1 เม.ย. 2019 เวลา 12:28 • การศึกษา
📌 ภาพ Before and After ที่เผยให้เห็นการหายไปของ "ธารน้ำแข็ง" ในรอบ 100 ปี
การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกนั้น
ความยากของมันอยู่ตรงที่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด
แต่จะค่อยๆเกิดและมองเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ยาก การที่จะอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้คำพูด คงยากที่จะเข้าใจความรุนแรงของสถานการณ์
จึงมีการนำภาพสองภาพมาเปรียบเทียบกัน โดยถ่ายภาพซ้ำในบริเวณเดียวกัน ในระยะเวลาที่ห่างกันเกือบ 100 ปี เพื่อให้เห็นความชัดเจน
ลองมาชมภาพเหล่านี้กัน
➡ 1. Sperry Glacier, อุทยานแห่งชาติ Glacier, Montana: ประมาณ 1930 (บน) และ 2008 (ล่าง) ⬇⬇
https://mymodernmet.com/us-geological-survey-repeat-photography-melting-glaciers/
➡ 2. Grinnell, Gem, และ Salamander Glaciers, อุทยานแห่งชาติ Glacier, Montana: 1910 (บน) และ 2012 (ล่าง) ⬇⬇
https://mymodernmet.com/us-geological-survey-repeat-photography-melting-glaciers/
➡ 3. Shepard Glacier, อุทยานแห่งชาติ Glacier: 1911 (บนสุด) และ 2005 (ล่าง) ⬇⬇
https://mymodernmet.com/us-geological-survey-repeat-photography-melting-glaciers/
➡ 4. Jackson Glacier, ภาพปี 1911 (บนสุด) และ 2009 (ล่าง) ⬇⬇
https://mymodernmet.com/us-geological-survey-repeat-photography-melting-glaciers/
📖 รายละเอียดของโครงการนี้
ในปี 1997 หน่วยงานกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) ได้ค้นคิดวิธีหนึ่งที่จะแสดงคำอธิบายให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนต่อสิ่งแวดล้อม
โดยใช้วิธี "การถ่ายภาพซ้ำ” The Repeat Photography Project เพื่อเปรียบเทียบภาพล่าสุดกับภาพที่ถ่ายมานาน
โดยทางโครงการได้เริ่มตั้งแต่ปี 1997 เพื่อค้นหาภาพในอดีตของ "กลาเซีย"(ธารน้ำแข็ง) ในรัฐมอนทานาและอลาสกา มีการค้นหาความจริงนี้โดยใช้รูปภาพในช่วงต้นปี 1900 เป็นหลัก
เพื่อนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงและให้ช่างภาพถ่ายภาพฉากน้ำแข็งในมุมเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสถานที่เหล่านี้เปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด
ภาพเปรียบเทียบที่ได้ เป็นการแสดงให้เห็นได้ชัดถึงความแตกต่าง ของธารน้ำแข็งในรอบ 100 ปี ซึ่งเกือบทั้งหมดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่เกิดจาก "สภาวะโลกร้อน"
ภาพเหล่านี้ ได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่ได้ จาก USGS โดยมีเงื่อนไขคือ การให้เครดิตรูป และทุกรูปที่นำมาเผยแพร่มีเครดิตในรูปแล้ว
ข้อมูลจาก หน่วยงาน USGS
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
01.04.2019

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา