17 ก.พ. 2019 เวลา 14:56 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วิเคราะห์อัลกอริทึ่มของ Blockdit (ตอนที่2)
ภาพ: sageisland.com
หนึ่งเดือนผ่านไปหลังจากผมโพสบทวิเคราะห์อัลกอริทึ่มของ Blockdit ไว้ในลิงค์ด้านล่าง
ผมอยากจะแชร์สิ่งที่ผมสังเกตเห็นเพิ่มเติม หลังจากการใช้ Blockdit ทั้งในฐานะที่เป็นผู้อ่านและผู้เขียนบทความครับ
สำหรับผู้เขียนบทความที่สร้างแอคเค้าท์ในรูปแบบ "เพจ" ทำยังไงบทความของคุณถึงจะได้ดาว?
ต้องขอออกตัวก่อนว่า ข้อสังเกตด่านล่างนี้เป็นความคิดเห็นของผมจากการใช้งานจริง ผมอาจจะคิดผิดหรือถูกก็ได้
ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการได้ดาวของเพจ ดังนี้
1. ทาง Blockdit ให้โอกาสผู้เขียนในการ “ได้ดาว” จากโพสแต่ละโพสเพียง 1 วัน หรือ 24ชม. หลังจากผู้เขียนโพสบทความนั้นๆ
หลังจาก1วันผ่านไป แถบพลังของดาวจะเปลี่ยนสีจาก “สีน้ำเงิน” เป็น “สีดำ”
แม้ว่าจะมีคนมาคลิกไลค์ หรือกดติดตาม หรือแชร์บทความนั้นๆ ภายหลังจากแถบพลังของดาวเปลี่ยนเป็นสีดำแล้ว แถบพลังของดาวก็จะไม่สามารถเพิ่มหรือลดได้อีก
2. จากการสังเกต หลังจากผู้เขียนโพสบทความไปแล้วเกิน 6ชม. ถ้าบทความนั้นยังไม่ได้ดาว โอกาสที่บทความนั้นจะได้ดาวจะต่ำมาก
3. แถบพลังของดาวสามารถลดได้ ถ้าค่า Engagement per Reach ต่ำกว่าค่าที่ระบบกำหนดไว้ หมายความว่า แม้บทความนั้นจะมีคนมาอ่านเยอะ แต่ถ้าผู้อ่านจำนวนมากไม่กด “Like” หรือกด “ติดตาม” หรือกด “แชร์ หรือ แสดงความคิดเห็นใต้บทความนั้น แถบพลังของดาวก็จะค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ
1
ผมเคยเห็นบทความหนึ่งของผมที่แถบพลังของดาวขึ้นไปถึง 90% แล้ว แต่สุดท้ายแถบพลังกลับค่อยๆลดลงจนโพสนั้นไม่ได้ดาวก็มี
1
หากคุณผู้อ่านอยากที่จะสนับสนุนผู้เขียนบทความที่คุณชื่นชอบ ผมแนะนำให้คุณผู้อ่านเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับบทความนั้นเยอะๆ เช่น กด Like กดแชร์ หรือกดติดตาม หรือเข้าไปโพสคุยกัน ผมคิดว่าการได้ดาวเป็นสิ่งที่ช่วยหล่อเลี้ยงกำลังใจให้ผู้เขียนทุกท่านได้เป็นอย่างดี
สำหรับตัวผมเองในฐานะที่เป็นผู้อ่านคนหนึ่งด้วย ผมจะพยายามเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับบทความของนักเขียนที่ผมชื่นชอบครับ
4. ทาง Blockdit เคยประกาศชัดเจนว่า หากมีการก็อปปี้บทความหรือรูปภาพมาจากแหล่งอื่น “เป็นส่วนใหญ่” แม้ว่าบทความนั้นจะได้ดาว แต่ผู้เขียนบทความจะไม่ได้เงินจากโพสติดดาวนั้น
5. เพจที่มียอดผู้ติดตามสูงกว่า จะมีโอกาสได้ดาวมากกว่า เนื่องจากค่า “Engagement” จะแปรผันตามจำนวนครั้งที่ผู้อ่านมีปฏิสัมพันธ์กับบทความนั้นๆ
แต่อย่าลืมว่าคุณภาพของบทความนั้นๆก็เป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าเพจของคุณจะมียอดผู้ติดตามสูงแต่ถ้าคุณเกิดเหลิงและผลิตงานไร้คุณภาพออกมา
ผู้อ่านก็จะเข้ามามีปฏิสัมพันธ์น้อย ทำให้ค่า “Engagement” ต่ำส่งผลให้บทความนั้นไม่ได้ดาวในที่สุด
6. แม้ว่าบางบทความของคุณจะถูกคนกด Report หลายๆครั้งว่าผิดกฎ (คุณสามารถเช็คดูได้ที่ค่าสถิติ “Negative Feedback”) มันไม่ได้แปลว่าบทความของคุณจะถูกทีมงาน Blockdit ลบทิ้งเสมอไป เพราะทางทีมงานมีกระบวนการในการพิจารณาว่าบทความนั้นผิดกติกาหรือไม่
7. การลบความคิดเห็นใต้บทความที่คุณเห็นว่าไม่เหมาะสม จะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อค่า “Engagement” เนื่องจากระบบจะเก็บค่าสถิติไว้ตั้งแต่แรกแล้ว
1
มาถึงตอนนี้ ผมขอพักไว้เท่านี้ก่อนครับ ไว้ว่างๆผมจะมาแชร์อีกในตอนต่อไป
ติดตาม​ Netflix Addict จากช่องทางอื่นและแวะมาพูดคุยกันได้ที่​ Facebook: https://www.facebook.com/netflixaddict1
โฆษณา