29 มี.ค. 2019 เวลา 01:47 • ประวัติศาสตร์
ย้อนรอยเหตุการณ์การจลาจลตอนปลายในรัชสมัย
"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" แห่งกรุงธนบุรี
และกรณีการสวรรคตของ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"
การปราบชุมนุมต่างๆการขจัดอิทธิพลของพม่าออกไปจากดินแดนไทย ตลอดจนการขยายอาณาเขตออกไปยังดินแดนลาวและเขมร แม้ว่าจะทำให้ประเทศชาติมีความเป็นเอกภาพและความมั่นคงก็ตาม แต่การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินติ้งทำสงความตลอดรัชกาลของพระองค์ ซึ่งในช่วงเวลา 15 ปีเกิดศึกสงครามถึง 10 ครั้ง ทำให้พระองค์ต้องตรากตรำจากการทำสงครามต่อเนื่อง ประกอบกับทรงต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการรบการการส่งกองทัพไปรบตามหัวเมืองต่างๆ
มาเป็นการตั้งรับในราชธานี อันเป็นผลมาจากการทิ้งเมืองเชียงใหม่ให้ร้างใน พ.ศ. 2319 และสภาพร่วงโรยของหัวเมืองเหนือหลังเสร็จศึกอะแซหวุ่นกี้ จนไม่สามารถใช้เป็นแนวรบได้ดั่งเช่นในอดีต สร้างความกังวลและความไม่สบายพระทัยให้กับพระองค์เป็นอย่างยิ่ง เพราะการตั้งรับข้าศึกภายในราชธานี ถ้าพ่ายแพ้ก็หมายถึงการล่มสลายของบ้านเมืองดังเช่นที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แรงกดดันเหล่านี้สร้างความเครียดให้กับพระองค์ จนถึงกับปฏิบัติพระองค์ผิดปกติไปในตอนปลายรัชกาล อันมีผลทำให้เกิดจลาจลในแผ่นดินขึ้นที่สุด
1.การจลาจลวุ่นวายในเขมร 2323
ภาพ :
พ.ศ. 2323 เกิดการกบฏในเขมร พวกกบฏจับพระรามราชาและพระนารายณ์ราชาปลงพระชนม์ทั้งสองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบการจลาจลได้สำเร็จ และโปรดเกล้าฯ ให้นักองเองซึ่งเป็นโอรสของพระนารายณ์ราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงมีฟ้าทะละหะ (มู) เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เขมรจึงหันไปพึงญวนอีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปปราบเขมร ขณะที่กองทัพไทยจะรบกับเขมรอยู่นั้น ก็มีข่าวว่าทางกรุงธนบุรีเกิดจลาจลวุ่นวาย ด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเสียพระสติ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงต้องรีบยกทัพกลับ
2.ความวุ่นวายภายในกรุงธนบุรี 2324
สัญณาณการบอกเหตุความผิดปกติของพระองค์มีมากมาย เริ่มจากการที่พระองค์สนพระทัยเรื่องปาฏิหาริย์และเชื่อว่าการเจริญกรรมฐานจะทำให้พระองค์มีความสามารถเหนือมนุษย์ทั่วๆไป ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสได้บันทึกว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรับสั่งอยู่เสมอว่าพระองค์สามารถเหาะไปในอากาศได้ ทำให้พระองค์มุ่งมั่นในการเจริญกรรมฐานอย่างหนัก โดยทรงไปปฏิบัติกรรมฐาน ณ พระอุโบสถวัดบางยี่เรือใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2319 การคร่ำเคร่งมากเกินไปและการมีจุดประสงค์ในการที่ผิดหลักพระพุทธศาสนา ทำให้พระองค์มีพระสติฟั่นเฟือน โดยสำคัญพระองค์ว่าทรงทรงบรรลุโสดาบัน จึงตรัสถามพระราชาคณะว่าภิกษุจะไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันได้หรือไม่ เมื่อพระราชาคณะทูลว่าไม่ได้ก็ทรงพิโรธ ทรงให้ถอดพระราชาคณะออกจากสมณศักดิ์ แล้วให้เฆี่ยนรวมทั้งพระลูกด้วย ตั้งแต่นั้นมาพระสงฆ์เมื่อเข้าเฝ้า
1
จะต้องถวายบังคมดังเช่นฆราวาสจนสิ้นรัชกาล นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์อื่นๆอีกมากที่แสดงถึงพระสติที่แปรปรวนของพระองค์ ทำให้พระองค์สั่งประหารชีวิตผู้คน
โดยไม่มีความผิดหลายครั้ง ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งพระชายาและเจ้า
จอมของพระองค์ สร้างความระส่ำระสายให้กับบ้านเมืองไปทั่ว
