18 ก.พ. 2019 เวลา 06:49 • ธุรกิจ
==Stay The Course - The story of Vanguard and the Index Revolution by Jack Bogle ==
หนังสือเล่ม (น่าจะ) สุดท้ายของ Jack Bogle ก่อนที่เค้าจะเสียชีวิตเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาค่ะ เล่มนี้ออกมาประมาณเดือนกันยายน 2018 ไม่ใช่การสรุปหนังสือทั้งหมดนะคะ เเค่อยากจะหยิบบางส่วนที่น่าสนใจมาเล่าเฉยๆค่ะ
The search for winning fund managers is a tough and ultimately unrewarding strategy for the vast majority of investors.”
-John C. (Jack) Bogle -
Jack Bogle (หรือชื่อจริงคือ John Clifton Bogle) ค่ะ Jack เขียนคำนำหนังสือไว้เมื่อวันที่ 1 กันยายนปีที่แล้ว (2018) เล่าว่า เค้าเขียน “Stay The Course” ขึ้นมาเพื่อย้ำว่าการลงทุนไม่ว่าจะเป็นใน กองทุนดัชนี หรือหุ้นก็ตาม เราต้องลงทุนเป็นระยะยาว ถือเอาไว้นานๆ อย่าไปหวั่นไหวกับความผันผวนรายวันของตลาดหุ้น (stay the course แปลว่า keep going strongly to the end of a race or contest)
“The First Index Investment Trust” ชื่อเดิม ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น “Vanguard 500 Index Fund” ตารางนี้บอกเราว่า ถ้าเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน $500 เหรียญ ตอนที่เริ่มมีกองทุนในปี 1977 เเล้วเติมเงินเเบบ DCA ไปเรื่อยๆ $100 ทุกเดือน ผลตอบแทน ณ. สิ้นปี 2017 จะเป็นดังนี้ค่ะ Vanguard เป็นกองทุนที่มีขนาด US$ 5 Trillion บริหารเงินให้ลูกค้า 20 ล้านราย ดำเนินงานด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด คือเก็บแค่ at-cost basis เพราะวางโครงสร้างไว้แตกต่างจากกองทุนอื่นๆ ทั่วๆไป
Jack Bogle เริ่มเล่าตั้งเเต่สมัยเป็นนักเรียนทุน ไปเรียนในโรงเรียนประจำทึ่ Blair Academy, New Jersey ช่วงนั้นประมาณปี 1945 พบจบเเล้วมาได้ทุนต่อที่ Princeton university เค้าเป็นนักศึกษารุ่น 1951 เเต่เรื่องมันเริ่มตอนที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่หาเรื่องทำไม่ได้ จนได้ไปอ่าน Fortune magazine ที่ออกมาของเดือน ธันวาคม 1949 หน้า 116 เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่อง "Big Money in Boston"น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นแรงบันดาลใจเค้าเลยทีเดียว Big Money in Boston เล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติ, นโนบาย และการดำเนินงานของ Massachusetts Investor Trust (M.I.T) ก่อตั้งในปี 1924 เป็น open-end fund กองแรกและจนถึงปัจจุบันใหญ่ที่สุด เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ Jack เขียนวิทยานิพนธ์ที่ไม่เคยมีนักศึกษาคนไหนเขียนมาก่อน
1951 Welter L. Morgan (Mr. Morgan) ซึ่งเป็นทั้งศิษย์เก่าที่ Princeton และเป็นทั้ง Mentor ในชีวิตการทำงานของเค้า ... พอ Mr. Morgan ได้อ่านวิทยานิพนธ์ของ Jack ก็ชวนเค้ามาทำงานที่ Wellington fund เลย สมัยนั้นกองทุนยังไม่ค่อยใหญ่ ทั้งอุตสาหกรรมมีสินทรัพย์ ประมาณ $2 billion แต่ Jack บอกว่า เค้าเห็นอนาคตเลยว่าอุตสาหกรรมนี้จะโตไปได้อีกและจะมีเม็ดเงินเข้ามาสูงขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้มีสินทรัพย์สูงถึง $ 21 trillion
Wellington fund ลงทุนแบบ balanced fund คือถือพวกหุ้นผสมพันธบัตร บริหารไปเรื่อยๆ แต่อุตสาหกรรมเริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรต 1960s เค้าเรียกมันว่า Go-Go era เป็นยุคที่กองทุนเริ่มเสนอแนวการลงทุนที่หวือหวามากขึ้น เริ่มมีไปลงใน speculative stocks ทำให้กองทุนของเค้าถูกมองว่า หัวโบราณมากเกินไป มันเหมือนกองทุนของ Wellington เป็น bagel ถ้าเคยทานมันจะแบบแห้งๆ แข็งๆ (แต่ Jack บอกว่ามันเต็มไปด้วยสารอาหาร) พออุตสาหกรรมเริ่มมีโดนัทเข้ามา
มันชวนอร่อยกว่า เพราะว่ามันนุ่มนิ่ม สีสันสดใส รสชาติหวานถูกใจ
Fidelity ก็เป็นหนึ่งในผู้นำของยุค Go-Go era ที่ทำให้กองทุนเหล่านั้นกลายเป็น “เหมืองทอง” ของผู้จัดตั้งกองทุน .. แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน บางกองถึงกับส่อแววพิรุธในการรายงานผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม บางครั้ง Jack ถึงกับสงสัยเลยว่านี่ใช่ของจริงแน่หรือ?
เค้ายกตัวอย่างกอง Enterprise Fund ที่เพิ่งจะจัดตั้งกองทุนในปี 1967 แต่กลับมี return สูงถึง 117% และพอสิ้นปี 1968 มีสินทรัพย์เพิ่มเป็น $950 million … แต่ว่าพอถึงปี 1977 สินทรัพย์ของกองทุนลดลง 84% คือเหลือไม่ถึง $150 million แถมกระแสเงินสดติดลบถึง 22 ปี จากระยะเวลาดำเนินงาน 25 ปี (1970-1994) สุดท้ายก็ต้องปิดกอง ออกจากตลาดไปในปี 2011
กลับมาที่ Wellington ความฮอตของหุ้นหวือหวาตอนนั้นทำให้ market share ของพวกกอง balanced fund ลดลงอย่างน่าใจหาย ลดลงจาก 1955 = 40%, 1965 = 17%, 1970 = 5%, 1975 = แทบจะเหลือ 1%
Mr. Morgan ก็เรียก Jack มาคุยว่า เราจะเอายังไงดี เราเริ่มอยู่ไม่ได้แล้วนะ (ตอนนั้นปี 1965 เค้าอายุ 35 ปี) Mr. Morgan บอกว่า “Jack, I want you to take charge and do whatever it takes to solve our problems” มันเป็นอะไรที่เค้าจำได้ดีจนถึงวันนี้ (วันที่เขียนหนังสือ) ประมาณว่าเป็นการบอกกลายๆว่าเค้าจะต้องเป็นผู้สืบทอดต่อจาก Mr. Morgan ... ในที่สุด Jack ก็ตัดสินใจ ทางรอดคือต้องไป merge กับ fund firm อื่น ตอนนั้นเค้าคัดมา 3 ที่ เลือกเอาที่แบบงบการเงินแข็งแกร่ง แล้วก็ยื่นข้อเสนอไปทุกแห่ง
1) เป็น American Funds group ของ LA ที่ดูแลสินทรัพย์ประมาณ $1 billion (สมัยนั้นกองนี้จัดเป็นอันดับที่ 5 มีสินทรัพย์ประมาณ 3% ของอุตสาหกรรม )
2) เป็น กอง stand alone ใน Boston ชื่อ Incorporated Investors ซึ่งต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของ Putnam fund complex
3) เป็น Franklin Custodian Funds เป็นกองเล็กๆ ซึ่งตอนนั้นมีสินทรัพย์เพียง $ 17 million เท่านั้น ..ทุกวันนี้เรารู้จักกันในชื่อ Franklin Templeton Investments มีสินทรัพย์ประมาณ $415 billion ในปี 2018
ผลของการเสนอ merger proposal ไปคือทุกที่ปฏิเสธเค้าหมด!
