6 มี.ค. 2019 เวลา 07:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
👾เมื่อเชื้อยีสต์​ดื้อยา ทำให้อัตราการตายสูง60%
ปี ค.ศ.2009ที่ประเทศ​ญี่ปุ่น​🇯🇵มีผู้ป่วยหญิงวัยชรามาด้วยอาการหูอักเสบคล้ายการติดเชื้อแบคทีเรียทั่วไป
ได้การรักษาแรกคือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อน แต่ผลการรักษาไม่ดีขึ้น
ที่นี้ทำท่าจะวุ่นวาย สั่งตรวจเชื้อพบติดเชื้อยีสต์ หมอก็สั่งจ่ายยาฆ่าเชื้อราตามปกติ แต่ดันไม่หายอีก
เมื่อไม่หายก็ต้องเอาเชื้อไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ​ พบเชื้อยีสต์สายพันธ์ใหม่ ไม่เคยมีหมอคนใหนรู้จัก
(ไม่รู้คนญีปุ่นจะภูมิใจใหมที่ค้นพบ) คนญี่ปุ่นเลยตั้งชื่อเชื้อว่า Candida auris(auris แปลว่าหู)
ไอ้ยีสต์ตัวนี้มันกบฎ ฮะ ยาฆ่าเชื้อราที่มีใช้กันทั่วไปไม่ตายเช่นยา Fluconazole, itraconazole กลายเป็นต้องใช้ยา 💊amphotericin b ซึ่งผลข้างเคียงเยอะเฮี้ยๆ ที่สำคัญใครติดเชื้อตัวนี้โคตรซวยเลยเพราะอัตราการตายสูงประมาณ 60% สูงแค่ใหน คือสูงกว่า EBOLA อะ EBOLA อัตราการตายอยู่ที่ 50%
เราว่าความร้ายกาจของยีสต์​ตัวนี้เปรียบเหมืิอน
เครื่องบินรบสเตลท์ ไม่รู้ว่ามันมีอยู่จนสายเกินไป
-สาเหตุที่ไม่รู้​ดังนี้-
👾เป็นเชื้อใหม่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก ตรวจทางห้องแลปยาก อาการแสดงหลังติดเชื้อคล้ายคลึงกับเชื้อบ้านๆที่ไม่ดื้อยาตัวอื่น
👾เกิดมาพร้อมกับความสามารถดื้อต่อยาไม่ต้องรอกลายพันธุ์​เหมือนเชื้ออื่นๆ
👾ในสภาพแลดล้อมปกติเชื้อตายยากอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมทั่วไปเลย ใครติดเชื้อซักคนแล้วไปจับลูกบิดประตู มันก็อยู่บนลูกบิดประตูสบายใจ อะ ไม่เหมือนเชื้อไวรัส ออกนอกร่างกายคนไม่นานตายเองเลย
👾ยังไม่รู้ว่ามันมาจากใหนและมายังไง มัน pop up ขึ้นมาเลยพร้อมๆกันทั่วโลกเหมือนโฆษณาในเว็บเลยฮะ จู่ๆก็มา โพล่ไปทั่วโลกแบบไม่มีความสัมพันธ์กันเลย คือต้องเข้าใจนะเวลาเชื้อจะติดกันทั่วโลก มันต้องมีคนเป็นโรคเช่นจากอินเดียบินไปอเมริกา อะไรแบบนี้ แต่หนนี้มันโพล่ขึ้นมาเฉยๆเลย หมองงกันทั้งโลกอะ
ประเทศในแผนที่ต่อไปนี้คือที่ตรวจพบฮะ
Image from Imperial College London
แต่โชคยังเข้าข้างมวลมนุษย์
อัตราการแพร่เชื้อยังไม่สูง ไม่ได้ไวเหมือนโรคหัด โรคหวัด เลยทำให้โรคยังไม่กระจายไปทั่วโลก
สำหรับประเทศที่ไม่ถูกระบุว่ามีผู้ป่วย ก็ไม่ใช่ไม่มีนะอาจจะตรวจมันไม่เจอก็เป็นได้เฮ่อๆๆ ☠️👾
ปกติแล้วถ้ามีใครซักคนใช้คำว่า”เชื้อดื้อยา” เราก็จะเข้าใจกันว่าหมายถึงเชื้อแบคทีเรีย
เมื่อเชื้อยีสต์ ลุกขึ้นมาดื้อยา!
สมัยข้าพเจ้าเรียนมหาลัย คำว่าเชื้อดื้อยาจะสื่อถึงเชื้อแบคทีเรียเสียเป็นส่วนใหญ่ (แน่นอนมีไวรัสด้วย)
คำว่าเชื้อดื้อยา เลยทำให้มีการเตรียมความพร้อมหลายๆด้านดังนี้
-วิจัยยาใหม่สำหรับเชื้อแบคฯ ไวรัสเรื่อยๆ ปัจจุบันมีให้เลือกใช้เยอะขึ้น(แต่ก็ยังไม่ทันกับอัตราดื้อยา)
-เตรียมความรู้ในการตรวจทางห้องแลป เวลาตรวจต้องทำไงควรตรวจเชื้อไรมั่ง
-เตรียมความรู้ให้แก่ผู้รักษา แพทย์ เภสัช พยาบาล ต้องใช้กรรมวิธีใด ขั้นตอนเป็นอย่างไร
-เตรียมความรู้ในการป้องกันไม่ให้เชื้อกระจาย เช่นใช้น้ำยาอะไรเช็ดฆ่าเชื้อ เช่นเมื่อพบว่ามีคนถุยน้ำลายลงในโรงพยาบาลเป็นต้น
ให้กำลัใจผู้​เขียนด้วยการกดLike กดแชร์​หรือแวะเยี่ยมบ้านเราได้ที่ https​://druggood.com​
Reference
โฆษณา