18 ก.พ. 2019 เวลา 07:35 • ประวัติศาสตร์
ตำนานผีไทย นางไม้ เป็นใคร
นางไม้ ตามความเชื่อของไทย เป็นสตรีสาวสวย ไว้ผมประบ่า ห่มสไบ เฉียงบ่า นุ่งห่มจีบงดงาม ที่สิ่งสถิตย์อยู่ในต้นไม้ใหญ่
แต่นางไม้ในความเชื่อของชาวตะวันตก เรียกว่า "นิมพ์" (Nymph) ซึ่งจะแตกต่างจากนางไม้ โดยนิมพ์มักจะไม่นุ่งห่มเสื้อผ้า จะเป็นผีที่ไม่มีความก้าวหน้าทางด้านการแต่งกาย ซึ่ง นิมพ์ คือสตรีที่เป็นร่างตัวแทนของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติหรือเป็นผู้ติดตามของเหล่าทวยเทพ
หากจะเปิดตำนานนางไม้ที่เล่าขานต่อๆ กันมานั้น ได้อธิบายไว้ว่า
นางไม้ตามความเชื่อของไทยนั้น สามารถแสดงฤทธิ์ ทำให้คนไม่กล้าตัดต้นไม้ เช่น อาจจะร่ายมนต์ ทำให้คนที่ตัดต้นไม้ล้มเจ็บ เป็นไข้ หรือคลุ้มคลั่งเป็นบ้าเสียสติ
นางไม้ที่ปรากฎในภาพวาดหรือนิยาย หรือเรื่องเล่าต่างๆ มักถูกจินตนาการว่า เป็นหญิงสาวสวย ผมยาวสลวยประมาณประบ่า นุ่งผ้าจีบ ห่มผ้าสไบเฉียง
แต่ถ้านางไม้ที่เป็นฝ่ายชายจะเรียกว่า "รุกขเทวดา" ซึ่ง รุกขเทวดาจะประจำอยู่ที่ต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่น ต้นไทร
ส่วนนางไม้ที่เป็นผู้หญิงจะอยู่ต้นไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก ในหลายๆ แห่งชาวบ้านจะผูกผ้าแพร 3 สี ที่ต้นไม้หลังจากที่มีคนเห็น
นางไม้ในความเชื่อของไทย มีทั้งดีและร้าย
นางไม้ที่ดี มักจะปรากฎกายในรูปแบบสวยงาม มาเตือนเหตุเภทภัยให้แก่มนุษย์ ที่ดูแลต้นไม้
ส่วนนางไม้ที่ร้าย จะออกมาหลอกผู้ชายให้หลงใหล แล้วก็เอาไปทำสามี หรือไม่ก็ฆ่าให้เสียชีวิต
ภูตนางไม้ มีหลายประเภท เช่น นางตะเคียน นางตานี ก็คือเป็นนางไม้ เช่นกัน หากเกิดขึ้น โดยธรรมชาติ
แต่ไม่นับที่ว่ามีคนเสียชีวิตโดยผูกคอกับต้นตะเคียน แล้วเกิดมีวิญญาณสิงอยู่ที่ต้นไม้นั้น แบบนี้ไม่ถือว่าเป็น "นางไม้"
นางไม้ มีหลากหลายประเภท ตามชนิดของต้นไม้ที่สิงอยู่ เช่น นางตะเคียน นางตานี เป็นต้น
แต่นางไม้ที่เป็นนางตะเคียน หรือนางไม้ที่ประจำต้นไม้ใหญ่ๆ นั้น ว่ากันว่า มักจะดุร้าย กว่า นางไม้หลายๆ ประเภท เพราะเป็นต้นไม้ใหญ่ อาจเป็น 10ปี หรือเป็น 100ปี ซึ่งแผ่กิ่งก้านสาขาลำต้นสูงใหญ่ ให้ความรู้สึกที่น่าเกรงกลัว
ในสมัยก่อนมีความเชื่อเรื่อง แต่งงานกับนางไม้ โดยเฉพาะทางใต้ เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวเมืองสงขลา เกิดจากเมื่อมีใครไปไหว้ หรือบนบานขอให้นางไม้ช่วยเหลือ เรื่องต่างๆ หากสำเร็จด้วยดี ก็บนบานว่าจะแต่งงานกับนางไม้ด้วย เพื่อเป็นการสังเวยตอบแทนนางไม้
การแต่งงานกับนางไม้ของทางใต้ มีตำนานเล่าว่า มีนางไม้ปรากฎนิมิตให้เห็นหลายครั้งที่ต้นมะม่วงขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง บรรดาชาวบ้าน จึงได้ปั้นรูปหญิงสาวขนาดเท่าคนจริง แต่งกายงดงาม กร้อมเครื่องประดับ สร้างเป็นรูปเคารพไว้ที่ศาล โดยการก่ออิฐเล็กๆ ใต้โคนไม้ พวกชาวบ้าน เรียกว่า เจ้าแม่ม่วงทอง
ตำนานบางเมือง มีการเล่าแตกต่างออกไป ว่า ครั้งหนึ่ง มีธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ถูกโจรจับตัวมา เพื่อปล้นและเรียกค่าไถ่
ระหว่างทางได้ถูกฆ่าจนเสียชีวิต พวกโจรนำศพไปซ่อนอยู่ในโพลงต้นมะม่วงใหญ่ ต่อมาธิดาเจ้าเมืองได้แสดงอิทธิฤทธิ์ อภินิหารให้ปรากฎเนื่องๆ จนชาวบ้านนับถือและทำการบวงสรวง โดยพิธีกรรมบวงสรวงมักมีการฝากตัวและบุตรหลาน ให้เป็นลูกหานของเจ้าแม่อีกด้วย เพื่อให้เจ้าแม่คุ้มครองอย่างดี
เมื่อครอบครัวใดที่ทำพิธีฝากตัวแล้ว ก็ยังต้องทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่ โดยเฉพาะชายที่มีอายุครบบวช พอใกล้ก่อนบวชต้องมาทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่เสียก่อน จะได้ปลอดภัยและเป็นมงคลชีวิตตลอดไป ซึ่งถ้าได้ทำพิธีกรรมแล้ว หลังจากที่ศึกไปแล้ว ก็สามารถไปเข้าพิธีแต่งงานกับสาวอื่นได้ แต่ถ้าชายนั้นมีบุตรคนโตเป็นชายลูกคนนั้น ก็จะต้องเข้ามาทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่สืบแทนบิดา
แต่ถ้าไม่มาทำพิธี รุ่นนั้นจะพบเจอกับอาถรรพ์ต่างๆ
ตำนานนางไม้ ถูกนำมาทำเป็นหนังและละคร หลายเรื่อง หลายเวอร์ชั่น เช่น ละครเรื่องเตียงนางไม้ ทางช่อง 3 และหนังเรื่องนางไม้ ปี 2552 เป็นต้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา