20 มี.ค. 2019 เวลา 01:00
กัญชา กับทางการแพทย์
เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ปลดล็อกกัญชา เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัยทางการแพทย์และรักษาโรได้เท่านั้น แต่ทั้งหมดนั้นต้องอยู่ภายใต้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เป็นผู้กำหนดเขตพื้นที่ในการเพาะปลูกกัญชา และเสพกัญชา โดยไม่ถือว่ามีความผิดกฎหมาย
กัญชา จัดเป็นสารเสพติดประเภทที่ 5 ออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นและหลอนประสาทไปพร้อม ๆกัน ทำให้ผู้เสพมีอาการเคลิ้ม สนุก ร่าเริง หัวเราะตลอดเวลา
ในทางการแพทย์ กัญชามีประโยชน์ในการรักษาโรคและบรรเทาอาการได้หลากหลาย แก้อาการไอ อ่อนล้า โรคข้อ ใช้เป็นสารกระตุ้นความอยากอาหาร แม้กระทั้งรักษามะเร็งและอาการแพ้จากการได้รับยาเคมีบำบัด เป็นต้น
การตรวจกัญชาในห้องปฎิบัติการ สามารถใช้ปัสสาวะและเลือดในการทดสอบ โดยในปัสสาวะจะใช้ชุดแถบทดสอบเพื่อคัดกรอง หากผลการตรวจเป็นPositive จะทำการตรวจยืนยันแยกชนิดสารอีกครั้งด้วยวิธี GC-MS ซึ่งอาศัยหลักการแยกสารผสมออกจากกัน
กัญชา(Marijuana) มีสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทด้วยกัน 3 ตัว คือ Tetrahydrocannabinol(THC), Cannabidiol(CBD) และ Cannabinol(CBN) แต่สารที่พบในปริมาณสูงและมีฤทธิ์ต่อสมองคือ THC ซึ่งพบมากในยางกัญชา สารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกทำลายที่ตับ และขับออกทางปัสสาวะ
โดยร่างกายจะขับออกมาทางปัสสาวะประมาณ30% ภายใน 72 ชม. ที่ส่วนเหลือมันจะถูกเก็บสะสมไว้ตามเนื้อเยื่อไขมัน และค่อยๆขับออกมาทางปัสสาวะ อุจจาระ ภายใน 2-5 วัน ยิ่งหากมีการเสพเป็นเวลานานและปริมาณที่ใช้ในการเสพมาก การที่จะขับออกร่างกายได้หมด จะใช้เวลานานมากขึ้น อาจตรวจพบได้ ถึงแม้จะหยุดเสพกัญชาแล้วก็ตาม กรณีนี้มักจะเจอบ่อยในห้องปฎิบัติการแม้คนไข้จะบอกว่าไม่ได้เสพหรือเลิกเสพไปแล้ว
ฝากติดตามเพจ กดไลค์ เพื่อเป็นกำลังใจในการนำเสนอข้อมูลดีและเป็นประโยชน์ให้ด้วยนะคะ ❤️💓💕💖💟
#หมอแล็บเล่าเรื่อง
โฆษณา