24 ก.พ. 2019 เวลา 06:03 • ความคิดเห็น
การศึกษาไทย
Subject Matter VS Soft Factor
ไม่มีลูก แต่ 2 ปีที่แล้วมาได้รับเชิญไปพูดเรื่อง ทักษะที่เด็กรุ่นใหม่ต้องมี ให้กับผู้ปกครองนักเรียน ระดับ มัธยมฟัง มาสองหนแล้ว
ผู้ปกครองเขาว่าพอใช้ได้ เป็นประโยชน์ดีเหมือนกัน ก็เลยขอรวบรวม ประเด็นต่างๆ มาเป็นข้อๆดังนี้นะครับ .. บอกก่อนเลยว่า ไม่เคยเป็นพ่อแม่คน ไม่ไม่ได้มีความสำเร็จอะไร พอดีเขาเชิญ ก็เลยประมวลผลคิดออกมา ครับ ... (ปล.เป็นแค่มุมมอง คนธรรมดาๆ ผลผลิตการศึกษาไทย แบบเราๆท่านๆนะครับ ไม่ได้ดีกว่าใครๆ)
อย่างแรกก่อนอื่นเลย ผมไม่ใช่คนที่ วิพากษ์วิจารณ์ระบบการศึกษาไทย และตำหนิทุกอย่างที่ ระบบการศึกษา แต่เชื่อว่า "วัยเรียน" นั้น ประกอบไปด้วย ห้องเรียนโรงเรียน และ การเลี้ยงดูของครอบครัวด้วย
1. ผู้ปกครองไทยที่ผ่านมา ใส่ใจเรื่อง "เนื้อหา" (subject matter) ของ หลักสูตรเยอะมาก แต่อาจจะลืมไปว่าประสบการณ์ของเด็ก ในการการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนในโรงเรียน ความท้าทายต่างๆ "นอกห้องเรียน" "นอกเวลาเรียน" คือ "ใจความสำคัญ" ของการศึกษาด้วย
2. "โรงเรียน" ไม่ใช่แค่ "ตลาดวิชา" ที่สอน วิชาต่างๆ ตามหลักสูตร แต่ว่าเป็นเหมือนการจำลองสังคม ที่ มีเด็กๆและผู้ปกครองจาก ความเป็นผู้ที่หลากหลาย สังคมที่หลากหลาย ถูกเลี้ยงดูแตต่างกัน มาอยู่ร่วมมือกัน ภายใต้กฏกติกา ที่ รร. กำหนดเอาไว้ ดังนั้น การดำรงชีวิต รวมถึงการเจอกับความท้าทายต่างๆ เป็นกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ที่มีค่าไม่แพ้ หลักสูตรทางวิชาการเลย
3. จินตนาการง่ายๆ เจอคนเรียนเก่งมากๆ มีท่าทีสง่างามเหมือน คนในสังคมชั้นสูง แต่ทิ้งขยะลงพื้น, ไม่ให้เกียรติคนในสังคม, อยู่ยากกินยากช่างเลือก เรียนเก่งขนาดไหน ท่านชอบคนพวกนี้ไหม
4. หลายๆคน คาดหวังว่า รร. จะทำให้เด็กเป็นอัจฉริยะ ดังนั้นคิดหลักๆเลย ลูก สอบได้ที่หนึ่ง, ต่อมา สอบได้ที่หนึ่งประเทศไทย, ไปต่อปริญญาเอกมหาวิทยาลัย ไอวี่ลีก, จบมาทำงาน องค์การนาซ่า จากนั้น อายุ สามสิบต้นๆ ได้รับรางวัลโนเบล จากนั้นกลายเป็นตำนานของโลก ... หน้าที่ของรร. คือแบบนี้หรือ .. เด็กทุกคนเก่งแบบเดียวกันหรือ .. พวกเขาอยากเป็นอะไรกันแน่ เราเคยถามหรือเปล่า
5. นอกเหนือจากที่ รร. ให้วิชาการ (เป็นพื้นในการคิด) รร. กล่อมเกลาทางสังคมให้ เด็กๆเป็น คนที่ "อยู่ร่วมกับสังคมได้" และ "ปกป้องตัวเองจากความไม่เป็นธรรมทางสังคมได้" และอีกอย่างคือ รร. และช่วงวัยเรียน คือช่วงที่ผู้ใหญ่ ทั้ง ผู้ปกครองและครู "สังเกต" เด็กๆว่า เขามีความถนัดอะไร ชอบอะไร เพื่อจะได้ พัฒนาศักยภาพของเขาต่อไป ตาม ความถนัด และตามความฝัน "ของเขา" ไม่ใช่ "ของผู้ปกครอง" หรือ "ของโรงเรียน"
6. คนไทย ถือเป็นชาติที่ ใช้เวลาเรียนเยอะ และ เนื้อหาอัดแน่น แน่นเสียจนกระทั่ง "ไม่มีเวลาว่างจะคิด" ไม่มีโอกาสในการ "ใช้จินตนาการ" เพราะวันๆโดนอัดแน่นจนไม่มีเวลาหายใจ ..และ "โดนบังคับเรียน" หลายๆครั้งเด็กเรียนไป ไม่รู้ดืวยซ้ำว่า "เรียนไปทำไม" แต่ละบท "เอาไปใช้อะไร" เช่นถามว่า ตรีโกณเรียนทำไม ก็ไม่มีคนสอน, เรียนเรื่องเส้นรอบวงทำไม (สำคัญกว่าแก้สมการอีก) ก็ไม่บอก เด็กก็เรียนแบบไม่มีจินตนากรไป
7. สำคัญในการเรียนคือ "สร้างแรงบันดาลใจ" และ "สร้างจินตนาการ" ให้กับเด็ก ถ้า ผู้ใหญ่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก เด็กก็อยากเรียน หรือเรียนโดยไม่ต้องบังคับ จากนั้นก็ต่อยอด ไปขยายผลเป็นเด็กที่ เก่งโดยไม่ต้องใช้เวลาเยอะ
8. ดังนั้นเรา "ให้เวลากับ การสร้างแรงบันดาลใจ" ให้กับเด็กบ้างไหม หรือแค่บอกว่า "ตั้งใจเรียน ตั้งใจเรียน และ ตั้งใจเรียน"
แต่นอกจาก การพัฒนา "ความเก่ง" โรงเรียน "สร้างคน" วัยเรียน "หล่อหลอม" ให้เด็ก เป็นคนดีที่ปกป้องตัวเอง ในสังคมที่ยุ่งเยิงนี้ได้ด้วย
9. หนึ่งในปัญหาที่เด็กๆ เจอใน วัยเรียนคือ การเจอ ปัญหาต่างๆนอกห้องเรียน เช่น เจอเพื่อนแกล้ง, เจอครู ลงโทษ (บ้างก็แบบมีหตุผล บ้างก็ใช้อารมณ์) ทะเลาะกับเพื่อนมีข้อพิพาทกัน หรือปัญหาอื่นๆสุดแล้วแต่จะเกิด ...
