23 ก.พ. 2019 เวลา 00:53 • การศึกษา
ทำไมเต่าทะเลถึงกลับมาวางไข่ที่หาดเดิม!!!
สภาวะโลกร้อนมีผลทำให้อัตราส่วนของเพศเปลี่ยนแปลงไป Cr. NG
เต่าทะเล (Turtle) พบได้ทั้งหมด 7 ชนิด อาศัยบนโลกมานานกว่า 110 ล้านปี ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ ลักษณะเด่นคือมีกระดองด้านหลัง ไม่สามารถหดหัวและขาในกระดองได้ ว่ายน้ำได้ในระยะไกลจากชายฝั่ง วางไข่ตามชายฝั่งทั่วโลกแล้วแต่ชนิด แต่ละพื้นที่ หลังจากนั้นลูกเต่าฟักตัวออกจากไข่ที่แม่เต่าฝังไว้ในหลุมบนชายหาด ก็จะมุ่งสู่มหาสมุทรอันกว้างใหญ่กินแพลงก์ตอน กินสัตว์น้ำเล็กๆ เพื่อเติบโต ใช้ชีวิตในมหาสมุทร แหวกว่ายไปตามกระแสน้ำ เมื่อถึงวัยผสมพันธุ์ ตัวเมียจะกลับมาที่เดิม เมื่อสมัยมันออกจากไข่จากหลุม พร้อมๆ กับพี่น้องของมัน เพื่อวางไข่ หลังจากนั้น แม่เต่าก็กลับสู่ทะเล ว่ายไปหลายร้อยหลายพันกิโลเมตร ทุก 2-3 ปี มันก็จะกลับมาที่หาดเดิม เพื่อวางไข่เช่นเดิม แล้วเต่าจำเส้นทางเหล่านี้ได้อย่างไร?
อุณหภูมิที่แตกต่างระหว่างไข่เต่ากับทราย ทำให้เราทราบว่าไข่ฟักหรืออาจตายทั้งหมด ในช่วงวันที่20-40วันแรกหลังแม่เต่าวางไข่ อาจเป็นตัวกำหนดเพศเต่าได้ ถ้าอุณหภูมิ>29.2 องศา โอกาสจะเป็นตัวเมีย>ผู้ ในเต่ามะเฟือง
จากงานวิจัยในปี 2015 นักวิทยาศาสตร์พบว่า เต่าหัวค้อน (Loggerhead sea turtle) ใช้สนามแม่เหล็กโลกทำให้มันรู้ว่าชายหาดไหนคือ บ้านเกิดของมัน เนื่องจากการการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กกับตำแหน่งชายหาดที่มันวางไข่ ในรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเคลื่อนที่(สนามแม่เหล็ก)ตรงกัน โดยดูจากความหนาแน่นของหลุมฝังไข่ในหาดนั้นๆ และหาดใกล้เคียง ซึ่งแต่ละชายหาดนั้นมีสัญลักษณ์ทางสนามแม่เหล็ก (เหมือนลายเซ็นต์เฉพาะ) ที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ทำให้เจ้าเต่าน้อยจะจดจำไว้ เป็นเข็มทิศภายในสมอง และสนามแม่เหล็กโลกนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ดังนั้น เต่าทะเลจึงใช้ลักษณะสนามแม่เหล็กเพื่อกลับมาที่เดิม
การใช้สนามแม่เหล็กของเต่าทะเล เพื่อใช้เป็นการนำทาง เปรียบเสมือนการใช้เข็มทิศของนักเดินเรือสมัยก่อน
การที่เต่ากลับมาที่เดิม แม่เต่าก็มั่นใจได้ว่า ลูกๆ จะโตได้อย่างปลอดภัย อย่างที่ตนเคยโตมา แม้จะไม่เคยพบหน้าแม่มันก็ตาม เพราะแม่เต่าจะเลือกชายหาดที่นิ่ม มีอุณหภูมิที่เหมาะสม เพราะอุณหภูมิเป็นตัวกำหนดเพศของเต่า และมีผู้ล่าน้อย จากผลการศึกษานี้ แนะนำว่า อย่านำกรงเหล็กไปครอบหลุมไข่ เพราะอาจไปรบกวนระบบตรวจหรือจำสนามแม่เหล็กของลูกเต่า การป้องกันไม่ให้สร้างโรงแรม บ้านคนในพื้นที่ล่อแหลม สาเหตุที่พวกลูกเต่าตรวจจับสนามแม่เหล็กได้ คาดกันว่า ในสมองมันมีอนุภาคเล็กๆคล้ายเซ็นเซอร์ที่เป็นแม่เหล็กอยู่...
ปกติลูกเต่าทะเลจะเกิดตอนรุ่งสาง บางครังอาจถึงเช้า ไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาเดียวทั้งหมด ก่อนเกิดหลุมจะยุบตัวลง หลังจากนั้นเต่าจะเจาะเปลือกไข่มุดทราย โผล่มาที่ละ 2-3 ตัว แล้วรีบเดินมุ่งหน้าสู่ทะเล
ปัจจุบัน เต่าทะเลประสบปัญหาหลายอย่าง มีการประเมินกันว่า มีลูกเต่าแค่ 1% จากทั้งหมดในรังหลังจากฝักไข่ มีชีวิตรอดอยู่ในทะเล เติบโตเป็นตัวเต็มวัย สืบสายพันธุ์ให้รุ่นต่อๆไปได้เท่านั้น พี่น้องที่เหลือของมัน บางตัวตายก่อนที่จะได้ลงน้ำทะเลเพราะเป็นเหยื่อของผู้ล่าในธรรมชาติ แต่จำนวน 1% ที่รอดและเติบโตกลับต้องเจอกับขยะพลาสติกที่ไหลลงสู่มหาสมุทรในแต่ละปีกว่าล้านตัน เพราะอาหารเต่าคือ แมงกระพรุน (Jellyfish) มีลักษณะตัวใสๆ คล้ายกับถุงพลาสติก เต่าทะเลเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแมงกระพรุน หลังจากเต่ากินเข้าไป ถุงพลาสติกไปติดกับทางเดินอาหาร ทำให้มันไม่สามารถกินอาหารได้อีกและตายในที่สุด....หรือเศษพลาสติกบางชนิดเข้าไปติดพันตามร่างกายทำให้มันเคลื่อนที่ไม่สะดวก ว่ายน้ำจนอ่อนแรงแล้วตายอย่างทรมาน
ช่วยกันลดใช้ถุงพลาสติก เพื่อช่วยชีวิตของเต่ากัน...
Cr. National Geographic
Livescience
Defender
วิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย
Thon Thamrongnawasawas
โฆษณา