30 มี.ค. 2019 เวลา 05:01 • การศึกษา
การค้นพบซากฟอสซิลงูยักษ์ Titanoboa เป็นหนึ่งในการค้นพบซากฟอสซิลที่น่าทึ่งที่สุดอย่างไร?
นักบรรพชีวินได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Titanoboa cerrejonensis แปลว่า งูยักษ์จากแซอาโฮน
เมื่อย้อนไปในปี 2009 มีการค้นพบซากฟอสซิลที่มีชีวิตเมื่อ 58 ล้านปีก่อน ซากฟอสซิลนี้ พบที่เหมืองถ่านหินทางตอนเหนือของประเทศโคลอมเบีย ซึ่งมีคนงานทำเหมืองถึง 1 หมื่นคน
คาดว่าซากฟอสซิลนี้เคยอยู่ในยุคที่ไดโนเสาร์พึ่งสูญพันธ์ไปไม่กี่ 2-3 ล้านปี ซึ่งพบทั้งฟอสซิลสัตว์และพืชดึกดำบรรพ์มากมาย ที่ไม่สามารถหาเจอที่อื่นๆในโลก
บริเวณแหล่งที่พบนี้เรียกว่า Cerrejón นี้เคยเป็นป่าดงดิบ ที่ร้อนชื้นกว่าปัจจุบัน ต้นไม้ยุคนั้นมีใบที่ใหญ่มาก คาดว่ามีฝนตกหนักกว่าปัจจุบัน
เหมืองถ่านหิน แซฮาโอน เป็นแหล่งพบฟอสซิลโบราณมากมาย
ขณะที่ทุกอย่างดูใหญ่ไปหมด เจ้าแห่งป่าดงดิบ คงหนีไม่พ้นเจ้างู Titanoboa นี้ ที่ยาว 12.3 ม. และหนักราว 1,250 กิโลกรัม
งู Titanoboa นี้ หน้าตาคล้ายๆ งูเหลือม ที่พบในปัจจุบัน แต่พฤติกรรมคล้ายกับงูอนาคอนด้า คือใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำและสามารถกินสัตว์ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าตัวมันเองเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว
การเปรียบเทียบของหระดูกสันหลังของงู Titanoboa กับ งูอนาคอนด้า
นอกจากว่า ขนาดของมันน่าทึ่งแล้ว ความจริงที่ว่า มันมีตัวตน นั้นบ่งบอกให้เห็นถึง ประวัติศาสตร์ของโลกเราและแม้แต่ในอนาคตที่เราอาจคาดการณ์ได้...
นักวิทยาศาสตร์ คำนวณว่า จากสิ่งแวดล้อมที่อ้างอิงจากฟอสซิลแล้ว อุณหภูมิในป่าดงดิบตอนนั้นน่าจะราว 32-34 องศาเซียลเซียส หากน้อยกว่านั้น พวกมันก็จะตายเมื่อเทียบกับอุณหภูมิสูงเฉลี่ยของป่าร้อนชื้นในยุคปัจจุบันที่ 27.5 องศาเซียลเซียส
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ฟอสซิลใบไม้ที่นั่น พบว่าระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศยุคนั้น ราว 50% มากกว่าตอนนี้ นำไปสู่อุณหภูมิที่สูงขึ้น
งูTitanoboa เมื่อเทียบกับมนุษย์
สาเหตุที่สัตว์เลื้อยคลาน เลือดเย็นเหล่านี้ตัวใหญ่ในภูมิอากาศที่ร้อน เพราะว่า พวกมันสามารถดูดซับพลังงานเพียงพอที่จะคงอัตราเมทาโบลิสซึ่ม (metabolism) ที่จำเป็น เพราะเหตุนี้ แมลง สัตว์เลื้อยคลาน จึงมีแนวโน้มที่ใหญ่กว่าในเขต ร้อน (tropical) มากกว่าเขตอบอุ่น (temperate) ของโลก
งูอนาคอนดา เป็นงูที่หนักที่สุดในโลก
ซึ่งการศึกษาวิจัยของสถาบัน Nuclear Physics Institute ของรัสเซียในยุคเราตอนนี้ที่มีภาวะโลกร้อน หากมันแย่มากไปกว่านี้ หรือเกิดการ runaway climate change คือ การเกิดปัญหาโลกร้อนจนแก้ไขไม่ได้ สัตว์หลายชนิดอาจตายจนกระทั่งสูญพันธ์ได้ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวกับอากาศร้อน นอกจากนี้ ต้นไม้บางชนิดอาจสังเคราะห์แสงได้ไม่เสถียรและตายได้ ยกเว้นแต่วิวัฒนาการอาจช่วยต้นไม้ได้ทัน หากมันมีเวลานานพอที่จะวิวัฒนาการปรับตัว แต่หากภาวะโลกร้อนแย่อย่างรวดเร็วเพราะฝีมือมนุษย์เราเอง เวลาอาจไม่พอ
การพบซากฟอสซิลงู Titanoboa ในครั้งนี้ พบว่า มีแกนกระดูกสันหลังทั้งหมดประมาณ 180 ชิ้น คาดว่าน่าจะเป็นของงูร่วม 12 ตัว
นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาลัยฟลอริด้าและเนบราสก้า ผู้ค้นพบซาก Titanoboa ที่สมบูรณ์ กล่าวว่า ปกติแล้ว กระโหลกงูนั้นเป็นอะไรที่หายากในปกติเพราะมันซับซ้อน และไม่ค่อยอยู่เป็นชิ้นเดียวกันเมื่องูตายไปแล้ว มันจะพังสลายง่าย แต่ในกรณีนี้กระโหลกมันยังอยู่สวยงามภายใต้หิน ดินดาน ซึ่งหัวงูนี้ทำให้เปรียบเทียบกับงูยุคนี้ ได้ง่ายกว่า และวิเคราะห์การวิวัฒนาการของมันเทียบกับงูอื่นๆ
งู Titanoboa จำลองในพิพิธภัณฑ์ Smithsonian ประเทศสหรัฐฯ
Cr. วิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย
โฆษณา