Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สาระหลากด้าน ✅
•
ติดตาม
11 เม.ย. 2019 เวลา 19:11 • ประวัติศาสตร์
เปิดประวัติ "จูหยวนจาง...จอมจักรพรรดิผู้พิชิตมองโกลปฐมกษัตริย์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หมิง"
(ฉบับเต็ม)
1
ในบรรดาจักรพรรดิจีนที่คนไทยรู้จักต้องมีจูหยวนจางอีกคนเข้าไปอยู่ในนั้น ตั้งแต่นิยายกำลังภายในมังกรหยกของ จินย้ง ที่อ้างถึงการรุกต่อต้านราชวงศ์หยวนของชนเผ่ามองโกลโดยชาวฮั่น ได้ใช้เกร็ดประวัติศาสตร์ช่วงต่อในยุคนี้เป็นตัวเดินเรื่องในนวนิยาย หรือจะเป็นจางซานฟงปรมาจารย์ลัทธิเต๋าผู้ก่อตั้งสำนักอู่ตัง หรือที่คนไทยรู้จักในนามสำนักบู๊ตึ๊งซึ่งเป็นบุคคลร่วมสมัยที่มีชีวิตจริงอยู่ในยุคนั้นตั้งแต่ราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์หยวน มาถึงราชวงศ์หมิง
ภาพ : oknation
อีกทั้งยังมีภาพยนตร์จากฮ่องกงที่นำเสนอเรื่องราวต่างๆในยุคนั้นมีการอ้างถึงชื่อจูหยวนจางของจักรพรรดิองค์นี้ ก่อนที่พระองค์จะพิชิตราชวงศ์หยวน ขับไล่ชนเผ่ามองโกลออกจากแผ่นดินจีนสำเร็จ รวบรวมประเทศเป็นปึกแผ่น แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิทรงพระนามว่า จักรพรรดิหมิงไท่จู่ฮวงตี้หรืออีกนามว่า จักรพรรดิหงอู่ตี้
3
จักรพรรดิหมิงไท่จู่จูหยวนหยาง (วันที่ 21 เดือนสิบ ค.ศ.1328-วันที่ 24 เดือนหก ค.ศ.1398) พระองค์มีชื่อแรกว่า ซื่อกั๊วเร่ย (字国瑞) จนอายุได้แปดขวบ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ซิ้งจง (兴宗) ชาวหมู่บ้านกูจวง (孤庄)ตำบลจงหลี (钟离) เมืองเหาโจว (濠州) เป็นจักรพรรดิผู้สถาปนาราชวงศ์หมิง (明朝, หมิงเฉา) ในวัยเด็กมีฐานะยากจนเป็นเด็กเลี้ยงวัวให้แก่เจ้าของที่ดิน ค.ศ.1344 (ปีที่สี่ศักราชหยวนจื้อเจิ้ง元至正) บวชเป็นพระในวัดหลวง อายุ 25 ปีเข้าร่วมกับกองทัพกบฎโพกผ้าแดงของกัวจือซิง (郭子兴) ลุกขึ้นต่อต้านราชวงศ์หยวนของมองโกล ค.ศ.1356 (ปีที่สิบหกศักราชหยวนจื้อเจิ้ง) ถูกผู้ใต้บังคับบัญชาในกองทัพพร้อมกันยกให้เป็น อู๋กั๊วกง (吴国公) ปีเดียวกันเข้าตีและควบคุมเส้นทางจี๋ชิงลู่ เปลี่ยนยศและตำแหน่งเป็น อิ้งเทียนฝู่
3
ค.ศ. 1368 (ปีที่ 28 ศักราชจื้อเจิ้ง) หลังจากจูหยวนจางปราบปราบกบฎชาวนาที่ลุกขึ้นก่อการ ณ.ที่ต่างๆจนสงบ เขาใช้ตำแหน่งอิ้งเทียนฝู่ปราบดาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ สถาปนาราชวงศ์ต้าหมิง (大明) รัชกาลหงอู่ (洪武) เป็นการสิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์หยวนของมองโกลในประเทศจีน รักษาความสงบในมณฑลเสฉวน (四川,ซื่อชวน) มณฑลกว่างซี (广西) มณฑลกานซู (甘肃) มณฑลยูนนาน (云南,หยิ๋นหนาน) และดินแดนอื่นๆ สถาปนาระบบการปกครองศักดินาสมบูรณาญาสิทธิราชปกครองประเทศเป็นเอกภาพ
3
ค.ศ. 1380 (ปีที่สามรัชกาลหงอู่) จูหยวนจางสั่งประหารสมุหนายกหูเหวยย้ง ยกเลิกตำแหน่งสมุหนายก (丞相,เฉิงเซี่ยง) จัดตั้งเฉิงซวนปู้เจิ้งสือซือ ,เลขาธิการดูแลการบริหารแผ่นดิน การเมืองและกิจการพลเรือน) ถีสิงอ้านฉาสือซือ ,เลขานุการดูแลเรื่องยุติธรรม กรมตำรวจ ความมั่นคงภายใน) โตวจือหุ้ยสือซือ ,เลขานุการตำแหน่งจอมพลดูแลกิจกรรมทางทหารทั้งหมด) เป็นสามอำนาจใหญ่ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของศูนย์กลางอำนาจ
1
ค.ศ. 1398 (ปีที่ 13 รัชกาลหงอู่) จูหยวนจางป่วยเป็นโรคสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนม์อายุ 71 ปี สลักนามพระองค์ว่า “ไท่จู่” พระนามหลังสิ้นพระชนม์ถวายนามว่า “คายเทียนสิงเต้าจ้าวจี้ลี่จี๋ต้าเซิ้นจือเซิ๋นเหรินเหวินอี้อู่จวิน เต๋อเฉิงกงเกาอู่ตี้” พระศพถูกฝังอยู่ที่สุสานราชวงศ์หมิง เสี้ยวหลิง ณ.เมืองหนานจิง
"อัตชีวประวัติของจูหยวนจาง
จากสามัญชนคนธรรมดา"
จูหยวนจาง (ประสูติเมื่อวันที่ 21 เดือนสิบ ค.ศ.1328-สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 เดือนหก ค.ศ.1398) เดิมชื่อ จูจ้งปา (朱重八) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น จูหยวนจาง (朱元璋) ชาวฮั่น บ้านเดิมอยู่ที่หมู่บ้านกูจวง (孤庄) ตำบลจงหลี (钟离) เมืองเหาโจว (濠州,ปัจจุบัน คือ เมืองเฟิ้งหยาง凤阳มณฑลอันฮุย安徽) เป็นนักยุทธศาสตร์การทหาร จักรพรรดิองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิง
จูหยวนจางเกิดเมื่อเดือนแปด วันชูปา (初八,วันที่แปดจีนตามจันทรคติ) ดังนั้นจึงมีชื่อว่า จูจ้งปา (หนักไปทางเลขแปด) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นจูซิ้งจง (朱兴宗) เป็นลูกคนที่สี่ ในครอบครัวที่มีพี่ชายน้องชายจัดเป็นคนที่แปดของครอบครัว อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านกูจวง (孤庄) ตำบลจงหลี (钟离) เมืองเหาโจว (濠州,ปัจจุบัน คือ เมืองเฟิ้งหยาง凤阳มณฑลอันฮุย安徽) จากครอบครัวชาวนาที่ลำบากยากจน บิดามีนามว่า จูซื่อเจิน (朱世珍 เดิมชื่อ จูอู๋ซื่อ朱五四) มารดา ชื่อว่า เฉินซื่อ (陈氏) ในบันทึก “เจี่ยนเซิ้นเย่เหวิน” (翦胜野闻) ของสวี่เจิงชิง (徐祯卿) สมัยราชวงศ์หมิง เขาได้อ้างถึงรากบรรพบุรุษที่จูหยวนจางจัดทำขึ้นเอง คือ “จูซื่อซื่อเต๋อเปย” (朱氏世德碑) มาอ้างอิง ซึ่งระบุไว้ดังนี้ จูหยวนจางเป็นลูกหลานตระกูลจู ต้นตระกูลอพยพมาจากจวี้หรง (句容) ที่เมืองจินหลิง (金陵) ต้นตระกูล คือ จูเจียเซี่ยง (朱家巷) บรรพบุรุษสืบต่อกันมาจนมาอาศัยที่เต๋อเซี่ยง (德乡) คนในตระกูลคนอื่นๆยังอาศัยอยู่ในจวี้หรง มณฑลเจียงซู (江苏) ปัจจุบัน ตระกูลของจูหยวนจางก่อนนั้นเก้าชั่วคนมีอาชีพทำการเกษตร
2
บิดา ปู่และบรรพบุรุษหลายชั่วคนเป็นทาสค้างชำระภาษี ต้องหลบหนีไปที่หวยเหอ (淮河) เพื่อหลบหนีนายบ่อนภาษีอากรและเจ้าหนี้ทั้งหมด พยายามทุกวิถีทางหาที่ดินให้เช่าเพื่อจะทำมาหาเช้ากินค่ำในขณะที่มีภัยแล้งและโรคระบาด จูหยวนจางเป็นหลานคนเล็กของคนในตระกูลที่รอดชีวิตจากภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ่ในครานั้น นอกจากหลานชายคนโตลูกหลานคนอื่นๆที่ไม่มีกำลังเลี้ยงดูจะส่งให้คนอื่นไปเลี้ยงหรือจับแต่งงานไปกับครอบครัวอื่น
1
ลุกขึ้นสู้ต่อต้านราชวงศ์หยวน
การแบ่งชนชั้นเป็นสี่ชนชั้น กบฎชาวนารุกขึ้นต่อต้านล้มราชวงศ์หยวนในที่สุด
ห้าสิบปีหลังการล่มสลายของราชวงศ์ซ่งใต้ (南宋,หนานซ่ง) ราชวงศ์หยวนปกครองประเทศเต็มไปด้วยการคอรัปชั่น ขูดรีดข่มเหงประชาชน แบ่งประชาชนเป็น 4 ชนชั้น ชาวมองโกล (蒙古) เป็นชนชั้นหนึ่ง ชาวเซ่อมู่ (色目) เป็นชนชั้นสอง ชาวฮั่นที่เคยเป็นประชากรของราชวงศ์จิน (金朝, จินเฉา) เป็นชนชั้นสาม ส่วนชาวฮั่นทางใต้เป็นชนชั้นสี่ ชาวมองโกลเป็นผู้ปกครองชาวฮั่น ชาวฮั่นทางใต้มีสถานะต่ำกว่าคนธรรมดา ชาวมองโกลที่ไม่มีคนรับใช้หรือคนงานสามารถนำชาวฮั่นมาใช้แรงงานได้และสามารถเข้าไปยึดครองทรัพย์สินสมบัติของชนเผ่าอื่นได้ทั้งหมด ฆ่าชาวฮั่นทางใต้คนหนึ่งเพียงแค่จ่ายค่าปรับราคาเทียบเท่าราคาหัวลาตัวหนึ่ง ชาวฮั่นทางเหนือมีสถานะทางสังคมสูงกว่าหน่อยเพียงเพราะว่าเหลือชาวฮั่นให้ฆ่าน้อยลงไปทุกที แม้แต่ชื่อนามของชาวฮั่นในสมัยนั้นก็ไม่สามารถใช้ได้ เพียงแต่ใช้วันเดือนปีเกิดมาตั้งเป็นชื่อ ห้ามมีอาวุธในครอบครอง แม้แต่มีดทำครัวด้ามเดียวต้องนำมาแบ่งกันใช้หลายๆครอบครัว โดนกดขี่เก็บภาษีอย่างหนัก รวมทั้งความอดอยากปากแห้งอยู่เป็นประจำ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศต้องต่อสู้ดิ้นรนกับความอดอยากและความตาย
1
ความขัดแย้งทางเชื้อชาติและความขัดแย้งทางชนชั้นนับวันกลายเป็นปัญหาลึกซึ้งยากแก่การแก้ไข พร้อมที่จะระเบิดขึ้นมาได้ทุกเวลา อีกทั้งยังมีปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มักเกิดควบคู่กันบ่อยๆใน ณ.ห้วงเวลานั้น จนทำให้ชาวไร่ชาวนาที่ยากจนข้นแค้นย่ำแย่หมดหวังที่จะหาทางรอดในชีวิต ต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่แม้กระทั่งเอาชีวิตเข้าแลกเป็นเดิมพันเพื่อความอยู่รอดของชีวิต ผู้กล้าทั้งหลายจึงเริ่มรวมกันจากทั่วสาระทิศ
1
ในเดือนห้าของปีนั้น หานซันถง (韩山童) หลิวฝูทง (刘福通) ซึ่งอยู่ที่เมืองอิ่งโจว (颍州,ปัจจุบัน คือเมืองฟู่หยาง 阜阳 มณฑลอันฮุย) จุดไฟติด รวบรวมคนก่อตั้งกองทัพโพกผ้าแดง เรียกชื่อกองทัพว่า “หงจินจวิน” (红巾军) จากนั้น สวีโส่วหุย (徐寿辉) ก่อการที่เมืองฉีโจว (蕲州,ปัจจุบัน คือ ดินแดนฉีชุน蕲春ทิศตะวันตกเฉียงใต้ มณฑลหูเป่ย湖北) ลีเอ้อร์ (李二) เผิงต้า (彭大) จ้าวจวิน (赵均) ก่อการ ณ.เมืองสวีโจว (徐州) จากนั้นไม่กี่เดือนดินแดนในแถบอื่นๆต่างตอบรับกลายเป็นแนวร่วมอย่างมหึมา ปีที่สอง คือ ปีที่ 12 ศักราชจื้อเจิ้ง (至正) ราชวงศ์หยวน ค.ศ. 1352 วันที่ 11 เดือนอ้าย ณ.เมืองติ้งหยวน (定远, ปัจจุบัน คือ เมืองติ้งหยวน มณฑลอันฮุย) ผู้นำเผด็จการท้องถิ่น กัวจึซิง (郭子兴) รวมกับซุนเต๋อหยา (孙德崖) จัดทัพที่เมืองติ้งหยวน บนดินแดนจงลี่ (钟离) มีผู้คนตอบรับเข้าร่วมเป็นทหารนับหมื่น กัวจึซิงจัดตั้งพิธีบูชาธูป ตั้งตัวเองเป็นผู้นำพรรคบัวขาว (白莲会,ป๋ายเลียนหุ้ย) ในดินแดนนั้น วันที่ 27 เดือนสอง กองทัพกบฎยึดเมืองเหาโจว (濠州) ได้แล้ว กัวจึซิงแต่งตั้งตนเองเป็นจอมทัพ
1
จากนั้นกัวจึซิงรักษาเมืองเหาโจวอย่างเข้มงวดกวดขัน ออกคำสั่งบังคับบัญชาจากเมืองนี้
เมื่อถึงศตวรรษที่ 14 ในห้วงเวลา 30 ปี ดินแดนแถบหวยเหอ (淮河) ได้กลายเป็นแหล่งกำเนิดของกองทัพกบฎโพกผ้าแดง คำสอนและการโพทนาของผู้นำซึ่งกลายเป็นศาสดาไปแล้วเป็นเครื่องดึงดูดชาวบ้านซึ่งตกทุกข์ได้ยากหันมาสนับสนุนเพิ่มขึ้นๆเรื่อยๆ ปู่คนหนึ่งของจูหยวนจางซึ่งเป็นหมอดูและในศตวรรษที่ 13 เมื่อ 70 ปีก่อนเคยเป็นทหารต่อต้านพวกมองโกล ได้เล่าประสบการณ์ของกองทัพฮั่นในศตวรรษที่12 ซึ่งพิชิตมีชัยชนะเหนือกองทัพมองโกล เป่าหูแก่เด็กน้อยจูหยวนจางในตอนนั้นถึงเหตุการณ์ที่มีมนต์ขลังและเรื่องราวที่เต็มไปด้วยการผจญภัยอย่างมหัศจรรย์ในการทำสงคราม
1
"เข้าร่วมกองทัพกบฎ"
