19 มี.ค. 2019 เวลา 03:39 • กีฬา
ประวัติความเป็นมาข​องการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย​ (ตอนที่​ 3)
ฟุตบอลในประเทศไทยยุคที่ผ่านมาดูเหมือนจะมีการพัฒนาแบบรวดเร็วถ้าพิจารณาจากรายการแข่งขันที่มีหลายรายการและมีความเป็นสากลอยู่พอสมควร​ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ​ การแข่งขันทุกรายการยังเป็นเพียงการแข่งขันแบบสมัึครเล่นที่มุ่งเน้นเพื่ิอ​ "ความเป็นเลิศ" มิได้มุ่งเน้นให้เป็นการแข่งขัน​ "เพื่อความเป็นอาชีพ" กล่าวง่ายๆ​ คือ​ ระบบการแข่งขันที่นำมาใช้จัดการแข่งขันเป็นแบบฟุตบอลอาชีพ​ แต่ทีม​และนักฟุตบอลยังเป็นแบบสมัครเล่น​ ทีมสโมสรส่วนมากเป็นเพียงหน่วยงานกิจกรรมหนึ่งขององค์กรใหญ่​ ทั้งของภาคเอกชน​ และภาครัฐ ปัญหาเกี่ยวกับรายจ่ายในการบริหารจัดการจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้รายการการแข่งขัน​ และทีมต่างๆ​ ไม่มีการพัฒนาแบบยั่งยืน​
จนกระทั่งในปี พ.ศ.2534 สมาคมฟุตบอลฯ​ ได้ร่วมกับบริษัทในเครือของฐานเศรษฐกิจ จัดการแข่งขันฟุตบอล “ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก” ซึ่งถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลกึ่งอาชีพ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยที่กำหนดให้สโมสรที่จะเข้าร่วมการแข่งขันจะต้องมีนักฟุตบอลที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักฟุตบอลอาชีพกับสมาคมฟุตบอลฯ ทีมละ 3 คน ซึ่งจะได้รับค่าจ้างตอบแทนเดือนละ 5,000 บาท เป็นอย่างต่ำ โดยนักฟุตบอลที่ขึ้นทะเบียนนั้นจะต้องเสียภาษีจากรายได้ด้วย และแต่ละสโมสรสามารถนำผู้เล่นที่เป็นชาวต่างชาติเข้ามาเล่นด้วยได้ โดยการแข่งขันจะเป็นระบบการแข่งขันแบบ เหย้า - เยือนแบบพบกันหมดทีมละ 2 นัด ทีมที่มีคะแนนสูงสุดก็ได้ตำแหน่งชนะเลิศ ตามระบบลีกสากลทั่วไป
ตารางคะแนน​และดาวซัลโว​ ไทยแลนด์เซมิโปรลีก​ Cr:แฟนเพจสารานุกรมบอลไทย
ต่อมาในปี พ.ศ.2536 สมาคมฟุตบอลฯ​ ได้ร่วมกับกลุ่มบริษัท ยูคอม และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 จัดการแข่งขันฟุตบอล เอฟ.เอ.คัพ ที่เป็นการแข่งขันแบบระบบแพ้คัดออกขึ้นอีกครั้ง โดยการแข่งขันรายการนี้เคยมีการจัดการแข่งขันมาตั้งแต่​ ปี​ พ.ศ.2513​ แต่ไม่สามารถจัดได้ทุกปีเนื่องจาก ประสบปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนที่สนับสนุนการจัดการแข่งขัน​ โดยการแข่งขันที่จัดขึ้นอีกครั้งนี้ใช้ชื่อว่า “ยูคอม เอฟ.เอ.คัพ” ซึ่งมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 32 ทีม และหลังจากนั้นก็มีการจัดการแข่งขันต่อมาแต่ไม่เป็นประจำทุกปี โดยมีหน่วยงานภาคเอกชนผลัดเปลี่ยนกันมาเป็นผู้สนับสนุน และเปลี่ยนชื่อการแข่งขันไปตามชื่อของผู้สนับสนุน เช่น “สิงห์ เอฟ.เอ.คัพ” และ “ฮอนด้า เอฟ.เอ.คัพ” เป็นต้น​ จนในปี​ พ.ศ.​2545 ได้ประสบปัญหาขาดผู้สนับสนุน​ จนต้อ​งพักการแข่งขัน​ มากระทั่งใน ปี พ.ศ. 2552 สมาคมฯ จึงได้กลับมาจัดการแข่งขันฟุตบอลรายการนี้อีกครั้งโดยมีมูลนิธิไทยคมเป็นผู้สนับสนุนหลัก และเรียกชื่อการแข่งขันว่า “มูลนิธิไทยคม เอฟ.เอ.คัพ” ต่อมาในปี​ พ.ศ.2558 ได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักมาเป็นบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เรียกชื่อการแข่งขันว่า​ "ช้าง เอฟเอคัพ" โดยใช้รูปแบบการแข่งขันเป็นระบบแพ้คัดออกเช่นเดิม และก็มีการแข่งขันต่อเนื่องมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน โดยได้กำหนดสัดส่วนของสโมสรฟุตบอลที่เข้าแข่งขัน​ ตามระดับชั้นของลีกที่ลงแข่งขันในฤดู​กาลนั้นๆ ทั้งนี้ สโมสรที่ชนะเลิศรายการนี้ จะได้สิทธิเข้าแข่งขันฟุตบอลชิงชนะเลิศระดับสโมสร ที่จัดโดยสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (A.F.C) ต่อไป
ถ้วยรางวัล​เอฟเอคัพ​Cr:https://www.siamsport.co.th.
โฆษณา