14 มี.ค. 2019 เวลา 05:36 • สุขภาพ
เครื่องหมายเหล่านี้บ่งบอกอะไรเราบ้าง ?
เครื่องหมายมาตรฐานต่างๆเหล่านี้ที่เราเห็นจนคุ้นตา ความหมายคืออะไรเป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราควรรู้เอาไว้
มาตรฐานGMP อาจเป็นคําที่เราคุ้นเคยจากผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสําอาง หรืออาหาร โดย GMP นั้นย่อมาจาก Good Manufacturing Practice
หมายถึงกระบวนการผลิตที่ดีและกระบวนการการผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP จึงเป็นคําย่อที่แสดงให้เห็นถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกําหนดขั้นพื้นฐานที่จําเป็น ในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทําให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการ ป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทําให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
มาตรฐาน GMP แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.GMP สุขลักษณะทั่วไป (General GMP) เป็นหลักเกณฑ์ที่นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท
GMP สุขลักษณะทั่วไป หลักเกณฑ์ที่นําไปใช้ปฏิบัติสําหรับอาหารทุกประเภท โดยมีอยู่ 6 ข้อกําหนดด้วยกัน
1)สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
2)เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต
3)การควบคุมกระบวนการผลิต
4) การสุขาภิบาล
5)การบํารุงรักษาและการทําความสะอาด
6)บุคลากรและสุขลักษณะ
2.GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์
(Specific GMP) เป็นข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไป เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องของความเสี่ยงกับความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะมากยิ่งขึ้น
เช่นข้อกําหนด GMP น้ำบริโภค และข้อกําหนด GMP นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์ เป็นต้น
โดยแต่ละข้อกำหนดก็จะมีในเรื่องของการบังคับในกระบวนขั้นตอนต่างๆที่แตกต่างกันไปอีก
หลักการของ GMP ครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบ ระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และ การ ขนส่งจนถึงผู้บริโภค
มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์รวมถึงระบบการจัดการ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐาน
ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points)
มาตรฐาน HACCP คืออะไร ?
HACCP ย่อมาจาก Hazard Analysis Critical Control Point หมายถึงการวิเคราะห์อันตราย จุดควบคุมวิกฤต เกี่ยวกับมาตรการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนกระบวนการผลิต เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนสารเคมี หรือสิ่งสกปรกต่างๆ
HACCP คือกระบวนการที่จะยืนยันอีกทีว่า(การตรวจ GMP ซ้ำ) กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานนั้นไม่มีการปนเปื้อนจากสารเคมี หรือสิ่งสกปรกต่างๆที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค
ตัวอย่างเครื่องหมายฮาลาลที่ถูกต้อง
เครื่องหมายฮาลาลที่ถูกต้องตามระบบการรับรองของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
1.คำว่า “ฮาลาล” ภาษาอาหรับ ในสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมีพื้นหลังเป็นแถบเส้นตรงแนวดิ่ง
2.ชื่อองค์กรรับรอง – “สนง. คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” หรือ “The Central Islamic Committee of Thailand” หรือ เป็นภาษาอาหรับ (เป็นได้ทั้ง 3 ภาษา) ถ้าเป็น “สำนักจุฬาราชมนตรี” แสดงว่าเป็นเครื่องหมายฮาลาลที่ไม่ผ่านการตรวจรับรอง เนื่องจากทางสำนักจุฬาราชมนตรีได้มอบหน้าที่การตรวจรับรองฮาลาลแก่คณะ กรรมการกลางอิสลามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 แล้ว
3.หมายเลขฮาลาลผลิตภัณฑ์ 12 หลัก ที่ได้จากการรับรองฮาลาล ถ้าเป็นตัวเลขในระบบเก่า (ซึ่งผ่านการตรวจรับรองเช่นเดียวกัน) จะใช้ลำดับที่ของบริษัท ตามด้วยปีที่เริ่มขอรับรอง “ที่ ฮ.ล. 025/2547” ในส่วนของเลข 12 หลักนั้น มีความหมายดังนี้ (ดูรูปประกอบ)
4.(72)คือชนิดของผลิตภัณฑ์
5.( B884) คือ ลำดับที่ของบริษัทในทะเบียนการขอรับรอง
6. (001) คือ ลำดับที่ของผลิตภัณฑ์ในรายการที่ทางบริษัทยื่นขอรับรองฮาลาล
7.(07)คือ เดือนที่เริ่มขอรับรอง จากรูป 07 หมายถึงบริษัทนี้เริ่มขอรับรองผลิตภัณฑ์นี้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม
8.(54)คือ ปีเริ่มขอรับรอง
จากรูป 54 หมายถึงบริษัทนี้เริ่มขอรับรองผลิตภัณฑ์นี้ตั้งแต่ปี 2554
เครื่องหมายฮาลาลแบบนี้ผิดเพราะไม่มีหมายเลขฮาลาลผลิตภัณฑ์ 12 หลัก
ส่วนเรื่องสีของเครื่องหมายฮาลาล ไม่ว่าจะเป็นสีอะไร ไม่มีผลใดๆ (สีเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ ขึ้นกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นๆ) เช่น อาจเป็นสีขาว, เขียว หรือแดง แต่ถ้าเงื่อนไขครบสามข้อข้างต้น ถือว่าถูกต้อง
เครื่องหมาย อย.
เครื่องหมาย อย. หรืออาหารและยา
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นองค์กรที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์สุขภาพ (อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง) โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย โดยหากเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เครื่องหมายอาหารและยาจะรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีภาชนะปิดบรรจุสนิท
ความหมายของเลขที่ อย.
1.(71)คือเลขจังหวัดที่ตั้งของสถานที่ผลิต
2.(442)คือเลขประจำสถานที่ผลิต
3.(42)คือเลขท้ายของปี พ.ศ.ที่อนุญาต
4.(1)สถานะของสถานที่และหน่วยงานที่ได้รับอนุญาต
5.(1)หน่วยงานที่อนุญาตผลิตภัณฑ์
6.(0094)คือเลขลำดับที่ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอนุญาต
📌ตัวอย่างตามรูป หากเราอยากรู้ว่าเลขที่ อย. บนสินค้าประเภทนั้นตรงกันกับเลขที่ อย.หรือไม่
ตัวอย่างการตรวจเลขที่ อย. ของน้ำมันพืช
เราสามารถตรวจสอบเลขที่อย.ว่าตรงกับผลิตภัณฑ์หรือไม่ คลิกเลย👇
เราในฐานะผู้บริโภคควรให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้เพราะนั่นคือ สิ่งที่เราต้องพบเจอทุกวัน หากเราใช้สิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่ได้มาตรฐาน เหมือนเราเอาชีวิตไปเสี่ยงโดยที่เราไม่รู้ตัว
#ลุงแมน
โฆษณา