Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
25 ก.พ. 2019 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย “สมเด็จย่าแห่งยุโรป” (ตอนที่ 5)
ความสูญเสียและชีวิตที่เปลี่ยนไปของพระราชินี
ในช่วงแรกหลังการอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายอัลเบิร์ตยังไม่ได้รับมอบหมายงานสำคัญอะไรมากนัก เพียงแต่ช่วยสมเด็จพระราชินีเซ็นลายพระหัตถ์ลงบนเอกสารเท่านั้น
สาเหตุที่พระองค์ถูกมองข้ามเช่นนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากว่าพระราชินีทรงโปรดที่จะทำงานต่างๆด้วยพระองค์เอง แต่สาเหตุสำคัญก็คือเจ้าชายอัลเบิร์ตเป็นเจ้าชายจากเยอรมนี และพระองค์ก็ทรงตรัสเป็นภาษาอังกฤษไม่ชัดนัก ออกเป็นสำเนียงเยอรมัน จึงมีความกังวลกันว่าชาวอังกฤษอาจจะไม่ยอมรับเจ้าชายอัลเบิร์ตเท่าไรนัก เพราะยังไงซะก็เป็นชาวต่างชาติ
เจ้าชายอัลเบิร์ตเองก็ไม่มีคำต่อท้ายพระนาม พระองค์ก็ยังคงเป็นเจ้าชายอัลเบิร์ตเช่นเดิม ไม่มียศอะไรเลย
พอเรื่องเป็นอย่างนี้ เจ้าขายอัลเบิร์ตก็ทรงอึดอัดครับ พระองค์เป็นถึงพระสวามีของพระราชินี แต่พระองค์กลับถูกมองข้ามและไม่ให้ความสำคัญมากนัก
เจ้าชายอัลเบิร์ตจึงทรงออกงานมากขึ้น พระองค์ทรงพยายามที่จะทรงงานในตำแหน่งที่สำคัญ พระองค์ทรงเริ่มจะเข้าประชุมกับเหล่ารัฐมนตรีและเริ่มปรากฎองค์สู่สาธารณชนบ่อยขึ้น จากเดิมที่พระองค์ค่อนข้างจะเก็บองค์
เจ้าชายอัลเบิร์ต
ในปีค.ศ.1841 (พ.ศ.2384) ลอร์ดเมลบอร์น (Lord Melbourne) ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และครั้งนี้ เซอร์ โรเบิร์ต พีล (Sir Robert Peel) ก็ได้ยอมเป็นนายกรัฐมนตรี เจ้าชายอัลเบิร์ตก็ทรงสบโอกาสครับ พระองค์ทรงขึ้นมาดำรงตำแหน่งที่ลอร์ดเมลบอร์นเคยดำรงมาก่อน นั่นคือตำแหน่งที่ปรึกษาทางการเมืองขององค์ราชินี
ลอร์ดเมลบอร์น (Lord Melbourne)
เซอร์ โรเบิร์ต พีล (Sir Robert Peel)
เจ้าชายอัลเบิร์ต หลังจากที่ทรงอึดอัดมานานกับการถูกเพิกเฉยจากสาธารณชน พระองค์ก็ทรงทุ่มเทกับงานเต็มที่ครับ พระองค์ทรงส่งเสริมการเลิกทาสทั่วโลก และพระองค์ยังทรงให้ความสำคัญกับคนยากจนอีกด้วย
ในช่วงนั้นเป็นช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้มีการสร้างโรงงานต่างๆมากมาย อุตสาหกรรมโลกกำลังเติบโต และแน่นอนครับ ต้องมีการจ้างแรงงานมหาศาล ผู้คนที่อาศัยอยู่ในชนบทก็ได้ย้ายเข้าเมืองหลวง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความหนาแน่นของประชากรและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนที่เข้ามาในเมืองไม่ดีเท่าไรนัก
เจ้าชายอัลเบิร์ตจึงได้ทรงออกแบบบ้านสำหรับคนยากจน คือเป็นบ้านที่คิดจะสร้างสำหรับเหล่าคนยากจนหรือลำบาก ช่วยเหลือคนมีรายได้น้อยให้มีที่อยู่
1
บ้านสำหรับคนยากจนที่เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงออกแบบ
นอกจากนั้น เจ้าชายอัลเบิร์ตยังมีความสนพระทัยในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ พระองค์จึงทรงเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดงานนิทรรศการครั้งใหญ่ประจำปีค.ศ.1851 (พ.ศ.2394) ซึ่งเป็นนิทรรศการที่จะจัดแสดงเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งจัดแสดงสิ่งของที่น่าตื่นตาตื่นใจจากทั่วโลก ซึ่งงานนี้ก็ประสบความสำเร็จและเป็นที่สนใจจากผู้คนทั่วโลก
1
งานนิทรรศการครั้งใหญ่ประจำปีค.ศ.1851 (พ.ศ.2394)
งานนี้สำเร็จได้ด้วยฝีมือของเจ้าชายอัลเบิร์ต งานนี้ดึงดูดคนกว่า 6 ล้านคน และจัดแสดงต่อเนื่องถึงหกเดือนเต็ม
1
ด้วยความที่เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงงานได้อย่างดี สมเด็จพระราชินีวิกตอเรียจึงได้พระราชทานตำแหน่ง “เจ้าชายพระราชสวามี” (Prince Consort) แก่เจ้าชายอัลเบิร์ต
1
ทุกอย่างดูเหมือนจะไปได้ดีใช่มั้ยครับ แต่ด้วยความที่เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงงานหนักนี่แหละครับ ทำให้พระพลานามัยของพระองค์เริ่มจะทรุดโทรม และดูเหมือนความโศกเศร้าเริ่มจะรุมเร้าสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย เมื่อดัชเชสส์แห่งเคนต์ (Duchess of Kent) พระราชมารดาของพระองค์ก็ประชวรหนักมาตั้งแต่ปีค.ศ.1860(พ.ศ.2403)
1
ในปีต่อมา ค.ศ.1861(พ.ศ.2404) นับเป็นปีที่สุดแสนจะเศร้าสำหรับองค์ราชินีจริงๆครับ พระราชมารดาของพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ในช่วงต้นปี ซึ่งสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียก็ทรงโศกเศร้าอย่างมาก
ถึงแม้ความสัมพันธ์ของพระองค์และพระราชมารดาจะไม่ดีนักและเป็นไปด้วยความห่างเหิน แต่ในช่วงหลังที่เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงนำพระราชมารดากลับเข้ามาในชีวิตของพระองค์ พระองค์ก็ทรงเข้ากับพระราชมารดาได้ดีและเริ่มจะใกล้ชิดกันอีกครั้ง
2
ดัชเชสส์แห่งเคนต์ (Duchess of Kent)
แต่ดูเหมือนพระองค์จะไม่ได้สูญเสียแค่นั้นครับ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีที่สมเด็จพระราชินีวิกตอเรียทรงรักมาก หลังจากที่ประชวรเป็นเวลานาน เจ้าชายอัลเบิร์ตก็ได้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1861 (พ.ศ.2404) ด้วยวัยเพียง 42 พรรษา
1
คงไม่ต้องบอกครับว่าสมเด็จพระราชินีจะทรงโศกเศร้าขนาดไหน พระองค์ถึงกับทูลพระเจ้าเลโอโปลด์ พระปิตุลาของพระองค์ว่า “ชีวิตแสนสุขของหม่อมฉันได้จบสิ้นแล้ว”
1
ตลอดชีวิตของพระราชินีวิกตอเรีย พระองค์ทรงอาลัยพระราชสวามี พระองค์ทรงมีรับสั่งให้จัดห้องของพระราชสวามีไว้เช่นเดิม ในทุกๆเช้า พระองค์จะมีรับสั่งให้มหาดเล็กจัดผ้าขนหนูและเสื้อผ้าเตรียมไว้ให้พระราชสวามี เหมือนกับพระองค์ยังคงทรงหวังว่าพระราชสวามีจะทรงฟื้นขึ้นมาหาพระองค์
2
นอกจากนี้แล้ว จะสังเกตได้ว่าทุกๆภาพหลังจากเจ้าชายอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์แล้วนั้น สมเด็จพระราชินีวิกตอเรียมักจะสวมฉลองพระองค์สีดำเสมอตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ก็เนื่องด้วยพระองค์ทรงอาลัยพระราชสวามีของพระองค์นั่นเอง
และด้วยความโศกเศร้าของพระองค์ ทำให้พระองค์งดการเสด็จออกงานต่างๆ งดการปรากฎองค์ต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งเรื่องนี้ก็นำไปสู่ปัญหาในเวลาต่อมา สร้างความไม่พอใจแก่หลายๆฝ่าย
ตอนหน้าผมจะมาเล่าต่อครับว่ามีปัญหาอะไรตามมาบ้างและในรัชสมัยของพระองค์ มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นอีกบ้าง
ติดตามตอนต่อไปนะครับ
References:
https://www.biography.com/people/prince-albert-20845371
https://www.vam.ac.uk/articles/building-the-museum
https://www.historic-uk.com/HistoryUK/HistoryofEngland/Great-Exhibition-of-1851/
21 บันทึก
156
16
21
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย “สมเด็จย่าแห่งยุโรป”
21
156
16
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย