2 มี.ค. 2019 เวลา 11:45 • ประวัติศาสตร์
ค.ศ. VS พ.ศ.
A.D. vs B.E.
เข้าใจประวัติศาสตร์ไทย ใน ประวัติศาสตร์โลก
Anno Domini Year of the Lord ปีศักดิ์สิทธิ์ เริ่มต้นจากการประสูติของพระบุตรเยซู ตรงกับ พ.ศ. 543
เคยพาเพื่อนเยอรมันไป สุพรรณบุรี และอธิบายวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และชัยชนะของพระองค์ในศึกยุทธหัตถีเหนือ พระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดี แล้ว ริคเค่น ถามกลับมาสั้นๆว่า "เทียบกับประวัติศาสตร์ยุโรปหรือประวัติศาสตร์โลกแล้ว ตอนนั้นช่วงไหน"
... (ใบ้.... แบ๊ะ แบ๊ะ)
บ้านเราใช้ระบบปี พุทธศักราช (B.E. Buddhist Era) เป็นหลัก แต่เวลาเราเรียนประวัติศาสตร์โลก เราเรียนเป็นระบบ "คริสตศักราช" (A.D. Anno Domini) ผลคือหลายๆครั้งเราไม่สามารถเทียบมิติทางเวลาระหว่าง ประวัติศาสตร์เรากับประวัติศาสตร์โลกได้คล่องตัวเท่าไหร่
ถึงแม้ว่า จะไม่ได้ยากมากนัก เพราะว่าเพียงแค่เอา 543 ลบปีพุทธศักราช ก็จะเป็นปี ค.ศ. แล้ว แต่บางทีก็บวกไม่ทัน
เลยนำมาซึ่งโพสนี้ครับ เปรียบเทียบประวัติศาสตร์สำคัญๆของไทย (แบบคร่าวๆมากๆไม่งั้นยาววววว) เชื่อมกับประวัติศาสตร์โลกแบบที่ผมคำนวนปี พ.ศ. ค.ศ. มาแล้ว โดยเน้นที่ประวัติศาสตร์ยุคปลายกรุงศรีอยุธยา  รัตนโกสินทร์ครับ จนถึงสิ้นสุดสงครามเย็นละกันครับ
เสียกรุงศรีอยุธยา (๒๓๑๐) ตรงกับ ปี ค.ศ. 1767 หรือ สิบปีก่อนที่ George Washington จะ นำสหรัฐอเมริการประกาศเอกราชจาก สหราชอาณาจักร และเป็นช่วงที่ สหราชอาณาจักร ประกาศการเป็นเจ้าของ ออสเตรเลีย อย่างเป็นทางการ (1770) (ทั้งสองเหตุการณ์อยู่ในช่วงสมัย กรุงธนบุรี)
ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ (1782-ปัจจุบัน)
ล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ครองราชย์ ระหว่าง ค.ศ. 1782-1809)
คือยุคเริ่มต้นของสหรัฐอเมริกา และ การปฏิวัติฝรั่งเศส (1789) รวมถึง การก้าวขึ้นมามีอำนาจของ Napoleon Bonaparte ผู้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ์แห่งจักรวรรดิ์ฝรั่งเศส และการนำยุโรปเข้าสู่มหาสงคราม Napoleonic War (1803-1815)
รัชสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (1809-1824) สงครามนโปเลียนช่วงต้นจนยุติ ยุโรปเริ่มต้นสร้างสันติภาพ
รัชสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (1824-1851)
ตรงกับยุคสันติภาพในยุโรป และเริ่มต้นยุคล่าอนานิคม สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย (ราชวงศ์ Hannover) ครองราชย์ (รัชสมัยยาวนาน 64 ปี 1837-1901)
รัชสมัย รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (1851-1868)
อังกฤษสมัย วิคตอเรีย การขยายอำนาจในเอเชีย อังกฤษยึด อินเดีย (British Raj) ปี 1858  และทำสงครามฝิ่นกับจีนสมัยจักรพรรดิ์เต้ากวง (1860) ฝรั่งเศสขยายอำนาจเข้าสู่อินโดจีน
ประวัติศาสตร์สองภูมิภาคเริ่มเชื่อมต่อลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรป
รัชสมัย รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (1868-1910)
ปี 1901 สิ้นสุดรัชสมัย Victoria ก้าวสู่ สมัยพระเจ้า Edward VII แห่งสหราชอาณาจักร
จีนผลัดแผ่นดินจาก จักรพรรดิ์ กวางซู่ สู่ จักรพรรดิ์พระองค์สุดท้าย (ซวนถง หรือ ปูยี)
รัชสมัย รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1910-1925)
พระเจ้า George V  ขึ้นครองราชย์ยุโรป ตั้งสมาพันธ์สามจักรพรรดิ์ (Drei Kaiser Bund) อันประกอบด้วย พระเจ้า Kaiser Wilhelm II แห่งปรัสเซีย พระเจ้า George V  สหราชอาณาจักร Tsar Nicolas II แห่งรัสเซีย  เพื่อป้องกันสงครามใหญ่ในยุโรป
1911 จีนก้าวสู่ระบอบสาธารณรัฐในปี1911 ญี่ปุ่นขยายแสนยานุภาพ เอาชนะสงครามเหนือรัสเซียในน่านน้ำแปซิฟิก กลายเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคนี้
1915 สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อุบัติขึ้นจากความล้มเหลวในดุลอำนานของสมาพันธ์สามจักรพรรดิ์ เยอรมันออสเตรียฮังการี ออตโตมาน ฝ่ายหนึ่ง อังกฤษฝรั่งเศส (รัสเซีย) อิตาลี ญี่ปุ่น อีกฝ่ายหนึ่ง
1917 จักรวรรดิ์รัสเซีย ล่มสลายบอลเชวิก ควบคุมอำนาจรัฐในรัสเซียภายใต้การนำของ เลนิน การเมืองโลกผันผวนในหลายพื้นที่
1919 สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมันก้าวสู่ยุคประชาธิปไตย Weimar พระเจ้า Kaiser Wilhelm II แห่ง Hohezollern สละราชสมบัติลี้ภัยไปอยู่ใน เนเธอร์แลนด์
รัชสมัย รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (1925-1935)
1932 (๒๔๗๕) การเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย
เยอรมันยุคประชาธิปไตย Weimar รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพและนำไปสู่การเริ่มต้นมีอำนาจของพรรค National Sozialismus อย่างเต็มรูปแบบหลังการเลือกตั้งสภา Reichstag ในปี 1933
รัชสมัย รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (1935-1946)
ช่วงล่อแหลมสงครามโลกครั้งที 2
1936 เป็นปีที่อังกฤษมี กษัตริย์สามพระองค์ พระเจ้า George Vสวรรณคต, พระเจ้าEdwar VIII ครองราชย์และสละราชสมบัติในปีเดียวกัน พระเจ้า George VI พระอนุชาครองราชย์ถัดมาในปีเดียวกัน
สงครามโลกครั้งที่สอง 1939-1945 ประเทศไทยโดยจอมพลป. พิบูลย์สงครามนำไทยเข้าร่วมฝ่ายอักษะ เปิดทางให้ทัพญี่ปุ่นเดินทางข้ามประเทศสร้างรถไฟเชื่อมต่อไปยังพม่าเพื่อนำกำลังอักษะบุกแนวรบเอเชียกับอังกฤษในอินเดีย
รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (1946-2016)
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โลกเข้าสู่ภาวะ สงครามเย็น และการประกาศเอกราชของเหล่าอนานิคม และ สงครามเย็น อินเดีย (1947) พม่า (1948) มาเลเซีย (1957) ประกาศเอกราชจาก สหราชอาณาจักร
1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีชัยชนะเหนือก๊กมินตั๋ง พาจีนสู่ประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง
เวียดนาม รบกับฝรั่งเศสในสมรภูมิเดียนเบียนฟู (1954) นำไปสู่การถูกแบ่งประเทศเป็นเหนือใต้ (1955)  ตามด้วยสงครามสองเวียดนาม จน 1975 (๒๕๑๘) ไซง่อนแตก สหรัฐพ่ายสงครามเวียดนาม  1978 (๒๕๒๑) กัมพูชาแตก เวียดนามส่งทหารเข้ากัมพูชา (1978) ลัทธิโดมิโน่ กำลังคืบคลานสู่ประเทศไทย แต่ประเทศไทยดำรงความมั่นคงสืบมาจวบจนวันนี้
1989 (๒๕๓๒) เวียดนามถอนทหารจากกัมพูชา ภูมิภาคอินโดจีนเปลี่ยนจากสนามรบสู่สนามการค้า สันติสุขมาสู่ภูมิภาคของเราในที่สุด
Sent from my Samsung Galaxy smartphone.
โฆษณา