26 มี.ค. 2019 เวลา 01:00
ตรวจ Electrolytes....เกลือแร่
การตรวจเพื่อให้ทราบว่าแร่ธาตุในเลือดมีค่าอยู่ในระดับสมดุลหรือไม่ หรือว่าแร่ธาตุใดมีปริมาณสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ปกติมากน้อยเพียงใด ซึ่งแร่ธาตุแต่ละตัว หากเกินความไม่สมดุล จะส่งให้ร่างกายผิดปกติได้นั้นเอง
โดยแร่ธาตุภายในร่างกายนั้นก็มีอยู่มากมายหลายชนิด แต่เฉพาะตัวที่สำคัญและมีบทบาทต่อร่างกายมากที่สุดจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว คือ -โซเดียม (Na),
-โพแทสเซียม (K),
-คลอไรด์ (Cl)
-คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือไบคาร์บอเนต (HCO3)
ซึ่งแร่ธาตุต่าง ๆ จะมีหน้าที่โดยทั่วไปในการช่วยร่างกายให้ดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติ หน้าที่ของมัน เช่น ช่วยควบคุมการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยอำนวยให้เกิดการเคลื่อนไหวของน้ำและของเหลวในร่างกายเพื่อสร้างสภาวะที่สมดุล ช่วยส่งเสริมปฏิกิริยาชีวเคมีทั้งหลายให้ดำเนินไปด้วยความราบรื่น เป็นต้น
1
สำหรับบทความนี้ จะขอพูดถึง โซเดียม(Na)ก่อนน่ะ
▶️▶️โซเดียม (Sodium) “Na” ◀️◀️
มีบทบาทช่วยแจกจ่ายน้ำหรือรักษาควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายให้มีไว้
ถ้าหากร่างกายมีโซเดียมมากเกินไปก็จะเกิดสภาวะบวมน้ำ (เช่น ในกรณีที่กินเกลือหรืออาหารเค็มมากเกินไป หรือในกรณีที่เกิดสภาวะไตเสื่อมจนไม่อาจขับโซเดียมทิ้งออกทางน้ำปัสสาวะได้)
4
ในกรณีที่กินอาหารจืดเกินไปจนโซเดียมในเลือดไม่เพียงพอหรือต่ำกว่าปกติ ร่างกายก็จะมีการปรับตัวโดยการหลั่งฮอร์โมนแอดรีโนคอร์ติโคทรอพิก (ACTH) และฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) ทำให้เราเสียโซเดียมทางเหงื่อลดลงและมีการดูดซึมโซเดียมที่ไตเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาระดับโซเดียมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลา
หรือหากเรากินอาหารที่เค็มหรือมีเกลือมากเกินไป ร่างกายก็จะเร่งการขับโซเดียมออกทางปัสสาวะและทางเหงื่อเพิ่มมากขึ้น
▶️ ค่าปกติของ Na ผู้ใหญ่/ผู้สูงอายุ คือ Na : 136 - 145 mEq/L
▶️ ค่า Na ที่ต่ำกว่าปกติ
o อาจเกิดจากอาการอาเจียนหรือท้องร่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงทำให้ Na สูญเสียไปกับของเหลวเหล่านั้น
o อาจเกิดจากการกินยาขับปัสสาวะเพื่อลดความดันโลหิตสูง
o อาจมีโรคของไต ที่ทำให้ดูดกลับโซเดียมไม่ได้อย่างที่ควรกระทำ
o อาจเกิดจากโรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ซึ่งมีต้นเหตุจากต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) และฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ไม่เพียงพอ จึงมีผลต่อเนื่องทำให้ไตดูดกลับโซเดียมไม่ได้เต็มที่ จนทำให้โซเดียมสูญเสียไปกับน้ำปัสสาวะ ค่าโซเดียมในเลือดจึงต่ำกว่าปกติ
1
▶️ ค่า Na ที่สูงกว่าปกติ (Hypernatremia) อาจแสดงผลได้ว่า
o อาจเกิดจากการกินโซเดียมหรือกินอาหารเค็มมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารไทย เช่น ปลาเค็ม ปลาร้า ไข่เค็ม หมูยอ แหนม น้ำพริกกะปิ ฯลฯ รวมถึงการปรุงอาหารด้วยผงชูรส
o อาจเกิดจากการสูญเสียเหงื่อมากเกินไป และไม่ได้ดื่มน้ำให้เพียงพอ จึงทำให้โซเดียมในเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น
o อาจเกิดจากการเสียน้ำผ่านช่องทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ท้องร่วง และไม่ได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ โซเดียมในเลือดจึงเข้มข้นขึ้น
o อาจเกิดจากโรคคุชชิง (Cushing’s syndrome) ที่สร้างสภาวะที่เรียกว่า “Aldosterone-like effect” ซึ่งจะทำให้ไตดูดกลับโซเดียมคืนให้ร่างกายมากเกินไป
1
ฝากติดตามเพจ กดไลค์ เพื่อเป็นกำลังใจในการนำเสนอข้อมูลดีและเป็นประโยชน์ให้ด้วยนะคะ ❤️💓💕💖💟
#หมอแล็ยเล่าเรื่อง
โฆษณา