19 ก.พ. 2019 เวลา 23:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
--"นักวิทยาศาสตร์สร้างใบไม้เทียม ที่สามารถดูดซับ CO2 ได้ดีกว่าใบไม้จริง
ถึง 10 เท่า"--
เรารู้ดีว่าต้นไม้มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต
เป็นอย่างมาก มันสามารถช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วสร้างออกซิเจนที่จำเป็นต่อการดำรง
ชีวิตของมนุษย์เราบนโลก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารของหลาย ๆ ชีวิต และ ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกหลายมากมาย
วันนี้ ant จะมาเล่าถึงการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์
ของใบไม้เทียม ที่นักวิจัยได้สร้างมันขึ้นมา โดยมันสามารถกำจัด CO2 ได้มากกว่าใบไม้จริงถึง 10 เท่า มันจะเป็นไปได้ยังไง? ไปดูกันเลย!!
3
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ที่
ชิคาโก (University of Illinois at Chicago) ได้ออกแบบใบไม้เทียมที่ไม่เพียงแค่ใช้ได้
ในห้องแลปเท่านั้น แต่มันยังสามารถนำไปใช้ได้ใน
สภาพแวดล้อมจริง ผลจากการปรับปรุงใบไม้เทียมนี้มันสามารถกำจัด CO2 ได้มากกว่าใบไม้จริงถึง 10 เท่า นี่มันจะช่วยลดภาวะก๊าซเรือนกระจกที่ส่ง
ผลให้เกิดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างมาก
พวกเขาได้ตีพิมพ์ผลงานลงในวารสาร ASC (journal ACS Sustainable Chemistry & Engineering)
ในการวิจัยครั้งนี้เกิดจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเคมี Meenesh Singh จาก UIC College of Engineering โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Singh "กล่าวว่าปัญหาที่เกิดขึ้น
ก่อนหน้านี้คือการใช้ CO2 บริสุทธิ์จากแรงดันถังในห้องแลป แน่นอนมันประสบความสำเร็จในห้องแลป แต่มันไม่สามารถใช้ในการดึกเอา CO2 จากอากาศในโลกแห่งความเป็นจริงได้" จึงได้ทำการปรับปรุงใบไม้เทียมขึ้นมาใหม่
การทำให้ใบไม้เทียมให้ใช้ได้ใน
สภาพแวดล้อมจริงนั้น ทำได้โดยการนำใบไม้เทียมที่ออกแบบไว้
แล้ว เอาไปใส่ในแคปซูลใสที่บรรจุด้วยน้ำ เพื่อสร้างให้มันเป็นแบบเยื่อเลือกผ่าน (semi-permeable membrane) เมื่อน้ำได้รับความร้อนจากแสงแดด มันก็จะระเหยผ่านเยื่อเลือกผ่านดังกล่าว ในขณะเดียวกันแคปซูลก็จะดึง CO2 ออกมาจากอากาศได้
ใบไม้เทียมในแคปซูลจะสังเคราะห์แสง
จาก light absorber กับ ตัวเร่งปฏิกริยา
ที่ถูกเคลือบไว้ที่แคปซูล มันก็จะเปลี่ยน CO2 ให้กลายเป็น CO และ O2
ซึ่ง CO จะถูกนำไปใช้ใน
การสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิงต่าง ๆ
ส่วน O2 ก็จะถูกรวบรวมและปล่อยออกมา
สู่สภาพแวดล้อม
โดยนักวิจัยคำนวณจากใบไม้เทียม 360 ใบที่มีขนาด 1.7x0.2 เมตร สามารถสร้าง CO ได้ถึง 500 กิโลกรัมทุกวัน จากการทดสอบครอบคลุมพื้นที่ 500 ตารางเมตร ซึ่งมันสามารถลดระดับ CO2 ในอากาศได้ถึง 10% ภายในระยะ 100 เมตรในหนึ่งวัน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Meenesh Singh ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "แนวคิดของพวกเราได้ใช้วัสดุและเทคโนโลยีที่สามารถหาได้ง่าย"
นี้ถือเป็นนวัตกรรมที่สำคัญนวัตกรรมหนึ่ง ที่ส่งผลต่อตัวเราเป็นอย่างมาก มันจะช่วยลดภาวะก๊าซเรือนกระจกที่ทวี
ความรุ่นแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมันยังช่วยในการสร้างอากาศบริสุทธิ์
ให้กับเราอีกด้วย อนาคตมันอาจจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ยังดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่เราคาดหวังจะไปอยู่อาศัยก็เป็นได้
ติดตามเรื่องราวดี ๆ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมได้ที่ antnumber9
1
โฆษณา