Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อยากเขียนก็เขียน
•
ติดตาม
31 มี.ค. 2019 เวลา 06:06 • อาหาร
เคล็ดไม่ลับในการทำคุกกี้...
ให้อร่อย น่ากิน อยู่ตรงนี้แล้วค่ะ
ใครทำได้ รับประกันว่าคุกกี้ของคุณจะเป็นสุดยอดขนมในดวงใจของผู้ที่ได้ลิ้มรสอย่างแน่นอนค่ะ🍪👩🍳
2
คุกกี้ชาเขียว
เคล็ดลับง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบและหลงไหลในการทำคุกกี้ มีดังนี้ค่ะ
ข้อที่ 1. คนส่วนใหญ่ชอบกินคุกกี้ที่มีกลิ่นหอมชวนชิม และสัมผัสได้ถึงรสชาติที่ดีจากเนยสดที่หอมมาก ๆ
ดังนั้นผู้ทำคุกกี้ ควรเลือกเนยสดที่มีคุณภาพดีมาใช้ในการทำคุกกี้ทุกครั้งจะดีมาก ๆ เลยค่ะ และยิ่งทำเพื่อกินเองยิ่งต้องเลือกผลิตภัณฑ์ในการทำคุกกี้ให้ดีที่สุดเสมอค่ะ
.
แต่ถ้าต้องการลดต้นทุนก็สามารถใช้มาการีนทดแทนเนยไ้ด้ในบางส่วน แต่ก็ต้องทดแทนด้วยกลิ่นสังเคราะห์เพิ่ม เพื่อช่วยให้ขนมน่ารับประทานมากขึ้น
แต่ถ้าเลือกได้ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้เนยเป็นส่วนผสมของคุกกี้จะดีกว่าค่ะ
เพราะรสชาติของคุกกี้ที่มีส่วนผสมของเนยจะอร่อยกว่าเยอะเลยค่ะ
คุกกี้ชาเขียวก่อนอบ
ข้อที่ 2. ในขั้นตอนของการทำคุกกี้ บางสูตรจะนิยมให้มีการตีส่วนผสมเนยกับน้ำตาลให้ขึ้นฟู ดังนั้นเราจึงควรเลือกเนยสดที่อุณหภูมิเย็น แต่เนยไม่ต้องแข็งมากนัก เพราะถ้าเนยแข็งมากอาจจะทำให้เครื่องตีเสื่อมสภาพเร็วขึ้น แต่บางสูตรไม่ต้องตีเนยมากนัก เราก็ควรเลือกใช้เนยสดที่นิ่ม เพราะจะช่วยให้เราผสมวัตถุดิบได้ง่ายขึ้นค่ะ
.
เราจึงต้องเลือกใช้เนยให้ตรงกับที่สูตรกำหนดด้วยนะค่ะ
ข้อที่ 3. ในการตีเนยกับน้ำตาล ถ้าตีจนขึ้นฟูมากเกินไป ลักษณะของขนมก็จะฟู ร่วน นิ่มง่าย โปร่งเบา และไม่ค่อยอยู่ตัว เมื่ออบแล้วคุกกี้อาจจะแผ่กระจายมากกว่าปกติ
.
ถ้าตีเนยกับน้ำตาล ให้ขึ้นฟูน้อยมากเกินไป ลักษณะของคุกกี้ก็จะดูแข็งกระด้าง เมื่อรับประทานก็จะกรอบแข็ง แต่มีความกรอบที่คงทนมากกว่าการตีให้ขึ้นฟูมาก
.
ดังนั้นขั้นตอนในการตีเนยจึงถือว่าสำคัญมาก ในการทำคุกกี้ เพราะต้องอาศัยทักษะและความชำนาญประกอบเข้าด้วยกันค่ะ
1
คุกกี้แฟนซี
ข้อที่ 4. หัวตีที่ใช้ในการตีเนยกับน้ำตาลให้ขึ้นฟู ถ้าเป็นเครื่องตีที่มีขนาดตั้งแต่ 3 ลิตรขึ้นไป ก็ควรจะใช้หัวตีรูปใบไม้ ในการตี เนื่องจากหัวตีชนิดนี้สามารถทนความหนืดและแข็งของเนยและส่วนผสมได้ดีกว่าการใช้หัวตีตะกร้อค่ะ ซึ่งถ้านำหัวตะกร้อมาใช้ตีนั้นข้อดีก็คือ ส่วนผสมจะขึ้นฟูเร็ว แต่ตัวเส้นลวดจะขาดง่าย ถ้าเป็นเครื่องแบบมือถือ ซีตะกร้อของเครื่องแบบนี้จะหนากว่า ก็สามารถใช้ตีได้เช่นกันค่ะ แต่ก็ไม่ควรตีในปริมาณที่มากจนเกินไปนัก
ข้อที่ 5. การผสมแป้งกับส่วนผสมเนยผู้ทำคุกกี้ควร "คนอย่างเบามือ" หมายถึง ในการคนส่วนผสมนั้นควรคนให้ส่วนผสมเข้ากันโดยเร็วที่สุด แต่ไม่ใช่การกวนหรือการตีส่วนผสมด้วยความเร็วที่สูง ๆ เนื่องจากการกวนหรือคนส่วนผสมนาน ๆ จะมีส่วนที่ทำให้แป้งเหนียว และขนมที่ได้จะมีลักษณะแข็งกระด้างได้ค่ะ
ข้อที่ 6. ความสำคัญของการปั้นหรือขึ้นรูปคุกกี้ก่อนนำเข้าเตาอบ ขนาดและรูปทรงของคุกกี้ก็มีผลต่อระยะเวลาที่ใช้ในการอบ
โดยเฉพาะคุกกี้ที่ใช้ที่ตักไอศกรีมแล้วไม่ได้กดให้มีลักษณะที่แบนลง ก็จะทำให้ระยะเวลาในการอบมากกว่าคุกกี้ที่ขึ้นรูปทรงแบบแบน ส่วนคุกกี้ตัวไหนที่แป้งมีลักษณะเหลวเมื่อขึ้นรูป ก็ควรเกลี่ยส่วนผสมให้มีความบางอย่างสม่ำเสมอและเท่าๆกัน เพื่อให้สีของขนมเท่ากันเมื่ออบเสร็จ
คุกกี้สิงคโปร
ข้อที่ 7. เมื่อปั้นคุกกี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว การวางเรียงคุกกี้ลงบนถาดอบก็สำคัญเช่นกันค่ะ เราควรวางคุกกี้ด้วยระยะห่างกันประมาณ 1 นิ้ว เพื่อกันมิให้คุกกี้นั้นเกาะติดกันเมื่อขึ้นฟู ซึ่งจะทำให้คุกกี้เสียรูปทรงได้ ส่วนอีกประการหนึ่งระยะห่างนั้นจะมีผลต่ออุณหภูมิที่จะเข้าไปถึงชิ้นที่อยู่ตรงกลาง ถ้าเรียงชิดติดกันมากเกินไป
ชิ้นที่อยู่ด้านข้างก็จะสุกก่อน ส่วนชิ้นตรงกลางก็จะใช้เวลาที่ยาวนานกว่า คุกกี้จึงจะสุก
ส่วนการปั้นคุกกี้ ควรปั้นให้มีขนาดเท่า ๆ กัน เพื่อให้ขนมสุกพร้อม ๆ กันค่ะ
1
คุกกี้เนยสด
ข้อที่ 8. อุณหภูมิในการอบคุกกี้ ในสูตรแต่ละตัวจะบอกไว้อยู่แล้วในสูตรว่าต้องใช้เวลาในการอบเท่าไหร่
เหตุที่แต่ละตัวใช้เวลาในการอบที่แตกต่างกันเนื่องจากลักษณะและรูปทรงของขนมคุกกี้ ที่มีความแตกต่างกัน
ตัวแผ่นบางก็ควรใช้อุณหภูมิสูง แต่ใช้เวลาอบสั้น คุกกี้ก็จะกรอบร่วนพอดี
ถ้าเป็นคุกกี้ที่มีชิ้นหนาก็ควรใช้อุณหภูมิที่ต่ำลงมาพอสมควร เพื่อให้ขนมสุกทั่วกัน โดยที่ภายนอกขนมนั้นจะไม่เกิดสีที่ไหม้ โดยทั่วไปจะใช้อุณหภูมิ 300-350 องศาฟาเรนไฮต์ค่ะ
1
คุกกี้เนย
ข้อที่ 9. ถั่วและท๊อปปิ้งต่าง ๆ ที่จะนำมาใส่ลงเป็นส่วนผสมของคุกกี้นั้น ควรผ่านการอบให้สุกเสียก่อน เนื่องจากเวลาที่ใช้ในการอบคุกกี้ต่อครั้ง ไม่สามารถทำให้ถั่วและท๊อปปิ้งต่าง ๆ สุกได้ในการอบพร้อมคุกกี้
และการอบถั่วและท๊อปปิ้งต่าง ๆ ก็เพื่อป้องกันความชื้นที่มีอยู่ในถั่วและท๊อปปิ้งที่อาจจะทำให้คุกกี้นั้นนิ่มได้ง่าย ๆ หลังจากการอบเสร็จแล้ว
ข้อที่ 10. เมื่ออบคุกกี้สุกแล้ว เราควรจะแซะและวางคุกกี้ลงพักบนตะแกรงเพื่อช่วยให้คุกกี้เย็นเร็วขึ้น ถ้าปล่อยให้คุกกี้เย็นในถาด คุกกี้จะเกาะติดถาดทำให้เสียรูปทรงของคุกกี้เวลาแซะออกมา
และที่สำคัญในระหว่างการแซะนั้นไม่ควรวางชิ้นคุกกี้ให้ซ้อนกันมากเกินไป นัก เพราะจะทำให้คุกกี้มีรูปร่างที่ผิดแปลกไปได้
คุกกี้กล้วยตาก
ข้อที่ 11. คุกกี้เป็นขนมที่สามารถทำและเก็บไว้ได้นาน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปที่ยังไม่ได้อบก็สามารถเก็บได้ โดยบรรจุภาชนะให้ดี แช่ตู้เย็นไว้ในชั้นปกติ
แต่ถ้าต้องการให้เก็บนานขึ้นไปอีก ก็สามารถเก็บแช่แข็ง แล้วค่อยแบ่งอบตามต้องการได้
ส่วนการเก็บหลังจากเมื่ออบเสร็จแล้ว ก็สามารถเก็บได้นานอีกเช่นกันค่ะ เพียงแค่เราเก็บในบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่สามารถป้องกันอากาศเข้าได้ เราก็จะเก็บคุกกี้ได้นานเป็นเดือนแล้วค่ะ
และข้อสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้ประกอบการเบเกอรี่ต้องจำและใส่ใจคือ
ก่อนบรรจุขนมและคุกกี้ลงภาชนะนั้นจะต้องพักขนมให้เย็นสนิทเสียก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้ค่ะ
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ค่ะ🙏😊
.
โปรดติดตามเคล็ดลับดี ๆ ในการทำขนมและอาหารได้ที่นี่ค่ะ 😘
หากบทความนี้เป็นประโยชน์
อย่าลืมกดแชร์และกดติดตามเพจไว้ด้วยนะคะ 💕
ทุ่มเทพลังกาย พลังใจ
อย่างเต็มความสามารถ
ด้วยใจที่ตั้งมั่น และเต็มใจ
ให้ทุกคนอย่างเต็มที่
เพื่อให้ทุกคน
ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
กินดี อยู่ดี คือจุดเริ่มต้น
ของคนที่มีแต่ความสุข
ผู้เขียนและถ่ายภาพ
#nannisa maneepradit
7 บันทึก
10
30
7
10
30
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย