26 ก.พ. 2019 เวลา 01:39 • ประวัติศาสตร์
Diên Biên Phu ខ្មែរក្រហម และ the Killing Field
เดียนเบียนฟู เขมรแดง และ ทุ่งสังหาร
จัด DVD ในบ้าน(ที่มีไม่กี่แผ่น) เจอหนังที่ซื้อซ้ำบ่อยที่สุดเพราะ มันลึกซึ้งกินใจทุกๆครั้งที่ดู ดูทุกครั้ง รักเมืองไทย มากขึ้นทุกครั้ง และ บอกตัวเองทุกครั้งที่ดู ว่า โชคดีเหลือเกินที่เกิดบนแผ่นดินไทย
ในฐานะของคนเกิดยุค ทศวรรษ 1970 ยุคที่ บรรยากาศบ้านเมืองผันผวนมากมาย เรื่องความแตกต่างทางอุดมการณ์ ที่ นำไปสู่ เหตุการณ์ทางการเมืองทั้งปี 2516, 2519 รู้สึกว่าเรื่องที่เกิดขึันในอินโดจีน สมรภูมิที่มหาอำนาจเขาเล่นการเมืองระหว่างสงครามเย็น มันไม่ได้ไกล​บ้านเราสักเท่าไหร่ เพราะอีกไม่กี่ร้อยกิโลเมตรมันก็ถึงบ้านเราแล้ว
หนังเรื่อง "ทุ่งสังหาร" The Killing Fields เป็นภาพสะท้อนเหตุการณ์ตอนนั้นได้ดีมากๆครับ ขอเอาเรื่องนั้นเป็นเรื่องตั้งต้นแล้วกันครับ
French Indochina และ เดียนเบียนฟู ปฐมบทแห่งไฟสงคราม
1. หลังสงครามโลกครั้งที่สองมหาอำนาจก็แบ่งเป็นสองขั้ว ว่าง่ายคือขั้วเสรี อเมริกานำกับขั้วคอมมิวนิสต์ โซเวียตนำ แต่สองฝ่ายไม่ได้รบกันในบ้านตัวเอง แต่ ใช้โมเดล "สงครามตัวแทน" ในการให้ คนในประเทศอื่นๆเหล่านั้น แบ่งฝ่ายรบกันเอง ในอินโดจีน อย่างน้อยสองประเทศ คือ เวียดนามและกัมพูชา เป็นสมรภูมิที่มหาอำนาจเขาเล่นกันแรงมากๆ โชคดีที่ไม่ลุกลามเป็นโดมิโน่ มาบ้านเรา
1
2. เวียดนามเอง หลังจากปลดแอกตนเองจาก ฝรั่งเศสได้ จากการที่เวียดมินห์เผด็จศึกที่ยุทธการเดียนเบียนฟู1954 (2497) แต่กลับมาอกหักรุนแรงเมื่ออโดนประชาคมนานาชาติ แบ่งบ้านตัวเองสองประเทศ เวียดนามเหนือ ฝักใฝ่สังคมนิยม โซเวียตสนับสนุน ฝ่ายใต้ เป็นประชาธิปไตย(ทุนนิยมสุดกู่) มีอเมริกันหนุนหลัง
3. สหรัฐอเมริกา ช่วยเวียดนามใต้ และส่งกำลังทหาร เป็นหลักแสนคน หวังไม่ให้สูญเสีย อิทธิพลในภูมิภาคอินโดจีน แม้ว่า อาวุธยุทธโธปกรณ์ของฝ่ายเหนือจะด้อยกว่า แต่ด้วยน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เอาชนะสงครามเหนือมหาอำนาจได้สำเร็จอีกครั้ง ทหารอเมริกัน กว่า 57,000 คนทิ้งชีวิต ในสมรภูมิเวียดนาม
4. หลังเผด็จศึกสมบูรณ์แบบเอาชนะ สองมหาอำนาจในกรอบเวลา ยี่สิบปี 1954-1975 พวกเขามิได้หยุดแต่แค่นั้นแต่ ชำเลืองทางทิศตะวันตก แล้วเห็นว่าเป้าหมายต่อไปคือ "กัมพูชา"
...
5. มาที่กัมพูชา หลังปลดแอก จากอณานิคมฝรั่งเศสได้ ก็ปกครองด้วยระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ เป็นทั้งประมุข และ นายกรัฐมนตรี แต่ที่สุด นายพล ลอนนอล รัฐประหาร ให้เป็นประเทศสาธารณรัฐ แต่นอกพนมเปญใจเขตชนบท เขมรแดงขยายอิทธิพลรวดเร็วรุนแรง ทำให้นำไปสู่สงครามกลางเมือง ในช่วงต้นทศวรรษ 70
6. ช่วงปีท้ายๆของรัฐบาล ลอนอล ในปี 1973-1975 (2516-2518) นี่เองที่เป็น ท้องเรื่องของ ภาพยนตร์เรื่อง Killing Fields หรือทุ่งสังหาร รัฐบาล ลอนอล มีอเมริกาสนับสนุน รบกับ "ขเมรแดง" หรือ ขเมรที่ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิวสต์ ที่มี พอลพต เขียวสมพอน เป็นผู้นำ ที่ขยายตัวจากชนบทสู่เมือง โดยเขมรแดงกำลังรุกคืบสู่พนมเปญ
7. ในเรื่อง นักข่าวอเมริกัน Sydney Schanberg กับ ดิฐ ปราณ นักข่าวท้องถิ่น (แสดงโดยดาราชาวกัมพูชา นายแพทย์ เฮียง งอร์) ทำข่าวเพื่อรายงานไปทั่วโลก ท่ามกลางความสับสน สถานทูตอเมริกัน และประเทศ NATO ช่วยเหลือพลเมืองตัวเองกลับประเทศให้เร็วที่สุด
8. วันที่ 17 เมษายน 2518 เขมรแดง หนุนหลังโดยจีน บุกเข้ากัมพูชา ชนะสงครามกลางเมือง
1
9. เขมรแดง ที่มีอุดมการณ์สุดขั้ว กล่าวคือต้องการลบล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในกัมพูชา เริ่มต้นประวัติศาสตร์อุดมคติกันใหม่ เป็นปีที่ ๑ ของประวัติศาสตร์กัมพูชาใหม่ "ทุกอย่าง" ต้องถูกลบล้างเพราะ สิ่งเก่าๆคือ กากเดนที่ กัดกินสังคมกัมพูชา ทำให้สังคมกัมพูชาไม่เท่าเทียม ต้องทำลายทิ้ง
ข้าราชการเก่า ปัญญาชน ชนชั้นกลาง มีการศึกษา อ่านหนังสือออก คือกากเดนระบบเก่า ต้องขจัด ในหนัง ใครใส่แว่นตา (แสดงว่ามีความรู้) ต้องเอาไปฆ่า, ใครฟังภาษาต่างประเทศไทย คือมีความรู้ ต้องจบชีวิต
1
10. ในช่วงเวลาเพียงแค่ 4 ปี (1975-1979 หรือ พ.ศ. 2518-2522) ภายใต้อุดมการณ์สุดขั้วสุดโต่งนี้ เขมรแดง ฆ่าคนที่ ต้องสงสัยว่า เป็นคนชั้นสูง คนชั้นกลาง ปัญญาชน เดิม และคนที่มิใช่ชาวนาและกรรมชีพ หรือ สหายคอมมิวนิสต์สุดโต่ง เป็นจำนวนประมาณ 7.5 ล้านคนในคอมมูนของ ขเมรแดง !!!
