16 มี.ค. 2019 เวลา 08:53 • สุขภาพ
# ทำไงดี กับการนอนกรนที่หยุดหายใจระหว่างหลับ
ในภาวะนอนกรนอันตรายจนถึงขั้นที่เข้าสู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA หมอ ๆ รู้กันในนาม โอซา ไม่มีแวงนะ ไม่ใช่ โอซา แวง) จะมีการตรวจวัด AHI apnea-hyponea index หรือดัชนีวัดความถี่ของการหยุดหายใจต่อหนึ่งชั่วโมงที่หลับ เชื่อไหมคะ มีคนหยุดหายใจระหว่างได้บ่อยถึง 20 ครั้งต่อชั่วโมง
https://www.pexels.com/photo/animal-cat-face-close-up-feline-416160/
ระดับความรุนแรงนั้นสามารถวัดได้จาก 3 ปัจจัย ได้แก่
•ระดับออกซิเจนในกระแสเลือด
•ความง่วงซึมเซาในเวลากลางวัน และ
•จำนวนครั้งที่หยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือเรียกว่าค่า AHI (Apnea Hypopnea Index)
AHI นี้จึงเป็นตัวนึงที่มีความสำคัญเอาไว้แบ่งกันว่าจะวางแผนรักษายังไงต่อดี
ค่า AHI จำนวน 5 – 15 ครั้งต่อชั่วโมง นับเป็นผู้ป่วยโรค OSA ระดับเบา
ค่า AHI จำนวน 16 - 30 ครั้งต่อชั่วโมง นับเป็นผู้ป่วยโรค OSA ระดับปานกลาง
ค่า AHI จำนวน 30 ครั้งขึ้นไป ต่อชั่วโมง นับเป็นผู้ป่วยโรค OSA ระดับรุนแรง
เราเริ่มแนะนำให้เริ่มรักษาจริงจังในคนไข้ที่ AHI มากกว่า 20 ขึ้นไป เพราะมีอัตราการตายสูง รวมถึงคนไข้ที่ภาวะ OSA นี้มีผลต่อการทำงานหรือรบกวนชีวิตประจำวันมาก
การรักษามีทั้งแบบไม่ผ่าตัด กับ ผ่าตัด ค่ะ
รักษาแบบไม่ผ่าตัด บอกไปแล้วคิดว่าเป็นวิธีอันแสนเบสิคที่คนไข้ส่วนใหญ่ต้องท้อแท้ เพราะเนื่องจากคนไข้ OSA มักมีปัญหาเรื่องโรคอ้วน ทางแรกให้ช่วยกันลดน้ำหนักให้ได้ นึกตามง่าย ๆ ว่าเมื่อลดน้ำหนักลงได้ เนื้อที่คอก็จะหายไป ช่องที่ตีบแคบก็จะได้โล่งขึ้น
อ้าว จริงนะ อย่าเพิ่งส่ายหัว
ต่อมา ก็เลี่ยงการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ง่วงนอน และงดแอลกอฮอลล์ เพราะทำให้กล้ามเนื้อช่องคออ่อนเปลี้ย หย่อนยาน ทำให้ช่องคอที่อากาศตีบแคบ
แนะนำอยากให้เลี้ยงท่านอนหงาย ถึงแม้จะเป็นท่า the best สำหรับสรีระในคนปกติ แต่สำหรับ OSA ลิ้นตกลงในช่องคอมันจะกั้นทางเดินหายใจได้ มีทริกที่หมอบางท่านบอกให้เอาลูกบอลเล็ก ๆ แปะหลังเสื้อนอนเพื่อที่จะให้นอนไม่สบายแล้วเดี๋ยวเราก็จะพลิกตัวไปเอง (ขอลูกบอลแข็ง ๆ ไม่งั้นนอนทับแล้วเดี๋ยวลูกบอลฟีบ คริคริ)
สุดท้าย ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องได้ด้วยกล (ใช่หรอ?)
คือการใช้อุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์เหล่านี้เกิดมาเพื่อช่วยปรับสรีระทางช่องปากและคอ เปิดทางให้แก่ทางเดินหายใจค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นตัวช่วยดันขากรรไกร ตัวช่วยดันไม่ให้ลิ้นตก
เหมือนตัวรีเทนเนอร์คนดัดฟ้น แต่มีตัวยึดขากรรไกรบนล่างไม่ให้ตกลงไป
ลิ้นตกนักใช่มั้ย จัดไป หนีบลิ้นให้มันอยู่ข้างนอกนี่หละ
อุปกรณ์น่ารักเนาะ ช่างคิด แต่ก็มีการใช้จริง นอกจากนี้ก็มีอุปกรณ์ช่วยแบบอื่น ๆ อีก แต่ไม่ได้กล่าวถึงนะคะ ยกพอเป็นตัว อย่างกล้อมแกล้ม
ที่เห็นจะราคาสูงแต่ถูกใช้อยู่บ่อยก็คือ เครื่อง CPAP (อ่านว่า ซีแผ็บ )
เป็นเครื่องอัดแรงลมเข้าช่องทางเดินหายใจ เพื่อหวังให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งจากแรงดัน ยุ่งยากหน่อย แต่มีคนไข้หลายคนก็ใช้อยู่
https://www.fleetowner.com/driver-management-resource-center/how-fix-common-cpap-problems
หน้าตาก็จะประมาณนี้ค่ะ อันนี้ยืมรูปเค้ามา
https://www.123rf.com/photo_85090679_young-man-lying-on-bed-with-sleeping-apnea-and-cpap-machine.html
แต่ด้วยเหตุที่ CPAP มันเป็นลักษณะแบบนี้คือใช้สายรัดครอบจมูก ทำให้เกิดแรงกดตรงรอบจมูก บางคนมีแผลกดทับได้ และอาจจะไม่ชินกับแรงกดสำหรับคนนอนยาก แต่ส่วนใหญ่ก็ให้ผลตอบรับที่ดี สดชื่นในตอนเช้า แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่อาจจะต้องพึ่งการใช้ CPAP ไปยาวนาน
ในส่วนสุดท้าย การรักษาในแบบไม่ต้องผ่าตัด นั่นคือถ้าไม่ไหวจริง ๆ การรักษาข้างต้นนั้นไม่ effective และหมดหนทาง การผ่าตัดจึงจะเป็นตัวเลือกสุดท้ายค่ะ
ซึ่งผ่าตัดก็มีหลายแบบอีก ขึ้นกับสาเหตุด้วย ซึ่งมีมากมายหลายเทคนิค ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเกิดจากโพรงจมูกอุดกั้น ก็เอาตัวส่วนอุดกั้นจมูกออก
จากต่อมทอนซิลโตรุนแรง ก็เอาทอนซิลออก
จากเนื้อเยื่อหน่อยยานก็ใช้วิธี Uvulopalatopharyngoplasty(UPPP) ( ชื่อยาวจัด )คือเอาต่อมทอนซิล ลิ้นไก่ เนื้อเยื่ออ่อนที่ผนังด้านหลังช่องคอออก เพื่อให้เพดานอ่อนนั้นลง และอื่น ๆ หลายวิธี กับตัวย่อการผ่าตัดอีกมากมาย
ใครจะเชื่อว่าบางทีเรื่องเล็ก ๆ ก็ทำให้เป็นบ่อเกิดของเรื่องใหญ่โตได้ เรามาดูแลจัดการช่องคอ ลดเหนียงกันเถอะ :D
โพสต์หน้าตามรีเควส จะเขียนเรื่องจมูกแน่น นอกเหนือจากภูมิแพ้หวัด จะเป็นอะไรได้อีกนะ ~ ติดตามนะคะ :)
โฆษณา