2 มี.ค. 2019 เวลา 10:27 • ธุรกิจ
สัญลักษณ์บาร์โค้ดบ่งบอกอะไรบ้าง
บาร์โค้ดที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลขมีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบางแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง
ที่พบเห็นทั่วไปจะดูเหมือนแถบสีขาวสลับดำขนาดของแถบบาร์โค้ดมีความกว้างที่ต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานในการแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์จะมีจำนวนแถบและจำนวนตัวเลขแตกต่างกัน
บาร์โค้ดไม่ได้แสดงข้อมูลการขายโดยตรงแต่เป็นข้อมูลอ้างอิงที่กำหนดเฉพาะเพื่อแยกชนิดประเภทของผลิตภัณฑ์แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ผลิตปริมาณเลขที่รายการสินค้าราคาและอื่นๆ
ซึ่งมีจะมีการจัดทำโปรแกรมเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์จะสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Bar Code Scanner) การอ่านข้อมูลของเครื่องอ่านบาร์โค้ดอาศัยหลักการสะท้อนแสงอ่านข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้เหมือนกันทั่วโลก
ชนิดของ บาร์โค้ด EAN และ UPC
ชนิดของบาร์โค้ดรูปแบบของบาร์โค้ดมีอยู่หลายชนิดโดยในปัจจุบันมีการพัฒนาให้เหมาะกับการใช้งานต่างๆประมาณ 32 ชนิดแต่ที่เป็นมาตรฐานและใช้กันมากในปัจจุบันมี 2 ชนิดดังนี้
1. ระบบ UPC (Universal Product Code)
เริ่มมีการพัฒนาและทดลองใช้ครั้งแรกในปีค. ศ. 1970 (พ. ศ. 2513) โดย Mr. Norm Woodland และ Mr. Barnard Silvers ชาวอเมริกันมีการทดลองปรับปรุงให้ใช้ได้สมบูรณ์ในปีค. ศ. 1973 (พ. ศ. 2516) โดยมีการจัดตั้ง Universal Code Council ขึ้นดูแลกำกับการใช้ Barcode มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เมือง Dayton รัฐ OHIO
UPC เป็นบาร์โค้ดระแบบแรกของโลกแต่ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่ 2 ประเทศเท่านั้นคือ USA กับ Canada มีอยู่ 2 ชนิดคือแบบย่อมี 8 หลักและแบบมาตรฐานมี 12 หลัก
2. ระบบ EAN (European Article Number)
พัฒนาขึ้นในแถบยุโรปใช้ได้สมบูรณ์ในปีค. ศ. 1977 และเป็นระบบที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกยกเว้น USA กับ Canada เป็นระบบที่เหมาะสำหรับธุรกิจห้างสรรพสินค้าและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เพราะบรรจุข้อมูลมากได้มากกว่ามีอยู่ 2 ชนิดคือแบบย่อมี 8 หลักและแบบมาตรฐานมี 13 หลัก
ระบบบาร์โค้ดในประเทศไทยระบบบาร์โค้ด EAN ได้เริ่มเป็นที่รู้จักสำหรับผู้ผลิตอุตสาหกรรมในไทยเมื่อมีการส่งเสริมการส่งออกแต่เป็นการติดบาร์โค้ดตามคำสั่งของผู้สั่งซื้อสินค้าในต่างประเทศทำให้สินค้าไทยที่ไปวางขายในต่างประเทศไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเพราะถูกห้ามพิมพ์ข้อความว่า“ Made in Thailand” ถือเป็นการเสียโอกาสในการขาย
บาร์โค้ดประเทศไทย EAN-13 หลัก
ระบบบาร์โค้ดในประเทศไทย หมายเลข 885 มีความหมายแทนข้อความ Made in Thailand สินค้าที่ติด Barcode จะช่วยสร้างความเชื่อถือให้กับผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าในประเทศอีกทั้งยังสามารถตรวจสอบหาแหล่งผลิตได้
ความหมายรหัสบาร์โค้ด 13 หลัก EAN-13
1.รหัส 3 ตัวหน้าคือรหัสของประเทศซึ่งประเทศไทยคือรหัส 885
ตัวอย่างรหัสประเทศอื่นๆ
- 955 ประเทศมาเลเซีย
- 893 ประเทศเวียดนาม
- 888 ประเทศสิงคโปร์
