30 มี.ค. 2019 เวลา 16:25 • ความคิดเห็น
CHIANG MAI PM2.5 /2
บทความในปี 2015 มาโป๊ะแตกในปี 2019 ปีนี้ผ่านไป ปีหน้าค่อยนับหนึ่งใหม่ เอาแบบนี้กันทุกปีเลยนะ
ปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้นคือ ‘ธุรกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์’ โดยมีอุตสาหกรรมต้นน้ำอยู่ที่โรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่สองรายที่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ด้วยส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และอันดับ 2 ที่ 28 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นที่มาของอำนาจการต่อรองสูงสุด
ลำดับถัดมาคือ ธนาคารหรือสถาบันการเงินรายใหญ่ที่ปล่อยสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกให้เกษตรกร โดยมีเงื่อนไขในการปล่อยกู้ไม่เข้มงวดเท่าที่ควรจะเป็น คือ ไม่ต้องใช้เอกสารสิทธิ์ในการขอรับสินเชื่อ หรือใช้บุคคลเพียงห้าคน มาค้ำประกันก็ได้
น่าแปลกใจที่ในเมื่อวงจรการผลิตอาหารและสินค้าในระบบเกษตรพันธสัญญาสร้างความเสียหายทั้งลึกและกว้างเช่นนี้แล้ว คนกลุ่มหนึ่งที่ยืนอยู่บนยอดสุดของปัญหา พวกเขานอนหลับตาลงได้อย่างไร
จำนวนและความหนาแน่นของฮอตสปอตในประเทศพม่า โดยเฉพาะในบริเวณที่ติดกับภาคเหนือของประเทศไทย คือในบริเวณพื้นที่รัฐฉาน มีจำนวนฮอตสปอตสูงกว่าบริเวณภาคเหนือของไทยอย่างมีนัยสำคัญ และมีจำนวนมากกว่า 2 เท่าของจำนวนฮอตสปอตที่เกิดในประเทศไทยแทบทุกปี
เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ที่สุดในพม่า มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ 4 แห่ง คือที่ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ ตองจี และเจ๊าก์เหม่ (ตอนเหนือของรัฐฉาน)
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านโครงการ “ประชารัฐ” ประกาศที่จะส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2 ล้านไร่ เพื่อทดแทนการทำนาข้าว
ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทยจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย หากไม่มองภาพรวมในระดับภูมิภาค และละเลยที่จะกล่าวถึงต้นตอที่แท้จริงของปัญหาซึ่งมาจากการขยายตัวของ ’ทุน’ ที่มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การทำกำไรในรูปของตัวเงิน ทรัพย์สิน และความมั่งคั่ง
นักวิชาการเสนอไว้ว่าต้องแก้ปัญหาทุกแหล่งกำเนิด ทั้งการเผาในที่โล่ง การขนส่ง ยานพาหนะ การจราจร งานก่อสร้าง โรงระเบิดหิน ฯลฯ ไม่ใช่แค่การจัดการไฟป่าในพื้นที่โล่งอย่างเดียวเหมือนในตอนนี้ และสิ่งสำคัญคือการจัดการอย่างมีส่วนร่วมระหว่างรัฐและชาวบ้าน….
กลับมาถึงเชียงใหม่ ภาพในหัวยังมีภาพตอนเครื่องบินบินขึ้นจากสนามบินเชียงใหม่ เห็นฝุ่นควันหนามากที่ปกคลุมเมือง แล้วก็อนาถใจว่าทำไมปีนี้สถานการณ์ถึงได้รุนแรงมากขนาดนี้ แล้วก็นึกไปถึงตอนที่มีอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพอากาศจากญี่ปุ่นมาเยือนและเล่าว่ามีเหมืองแร่ถ่านหินในพม่าที่เปิดใช้งานแล้วอยู่ทางตะวันออกของรัฐฉาน และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้สถานการณ์มันเริ่มรุนแรงขึ้น น่าคิดจริงๆ
ในช่วงนี้ที่ความกดอากาศสูงจากทางเหนือพัดเข้ามาปกคลุม ทำให้อากาศและฝุ่นควันในพื้นที่อย่างเชียงใหม่ลอยตัวขึ้นไม่ได้ เพราะเป็นพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ทุกปีก็แย่อยู่แล้ว แต่ถ้ามันถูกเพิ่มปริมาณฝุ่นด้วยฝุ่นควันจากเถ้าถ่านหินปริมาณมากๆ ที่ถูกพัดมาจากทางเหนือตรงชายแดนมันก็ยิ่งจะร้ายแรง ทำไมประเด็นนี้ไม่เคยมีใครพูดถึงเลย
เลยไปค้นคว้าหาอ่านเท่าที่หาได้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พม่าเปิดเหมืองถ่านหินหลายแห่งในประเทศ และส่วนใหญ่เป็นการให้สัมปทานกับทุนไทยเพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้ไทย เหมืองเมืองก๊กที่ว่านี้อยู่ทางตะวันออกของรัฐฉาน ห่างจากชายแดนเชียงรายแค่ 40 กม. แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่เท่าเหมืองถี่จิ๊กที่ถือเป็นเหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฉาน แต่เหมืองเมืองก๊กนี้จะผลิตถ่านหินมากกว่าถึงสองเท่า และเผาถ่านหินมากกว่าถึงสามเท่า ในช่วง 8 ปีที่แล้วเคยมีการต่อต้านจากนักวิชาการ ชาวบ้านและกลุ่ม NGOs แต่ยังไงก็ตาม ก็ได้เปิดดำเนินการไปแล้ว มีการให้สัมปทานกับบริษัทในเมืองไทยเป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2581 ถ้าข้อมูลที่หาอ่านมาไม่ผิด เพิ่งจะเริ่มเปิดดำเนินการจริงจังเมื่อไม่นานมานี้เอง ที่ตั้งเหมืองอยู่ใกล้แม่น้ำกก ที่ไหลลงมาเข้าเมืองไทยที่ท่าตอน ไหลไปเชียงรายและลงสู่แม่น้ำโขง การปนเปื้อนของฝุ่นเถ้าถ่านหินในแหล่งน้ำก็เป็นประเด็นสำคัญมากอีกเรื่องที่ต้องติดตามดูผลกระทบกันต่อไป
ตัดภาพไปที่วิกฤตหมอกควันใหญ่ในกรุงลอนดอนปี 1952 (the great smog of London) ที่เคยโพสไว้ สาเหตุหลักคือฝุ่นควันจากควันและเถ้าของถ่านหินเช่นกัน
ขอบคุณภาพจาก greenpeace.org (2011)
ที่มาของการเผาในบริเวณเชียงดาวมาจาก 3 สาเหตุหลัก คือ ไร่ข้าวโพด กลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ และการเก็บหาของป่า ซึ่งอาจะมีพื้นฐานจากความเชื่อว่าการเผาทำให้หญ้าระบัด (หญ้าเกิดใหม่) และมีใบไม้ผลิหลังไฟไหม้ เช่น ผักหวาน
“การแก้ปัญหานี้ต้องการความสนใจมาก ๆ จากรัฐบาล ภารกิจบางส่วนถูกดึงไปเตรียมตัวเลือกตั้ง ภารกิจดับไฟทำไม่ได้เต็มที่ ทุกฝ่ายต่างรอดูเพียงนโยบายใหม่จะเป็นอย่างไร การสั่งงานเป็นอัมพาต หัวเรือใหญ่ไม่สามารถประสานคนในพื้นที่ต่อ​ ไปทางผู้ใหญ่บ้านหรือผู้บริหารส่วนท้องถิ่นได้ ทำให้การสื่อสารไม่ชัด และจัดการลำบาก จึงทำให้เกิดการสื่อสารไม่ชัดเจนและไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดการเป็นไปได้ยากลำบาก
ดังนั้นในแต่ละพื้นที่จึงต้องดูแลด้วยตัวเอง มีความเข้มแข็ง ป้องกันตนเอง”
ความเหลื่อมล้ำเป็นอีกปัญหาหนึ่งใต้พรมที่ไม่มีใครอยากพลิกพรมออกมาคุย แต่ซ้ำร้ายที่การกำหนดพรบ.ป่าไม้ พรบ.อุทยานแห่งชาติ กลับทำให้ชุมชนที่ดูแลป่าขาดกำลังใจ และเป็นเรื่องผิดกฎหมายในการปกป้องป่า
“เมื่อพรบ.ประกาศว่าป่าเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ห้ามเข้า ความรู้สึกเดิมก็หายไป สร้างความโกรธแค้น จากที่เคยมีการพึ่งพาอาศัยพา ปกป้องป่าด้วยใจ ความรู้สึกเป็นเจ้าของก็หายไป อาจมีการระบายด้วยการเผา หรือเห็นการเผาแล้วเพิกเฉย ควระจะแก้ด้วยการยืดหยุ่นให้ชาวบ้านอยู่ร่วมกันกับป่าได้ เป็นสมบัติร่วมกัน (Common property) ทำให้ชาวบ้านมีผืนป่าเป็นของตนเอง และดูแลรักษาร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่การกีดกันชุมชน“ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในใจให้เกิดการเคารพป่า ไม่ใช่ว่าป่าเป็นสิ่งของของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ป่าเป็นทรัพย์สมบัติร่วมกัน ไฟหมอกควันก็รุนแรง แต่การเร่งสุมไฟในใจ เป็นการยิ่งกระตุ้นความเกลียดชัง”
ปัจจุบันแม่แจ่มจึงเป็นหุบเขาแห่งข้าวโพด (corn valley) กลายเป็นอำเภอที่มีปัญหาหมอกควันพิษจากการเผาป่าและซากไร่มากที่สุดในประเทศ
ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าอำเภอแม่แจ่ม มีจำนวนมากถึง ๔๗ จุด โดยพื้นที่เผานั้นเกือบทั้งหมดอยู่ในไร่ข้าวโพดซึ่งมีประมาณ สองแสนไร่ และส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำในระบบเกษตรแบบใหม่ หลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดเสร็จ ชาวไร่ต้องรีบกำจัดซากไร่ ตอซังข้าวโพด ฯลฯ ด้วยวิธีการที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด และไม่จำเป็นต้องใช้ทุนใด ๆ คือการเผาทิ้ง
เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการผลิตรอบใหม่ การเผาจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันแทบจะทุกพื้นที่เพราะต่างคนต่างก็เร่งที่จะกำจัดขยะและเริ่มทำการเพาะปลูกในรอบต่อไปให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตนำไปขายให้พ่อค้าก่อนชาวไร่รายอื่นจะนำผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาด
หากย้อนหลังไปดูสถิติย้อนหลัง จะพบว่า เมื่อสิบกว่าปีก่อน ปริมาณฝุ่นละอองทางภาคเหนือมีประมาณร้อยกว่าไมโครกรัม เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ภายหลังจากมีการส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพดอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการบุกรุกป่า เผา ถางเพื่อเปลี่ยนเป็นไร่ข้าวโพดสุดลูกหูลูกตา
สิ่งที่ตามมาคือ คนเชียงใหม่ มีอัตราการป่วยของมะเร็งปอดสูงกว่ากรุงเทพมหานครและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย ตั้งแต่มีปัญหาเรื่องหมอกควัน มีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น ๙ เท่า โรคหลอดเลือด โรคตาอักเสบและโรคผิวหนังอักเสบ มีผู้เข้ารับการรักษาวันละ ๑๐,๐๐๐ คน
AB นี่ทำลายดิน ทำลายน้ำ ทำลายอากาศ ทำลายชีวิตคนจริงๆ
ใช่ ชาวบ้านก็ต้องปลูกกันไป ไม่ปลูกก็ไม่มีรายได้ หลังชนฝาแล้ว
ถ้ามีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม กับชีวิตคน ควรหาวิธีเก็บเกี่ยวตอซังข้าวโพด พัฒนา-ผลิตเครื่องเก็บเกี่ยว มันคงไม่ทำให้ล้มละาย นี่จะเอาอย่างเดียว ส่วนจะเอาไปทำเชื้อเพลิง ทำอะไรก็ว่ากันไป ไม่ใช่ซื้อแล้ว จบ ทิ้งไว้ให้ชาวบ้าน ชาวบ้านก็เผา
เห็นด้วยค่ะ​ AB​ ไม่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว เอาได้อย่างเดียว ทีนี้ต้องขึ้นอยู่กับท้องถิ่น เช่น อบต เทศบาล ต้องทำเทศบัญญัติในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อแสดงความรับผิดชอบแต่นี่ ไม่มีใครทำไรเลย ปล่อยเลยตามเลย (หัวไม่ส่ายหางไม่กระดิก) ชาวบ้านก็ต้องจัดการไปตามยะถากรรม เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลผลิตรอบใหม่แล้ว
บทสนทนาเรื่องเผาซังข้าวโพดส่งบริษัท​ AB.ที่ขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดโดยไม่ต้องรับอะไรทั้งสิ้น​ ในขณะที่รัฐเอื้อประโยชน์ด้วยการเอาหูไปนาเอาตาไปไร่​ เพื่อประโยชน์ของ​ AB
กลืนไม่เข้าคายไม่ออก (dilemma) น่ะรู้จักป่าว?
เรื่องฝุ่นทางเหนือที่มีสาเหตุเกี่ยวพันกับประเทศอื่น ทำให้นึกได้ว่าสิงคโปร์ก็เคยประสบปัญหานี้
สิบกว่าปีนี้ สิงคโปร์ประสบฝุ่นที่ลอยมาจากอินโดนีเซีย สาเหตุคือการเผาป่าของชาวอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่เกิดจากไร่ปาล์มน้ำมัน ระหว่างฤดูมรสุม เดือนมิถุนายนถึงกันยายน
เป็นเวลาหลายปี รัฐบาลสิงคโปร์ร้องเรียนกับรัฐบาลอินโดนีเซีย แต่ไม่เกิดอะไรขึ้น แม้ว่าอินโดนีเซียพยายามออกกฎหมายต่างๆ
จนมาถึงจุดแตกหักในปี 2015 ฝุ่นหนักหนาสาหัสมาก
สิงคโปร์แก้ปัญหาโดยเอาเรื่องกับบริษัทสิงคโปร์ที่ไปทำธุรกิจปาล์มน้ำมันและการเกษตรที่อินโดนีเซีย
รัฐบาลสิงคโปร์ส่งสารถึงบริษัทยักษ์ใหญ่สี่บริษัทในอินโดนีเซียที่สงสัยว่าเป็นต้นเหตุของการเผาป่า รองรับด้วยการฟ้องร้องทางกฎหมาย และบทปรับอย่างหนัก
เอาเรื่องทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเผาป่า
ไม่เพียงแต่รัฐบาล ประชาชนชาวสิงคโปร์ก็รวมตัวกันฟ้องร้องทางกฎหมายด้วย สำนักงานกฎหมายทำงานนี้ให้ฟรี
รวมพลังฟ้องมันให้หมด!
นอกจากนี้ยังรวมพลังเลิกซื้อสินค้าจากบริษัทที่เกี่ยวข้อง หรือสงสัยว่าเกี่ยวข้อง
ทันใดนั้นบริษัทใหญ่ๆ ที่ขายผลิตภัณฑ์กระดาษ เช่น Kimberly-Clark Products Malaysia, Fuji Xerox Singapore, Canon Singapore, April Fine Paper Trading ต่างรีบดาหน้าออกมาแสดงหลักฐานว่า เราไม่ใช้วัตถุดิบที่เกี่ยวกับการเผาป่าที่อินโดนีเซีย
การรวมพลังตีที่กระเป๋าเงินได้ผลที่สุด
ตั้งแต่ปี 2016 มาจนถึงปีนี้ ยังไม่ปรากฏเหตุการณ์ฝุ่น 2.5 เกิดขึ้นที่สิงคโปร์อีก
.………………..
ข้าวโพด อ้อย เบื้องหลังหมอกควันพิษครั้งร้ายแรงที่สุด – ONETONION by vanchaitan https://onetonion.com/2019/03/30/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%82%e0%b8%9e%e0%b8%94-%e0%b8%ad%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2-%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%ab/
ถนนทุกสาย นโยบายทุกอย่างของรัฐ มุ่งสู่การสนับสนุนให้ชาวไร่ปลูกข้าวโพดเพื่อรองรับความต้องการของบริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตร ที่ต้องการข้าวโพดมาทำอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ทดแทนการนำเข้าที่มีต้นทุนสูงกว่า ทำให้เกิดการบุกรุกป่า เผา ถางเพื่อเปลี่ยนเป็นไร่ข้าวโพดสุดลูกหูลูกตา
 
ทุกวันนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเกือบ 7 ล้านไร่ และอยู่ทางภาคเหนือ 4 ล้านกว่าไร่ ทุกปีในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตหน้าแล้ง จะมีเศษวัสดุเหลือทิ้งได้แก่เปลือกและซังข้าวโพด ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปล่อยไว้และรอเผาทิ้งในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ของทุกปีซึ่งก่อให้เกิดควันจากการเผาไหม้
สิ่งที่ตามมาคือ คนเชียงใหม่ มีอัตราการป่วยของมะเร็งปอดสูงกว่ากรุงเทพมหานคร และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย ตั้งแต่มีปัญหาเรื่องหมอกควัน มีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นเกือบสิบเท่า โรคหลอดเลือด โรคตาอักเสบและโรคผิวหนังอักเสบ มีผู้เข้ารับการรักษาวันละร่วมหมื่นคน
ซีพีอ้างว่าปัญหาหมอกควัน 59% เกิดจากราษฎรที่หาของป่า ทั้งๆที่จริงๆแล้วพื้นที่ไฟป่าที่เกิดจากการหาของป่ามีเพียง 0.18% ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดในเขตป่า ซึ่งมีพื้นที่ถึง 3.5 ล้านไร่
ซีพีอ้างตัวเลขของกรมควบคุมมลพิษเมื่อปี 2557 ที่บอกว่าไฟป่า 59% เกิดจากการเผาป่า ซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อมูล เพราะพื้นที่ไฟป่าในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่มีปัญหาหมอกควัน มีพื้นที่รวมกันเพียง 10,744 ไร่เท่านั้น (ตัวเลขที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี) ดังนั้นสัดส่วนไฟป่าหากเกิดขึ้นจากการหาของป่าของราษฎร ก็จะมีสัดส่วนประมาณ 6,339 ไร่เท่านั้น คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 0.2% ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดในเขตป่า
อย่าบิดเบือน ไม่รับผิดชอบปัญหาที่มีต้นตอมาจากบริษัทผลิตอาหารสัตว์/ขายเมล็ดพันธุ์ แล้วโยนความผิดให้กับราษฎรที่เก็บเห็ดเก็บผักหวาน !
โฆษณา