21 มี.ค. 2019 เวลา 12:21 • การศึกษา
4 เทคนิค หัวใจสำคัญในการเลี้ยงปลากัดอย่างไรให้รอด ที่สำคัญยังสมบูรณ์แข็งแรงและไม่เป็นโรคและอายุยืนจ้า
https://m.wikihow.com/Save-a-Dying-Betta-Fish
หลายๆ คนคงสงสัยว่า ทำไมเราเลี้ยงปลากัดไม่เคยรอดสักทีมันเป็นเพราะอะไร บางคนเลี้ยงแล้วป่วยตาย บางคนเลี้ยงแล้วปลาไม่สมบูรณ์ เลี้ยงแล้วเป็นโรคอยู่เรื่อย มันเพราะอะไรกัน
บางคนก็ท้อ คิดว่า เราคงไม่มีเก่งไม่รู้ว่าปลาป่วยแล้วใส่ยารักษาแบบไหน แบบไหนคือป่วย
แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่สำคัญกว่าการรักษาอาการป่วยของปลา คือ ‘การเลี้ยงปลาอย่างไรไม่ให้ป่วยง่าย และเตรียมการรองรับเมื่อปลาป่วย’
4 หัวใจสำคัญเลย ที่ใช้ได้กับปลาแทบทุกชนิดคือ...
https://m.wikihow.com/Save-a-Dying-Betta-Fish
1. รักษาคุณภาพน้ำ และอย่าให้อาหารมากเกินความจำเป็น และน้ำไม่ควรร้อนหรือเย็นเกินไป (ไม่ควรเลี้ยงในห้องแอร์)
>>>แน่นอนว่าถ้าหากไม่หมั่นเปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอก็อาจทำให้ปลาของเราป่วยได้ และควรดูดกำจัดขี้ปลาที่ก้นขวดทุกวัน เพื่อสุขภาพที่ดีของปลา
ทั้งนี้ความบ่อยในการเปลี่ยนน้ำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะและอุปกรณ์การเลี้ยงด้วย เช่นถ้าเป็นตู้มีเครื่องกรองก็อาจจะเปลี่ยนน้ำอาทิตย์ละครั้งและทำความสะอาดใยกรอง ถ้าเลี้ยงในโหลก็ต้องเปลี่ยน 3 วันครั้ง หรือ แล้วแต่ความชำนาญของแต่ละท่านด้วยในการรักษาคุณภาพน้ำ หากมีเศษอาหารควรทำความสะอาดด้วยเสมอ เพราะปลากัดเป็นสัตว์ที่ท้องอืดง่าย ไม่ควรให้กินเศษอาหารบูดเน่าที่เหลือก้นตู้
https://m.wikihow.com/Save-a-Dying-Betta-Fish
2. ดูให้เป็นว่าปลาของเราป่วยหรือไม่
>>>ปลาของเราอาจแสดงอาการป่วย ซึ่งบางครั้งแสดงอาการให้เห็นแค่เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น หากเราหมั่นสังเกตสีของมันซีดไหม กินอาหารได้น้อยลงไหม ซึมจนผิดสังเกต ลอยตัวนิ่ง จมนิ่ง มีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม หางขาดไหม หรือ ตัวดำไหม เจ้าสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้จะบอกเราเองว่าปลาของเราป่วยรึเปล่า
บางคนดูไม่แน่ใจว่าป่วยหรือไม่ป่วยก็เอายาใส่ลงไปในตู้ซะแล้วซึ่งทำแบบนี้ผิดค่ะ เช่นบางกรณีที่ปลาของเราท้อง แต่เจ้าตัวดันเข้าใจผิดว่าปลาท้องบวม จัดแจงหยอดยาแก้อักเสบไป นอกจากจะเข้าใจผิดแล้ว ปลาของเรายังอาจตายได้จากสารเคมีเกินขนาด
ทั้งนี้การจะดูให้เป็นอาศัยประสบการณ์ การค้นคว้า และถามจากผู้รู้ หัวใจในการเลี้ยงคือการเอาใจใส่หมั่นสังเกตค่ะ คุณผู้เลี้ยงทั้งหลายก็จะค่อยๆ เรียนรู้เองว่า อาการเช่นไรคืออาการป่วยของปลากัดที่ตนเองเลี้ยง
https://m.wikihow.com/Save-a-Dying-Betta-Fish
3. เตรียมยาสามัญสำหรับสัตว์น้ำติดไว้ที่บ้าน รวมทั้งเกลือ ใบหูกวาง สลิงค์ป้อนยา และถ้วยตวง
>>>เมื่อปลาเริ่มแสดงอาการป่วยระยะเริ่มต้น หากรีบทำการรักษาเบื้องต้นอย่างถูกต้องก็จะทำให้ปลากลับมาแข็งแรงไว และ ไม่ป่วยเรื้องรัง หรือจากป่วยกลายเป็นปกติในวันต่อมาได้เลย
หากไม่รักษาทันทีที่พบอาการ โอกาสที่ปลาของคุณจะรอดก็น้อยตามลงไปด้วย บางคนเห็นปลามีอาการป่วย แต่กลับคิดว่าไม่เป็นไรพรุ่งนี้ค่อยทำการรักษา แต่สำหรับปลาน้อยของคุณ อาการกลับรุนแรงได้เพียงแค่ข้ามคืน
https://m.wikihow.com/Save-a-Dying-Betta-Fish
4. รู้จักโรงพยาบาลสัตว์น้ำใกล้บ้านคุณ
>>>หมาแมวไปหาหมอสัตวแพทย์ได้ ปลาก็เช่นกันค่ะ หลายคนคงไม่คุ้นเคยกับโรงพยาบาลสัตว์น้ำนัก แต่การรู้ว่าบ้านเราอยู่ใกล้รพ.สัตว์น้ำอะไร จะช่วยให้เราพาน้องปลาไปพบแพทย์ ในยามฉุกเฉินได้ทันท่วงที เช่น เศษสิ่งของต่างๆ ในตู้ติดคอปลา หรือ ปัญหาไฟรั่วในตู้ แล้วปลามีอาการชัก
นอกจากนั้นยังสามารถโทรไปปรึกษาแพทย์ก่อนว่าปลาเราป่วยมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้ช่วยเหลือปลาเบื้องต้นได้ถูกต้องค่ะ
*** รับปรึกษาปัญหาเกี่ยวสัตว์น้ำ ปลาป่วย อุปกรณ์ เครื่องกรอง ชนิดพันธุ์ปลา ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ
เฟสบุ๊คเพจ : โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์
โฆษณา