การกระทำของสมเด็จพระเจ้าตากสินตอนปลายรัชกาล ซึ่งขัดต่อขนมประเพณีที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติ เช่น บังคับให้ภิกษุกราบไหว้พระองค์ เป็นต้น ทำให้กลุ่มขุนนางที่จงรักภักดีเริ่มเสื่อมศรัทธาในพระองค์และเอาใจออกห่าง ประกอบกับในตอนจะสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินยังทรงกระทำการหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่า พระองค์เสียพระสติมากขึ้น เช่น ทรงสอบถามถึงพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้าเพื่อเปรียบเทียบกับพระวรกายของพระองค์ ทรงสอบฌานกับพระราชาคณะ ทรงลงโทษน้าของเจ้าพระยาจักรี ตลอดจนทรงยกย่องพี่เลี้ยงของพระราชบุตรและพระราชธิดาเป็น”สมศรีสมทรง”(เมียเจ้า)*4เป็นต้น ทำให้บ้านเมืองเกิดความสับสนวุ่นวายจึงเกิดกลุ่มบุคคลต่อต้านพระองค์มากยิ่งขึ้น ในขณะที่อำนาจพระองค์กลับอ่อนแอลงเรื่อยๆ
3.กบฏพระยาสรรค์ 2324
พ.ศ. 2324 เกิดจลาจลที่กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงให้พระยาสรรค์ขุนนางที่พระองค์ไว้วางพระทัยอย่างมาก ขึ้นไประงับการจลาจล โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินไม่ทรงทราบว่า หัวหน้าที่ก่อความวุ่นวายคือ ขุนแก้ว น้องชายของพระยาสรรค์นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ นอกจากพระยาสรรค์จะไม่ปราบพวกก่อความวุ่นวายแล้ว ยังอาศัยช่วงจังหวะที่กลุ่มขุนนางไม่พอใจพระเจ้าตากสิน และดำเนินการต่อต้านพระเจ้าองค์ ตัดสินใจร่วมมือกับพวกก่อการจราจล ยกกำลังมาตีกรุ่งธนบุรี และเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระเจ้าตากสินได้สำเร็จ พร้อมกับบังคับให้พระองค์ทรงผนวช และจับพระบรมวงศานุวงศ์มาจองจำไว้ในราชวังแล้วตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการพร้อมกับประกาศจะถวายราชสมบัติให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกปกครองต่อไป ต่อมาพระยาสรรค์เปลี่ยนใจคิดจะครองราชย์สมบัติเสียเอง จึงเตรียมกองกำลังไว้ต่อสู้กับสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งจะกลับจากการทำสงครามในเขมรในระหว่างนี้
4.สงครามกลางเมืองระหว่างพระยาสรรค์และพระยาสุริยอภัย 2324
พระยาสรรค์ให้กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ยกทัพไปโจมตีค่ายพระยาสุริยอภัย หลานของสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกที่ยกทัพมาจากนครราชศรีมา เพื่อมารักษากรุ่งธนบุรีตามคำสั่งของสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ทั้งสองฝ่ายได้ปะทะกันอย่างหนัก กรมขุนอนุรักษ์สงครามเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และถูกจับได้ พระยาสรรค์คิดว่าเรื่องที่ตนให้กรมขุนอนุรักษ์สงครามยกทัพไปตีค่ายพระยาสุริยอภัยเป็นความลับ จึงวางตัวนิ่งเฉยอยู่ในวัง พระยาสุริยอภัยซึ่งรู้ความจริงทั้งหมดจากกรมขุนอนุรักษ์สงครามเห็นเช่นนั้น จึงได้ควบคุมสถานการณ์ในวังเอาไว้ แล้วให้สึกสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้วนำไปจองจำเอาไว้ เพื่อรอสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกตัดสินความต่อไป
5.การพิจารณาปัญหาเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสิน
1
สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพมาถึงกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระองค์ได้ประชุมขุนนางและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เพื่อวางแผนฟื้นฟูบ้านเมืองพร้อมกับสอบถามความเห็นว่าจะจัดการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินอย่างไร ที่ประชุมเห็นความว่าควรจะสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินเสีย เพื่อไม่ให้เป็นภัยต่อความมั่นคงของแผ่นดินต่อไป ส่วนพระยาสรรค์ถูกประหารชีวิตในภายหลัง จากนั้นขุนนาง ข้าราชการ และราษฎรได้พร้อมใจกันทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นกษัตริย์ต่อไปเป็นอันสิ้นสุดยุคธนบุรีพร้อมกับมีการสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือ“ราชวงศ์จักรี”ในพ.ศ.2325
