.
พบว่าการปรับขึ้นอย่างฉับพลันและสูงมากอาจไม่ได้หอมหวานขนาดนั้นในกรณีไทย เนื่องจาก:
.
1. การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้จริง แต่แรงงานกลุ่มรายได้ต่ำสุด 10 เปอร์เซ็นต์ของประเทศกลับไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น อาจเป็นที่ช่องโหว่ทางกฎหมาย
.
2. มีผลเสียทำให้มีประชากรออกจากกำลังแรงงานมากขึ้นจริง โดยกลุ่มคนที่ถูกกระทบมากที่สุดคือกลุ่มคนช่วงอายุ 15 ถึง 24 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ทำงานน้อย
.
3. แรงงานกว่า 60% ที่ทำงานในกิจการขนาดย่อมได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่กำหนดไว้
.
หากเรายังมีหลักฐานน้อยเกินไปกว่าที่จะบุ่มบ่ามปรับค่าแรงขั้นต่ำอย่างฉับพลันและปรับในอัตราสูง และที่จริงแล้วมันเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้น เพราะเป้าหมายสูงสุดของเราไม่ใช่การบังคับแบบ command and control ให้เกิดงานทักษะต่ำจำนวนมากขึ้นเพียงเพื่อที่จะให้แรงงานไทยทักษะต่ำยังชีพได้ เราต้องการให้พวกเขามีทักษะที่ดีขึ้น เพื่อที่เขาจะได้มีโอกาสได้งานที่สร้างผลิตผลมากขึ้น จำเจน้อยลง และทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นไปตามลำดับต่างหาก
.
หากมองให้ลึกลงไป จะพบว่ามีแรงงานจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย ซึ่งเห็นได้จากการบังคับใช้กฎหมายที่ยังมีปัญหาอยู่มาก นอกจากนั้น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอัตราที่สูงมาก ๆ แบบฉับพลัน มีโอกาสเกิดผลเสีย โดยเฉพาะสำหรับภาคธุรกิจที่ไม่เข้มแข็งพอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดย่อม และ เอสเอ็มอี ในส่วนของแรงงาน