6 เม.ย. 2019 เวลา 07:21 • ประวัติศาสตร์
แม่ทัพ "เกียงอุย" แห่งจ๊กก๊ก วีรบุรุษคนสุดท้ายแห่งยุคสามก๊ก
ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อจาก "ขงเบ้ง" ผู้เป็นอาจารย์
หลังจากขงเบ้งสิ้นชีวิต ขงเบ้งได้กำหนดตัวบุคคลที่จะรับมอบงานต่อจากเขาโดยวางตัวให้เจียวอ้วนและบิฮุยเป็นอัครมหาเสนาบดีต่อกันตามลำดับรับผิดชอบงานราชการบริหารแผ่นดิน ส่วนงานราชการทหารนั้นขงเบ้งมอบหมายให้เกียงอุยเป็นผู้รับผิดชอบ
เกียงอุยแม้เป็นขุนพลจากวุยก๊กที่เข้ามาสวามิภักดิ์ทีหลังแต่เขาก็ยึดมั่นปณิธานต่อจากอาจารย์ขงเบ้งอย่างแน่นเหนียวมีความเห็นที่แตกต่างกันว่าแท้จริงแล้วการยึดมั่นในแนวทางการทำสงครามกับวุยก๊กที่เกียงอุยได้สานต่อปณิธานของของเบ้งผู้เป็นอาจารย์
เกียงอุยเป็นชาวเมืองเทียนซุย
กำพร้าบิดาอาศัยอยู่กับมารดาสองคน
แต่เดิมเขาเป็นทหารในสังกัดวุยก๊ก
เมื่อขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กครั้งที่หนึ่ง
เกียงอุยเป็นผู้วางกลอุบายจนสามารถชนะขงเบ้งได้ที่เมืองเทียนซุย
ฝีมือด้านบู๊ของเกียงอุยเป็นที่ชื่นชมของจูล่ง
ส่วนสติปัญญาก็ได้รับการยอมรับจากขงเบ้งอย่างมาก
จนขงเบ้งต้องวางกลอุบาย
ให้ม้าจุ้นเจ้าเมืองเทียนซุยแคลงใจกับเกียงอุย
และไปหว่านล้อมแม่ของเกียงอุยให้ช่วยโน้มน้าวอีกแรง
จนในที่สุดเกียงอุยถูกบีบถึงทางตันไม่สามารถอยู่ฝ่ายวุยได้
ยอมมาสวามิภักดิ์ขงเบ้งในที่สุด
หลังจากมาอยู่กับฝ่ายจ๊กก๊กแล้ว
เกียงอุยได้ติดตามขงเบ้งไปทำศึกยังสมรภูมิต่าง ๆ
ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ตำรา วิทยาการจากขงเบ้งมากมายจนเกียงอุยมีวิชาความรู้เพิ่มมากขึ้น
เกียงอุยได้รับความไว้วางใจจากขงเบ้ง และยังเป็นความหวังเดียวสุดท้ายต่อจากขงเบ้ง
มากกว่าขุนพลเจนศึกคนอื่น ๆ ที่อยู่กันมานาน เช่น อุยเอี๋ยน
จึงไม่แปลกหากขงเบ้งจะปูทางวางแผนล่วงหน้า
บีบให้อุยเอี๋ยนจนตรอกจนต้องถูกสังหารหลังจากขงเบ้งตาย
และขุนศึกย้ายค่ายอย่างเกียงอุย
ได้เป็นผู้คุมกำลังทหารหลักของจ๊กก๊ก
หลังจากขงเบ้งตาย
เกียงอุยเป็นผู้รับสืบทอดอำนาจทางการทหารต่อมา
เขาสืบสานปณิธานของขงเบ้ง
ด้วยการยกทัพบุกวุยก๊กถึง 8 ครั้ง
การยกทัพทำศึกจำนวนมากขนาดนี้
ในระยะเวลาภายใน 30 ปี
ทำให้เกียงอุยถูกวิจารณ์ว่าการทำสงครามของเขา
เป็นส่วนสำคัญในการละลายทรัพยากรของจ๊กก๊ก
ทั้งกำลังไพร่พลและงบประมาณ
ซึ่งเป็นส่วนที่เร่งให้จ๊กก๊กหายนะเร็วขึ้น
อย่างไรก็ตามในอีกมุมหนึ่ง
ก็มองได้ว่าการบุกวุยก๊กของเกียงอุย
เป็นยุทธศาสตร์การรุกเพื่อรับ
เช่นเดียวกับที่ขงเบ้งทำมาตลอด
เมื่อสงครามต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วในสักวัน
จ๊กก๊กซึ่งมีทรัพยากรน้อยกว่า
ควรชิงเปิดเกมส์ก่อนเพื่อให้เป็นผู้คุมเกมส์ไม่ดีกว่าหรือ
ในการบุกทั้ง 8 ครั้งนั้น
เกียงอุย (วัยหนุ่ม)
ใช่ว่าเกียงอุยนึกจะบุกก็ยกทัพไปเลยทันที
ทุกครั้งที่เกียงอุยบุกวุยก๊ก
เขามักเลือกเวลาที่วุยก๊กมีการเปลี่ยนแผ่นดิน
หรือมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในเสมอ
หากแต่ท้ายที่สุดแล้ว
ก็ไม่สามารถเอาชนะเบ็ดเสร็จได้เลยสักครั้ง
เกียงอุยดำเนินยุทธศาสตร์แนวทางเดียวกับขงเบ้ง
เป็นยุทธศาตร์ที่ไม่ประสบผลสำเร็จมาแล้วในยุคขงเบ้ง
ความแตกต่างระหว่างขงเบ้งกับเกียงอุยประการหนึ่ง
ที่ทำให้การยกทัพของเกียงอุยยุ่งยากกว่าขงเบ้ง
คือ อำนาจของเกียงอุยไม่เท่าขงเบ้ง
และพระเจ้าเล่าเสี้ยนไม่วางใจเกียงอุยเท่าขงเบ้ง
เกียงอุยเป็นแม่ทัพย้ายค่าย
ก้าวขึ้นมาได้ดีเพราะอาจารย์
เรียกได้ว่าเด็กเส้นของขงเบ้งคงไม่ผิดนัก
หลายครั้งก่อนที่เกียงอุยนำทัพบุกวุยก๊ก
จึงมีเสียงคัดค้านจากเหล่าแม่ทัพขุนนางเสมอ
และถึงแม้ไปออกศึกอยู่กลางสมรภูมิแล้ว
ยังถูกพระเจ้าเล่าเสี้ยนเรียกตัวกลับบ่อยครั้ง
นั่นเป็นเพราะเกียงอุยไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ
เหมือนเมื่อครั้งขงเบ้งคุมทัพเอง
และยิ่งไม่ได้รับความไว้วางใจจากเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน
อย่างที่ขงเบ้งเคยได้รับ
แต่กระนั้นเกียงอุยยังคงเดินหน้าทำศึก โดยไม่สนคำคัดค้านทั้งที่หวังร้ายและหวังดีใด ๆ
ในการศึกครั้งที่ 8
เกียงอุยเข้าล้อมเตงงายแม่ทัพวุยไว้ที่เขากิสาน
กองทัพจ๊กก๊กจวนเจียนจะได้ชัยอยู่รอมร่อ
ท้ายที่สุดพระเจ้าเล่าเสี้ยนมีจดหมายเรียกตัวกลับถึง 3 ครั้ง
เกียงอุยจำใจต้องถอนทัพกลับ
สาเหตุมาจาพระเจ้าเล่าเสี้ยนเชื่อคำฮุยโฮขันทีคนสนิท
ที่หมายจะให้เงียมอูเด็กในสังกัดได้เป็นใหญ่แทนเกียงอุย
เกียงอุยน้อยใจจึงย้ายไปตั้งกองกำลังที่เมืองหลงเส
เกียงอุย (วัยชรา)
ในศึกครั้งสุดท้ายเมื่อวุยก๊กแยกโจมตีสองทาง
ให้แม่ทัพจงโฮยตรึงกำลังเกียงอุยไว้
ส่วนเตงงายลอบบุกเมืองหลวงแบบฟ้าผ่า
จ๊กก๊กก็ถึงกาลอวสาน
แม้จ๊กก๊กจะล่มแล้ว
เกียงอุยก็ยังหวังจะฟื้นฟูขึ้นมาอีก
โดยการยอมสวามิภักดิ์ต่อจงโฮย
และยุจงโฮยให้ก่อกบฏต่อวุยก๊ก
จนสุดท้ายจงโฮยถูกปราบ
เกียงอุยถูกทหารวุยล้อมไว้
จึงตัดสินใจเชือดคอตาย
เกียงอุยสืบทอดปณิธานของขงเบ้ง
ตราบจนวันที่เขาสิ้นชีวิต
นับได้ว่าเป็นผู้สืบทอดที่ดี
หากแต่ต้นทุนของเกียงอุยน้อยกว่าขงเบ้ง
ขาดทั้งบุคลากรที่เก่งกาจ
ขาดความไว้วางใจจากเจ้านาย
ขาดทั้งทรัพยากรที่สมบูรณ์
ภารกิจที่แม้ขงเบ้งไม่อาจบรรลุ
เกียงอุยกลับใช้วิธีเดิม ๆ ในการสืบทอดงานนั้น
หากเขาให้เวลาประเทศได้พักฟื้น
และฟื้นฟูความพร้อมทางด้านต่าง ๆ ก่อนเปิดศึกใหญ่
บางทีจ๊กก๊กอาจอยู่รอดต่อไปได้
ถึงกระนั้นเกียงอุยนั้นนับว่ามีความกล้าหาญเข้มแข็งสมเป็นทหารเอกตัวจริงเลยทีเดียว
จนเกียงอุยนั้นได้เสียชีวิตลง ด้วยการปิดชีพฆ่าตัวตาย ด้วยวัย 63 ปี
จากการโดนทหารวุยก๊กล้อมเอาไว้ จึงตัดสินใจจบชีวิตลง
วีรบุรุษ "เกียงอุย" แม่ทัพผู้กตัญญูและจงรักภักดีขุนศึกคนสุดท้ายและความหวังสุดท้ายเดียวแห่งจ๊กก๊กเป็นอันต้องอวสานลง แผนในการกอบกู้ราชวงศ์ฮั่นให้กลับมาเป็นอย่างเดิม เป็นอันต้องล้มเหลวและปิดฉากตำนานผู้สืบทอดปณิธานคนสุดท้ายจาก"ขงเบ้ง" อย่าง "เกียงอุย" นับแต่นั้นมา..
คำคม เกียงอุย
•“ท่านว่าทั้งนี้ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย วันคืนปีเดือนล่วงไปไม่หยุดเลย จะคอยท่าให้ได้ทีก็จะแก่เสียเปล่า เมื่อไรจะได้ทีเล่าจึงจะยกไป”
•“เกียงอุยถอยใกล้ริมน้ำ แล้วพาทหารหนีเลียบฝั่งน้ำ ไปข้างตะวันตก จึงร้องประกาศแก่ทหารทั้งปวงว่าข้าศึกไล่มาใกล้อยู่แล้ว ทหารเราก็เป็นเชื้อชาติทหารแต่ล้วนดีๆ ฝีมือกล้าหาญ เคยทำสงครามมาแต่ก่อน เหตุใดครั้งนี้จึงยอมท้อข้าศึกนัก”
•“เรายกทัพไปทำการครั้งนี้ เสียทหารแลม้าศัสตราวุธมากมาย โทษอันนี้ใหญ่หลวงนัก เราจะทำโทษตัวเหมือนอย่างมหาอุปราชเสียเกเต๋งแก่สุมาอี้นั้นจึงจะควร”
•“ท่านเจรจาดังนี้ไม่ชอบ เสียทีเกิดมาให้หนักแผ่นดินเสียเปล่า ตัวเรานี้พระเจ้าเล่าเสี้ยน ชุบเลี้ยงมีพระคุณต่อเราเป็นอันมาก เราจะทำราชการสนองพระคุณกว่าจะสิ้นชีวิต”
• “เราเคยทำศึกมากับขงเบ้ง ชำนาญในกระบวนศึกเป็นอันมาก เวลาวานนี้เราก็แปลงกระบวนศึก ถึงสามร้อยหกสิบห้ากระบวน เตงงายก็เห็นฝีมืออยู่แล้ว ซึ่งให้หนังสือมาว่าจะออกตั้งกระบวนศึกรบกับเรานั้น เหมือนเอาหญ้ามาสู้ดาบอันคม เห็นเป็นกลอุบายลวงเราดอก”
•“ตัวข้าพเจ้านี้ตั้งใจจะทำการ สนองพระคุณให้สิ้นศัตรูจงได้ ควรหรือพระองค์มาเชื่อฟังอ้ายคนเล็กน้อยปากตลาด คิดสงสัยข้าพเจ้า”
•“เมื่อครั้งขงเบ้งเป็นมหาอุปราช ยกทัพไปทำการศึกที่เขากิสานถึงหกครั้งจนตัวตาย ก็เพราะคิดว่าเป็นข้าราชการแผ่นดินท่าน หาได้เห็นแก่ลาภสักการประโยชน์แก่ตัวไม่ บัดนี้เราจะยกไปตีเอาเมืองเตียวเจี๋ยงให้ได้ ถ้าแลผู้ใดขัดขวางเรา เราจะฆ่าผู้นั้นเสีย”
•“อันประเพณีทำการศึกนี้แพ้แลชนะย่อมมีเสมอกัน ครั้งนี้ถ้าแลทหารผู้ใดออกปากว่าย่อท้อแก่ข้าศึก ไม่ตั้งใจทำราชการโดยสุจริต เราจะฆ่าผู้นั้นเสีย”
•“พระองค์มาเชื่อฟังถ้อยคำฮุยโฮ ฮุยโฮคิดการทะนงใจนัก เห็นจะเหมือนครั้งพระเจ้าเลนเต้เมื่อมีขันทีสิบคนนั้น ขอพระองค์จงเร่งกำจัดอ้ายฮุยโฮเสียเถิด เมืองเสฉวนก็จะอยู่เย็นเป็นสุข แลซึ่งเมืองวุยก๊กนั้นก็จะได้โดยง่าย”
•“ท่านกริ่งใจทั้งนี้ก็ชอบอยู่ ข้าพเจ้ามาคิดเห็นว่า อันธรรมดานายมีความสงสัยบ่าวฉะนี้แล้ว ก็ย่อมมีอันตรายมาถึงเป็นมั่นคง”
•“อุบายของเราคิดไว้ตลอดแล้ว เทพดามิได้โปรดให้สำเร็จแกล้งผลาญชีวิตเราในครั้งนี้ เมื่อวาสนาหาไม่จะอยู่ไปไย ว่าดังนั้นแล้วก็เชือดคอตายเสียในทันใด”
•“ซึ่งท่านให้เอาขุนนางทั้งปวงมาขังไว้ในวัง ปรารถนาจะให้ลงใจด้วยกัน ข้าพเจ้าเห็นว่าสุจริตไม่ จะเอาไว้ให้เป็นเสี้ยนหนามอยู่หาต้องการไม่ เท็จจริงประการใดท่านก็มีปัญญาพิเคราะห์เห็นอยู่สิ้นทุกประการแล้ว ถ้าฆ่าเสียสิ้นทีเดียวจะมิพ้นราคีแก่ตัวหรือ”
1
ข้อมูลและที่มา : https://premchaiword.wordpress.com
เรียบเรียงเนื้อหา/นำเสนอโดย : "สาระหลากด้าน"
โฆษณา