15 มี.ค. 2019 เวลา 13:34 • ธุรกิจ
"Premium product"
เคยมั้ยที่จองโรงแรมหรู 5 ดาวติดหาด แต่มาเปลี่ยนใจวินาทีสุดท้ายไปพักที่พักที่ถูกกว่า เพราะเสียงในหัวบอกว่า choice แรกนั้น "แพงเกินไป" และในที่สุดเราก็ต้องมาเจอสภาพห้องเก่าๆ วิวทะเลแบบมีตึกบัง และบริการแบบสองดาว
.
.
ทุกคนรู้ดีว่ามันมีความแตกต่างระหว่างผักที่ลดราคา 70% ก่อนห้างปิด และผักสดที่ฟาร์มออร์แกนิค หรือเสื้อที่วางขายใน outlet กับเสื้อในห้างสรรพสินค้า
.
.
ทำไมมีคนเลือกขับ mercedez benz ที่ราคาแพงลิ่ว ทั้งที่ขับโตโยต้าก็ได้เหมือนกัน? หรือทำไมมีคนยอมจ่ายค่ากาแฟสตาร์บัคแก้วละ 150 บาท ทั้งที่สามารถซื้อกาแฟรถเข็นในราคาแค่ 30 บาท?
.
.
ผู้บริโภคเหล่านี้ไม่ได้คำนึงเรื่องราคาเป็นหลัก พวกเขายินดีจ่ายในสิ่งที่เขาคิดว่าคุ้มค่าสำหรับเงินที่จ่ายไป (value for money) คนขับ benz ไม่ได้ซื้อรถ แต่ซื้อความภาคภูมิใจ คนดื่มกาแฟสตาร์บัค ไม่ได้ซื้อกาแฟ แต่ซื้อบรรยากาศของร้าน (กลิ่นหอมของกาแฟพันธุ์ดี/ เก้าอี้นั่งทำงานแสนสบาย) คนใช้สินค้าออร์แกนิค ก็ไม่ได้ซื้อสินค้า แต่ซื้อความปลอดภัยจากสารเคมีเป็นต้น
.
.
ร้านค้าหรือผู้ผลิตที่ติดกับดักของคำว่า "กลัวจะแพงเกินไป" มักจะไม่กล้านำเสนอสิ่งที่ดีให้กับลูกค้า และมักจะมีแต่สินค้าราคาถูกที่ไม่มีความแตกต่าง หัวใจสำคัญคือสินค้าต้องมีมูลค่ามากกว่าราคาที่ลูกค้าจ่ายเสมอ เนื้อวัว import จากญี่ปุ่นต้องสามารถสร้างความแตกต่างและประทับใจมากกว่าเนื้อวัวจากสระบุรี ให้ลูกค้าสัมผัสได้ ลูกค้าจึงจะกล้าจ่าย
.
.
สินค้าพรีเมี่ยม ที่ราคาสูง มีคุณภาพดี มีสตอรี่ target เฉพาะกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจทีเดียว เพราะถ้า success จะสามารถสร้างทั้งยอดขายและผลกำไรได้อย่างดี
.
.
จะแข่งใน red ocean (mass product) อีกทำไม ในเมื่อ blue ocean (premium product) ยังมีที่ว่างในตลาดอีกมากมาย
Ezy Retail 15 mar 2019
ติดตามบทความค้าปลีกดีๆได้ที่นี่ทุกวัน
โฆษณา