Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มีเรื่องมาเล่า
•
ติดตาม
19 มี.ค. 2019 เวลา 11:34 • การศึกษา
หอเอนเมืองปิซ่า ไขความลับทำไมเอน
แต่ไม่ล้ม!
สำหรับหอเอนเมืองปิซ่า 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ใช้เวลาในการก่อสร้างกว่า 200 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกเป็นเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1173 (พ.ศ. 1716)
ไม่ปรากฏชัดเจนว่าใครเป็นคนออกแบบ เมื่อสร้างไปได้ 3 ชั้น การก่อสร้างก็มีอันต้องยุติลงในปี 1178 (พ.ศ. 1721) เพราะเมืองปิซ่าเข้าสู่ภาวะสงคราม
ต่อมาในปี 1275 (พ.ศ. 1818) หอคอยแห่งนี้ได้รับการต่อเติมอีกครั้ง โดยสถาปนิกนามว่า
จิโอวานนี ดิ ซิโมเน (Giovanni di Simone)
เขาสร้างเพิ่มอีก 4 ชั้น และก็ราวกับว่ามีอาถรรพ์อีกครั้ง ทำให้การก่อสร้างต้องยุติลงในปี 1284 (พ.ศ. 1827) ด้วยเหตุสงครามอีกเช่นกัน
กว่าจะมีการสร้างหอระฆังซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายของหอคอยแห่งนี้ ก็กินเวลาไปอีกเกือบ 100 ปีเลยทีเดียว โดยหอระฆังชั้นสุดท้ายของหอคอยซึ่งสร้างโดย ทอมมาโซ ดิ แอนเดรีย ปิซาโน (Tommaso di Andrea Pisano) ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในปี 1372 (พ.ศ. 1915)
ทั้งนี้ ระหว่างการก่อสร้างช่วงแรก เพียงแค่ 5 ปี หลังจากเริ่มทำการก่อสร้างก็พบว่า หอคอยแห่งนี้ก็เริ่มเอนลงไปทางเหนือแล้ว
โดยครั้งแรกที่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติของหอคอยแห่งนี้ก็ในช่วงที่มีการก่อสร้างเพิ่มเติมช่วงที่สอง แต่ทว่าสถาปนิก จิโอวานนี ดิ ซิโมเน ก็ยังคงเดินหน้าสร้างต่อ
และสาเหตุที่หอเอนลง ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เป็นเพราะพื้นดินที่ใช้ในการก่อสร้างไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากชั้นดินมีลักษณะเป็นดินปนทรายและดินโคลนทำให้ไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับน้ำหนักของหอคอยขนาดใหญ่ได้
แต่ด้วยวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างซึ่งทำมาจากหินปูน และปูนขาว มีคุณสมบัติสามารถโค้งงอ และทนต่อแรงต่าง ๆ ได้ดีกว่าวัสดุอื่น ๆ อย่างพวกหินหรืออิฐ นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมหอคอยแห่งนี้จึงไม่ถล่มไปเลย แต่กลับค่อย ๆ เอนลงเรื่อย ๆ
โดยปัจจุบันนี้ หอเอนเมืองปิซ่า ลาดเอียงลงมาประมาณ 13 องศาแล้ว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่า หอเอนมีโอกาสพังถล่มลงมาแน่นอน โดยทุก ๆ 20 ปี หอคอยแห่งนี้จะเอนลง 1 นิ้ว และมีคนทำนายว่า หอคอยแห่งนี้จะพังถล่มลงมาในปี 2200 หากยังไม่มีใครหาทางป้องกันได้
ขอบคุณ
www.travel.kapook.com
4 บันทึก
68
9
4
68
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย