13 มี.ค. 2019 เวลา 08:10 • ธุรกิจ
"Category Role"
ในการบริหารจัดการธุรกิจค้าปลีก ที่มีสินค้าหลายพันหลายหมื่น SKU จำเป็นจะต้องมีการ group สินค้าออกมาเป็น category เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ เช่น category cooking (ข้าวสาร น้ำมัน น้ำปลา) snacks (ขนมขบเคี้ยว) beverage (เครื่องดื่ม) cleaning (ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด) ready to eat (อาหารพร้อมทาน) และอื่นๆ
.
.
แต่ละ category ก็จะมีการบริหารจัดการแตกต่างกันอีก ขึ้นอยู่กับ category role และกลยุทธ์ของแต่ละห้างว่าจะชูจุดขายด้านใด โดยหลักๆ category role จะมี 4 ประเภทดังนี้
1. Destination Category
เป็น category ที่ focus ว่าจะต้องเหนือกว่าคู่แข่งทั้งด้านราคาและ
คุณภาพ ง่ายๆคือเมื่อลูกค้าคิดว่าจะซื้อสินค้านี้จะต้องมาที่เรา มี
การพัฒนาสินค้าร่วมกับ supplier อย่างสม่ำเสมอ สร้างความ
แตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างชัดเจน ให้พื้นที่ในการ
จัดเรียงมาก และมีสินค้าพร้อมขายตลอดเวลา (no out of stock)
2. Routine Category
category basic ที่ทุกที่มีเหมือนกัน เป็นสินค้าในชีวิตประจำวัน
ที่ต้องคอยดูแลเรื่องราคาให้สามารถแข่งขันได้
3. Seasonal Category
สินค้าเทศกาลที่เข้ามาขายเป็นช่วงๆ สามารถทำกำไรให้ห้างได้ใน
ช่วงนั้นๆ ต้องมีการวางแผน stock และจัดเรียงในจุดที่ลูกค้าเห็นได้
ชัดเจน
4. Convenience Category
สินค้าที่ไม่ใช่สินค้าจำเป็น แต่ต้องมีไว้เพื่อรองรับความต้องการ
ลูกค้า (one stop shopping) สามารถบวก margin สูงได้
.
.
ยกตัวอย่าง 7-eleven จัดกลุ่มสินค้าอาหารกล่อง เป็น destination category เมื่อลูกค้านึกถึงอาหารที่ทานได้ง่ายๆสะดวก ก็จะนึกถึง 7-eleven โดยเซเว่นก็จะมีการพัฒนาเมนูใหม่ๆออกมาสม่ำเสมอเพื่อครองความเป็นเจ้าตลาดด้านนี้ ส่วนขนมขบเคี้ยวจัดเป็น routine category ที่กลุ่มร้านค้าสะดวกซื้อมีเหมือนๆกัน seasonal category เช่น ปืนฉีดน้ำช่วงสงกรานต์ จะขายได้ในช่วงสั้นๆ ต้องจัดเรียงให้ลูกค้าเห็นได้ชัดเจนเพือกระตุ้นให้ซื้อ Convenience Category เช่น ไฟฉาย แบตเตอรี่ ไม่ได้เป็นสินค้าที่ขายได้บ่อย แต่ก็ต้องมีไว้เพื่อรองรับความต้องการลูกค้า
.
.
ร้านค้าต้องรู้ว่า positioning ของตนเอง มุ่งเน้นด้านไหน เพื่อจะวางบทบาทของแต่ละ category ได้อย่างชัดเจน และไม่หลงทาง
Ezy Retail 13 mar 2019
ติดตามบทความค้าปลีกดีๆได้ที่นี่ทุกวัน
โฆษณา