2.รหัส 4 ตัวคือรหัสสมาชิกหรือรหัสประจำบริษัทซึ่งต้องขออนุมัติจากสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทยก่อนจึงจะได้รหัสนี้มาใช้และเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน
3.รหัส 5 ตัวคือรหัสสินค้า
4.รหัส 1 ตัวคือเป็นตัวตรวจสอบของคอมพิวเตอร์เพื่อพิสูจน์ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าถูกต้องหรือไม่
รหัสบาร์โค้ด 8 หลัก EAN-8
รหัสบาร์โค้ด 8 หลัก EAN-8
1. รหัส 3 ตัวคือรหัสประเทศ
2.รหัส 4 ตัวคือรหัสสินค้า
3.รหัส 1 ตัวเป็นตัวตรวจสอบของคอมพิวเตอร์เพื่อพิสูจน์ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าถูกต้องหรือไม่
ระบบบาร์โค้ดในประเทศไทย ป้ายราคาที่ติดบนสินค้าต่างๆที่วางจำหน่ายจะเห็นเป็นแถบ Bar Code และมีตัวเลขต่างๆกำกับโดยอาจไม่มีตัวเลขแสดงราคาจริงๆให้เห็น
แต่ราคาสินค้าจะไปปรากฏในจอที่แสดงราคาของเครื่องเก็บเงินเมื่อได้รับการอ่านรหัสด้วยเครื่องมือพิเศษและปรากฏในใบเสร็จรับเงินที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์เมื่อร้านค้าต้องการเปลี่ยนราคาสินค้ารายการใดๆเพียงแต่แก้ไขข้อมูลในคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมเกี่ยวกับรหัสของตัวเลขตำแหน่งที่เป็นราคาสินค้าโดยไม่ต้องเปลี่ยนป้ายราคาใหม่
ราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงใหม่ก็จะไปปรากฏในจอแทนราคาเก่าและพิมพ์ใบเสร็จด้วยราคาใหม่ที่ถูกต้องได้ถือว่าเป็นการให้ความสะดวกรวดเร็วและประหยัดในเรื่องปรับเปลี่ยนราคาสินค้าของร้านค้าปลีกเป็นอย่างมาก
บาร์โค้ด ISBNของหนังสือ
International Standard Book Number( ISBN) เป็นบาร์โค้ดที่กำหนดขึ้นให้ใช้กับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือทั่วไป มีจุดมุ่งหมายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหนังสือแต่ละเรื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมข้อมูลสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ในด้านการสั่งซื้อ การขาย การบริการ การเงิน และการนำสินค้าออกจำหน่ายไปยังสำนักพิมพ์ในประเทศต่าง ๆ
1
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ มีตัวเลข 10 หรือ 13 หลัก โดยแบ่งเป็น 4-5 ส่วน ตัวเลขแต่ละส่วนถูกแบ่งให้ชัดเจนด้วยเครื่องหมาย (-) หรือเว้นวรรค
1. Prefix element นำหน้าด้วยตัวเลข 3 หลัก (978) ของรหัส EAN ซึ่งเป็นรหัสบาร์โค้ดแสดงสินค้า/ผลิตภัณฑ์
2.Registration group element (รหัสกลุ่มประเทศ) กำหนดโดย International ISBN Agency แสดงถึงกลุ่มประเทศ มีการจัดแบ่งประเทศตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ หรือภาษา ปัจจุบันประเทศไทยใช้เลข 616 (974 เป็นตัวเลขเก่า)
3.Registrant element (รหัสสำนักพิมพ์) เป็นตัวเลขแสดงหน่วยงาน/สำนักพิมพ์ (Publisher) ที่ขอรับเลข ISBN (287)
4.Publication element (รหัสชื่อเรื่อง) เป็นตัวเลขประจำสิ่งพิมพ์ที่ผลิตมาจากสำนักพิมพ์นั้นๆ (259)
5. Check digit (เลขตรวจสอบ) ใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขก่อนหน้า (4)
ปัจจุบันได้มีการนำบาร์โค้ดสองมิติมาใช้งาน สำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมาก รวมถึงการนำเทคโนโลยี RFID ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุ แทนที่เลเซอร์เหมือนบาร์โค้ดในปัจจุบัน
บาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่
รหัสคิวอาร์ (QR Code)
ดาต้าเมทริกซ์ (Data matrix)
รหัสแม็กซี (MaxiCode)
รหัสอีซี (EZcode)
รหัสแอซเทค (Aztec Code)
1
#ลุงแมน
โฆษณา