สุดท้ายอยู่ๆเค้ามาได้ที่ Thorndike, Doran, Pain & Lewis, Inc.ซึ่งเป็นบริษัทเล็กๆใน Boston มี partners 4 คนเป็นเจ้าของ แต่มีทำกองประเภท Go-Go ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ชื่อ Ivest ตอนนั้นมีสินทรัพย์ประมาณ $ 17 million และทำธุรกิจเกี่ยวกับเป็นที่ปรึกษากองทุนบำนาญด้วยค่ะ แล้ว Mr. Morgan ก็อนุมัติการควบรวมในปี 1966
สำหรับชื่อกองทุน Vanguard เค้าได้มาจากหนังสือที่เค้าซื้อมาจากคนขายของเก่า ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ภายใต้การนำของ จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต กลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการทหารโดดเด่นไปทั่วทวีปยุโรป นโปเลียนต้องการจะบุกเกาะอังกฤษเพราะอังกฤษถือเป็นภัยคุกคามสำหรับฝรั่งเศส
อังกฤษมีกองทัพเรือที่ขึ้นชื่อว่าทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก ที่กองเรือฝรั่งเศสเคยพ่ายแพ้มาแล้วอย่างหมดท่า เมื่อเห็นดังนั้นฝรั่งเศสจึงหันไปร่วมมือกับสเปนที่เป็นพันธมิตร ซึ่งกองทัพเรือสเปนก็จัดว่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร เข้าบุกหมายจะตีเกาะอังกฤษ
สิงหาคม 1798 ในการรบที่สมรภูมิแห่งแม่น้ำ Nile ทัพเรืออังกฤษภายใต้การนำของ พลเรือโท ลอร์ดเนลสันผู้ซึ่งบัญชาการรบอยู่บนเรือหลวง Vanguard
(ช่วงนั้นอยู่ภายใต้ ดยุคแห่ง Wellington) นำทัพเรืออังกฤษ 14 ลำ แยกเป็นสอง กอง กองนึงล้อมอยู่ด้านนอก กองนึงแอบล่องเข้าไปตรงกลาง สามารถจมเรือรบของฝรั่งเศสได้ 17 ลำได้สำเร็จ (ดัดแปลงมาจาก Wikipedia และ history today ค่ะ)
Jack พึมพำกับตัวเอง อะไรมันจะเข้ากับชีวิตเราขนาดนี้
นายพลเนลสัน, ดยุคแห่ง Wellington (หมายถึง Mr. Morgan ในบริบทของ Jack) ต้องมาตกอยู่ในสถานการณ์ที่หลังชนฝา ... บัญชาการรบบนเรือหลวง Vanguard... อีกอย่าง Vanguard ก็แปลว่าผู้นำแห่งแนวทางใหม่ด้วย .. อะไรจะลงตัวขนาดนั้น เอาชื่อนี้ละวะ !!
