การศึกษาครั้งนี้เก็บตัวอย่างในพื้นที่นอกชายฝั่งของญี่ปุ่น เปรู และชิลี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ห่างกันหลายพันกิโลเมตร จึงเป็นตัวแทนของพื้นที่ขนาดใหญ่มาก
.
"มันเป็นหลักฐานว่าไม่มีที่ไหนที่ปลอดจากพลาสติกอีกแล้ว แต่ปัญหาคือเมื่อพลาสติกไปสะสมส่วนที่ลึกสุดของมหาสมุทร ขยะพวกนี้ไปต่อที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว" Alan Jamieson นักชีววิทยาทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลกล่าว
.
ที่น่าสนใจคือ 66% ของพลาสติกที่พบในแอมฟิพอดคือเส้นใยสีฟ้า ที่เหลือมีสีแตกต่างกันไปตั้งแต่ ดำ แดง ม่วง น้ำเงิน ชมพู แต่ไม่มีก้นสมุทรไหนเลยที่ปราศจากเส้นใยพลาสติก กว่า 80% ของตัวแอมฟิพอดมีเส้นใยพลาสติกในทางเดินอาหาร