6.สรุปการสิ้นสุดของสมัยกรุงธนบุรี กิดเหตุจลาจลในปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ ได้บุกมาแล้วบังคับให้พระองค์ผนวช ขณะนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงทำศึกอยู่ที่กัมพูชา ทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมายังกรุง ได้ปราบปรามจลาจลแล้ว สืบสวนหารือควรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน
1
"กรณีการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"
พระมหากษัตริย์ไทยเพียงพระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่ชัด ในหลักฐานส่วนใหญ่มักถือว่าพระองค์ทรงเสียพระสติ หรือสติฟั่นเฟือน จึงทรงถูกขบถแลสำเร็จโทษโดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) อันเป็นการสิ้นสุดสมัยธนบุรี พร้อมกับการเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี และสมัยรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตาม ยังปรากฏหลักฐานที่ชี้ว่าพระองค์สวรรคตด้วยสาเหตุอื่น
ข้อสันนิษฐานที่ 1. ทรงถูกสำเร็จโทษเนื่องจากทรงเสียพระสติ
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งไปราชการทัพเมืองเขมร และยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงได้รีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาถึงในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ก็ได้สืบสวนเรื่องราวความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษ รวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเป็นต้นเหตุเนื่องจากพระองค์ทรงเสียพระสติไป เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกจึงให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วยการตัดพระเศียร ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วฝังพระบรมศพที่วัดบางยี่เรือใต้ เสด็จสวรรคตในวันพุธ แรม 13 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล แต่ยังเป็นตรีศก จ.ศ.1143 หรือตรงกับวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2325
1
"การวิเคราะห์"
สำหรับสาเหตุที่พระองค์เสียพระจริตนั้น มีหลักฐานได้อธิบายไว้หลายสาเหตุ สามารถจำแนกได้ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัยว่า เป็นเพราะความสนพระทัยเรื่องเล่นเบี้ยนี้ทำให้พระองค์มัวเมา
กรมหลวงนรินทรเทวี พระน้องนางเธอต่างพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงยกเหตุให้แก่การประหารชีวิตหัวหน้ากลุ่มญวน-จีนกว่า 53 คน และโปรดให้อพยพชาวญวนไปยังชายขอบพระราชอาณาเขต
พระสังฆราชปาลเลอกัวซ์ได้ฟังจากชนชั้นสูงของไทยสมัยนั้นว่าพระองค์ทรงได้รับโอสถขนานหนึ่งทำให้พระสติวิปลาส
กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาทรงพระนิพนธ์อธิบายในเชิงจิตวิทยาและแสดงความเห็นใจสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่าพระองค์ทรงงานหนักจนทำให้เกิดความเครียด
สาเหตุของการเสียพระจริตนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามทัศนะของชนชั้นสูงต่างยุคสมัย[6] แต่ทั้งหมดนี่เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น เพราะแนวคิดในการพิสูจน์ความจริงนั้นได้ถูกละเลย
นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้อธิบายใน การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด (หรือ "ดุร้าย") ในสมัยปลายรัชกาลนั้น คงเป็นเพราะพระราชอำนาจที่เสื่อมลง พระองค์ยังทรงประพฤติไม่เหมือนกับพระมหากษัตริย์อยุธยาแต่เดิมด้วย จนกลุ่มขุนนางอยุธยาแต่เดิมสูญเสียความศรัทธา และถูกมองว่าเสียสติ ทั้งนี้ หลักฐานพงศาวดารซึ่งบันทึกอาการวิกลจริตของพระองค์ล้วนถูกเขียนขึ้นภายหลังการสวรรคตของพระองค์ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับข่าวการเสียสติของพระองค์ ในขณะที่จดหมายโหรร่วมสมัยได้บันทึกว่า พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นปกติจนถึง พ.ศ. 2324 การเสียสติของพระองค์จึงไม่ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัย แต่บางฉบับก็บอกว่าเป็นวันเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีใครทราบเป็นที่แน่ชัด
ข้อสันนิษฐานที่ 2. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก่อรัฐประหาร
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์ว่า การที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงประกอบพระราชกรณียกิจแปลกไปจากพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทำให้พระองค์ทรงถูกมองว่าไม่เคารพต่อขนบธรรมเนียมดั้งเดิม และถูกกลุ่มชนชั้นสูงต่อต้าน ข่าวลือการเสียพระสติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกแพร่ออกไปเพื่อสร้างประโยชน์ทางการเมืองให้กับกลุ่มผู้ต้องการโค่นล้มพระองค์จากพระราชอำนาจ กลุ่มชนชั้นสูง (ไม่รวมราษฎรสามัญ) ได้รับความเดือดร้อนจากความประพฤติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ยังได้สร้างความไม่ประทับใจให้กับฝ่ายของพระองค์เองอีกด้วย ท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่สามารถรักษาพระราชอำนาจต่อไปได้ กลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางภายใต้การนำของพระยาจักรีจึงรัฐประหาร
ในบทความ "ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี" เขียนโดยปรามินทร์ เครือทอง ได้ลำดับเหตุการณ์รัฐประหารไว้ว่า:
2
แผนรัฐประหารเริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2324 ระหว่างการปราบปรามจลาจลในเขมร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวความไม่ปกติในกรุงธนบุรี จึงให้พระยาสุริยอภัยผู้หลานมาคอยฟังเหตุการณ์อยู่ที่เมืองนครราชสีมา เวลาเดียวกัน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ลอบทำสัญญากับแม่ทัพญวน ฝ่ายแม่ทัพญวนก็ให้กองทัพญวน-เขมรนั้นล้อมกองทัพกรมขุนอินทรพิทักษ์ไว้
แรมเดือน 4 พ.ศ. 2325 ขุนแก้ว น้องพระยาสรรค์, นายบุนนาค นายบ้านในเขตกรุงเก่า และขุนสุระ นายทองเลกทองนอก ทั้งสามได้คิดก่อการปฏิวัติขึ้น โดยรวบรวมกำลังพลจำนวนหนึ่งไปสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ฝ่ายเจ้าเมืองอยุธยา พระอินทรอภัย หนีรอดมาได้ กราบบังคบทูลต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงให้พระยาสรรค์ขึ้นไปปราบ แต่ภายหลังได้กลายเป็นแม่ทัพยกมาตีกรุงธนบุรี
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2325 ทัพพระยาสรรค์ได้เข้าล้อมกำแพงพระนคร รบกับกองทัพซึ่งรักษาเมืองจนถึงเช้า ครั้นรุ่งเช้า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบัญชาให้หยุดรบ พระยาสรรค์ก็ถวายพระพรให้ผนวช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงออกผนวชเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2325 วันรุ่งขึ้น พระยาสรรค์ก็ออกว่าราชการชั่วคราว
แต่มาภายหลัง พระยาสรรค์ได้ปล่อยตัวกรมขุนอนุรักษ์สงครามมาช่วยกันรบป้องกันพระนครจากกองทัพพระยาสุริยอภัย ทั้งสองทัพรบกันเมื่อราว 2-3 เมษายน พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์และกรมอนุรักษ์สงครามแตกพ่ายไป จนเมื่อถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ยกทัพมาถึงกรุงธนบุรี
ข้อสันนิษฐานที่ 3. ทรงสละราชบัลลังก์และออกผนวชที่นครศรีธรรมราช
นอกจากนี้ชาวไทยบางกลุ่มยังเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ แต่ทรงจงใจสละราชบัลลังก์เพื่อจะได้มิต้องชำระเงินกู้จากจีน เมื่อทรงได้รับการปล่อยตัวอย่างลับ ๆ แล้วจึงเสด็จลงเรือสำเภาไปประทับที่วัดเขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยผนวชเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่นั่นตราบจนเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2368 รวมพระชนมายุได้ 91 ปี 43 พรรษา
ส่วนบุคคลที่ถูกประหารชีวิตนั้น กล่าวกันว่าเป็นบุคคลที่มีใบหน้าบุคลิกลักษณะที่คล้ายพระองค์มากรับอาสาปลอมตัวแทนพระองค์ ซึ่งอาจเป็นพระญาติหรือมหาดเล็กใกล้ชิด
แหล่งอ้างอิงและที่มา : https://bumbimblue.wordpress.com
ภาพ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย/Google
โฆษณา