กลับมาที่การควบรวมกับ 4 สหายแห่ง Boston ซึ่งเป็นการให้หุ้นของ Wellington Management Company โดยที่ 4 partners ถือ 40%, ตัว Jack ถือ 28% และที่เหลือเป็น ผถห ในตลาดถือ 32% สมัยนั้น พวกเค้าถูกเรียกว่า whiz kids ช่วงนั้นเป็นช่วงที่หุ้น Nifty-Fifty กำลังมาแรงและไม่มีใครคิดว่าหุ้นเหล่านั้นจะตก ลงมาได้เลย
หุ้นแบบ Xerox, Polaroid, IBM, Avon, Digital Equipment พุ่งขึ้นไปสูงเกินกว่า 50 เท่าของ earning แต่หลังจากที่ฟองสบู่แตกในปี 1973 ไมใช่เพียงเม่าอเมริกันที่ตายเกลื่อน แต่ยังรวมไปถึงผู้จัดการกองทุน, นักลงทุนสถาบัน, บริษัทประกัน, และพวก college endowment funds
เหตุการณ์ดังกล่าว พลอยทำให้ business model ตัวใหม่ของ Wellington เละไปด้วย
สินทรัพย์ของ Ivest หายไปถึง 65% รวมไปถึงเจ้ากอง Go-Go 2 กองที่ทำเอาไว้ก็มีผลประกอบการย่ำแย่ และสุดท้าย failed ไปในที่สุด
ส่วนลูกพี่ once-conversative Wellington (กอง Wellington ที่ครั้งนึงเคยหัวโบราณ) ก็เละเป็นโจ๊กในช่วงปี 1966-1976
1971 Jack เสนอแนวความคิดว่าเมื่อมันเกิด conflict of interest ในการบริหารจัดการกองทุนแบบนี้ เราควรจะเดินหน้า Mutualization ให้เต็มตัว นั่นคือการเสนอให้ funds acquire management company เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุน (หุ้น) เป็นเจ้าของกองทุน และเค้าอยากจะทำให้มันเกิดขึ้นจริงๆ
แต่ในความตลาดหมี ช่วง 1973-1974 ทำให้ partnership ที่ก่อตั้งขึ้นตอนปี 1966 ต้องแยกตัว ช่วงนั้นสินทรัพย์ของ Wellington ที่เคยมีสูงสุดประมาณ $2 billion ในปี 1965 ลดลงมาเหลือไม่ถึง $ 1 billion และต่ำสุดที่ $ 480 million billion ในปี 1975
(คิดดู ว่าจาก 2000 เหลือ 480) ราคาหุ้นจาก $50/share >> $ 4.25/share
ช่วงเวลาแบบนี้... เราต้องหาแพะรับบาป ... แน่นอนว่าทุกคนชี้นิ้วมาที่ Mr. Bogle ทำให้เค้าถูกไล่ออกจาก CEO ของ Wellington Management Company ในวันที่ 23 มกรา 1974 และ Robert W. Doran ถูกโปรโมทขึ้นเป็น CEO มันเป็นช่วงเวลาที่เค้าบอกว่าใจสลาย ... แต่ว่าเค้าเลือกที่จะสู้กลับ ในสมัยนั้นกองทุนจะถูกควบคุมดูแลโดยคณะกรรมการอิสระ ทำให้เค้ายังมีโอกาสสู้
เช้าวันต่อมา เค้าเรียก บรรดา board of directors ของกองทุน Wellington 11 กอง ประชุมกันที่นิวยอร์ค เสนอว่าเราควรจะประกาศตัวเป็นอิสระ จาก Wellington Management Company แล้วจะทำการ mutualize กลุ่มกองทุน 11 กองของพวกเค้า เพื่อที่จะมาทำกันเองแบบ “at-cost” basis ซึ่ง Jack บอกว่ามันจะเป็นการ disrupt อุตสาหกรรมกองทุน เพราะไม่เคยมีใครทำมาก่อน แม้แต่ New York Times ยังไม่เข้าใจเลยว่า อะไรกำลังเกิดขึ้น ... วันที่ 14 มีนา 1974 New York Times ลงข่าว “Ex-Fund Chief to Come Back”
แต่ว่าในประชุมครั้งนั้นบรรดา board of directors ของกองทุน Wellington กลับขอให้เค้าไปคิดดีกว่าเราจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไง ช่วงนั้นมันเป็นเหมือนสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่าง กลุ่มของกองทุน, CEO (Jack), และ Wellington Management Company เค้าไปทำร่างเสนออยู่หลาย options แต่แน่นอนว่าเค้าค่อนข้างเอนเอียงไปทาง mutualization การดำเนินงานของกลุ่มกองทุน โดยการซื้อ Wellington’s mutual funds กลับมาทำกันเอง แทนที่จะไปพึ่ง Wellington Management Company