10. สิ่งเหล่านี้ บางคนมองว่าเป็น "สิ่งที่ต้องแก้ไขให้หมดไป" ผู้ปกครองบางคนก็เลือกที่จะ เข้ามาไกล่เกลี่ยปัญหาให้เด็กเสียเอง ปกป้องลูกๆของตัวเอง เช่น ปกป้องลูกจากการโดนแกล้ง หรือ ปกป้องเวลาเด็กทะเลาะกัน ที่เด็กก็จะได้รับการปกป้อง .. แต่อีกด้านหนึ่ง แล้วเด็กจะ มีภูมิต้านทานในการอยู่กับสังคมหรือเปล่า อนาคต เราปกป้องเขาจาก สังคมที่ไม่เป็นธรรม ผู้บังคับบัญชา ฯลฯ ได้ตลอดชีวิตหรือเปล่า ในรร. เป็นเหมือน สังคมปิด ผู้ปกครองเข้ามาปกป้องเด็กได้ แต่ อนาคต เด็กจะทำอย่างไร
11. ประสบการณ์ต่างๆ ในวัยเรียน คือ กระบวนการหล่อหลอมเด็ก แม้ว่ามันจะไม่มีระบุลงใน ทรานสคริปต์ แต่ สิ่งเหล่านี้ มันคือ สิ่งที่จะแสดงตัวเด่นชัด เวลาที่เด็กดำรงชีวิตต่อไปในสังคม
12. ผู้ปกครองและครูไทย ใส่ใจกับ "เนื้อหาวิชา" มากๆ ส่วนหนึ่งมันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ใส่ใน ทรานสคริปต์ผลการเรียน แต่ จริงๆแล้ว "ซอฟต์สกิล" คือ ทักษะการอยู่ในสังคมอย่าง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีมารยาทและมีน้ำใจกับผู้อื่น ขณะเดียวกัน สามารถปกป้องตัวเองจาก การคุกคามของการบิดเบี้ยวของสังคมได้อย่งมีประสิทธิภาพ มันเป็นสิ่งที่สำคัญ" และ "สังคมสัมผัสได้ และเห็นได้อย่างชัดเจน"
13. สิ่งเหล่านี้แม้ว่าจะไม่มีเอกสารมารองรับ ไม่มีเกรด มาออกให้ แต่เป็นสิ่งที่บางครั้ง คนรอบข้าง สังคม สัมผัสได้ เห็นได้เสมอ บางทีจะมีพลังมากกว่า ผลการเรียนในทรานสคริปต์เสียอีก
14. ต้องยอมรับนะครับว่า การศึกษาในต่างประเทศ ใช้เวลาเรียนต่อวันน้อยกว่าเรา ไม่มี รร.กวดวิชา พวกเขาอาจจะ สอบวิชาคำนวนสู้เด็กเอเชีย หรือเด็กไทยไม่ได้ แต่พวกเขา เป็นชาติที่มี พลเมืองคุณภาพ ไม่เบียดเบียนกัน ทำตามกฏตามระเบียบ เข้มงวดกับตัวเอง (ไม่ได้เข้มงวดแต่กับคนอื่นแต่ะผ่อนปรนเฉพาะกับตัวเอง) ทำให้บ้านเมืองเขาเติบโตมาได้
สังคมหลายๆประเทศที่สัมผัสมาแล้วประเทศเขาน่าอยู่ ไม่ใช่เพราะเด็กเขาเรียนเก่งแต่เพราะเขาเป็น "พลเมือง" ที่ดี (ประชาชนที่เป็นพลังให้สังคมได้) ตรงนี้อยากห้ ทุกคนตระหนักเพิ่มเติมและใส่ใจให้คุณค่ามากกว่า แค่ subject matter ของการเรียนเสียด้วยซ้ำ
Sent from my Samsung Galaxy smartphone.
Subject matter VS Soft Factor
โฆษณา