11. สำหรับคนที่อยู่ใน คอมมูนของ อองกา แล้ว ความหวังเดียวของพวกเขาในการที่จะหนีจาก นรกการทดลองอุดมคติ แบบนี้คือการหนีจากกัมพูชา ไปสู่พื้นที่แห่งความหวัง และคือการเดินทางสู่ทิศตะวันตก เข้าชายแดนไทย ให้ได้ ที่นั่น อเมริกา ตั้งค่ายผู้ลี้ภัย เพื่อรอรับ ผู้ที่หนีจาก เขมรแดงในช่วงนั้น
1
12. ตัดกลับมาที่ เวียดนาม หลังชนะสงครามเวียดนามแล้ว สั่งสมความแข็งกร่ง ผนวกกับการสนับสนนุของโซเวียต ในปี 1978 (2521) ก็ ยกทัพเข้าสู่กัมพูชา และใช้เวลาเพียงแค่สองสัปดาห์ เอาชนะ เขมรแดง ที่ครองประเทศตอนนั้นได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยมี เฮงสัมริน ผู้ได้รับการหนุนหลังจากเวียดนาม รัฐประหารพอลพต แล้ว ตั้งรัฐบาลปกครองกัมพูชา เป็นเวลายาวนานถึง 13 ปี จนปี 2534 ได้มีการถอนทัพ (1978-1991)
13. ในชุดรัฐบาลหุ่น เฮงสัมริน ของเวียดนาม มีรัฐมนตรี ชื่อว่า "ฮุนแซน" (ทั้งสองรวมถึง เจียซิม) ต่างเคยเป็นแนวร่วม เขมรแดง แต่ผละจากขเมรแดง แล้วเข้า่กับ ฝ่ายเวียดนามในยุคนั้น โดยปัจจุบันผู้นำทั้งสามในยุคนั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จ
1
14. หลังจากนั้นมีความพยายามของนานาชาติ (นำโดยไทย) ในการทำให้ เขมร หลายๆฝ่าย (บ้างก็สามฝ่าย บ้างก็เรียกสี่ฝ่าย ก็ได้แก่ ฝ่าย อำนาจเดิมคือ สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ (พรรคฟุนซินเปก) , ฝ่ายซอนซาน อันเป็นสายกลาง, เขมรแดง และอีกฝ่ายคือ ฝ่ายที่เป็นรัฐบาล กล่าวคือฝ่ายที่เวียดนามหนุนหลัง) ได้ฟอร์มรัฐบาล ที่มาจากส่วนต่างๆ เพื่อที่จะทำให้ประเทศสงบสุขกว่าเดิม
ก็ลงเอยด้วยความสงบในระดับหนึ่ง "เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า" ไปได้
1
หลายคนที่ได้มีโอกาส ไปกัมพูชา คงได้เห็นว่า ความบอบช้ำจาก ความแตกแยกของคนในชาติ ความแตกแยกทางอุดมการณ์ การใช้อุดมการณ์อย่างสุดโต่ง ที่สุดแล้วสร้างความบอบช้ำให้กับประเทศๆหนึ่งได้สาหัสขนาดนี้เชียวหรือ
หันมามองบ้านเรา สงครามตัวแทน สงครามเย็นที่ มหาอำนาจใช้ อินโดจีนเป็น สมรภูมินั้น อยู่ติดกับรั้วบ้านเรา อีกนิดเดียวบ้านเราก็คงจะมีชะตากรรมแบบเดียวกันกับ เพื่อนบ้านแล้วเหมือนกัน
การผ่านช่วงวิกฤตดังกล่าวมาได้ไม่ใช่เพราะเหตุบังเอิญ แต่เพราะกระบวนการหลากหลายของคนในชาติเรา และเหนืออื่นใด คือ น้ำพระราชหฤทัย และความห่วงใยในพสกนิกรของ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่ทรงลงพื้นที่เพื่อพัฒนา ทุกๆพื้นที่ของประเทศ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทุรกันดารเพียงใด มีความสุ่มเสี่ยงต่ออันตราย ภัยคุกคามอันเกิดจากความเห็นต่างทางอุดมกาารณ์เพียงไหนก็ตาม ดังคำที่ว่า ธ ทรงเป็น ศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ ธ คือผู้ทรงยึดเหนี่ยวคนไทยไว้ด้วยกัน
#โชคดีที่เกิดบนแผ่นดินไทย
โฆษณา