2 มี.ค. 2019 เวลา 00:09 • การศึกษา
ศึกแห่งความอยู่รอดระหว่าง ยีราฟ และ ต้น Acacia ที่มีมาอย่างยาวนาน!!!
Cr.codester
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา ระหว่าง ยีราฟ 🦒 เจ้าของสถิติสัตว์ที่มีความสูงมากที่สุดในโลก กับ ต้นอะคาเซีย 🌳 (ไม้สกุล กระถินในบ้านเรา) ต่อสู้กันมาอย่างยาวนานยิ่งกว่าสงครามครูเสด (Crusades) อีก ณ ตอนนี้ยังไม่มีที่ท่าว่าฝ่ายใดจะยกธงขาวก่อนกัน โดยมีความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์เป็นรางวัล หากเปรียบการแข่งขันนี้เหมือนกีฬามวย นับว่าเป็นมวยถูกคู่และเป็นคู่ปรับกันมาตลอดนับตั้งแต่ทั้งสองฝ่ายได้พบกันที่สังเวียนแห่งนี้ เรามาทำความรู้จักคู่ชกทั้งฝ่ายแดงและฝ่ายน้ำเงิน พร้อมกับประวัติการชกที่ผ่านมา....
Cr. Charite
🔴 เริ่มที่มุมแดง นั่นคือยีราฟ 🦒 ทั่วโลกมีทั้งหมด 4 ชนิด พบในทวีปแอฟริกาทั้งหมด สามารถกินใบและกิ่ง ต้นอะคาเซีย(มุมน้ำเงินที่จะกล่าวถึงต่อไป) ได้วันละประมาณ 29 กิโลกรัม ใช้เวลากินเป็นชั่วโมงๆ เพราะเป็นอาหารโปรดของมัน เกมแรกมุมแดงชนะอย่างขาดลอย
ชนิดของยีราฟ แตกต่างกันตามสีและจุดบนตัว Cr. Green Humor
🔵 ต่อมาฝั่งมุมน้ำเงิน ต้นอะคาเซีย 🌳 มีถึง 1300 ชนิด ทั่วโลก (ในยุคแรกๆ มีมากแค่ในแอฟริกาและออสเตรเลีย) มีทั้งแบบไม้พุ่ม และแบบไม้ต้น ได้ปรับตัวและเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองโดยการพัฒนาให้กิ่งของมันมีเหนามแหลมๆ ให้ยีราฟกินใบลำบากมากขึ้น เกมที่สอง ต้นอะคาเซียแก้เกมมาดีเอาชนะไปได้
การพัฒนาหนามของต้น Acasia
🔴 เวลาต่อมา ยีราฟมุมแดง 🦒 คิดวิธีชกหมัดเด็ดเข้าหน้าฝ่ายน้ำเงิน โดยการพัฒนาลิ้นมหัศจรรย์ โดยที่ลิ้นของมันยาวกว่า 45 เซนติเมตร สามารถหลบหลีกหนามแหลมๆ เพื่อที่จะได้หลบหนามและเอื้อมไปเด็ดใบที่อยู่ระหว่างหนามมากิน อีกทั้งยังพัฒนาเพดานปากให้เหนียวและริมฝีปากแข็ง เพื่อให้หนามไม่สามารถทำลายความอร่อยของมันได้ เหมือนว่าเกมนี้ต้นอะคาเซียจะแพ้แบบหมดรูป แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้ง่ายๆ
การที่ยีราฟมีลิ้นที่ยาว ทำให้มันสามารถกินใบต้นอะคาเซียได้มากขึ้น
🔵 ฝั่งมุมน้ำเงิน 🌳 เมื่อการพัฒนาทางกายภาพไม่ได้ผล งั้นลองเปลี่ยนมาใช้สารเคมีดูบาง ด้วยการผลิตสารเทนนิน (tennin) เป็นสารละลายน้ำได้ มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ มนุษย์ใช้สารนี้ในการฟอกหนัง ย้อมผ้า ป้องกันแมลง ฯลฯ ซึ่งหากกินเข้าไปมากๆ มีผลทำให้เกิดท้องอืดหรือท้องผูก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อยีราฟ ต้นไม้จะเริ่มผลิตสาร เทนนิน เมื่อโดนกินเท่านั้น รอบนี้ยีราฟแพ้ครับ
🔴 หลังจากนั้น ยีราฟ 🦒 เริ่มปรับตัวโดยการไม่กินต้นเดิมตลอด แต่กัดต้นนี้นิดหน่อย พอเริ่มผลิตแทนนิน ยีราฟก็เวียนไปกินต้นอื่นต่อ เวียนไปเรื่อยๆ ทำให้ต้นไม้ผลิต tannin ไม่ทันเสียที
🔵 กลับมาที่ฝั่งอะคาเซีย 🌳 ก็เลยวิวัฒนาการให้มีการปล่อยสารเคมีออกมาเพื่อบอกต้นถัดๆ ไปในระยะ 50 เมตร ทันทีที่ยีราฟกัดต้นอะคาเซีย ใบที่ถูกกัดก็จะปล่อยสาร ethylene ไปรอบๆ และต้นอะคาเซียที่อยู่ข้างๆ ที่ได้รับสัญญาณก็จะเริ่มผลิตสารเทนนินป้องกันยีราฟกินเอาไว้ภายในเวลาเพียงสิบนาที เหมือนตอนนี้ต้นอะเคเซียชนะไปแบบเฉียดฉิว
🔴 ฝั่งยีราฟ 🦒 ไม่ยอมแพ้ ยีราฟก็เปลี่ยนวิธีโดยการหลีกเลี่ยงการกินต้นอะเคเซียที่อยู่ปลายลม และเปลี่ยนไปกินเฉพาะต้นที่อยู่ต้นลมเพียงเท่านั้น
ในปัจจุบันนี้ มวยคู่นี้ยังเป็นไม้เบื่อไม้เมากันอยู่ต่อไป ในการหาวิธีเอาชนะคู่ต่อสู่ ผ่านกระบวนการวิวัฒนาการ เราจะสังเกตได้ว่าสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมีการปรับตัวเพื่ออยู่รอดอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งต้นไม้ที่เป็นผู้ผลิต (Producer) คือสามารถนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์อาหารขึ้นเอง และจะถูกผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary consumer) กินเขาไป โดยจำพวกสัตว์กินพืชต่างๆ
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นอะคาเซียเกิดก็ต้องตกเป็นอาหารของเหล่าสัตว์กินพืชอยู่แล้ว แต่มันไม่ยอมแพ้ พยายามหาวิธีที่จะช่วยให้มันไม่ถูกกิน ขณะเดียวกันยีราฟหลังจากกินต้นอะคาเซีย แบบง่ายดายมาโดยตลอด มันเลยต้องปรับตัวตามเพื่อที่จะได้กินอาหารโปรดของมัน การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะดำเนินไปเรื่อยๆ จนกว่าที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อนั้นมวยคู่นี้อาจจะครองเข็มขัดแชมป์ร่วมกันก็ได้ รอการศึกษาต่อไปครับ ถึงตรงนี้ผมอยากทราบว่า ผู้อ่านเลือกฝั่งไหนครับ ระหว่างมุมแดง 🔴(🦒) กับ มุมน้ำเงิน 🔵 (🌳) ?
ภาพการวิวัฒนาการของยีราฟและต้นไม้ ที่ต้นไม้โตขึ้นและสูงไปเรื่อยๆ จนยีราฟยอมแพ้
Cr. Africansafaris
สัตว์โลกสัปดล
วิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย
Greenhumour
โฆษณา