมองได้น้อยลง และออกฤทธิ์ยาวขึ้น เช่น ยา Desloratadine (Aerius) Levocetrizine (Xyzal) เป็นต้น
1
สรุป : ยากลุ่มนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการฤทธ์ง่วงซึมและไม่ชอบทานยาหลายๆครั้ง แต่สำหรับอาการน้ำมูกไหล เมารถ ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ได้ได้ไม่ดีเท่ากับยากลุ่มเก่านะครับ ข้อดีอีกอย่างคือ ไม่มีผลข้างเคียงพวกปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ไม่สบายทางเดินอาหาร แต่ต้องระวังในผู้ป่วยโรคตับ ไต และหัวใจบางชนิด และใครที่ต้องการยาที่ออกฤทธิ์ได้ดีและยาวขึ้น ก็มียาพัฒนาใหม่อย่าง Desloratadine (Aerius) Levocetrizine (Xyzal) ให้เลือกใช้กัน แต่ราคาอาจสูงหน่อยครับ
Special tip : สำหรับเด็กเล็กที่อายุยังไม่ถึง 2 ปี แนะนำให้ใช้ยา Desloratadine (Aerius) ครับ เพราะยาไม่ดูดซึมเข้าสมองและมีการศึกษาวิจัยความปลอดภัยในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี
ซื้อยาแก้แพ้ทุกครั้งอยากได้ยาที่ตรงอาการ ตรงความต้องการและปลอดภัย อย่าลืมปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยาทุกครั้งนะครับ :)
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ใน comment ได้เลยครับ
Youcare เภสัชกรประจำตัวคุณ
#wecareyou #เภสัชBlockdit
ภก.กฤษณ์ พรหมปัญญา
โฆษณา