2 มี.ค. 2019 เวลา 15:50 • ธุรกิจ
9 กิจกรรมโลจิสติกส์
InnoSupplyChain
1. การพยากรณ์และการวางแผนความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting and Planning) นับว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในการสร้างผลกำไร หรือขาดทุนให้องค์กรได้ การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าที่มีประสิทธิผล จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน กล่าวคือสามารถวางแผนการผลิต และความต้องการใช้ทรัพยากรในแต่ละกระบวนการได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ปริมาณการจัดเก็บสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเครื่องมือในการพยากรณ์ที่นิยมใช้กัน เช่น Moving Average/Weight Moving Average/Exponential Smoothing/Exponential Smoothing with Trends.
2
Slimstock.com
2. การให้บริการแก่ลูกค้า และกิจกรรมสนับสนุน (Customer Service and support) เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อบริการ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการประสานงานการใช้ทรัพยากรของแต่ละกิจกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าตามหลัก 4R’s โดยที่ลูกค้าได้รับสินค้า บริการที่ถูกต้อง(Right Product) ตรงตามเงื่อนไขที่ตกลง (Right Condition) ปริมาณครบถ้วน (Right Quantity) และทันเวลาที่ลูกค้าต้องการ (Right Time) โดยเน้นความสำคัญแก่ฝ่ายการตลาด และกิจกรรมกับลูกค้าเป็นหลัก
Salesforce.com
3. การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และการจัดการคำสั่งซื้อ (Logistics Communication and Order Processing) กระบวนการในการจัดการคำสั่งซื้อ ครอบคลุมตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การตรวจสอบยอดสินค้าคงคลัง รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า กิจกรรมนี้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างองค์กรกับลูกค้า ดังนั้นจึงมีผลต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction Levels) ได้ง่าย จึงควรใช้เวลาในกระบวนการนี้ให้สั้น และหลีกเลี่ยงความผิดพลาดให้ได้มากที่สุด
toidien.vn
4. การจัดซื้อจัดหา (Purchasing and Procurement) เป็นกิจกรรมในการจัดหา ประเมินแหล่งวัตถุดิบเพื่อจัดซื้อสินค้านั้นๆ รวมไปถึงการบริหารอุปทาน (Supply Management) โดยรวมตั้งแต่การคัดเลือกผู้ขาย (Supplier Selection) การเจรจาต่อรองราคา (Negotiating & Bargaining) หรือเงื่อนไขปริมาณในการสั่งซื้อ (Minimum of Quantity:MOQ) และการประเมินคุณภาพของผู้ขายสินค้า และวัตถุดิบนั้นๆ (Supplier Evaluate & Assesment) เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรได้รับสินค้า หรือวัตถุดิบที่มีคุณภาพตรงความต้องการ
4
Hostpapa.blog
5. การขนถ่ายวัตถุดิบ และการบรรจุหีบห่อ (Materials Handling and Packaging) บรรจุภัณฑ์ และหีบห่อในด้านโลจิสติกส์มีไว้เพื่อป้องกันตัวสินค้าจากความเสียหาย (Damage) และอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย และจัดเก็บ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ หรือหีบห่อที่ดีนั้นต้องมีความเหมาะสมกับอุปกรณ์ขนย้าย (Material Handling Equipment:MHE) และคลังสินค้า (Warehouse) อีกทั้งต้องช่วยลดต้นทุนด้านวัตถุดิบ
1
th.pngtree.co.th
6. การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึง ลดปัญหาเรื่องระยะทางการขนส่ง และเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว มีสินค้าให้กับลูกค้าโดยไม่เสียเวลารอคอยนาน การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่จะส่งผลกระทบตั้งแต่ต้นทุนค่าขนส่ง (Transportation Cost) ระดับการให้บริการลูกค้า (Customer Service Level) และความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการลูกค้า (Just in Time:JIT) โดยปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เข้ามาช่วยในการจัดการให้กับองค์กร คือ ระบบบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management System : WMS)
1
plctelecom.co.th
7. การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) สินค้าคงคลังนับรวมตั้งแต่วัตถุดิบ (Materials) สินค้าระหว่างผลิต (Work in Process : WIP) และสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods : FG) โดยการบริหารสินค้าคงคลังเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานอื่นๆ รวมถึงมีผลต่อกำไร ขาดทุนขององค์กร เช่น หากระดับสินค้าคงคลังสูง (High Inventory Level) จะทำให้ต้นทุนในการจัดเก็บดูแลเพิ่มขึ้น (Inventory Handling Cost) หรือหากมีสินค้าที่เก็บล้าสมัย (Obsolete Stock) ก็ก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มมากขึ้น ในแง่ของผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ เช่น หากมีการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่น้อยเกินไป (Low Inventory Level) ต้นทุนในการจัดเก็บดูแลก็อาจจะต่ำ แต่อาจพบว่ามีความเสี่ยงในการตอบสนองความต้องการลูกค้าได้น้อยลง (Loss sale) หรืออาจทำให้ต้นทุนในการขนส่งเพิ่มมากขึ้น เพราะมีความถี่ในการขนส่งสูงขึ้น
1
Oga.co.th
8. การขนส่ง (Transportation) เป็นกิจกรรมเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ หรือสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการบริโภค (From point of origin to point of consumption) จนกระทั่งวัตถุดิบ สินค้าเหล่านั้นถึงมือ หรืออยู่ในความรับผิดชอบของลูกค้า ซึ่งองค์กรต้องคำนึงถึงรูปแบบลักษณะการเลือกวิธีการขนส่ง (Transportation Modes) ที่เหมาะสมกับตัวสินค้า เช่น ทางอากาศ (Air) ทางน้ำ (Sea) ทางราง (Rail) ทางถนน (Road) ทางท่อ (Pipe) หรือการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Mode) เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของภูมิภาคนั้นๆ รวมทั้งการวิเคราะห์โครงข่ายการขนส่งในรูปแบบต่างๆ เช่น Direct shipment/Milk Run/Hub&Spoke ให้เกิดต้นทุนในการขนส่งต่ำที่สุดโดยมีซอฟแวร์ช่วยวิเคราะห์ที่เรียกว่า ระบบจัดการขนส่ง (Transportation Management System : TMS) องค์กรจึงจำเป็นต้องจัดส่งสินค้าที่มีคุณภาพไปให้ลูกค้าในสถานที่และเวลาที่ถูกต้อง รวมถึงควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ การขนส่งเป็นกิจกรรมที่้เกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอกองค์กร รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในทั้ง9กิจกรรม จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องบริหารจัดการอย่างครอบคลุม
Busandtruckmedia.com
9. โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) เป็นกระบวนการจัดการสินค้าที่ถูกส่งกลับมาไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุที่สินค้าไม่ตรงตามข้อกำหนด (Claim) หรือตกเกณฑ์ในการยอมรับของลูกค้า (Reject) ชำรุด (Damage) สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือแม้แต่วัตถุดิบบางชนิด ดังนั้นองค์กรจึงมีความจำเป็นในการกำหนดนโยบายที่จะรองรับสินค้าที่ถูกส่งคืนเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดต้นทุนต่ำที่สุด
1
Clearspider.com
โฆษณา