แต่เพราะว่าขอเสนอของเค้าไม่เคยมีใครทำมาก่อน ทำให้ กลต. สหรัฐเองก็ไม่ค่อยแน่ว่าเค้าจะทำมันยังไง สุดท้ายก็จบลงที่ประมาณว่า the Wellington funds จะต้องตั้งบริษัทในเครือขึ้นมาบริหารจัดการกองทุน โดยที่มี Jack เป็น CEO โดยนิยามของการบริหารจัดการนั้น .. ทำได้แค่ financial affairs, share holder recordkeeping, legal & compliance, handling share purchases & redemptions
ประมาณว่าบริษัทใหม่ที่เค้าจะเข้าไปทำได้นั้นถูกจำกัดสิทธิ์ และกิจกรรมในการดำเนินงาน (ประมาณว่าเค้าจะถูกจำกัดเรื่องการตลาด การโฆษณา การ distribution การเป็นที่ปรึกษาทางการลงทุน นู่น นี่ นั่น แค่คอยซื้อขายหุ้น หรือหน่วยลงทุน ทำบัญชีรายงานงบได้แค่นั้นค่ะ)
เค้าถึงกับเซ็งไปเลย แล้วไม่เอาแล้วเลิก แต่ Jack บอกว่าเค้ายังโชคดีที่มีบอร์ดคนนึง คือ Charles D. Root Jr. ที่เป็นคนที่เห็นต่างจากคนอื่น และเชื่อมั่นในตัวเค้า
.. Jack ถึงกับบอกว่า ในเวลาที่แย่ๆ ขอแค่มีคนคนเดียวที่เข้าใจ มันก็เปลี่ยนโลกของเค้าทั้งใบแล้ว
Root บอกเค้าว่า ให้ทำต่อ “Jack, you can call the group anything you want. And then go out and make it the finest name in the whole damn mutual fund industry!” จะตั้งชื่อบริษัทอะไรก็ตั้ง แล้วทำให้มันเป็นชื่อที่ดีที่สุดของโลกของกองทุนเลยนะ
ทำยังไง Jack ก็คิดชื่อไม่ออกหรอกค่ะ จนกระทั่งไม่กี่อาทิตย์ก่อนหน้าที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ มีคนขายสิ่งพิมพ์เก่าๆผ่านมาหาที่ออฟฟิศ แล้วเสนอสิ่งพิมพ์และหนังสือที่เกี่ยวกับสงครามนโปเลียน แล้วมีเสนอแถมเรื่องเกี่ยวกับกองเรืออังกฤษเอาชนะฝรั่งเศสได้ในสมรภูมิแห่งแม่น้ำ Nile มาด้วย เค้าก้อเลยซื้อๆมา ... และเค้าก็เริ่มพลิกๆหนังสือดู เหมือนตอนที่เค้าพลิกอ่านหนังสือ Fortune magazine สมัยหาเรื่องทำวิทยานิพนธ์นั่นเอง!
ค่าใช้จ่ายของกองทุนในกลุ่ม Vanguard มีค่า Investment expenses และ operating expenses คิดเป็น 0.02% ในปี 2018 ลดลงมาถึง 94% จากปี 1977 ที่ตอนนั้นก็บอยู่ที่ 0.35% ลองนับดูเล่นๆแล้ว ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนขึ้นมาในปี 1975 จนถึงปัจจุบัน (2018) ผู้ถือหน่วยลงทุนของ Vanguard สามารถประหยัดเงินค่าธรรมเนียมไปได้ถึง $217 billion!!! แม่จ้าว
Paul A. Samuelson ได้รับรางวัลโนเบลจากการวิจัยของเค้า และงานวิจัยของ Paul ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสาร The Journal of Portfolio Management ในเดือนตุลาคม 1974 เรื่อง “The Challenge of Judgement”
Dr. Samuelson could find no “brute evidence” that fund managers could systematically outperform the returns of the S&P 500 Index “on repeatable, sustained basis”
…he demands that someone, somewhere, start an index fund modeled on the S&P 500. “As yet, there exist no convenient fund that aps the whole market, requires no load, and keep commission…fees to the feasible minimum”
ผลงานวิจัยของ Paul ระบุว่า เค้าไม่สามารถหาหลักฐานเพื่อที่จะพิสูจน์ได้ว่าจะมีผู้จัดการกองทุนคนใดที่สามารถบริหารกองทุน แล้วได้ผลตอบแทนชนะ S&P 500 index อย่างเป็นระบบ, ยั่งยืน โดยเป็นผลที่ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องซ้ำได้เลย
Paul บอกว่าต้องการให้มีใครสักคน ที่ไหนก็ได้ในโลก สร้างกองทุนที่เป็น index fund ไปลงแบบ S&P 500 โดยที่เก็บค่าธรรมเนียมให้ต่ำที่สุด ... เชื่อมั้ยคะ ว่า Jack ได้อ่าน paper นี้ไม่กี่วันหลังจากที่เค้าเพิ่งจดทะเบียนจัดตั้ง Vanguard ขึ้นมา .. เรื่องที่ Paul ทำวิจัยก็ไปสอดคล้องกับวิทนานิพนธ์ที่เค้าเขียนเมื่อ 24 ปีก่อน ตอนที่เค้าจะจบจาก Princeton “Mutual fund may make no claim to superiority over the market averages” ในวิทยานิพนธ์ของ Jack เขียนว่า ไม่มีกองทุนรวมใดในโลกที่สามารถอ้างได้ว่าทำผลตอบแทนชนะค่าเฉลี่ยของตลาด
หลักฐานคือ Jack ได้รวบรวมสถิติ annual return ของแต่ละกองทุนรวมที่มีอยู่ในสมัยนั้นย้อนไป 30 ปี (1945-1975) เทียบผลตอบแทนกับ S&P 500 เพื่อนำเสนอใน proposal เพื่อขอ board อนุมัติการจัดตั้งกองทุน “The First Index Investment Trust” (ชื่อเดิมของ Vanguard 500 Index Fund)
ผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 Index = 11.3%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมหุ้น = 9.7%
ถ้าใส่เงิน $1,000,000 ลงใน S&P 500 Index จะได้ $25,020,000
แต่ถ้าใสเงิน $1,000,000 ลงในกองทุนรวมหุ้นทั่วไปจะได้ $16,390,000
Board เห็นตัวเลขก็ทึ่ง แต่ยังกังวลว่า Vanguard จะทำได้เหรอ เพราะมีข้อกำหนดที่โดนแบน ห้ามทำนู่น นี่ค้ำคออยู่ Jack บอกว่า ก็ไม่ได้ทำอะไรนิ แค่ไปถือหุ้น 500 ตัวใน S&P 500 Index แค่นั้น
** Jack ได้ลองรัน model ซ้ำอีกทีในปี 2016 ใช้ข้อมูลช่วง 1985-2015 พบว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 Index ยังคงสูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของ actively managed large-cap blend funds อยู่ 1.6 percentage point.
บางตอนของหนังสือ Jack พูดถึงกองทุน Magellan Fund ของ Peter Lynch แห่ง Fidelity
จากที่เคยเล่าถึงมุมมองของ Jack ต่อ Go-Go era ไปแล้วนั้น กองทุนนึงที่ outperform คือ Magellan Fund หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากช่วงฟองสบู่แตกใน Go-Go era กองทุนนี้เปิดขายครั้งแรกปี 1963 แต่ Magellan ทำผลงานได้น่าประทับใจ สามารถเอาชนะ S&P 500 ได้ถึง 22. 5 percentage point ต่อปี ในช่วง 1975-1983 และทำผลงานดีต่อเนื่องอีกช่วง 1984-1993 โดยชนะ S&P 500 ได้ 3. 5 percentage point ต่อปี
แต่หลังจากที่ Peter Lynch ลาออก ผลงานของกองทุนเริ่มถดถอย และเริ่มแพ้ตลาดถึง 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 24 ปีหลังจากนั้น
Magellan ที่เคยมีสินทรัพย์สูงถึง $110 billion ในปี 2000 แต่ถึงปัจจุบัน 2018 เหลือสินทรัพย์เพียง $17 billion (หายไป $93 billion)
Jack ปิดท้ายว่า “He who lives by the sword shall die by the sword.”
** Note ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 ระดับ market share ของ Fidelity เริ่มนิ่งเพราะเข้ามาทำ Index funds ที่คิดเป็น 25% ของ Fidelity ‘s equity fund assets
Jack Bogle ทำสถิติของ market share แต่ละ house ไว้ให้เราดูตามรูปนี้ค่ะ นับช่วงเวลาที่แต่ละ house ถือครองสินทรัพย์สูงที่สุด และจำนวนสินทรัพย์ในปีปัจจุบัน บางกองในเครือของ Vanguard ก็ติดอันดับกองทุนหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งชาติตั้งแต่สมัยก่อน (1985) เลยค่ะ อย่างเช่น Windsor Fund ที่บริหารโดย John Neff
Jack เล่าว่า John Neff เป็นคนที่ทั้ง conservative และ aggressive เพราะ conservative ในแง่ที่จะเลือกหุ้นอย่างพิถีพิถัน
สาย VI แนว contrarian ชัดเจน... ถือรอได้ กว่าตลาดจะให้มูลค่าก็ต้องถืออยู่พักใหญ่
ส่วนเป็นพวก aggressive ในแง่ที่กว่ากล้าทำพอร์ตแบบ concentrate นั่นเอง
Vanguard เป็น mutual fund complex แห่งเดียวที่ใช้ fund ดูแลตัวเอง Jack บอกว่ากองทุนรวมอื่นๆจะทำงานร่วมกับคนนอก
โดยเค้าจะทำกันได้ 3 แบบ คือ
1) privately owned
2) publicly owned หรือ
3) owned โดย domestic หรือ foreign financial conglomerate
ซึ่งแต่ละแบบพยายามที่จะเก็บค่าธรรมเนียมให้สูงที่สุดเพื่อที่จะ maximize profit ให้กับพวกของตัวเอง
เค้าเปรียบเทียบเทียบการออกกองทุนรวมก็เหมือนเด็ก มีพ่อแม่ (management company) คอยดูแลให้โต และออกไปใช้ชีวิต ทำงาน สร้างธุรกิจของตัวเอง แต่กองทุนรวมจะต่างจากเด็กตรงที่จะไม่มีวันเป็นอิสระ และเติบโตด้วยตัวเองได้
เค้ายกตัวอย่าง ความพยายามที่เค้าจะไปทำแบบเดียวกันนี้ให้กองทุนอื่นนะ วันนึงโอกาสที่ Jack รอคอยก็มาถึง ในปี 1994 เมื่อ IBM ซึ่งมีโครงการกองทุนรวมสำหรับพนักงานที่เกษียณ โดยมีบริษัทในเครือชื่อ IBM Credit Investment Management ดูแลอยู่ ตอนนั้นมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ $950 million ทีนี้ IBM ต้องการจะอัพสเกลขึ้นไปเป็นระดับ public เลยต้องการคนมาจัดโดยที่ทาง IBM Credit Investment Management ยังคงเป็นที่ปรึกษาอยู่ โดยทาง IBM ต้องการให้คนที่เสนอราคาสูงสุดเป็นคนดำเนินงาน
พอ Jack รู้ก็เข้าไปเสนอ proposal โดยที่บอกทางบริษัทลูกของ IBM ว่าจะไม่ให้อะไรกับทาง IBM และ และเค้าก็จะเก็บค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดเงินของผู้ถือหน่วยลงทุน (ซึ่งก็คือบรรดาพนักงานของ IBM และคนที่เกษียณไปแล้ว) ได้ถึง $ 1.2 million ในปีแรก และอีกหลายล้านในปีต่อๆไป ... ไม่แปลกในเลยที่ผลสรุปคือ Jack ก็กินแห้วไป ส่วน IBM Credit Investment Management ขายให้กับ Rhode Island’s Fleet Financial group ที่ราคา $ 14 million **Note ว่าตอนหลังกองนี้กลายมาเป็น IBM 401(K) retirement fund ซึ่งเป็น index fund ที่เก็บค่าธรรมเนียมเพียง 0.12% เท่านั้นค่ะ
มีอยู่ 2-3 ประเด็นที่ Jack มองว่าเป็นความท้าทายในอนาคตค่ะ
มันมาจากประสบการณ์ของเค้าที่ทำแต่กองทุนรวมมาตั้งแต่เรียนจบเลย .. ทำมาทั้งชีวิต
เรื่องแรก คือสิทธิการโหวต ด้วยความที่กอง index fund ได้รับความนิยม และขยายตัวขึ้นเรื่อย จากเดิมอยู่ที่ 2% ของ สินทรัพย์ใน equity fund ตอนปี 1987 กลายมาเป็นมีขนาดครึ่งนึง มันทำให้ Wall steet journal ออกมาเขียนบทความว่ากอง index fund ที่เป็นพวก passive fund ไม่ควรจะมีสิทธิ์ มีเสียงในการโหวตในบริษัที่เค้าไปถือหุ้นอยู่
และควรจะยกสิทธิ์การโหวตให้กับพวกกองทุน active funds ... Jack บอก ไร้สาระที่ stock owners ต้องยกสิทธิ์ให้ stock renters แต่เค้าไม่กังวลเท่าประเด็นต่อไป
.
.
ประเด็นต่อไป คือเรื่อง “common ownership” คือมันมี paper นักวิชาการจาก University of Chicago Law School รวมไปถึงจากทุนวิจัยของ Yale ก็ดีระบุว่า กองทุนมักจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของหลายๆบริษัท ทีนี้ประเด็นมันอยู่ที่ว่า
บางกองไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัทที่เป็นคู่แข่งกันในอุตสาหกรรมเดียวกัน .. แล้วพวกกองทุนดันไปห้ามไม่ให้บริษัทมาแข่งกัน (ถือหุ้นใหญ่ไงคะ มีสิทธิ์พูด แสดงความเห็น) ยกตัวอย่างกองเดียวกัน ไปถือหุ้นใหญ่ในหุ้นสายการบิน 2-3 ที่เป็นคู่แข่งกัน แล้ว paper ยังระบุว่า นักวิชาการแนะนำให้กองทุนเลือกถือหุ้นตัวเดียวของแต่ละอุตสาหกรรม ณ. ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าการถือหุ้นใหญ่ของกองทุน ไปกีดกันการแข่งขัน
Jack บอกว่าอันนี้น่าเป็นห่วง เพราะถ้าเกิดใครบ้าจี้ เอาไปออกเป็นกฎหมายจริงจะเกิดปัญหาทันที เพราะว่าจะกองทุนถูกบังคับให้ต้องขายหุ้นบางตัว
เพื่อที่จะเหลือถือหุ้นแค่บริษัทเดียวในแต่ละ sector ซึ่งหุ้นหลายๆตัวเค้าถือมาตั้งนานนนนนแล้ว ทุนคือต่ำมาก แล้วอยู่ๆจะมาบังคับให้ขาย เพื่อต้องเลือก
แล้วกระทบกับผู้ถือหน่วยลงทุนอีก เพราะถ้ากองขายหุ้นออกมา ก็ต้องเสียภาษี อีกอย่างมันจะกระทบกับแนวทางการลงทุนแบบ diversify portfolio อีกด้วยค่ะ
.
.
ต่อมาคือปัญหา Oligopoly ในหมู่กองทุนรวม Jack บอกว่ามันไม่ได้เป็น Oligopoly เพราะว่ามี barrier of entry แต่เพราะค่าธรรมเนียมที่ต่ำมากๆ
ทำให้ไม่ค่อยมีคนอยากเข้ามาทำ เพราะไม่ได้อะไร อย่างตอนนี้แค่ 3 บริษัทแรก ก็กิน market share ไป 80% ของ index fund assets แล้วค่ะ
Vanguard 50%
BlackRock 20%
State Street Global 10%
ทีนี้พอมีผู้เล่นไม่กี่ราย ก็จะเป็นเป้าที่จะโดนคนของทางการเพ่งเล็งได้ นอกจากนี้ Jack ยังพูดถึงกฎหมายที่จะออกมาควบคุมในอนาคตค่ะ แต่ไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้
##
โฆษณา