ค.ศ. 1343 เมืองเหาโจวเกิดภัยแล้ง ทั้งในฤดูใบไม้ผลิยังประสพปัญหาฝูงตั๊กแตนอาละวาดกัดกินทำลายพืชพันธ์ธัญญาหารอย่างไม่ตั้งตัว ความหายนะได้ถักโถมเข้ามาพร้อมตามมาด้วยโรคระบาด ในช่วงเวลานั้นแต่ละบ้านมีแต่ผู้คนล้มตาย แต่ละหมู่บ้านในแต่ละวันไม่สามารถคาดการได้ว่าจะมีคนตายกี่คน หรือเป็นหลายสิบคน ไม่นานครอบครัวของจูหยวนจางติดเชื้อโรคระบาด ไม่ถึงครึ่งเดือนดีบิดาซึ่งมีอายุ 64 ปี พี่ชายคนโต และมารดา เฉินซื่อ ก็จากโลกนี้ไป จูหยวนจางกับพี่ชายรองมองเห็นคนอันเป็นที่รักค่อยๆตายไปทีละคน ในบ้านไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อโลงศพแม้แต่ที่ดินที่จะฝังศพบุคคลอันเป็นที่รักก็ไม่มี
จูหยวนจางมองไม่เห็นอนาคตของตนเอง ไม่มีที่พักอาศัยแม้แต่ตายยังไม่มีหลุมฝังศพ เขาและพี่ชายรองจึงร้องไห้อย่างน่าเวทนา เสียงดังรบกวนไปถึงหลิวจี้จู่ (刘继祖) ซึ่งเป็นเพื่อนบ้าน ดังนั้นหลิวจี้จู่จึงช่วยให้พวกเขามีที่ฝังศพให้บิดามารดาและพี่ชายคนโต พวกเขาสองพี่น้องพยายามหาเสื้อผ้าที่ขาดรุ่งริ่งไม่กี่ผืนเพื่อนำมาเป็นผ้าห่อศพบิดา มารดาและพี่ชายฝังในที่ของบ้านหลิวจี้จู่
35 ปีผ่านมาจูหยวนจางหวลนึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นยังเป็นเรื่องยากที่จะยับยั้งความโศรกเศร้า พระองค์ทรงอักษรไว้ในอนุสาวรีย์ “ฮวงหลิงเปย” (皇陵碑) ว่า “ไม่มีหลุมฝังศพ ร่างไร้วิญญาณต่างเรียกร้อง ศพฝังลึกสามฟุต อาหารจัดไหว้ยังไม่มี”
นานไม่ถึงครึ่งเดือนบ้านเรือนและครอบครัวที่เคยอบอุ่น บิดามารดาได้จากไปอย่างถาวร ความข่มขื่นจากครอบครัวซึ่งแตกสลายมีผลกระทบทางจิตใจอย่างลึกซึ้งต่อจูหยวนจาง ดูเสมือนพระองค์ตกอยู่ในนรกอเวจี ช่วงนั้นเพื่อจะเอาชีวิตให้รอด จูหยวนจาง พี่ชายรอง พี่สะใภ้คนโตและหลานชายตัดสินใจแยกย้ายจากกันเพื่อหาทางรอดของแต่ละคน
จูหยวนจางซึ่งอยู่ในสถานการณ์สิ้นไร้ไม้ตอกจริงๆคิดถึงในวัยเด็กที่อยากบวชเป็นพระในวัดหลวงฮวงเจ๋ยสึ (皇觉寺) ดังนั้นจึงเดินทางบวชเป็นพระที่เกาปิน (高彬) ในวัดนี้ได้ผนวชเป็นสามเณรในพุทธศาสนา ชีวิตประจำวันในวัดพระองค์ต้องทำงานกวาดวัด จุดธูปบูชา ตีระฆังวัดบอกเวลา ทำอาหารและซักเสื้อผ้า มีงานให้ทำยุ่งทั้งวัน บางครั้งยังถูกตำหนิติเตียนจากพระสงฆ์ที่แก่พรรษากว่า วันวันอันแสนยาวนานจูหยวนจางเต็มไปด้วยความโกรธ วันหนึ่งขณะพระองค์กำลังกวาดวัด พระองค์ทรงทำแท่นที่นั่งของพระพุทธรูปล้มเพื่อความสะดวกในการเอาไม้กวาดเข้าไปทำความสะอาดกระทบแท่นที่นั่งอยู่หลายๆครั้ง อีกครั้งหนึ่งพระภิกษุแก่พรรษาเห็นหนูเข้าไปกัดกินเทียนในโบสถ์จนเสียหายจึงตำหนิจูหยวนจางต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย จูหยวนจางคิดในใจว่าแม้แต่แท่นบูชาที่อยู่ตรงหน้ายังไม่สามารถจัดการได้ แล้วจะดูแลโบสถ์ได้อย่างไร จึงบริภาษตนเองยิ่งคิดยิ่งโกรธ จูหยวนจางจึงหาพู่กันจีนเขียนลงบนด้านหลังของแท่นบูชาอยู่หลายคำว่า “เนรเทศไปสามพันลี่” (发配三千里, ฟาเพ่ยซันเชียนลี่) ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าจูหยวนจางมีบุคลิกเป็นคนไม่ชอบให้ใครมากดขี่ แต่จูหยวนจางเป็นสามเณรได้ไม่นาน อาหารในวัดไม่พอเพียงเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์แล้ว ทั้งวัดก็ไม่ได้รับการบริจาคทาน เจ้าอาวาสผู้ดูแลวัดเกาปินจึงต้องทำเป็นข้าวต้มมาแบ่งกันกินในหมู่พระสงฆ์และส่งพระสงฆ์ออกไปนอกวัดบิณฑบาตร ดังนี้จูหยวนจางจึงบวชเป็นสามเณรอยู่ได้ 50 วันแต่ไม่เคยเรียนพระธรรมคำสั่งสอน ทำภารกิจของสงฆ์ แต่เนื่องจากไม่มีหนทางไป จึงจำเป็นต้องสวมตัวเป็นสามเณรต่อไปออกจากวัดเร่ร่อนบิณฑบาตรขอทานต่อไป ในตอนนั้นจูหยวนจางมีอายุได้ 17 ปี
จูหยวนจางเร่ร่อนขอทานมาเรื่อยๆ พระองค์ได้ยินจากปากคำชาวบ้านว่าที่ไหนดีพระองค์ก็จะไปที่นั่น พระองค์ออกเดินทางจากเหาโจวลงใต้จนมาถึงเมืองเหอเฝย (合肥) จากนั้นเบนทิศสู่ตะวันตกสู่เหอหนาน (河南) จนมาถึงกู้ซื่อ (固始) ซิ่นหยาง (信阳) จากนั้นขึ้นเหนือสู่หรู่โจว (汝州) เฉินโจว (陈州) และเมืองอื่นๆ ตะวันออกถึงลู่อี้ (鹿邑) ป๋อโจว (亳州) ค.ศ.1348 จึงกลับไปสู่วัดฮวงเจ๋ยสึ ในระหว่างสามปีแห่งการเดินทางเร่ร่อนพระองค์เดินทางไปทั่วทุกห้วยทุกมุมของดินแดนหวยซี (淮西) รับรู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ ประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นตลอดจนภูมิประเทศแต่ละท้องถิ่น ได้เห็นโลกแห่งความเป็นจริง เปิดโลกทัศน์ให้แก่พระองค์เอง สะสมประสบการณ์ทางสังคมและการดำเนินชีวิต การประสบชีวิตที่ตกทุกข์ยากลำบากในระหว่างเร่ร่อนเสริมสร้างให้จูหยวนจางกลายเป็นคนมีความอดทน กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ทั้งยังทำให้พระองค์เป็นคนโหดร้าย ขี้หวาดระแวง ช่วงชีวิตในห้วงเวลานี้มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตในอนาคตของจูหยวนจาง
1
จูหยวนจางตะลอนเร่ร่อนขอทานเป็นเวลายาวนานกว่าสามปีเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กบฎชาวนารุกฮือขึ้นต่อต้านระบบปกครองราชวงศ์หยวนของมองโกลทั่วทั้งแผ่นดินดังกับห่าพายุ ชุมนุมชนต่างๆต่างแพร่กระจายคำพูดที่ว่า “หมิงหวางชูซื่อ ผู่ตู้จ้งเซิน” (明王出世,普度众生, กษัตริย์องค์ใหม่เกิดในโลกแล้ว ปลดปล่อยผู้คนจากทุกข์ยากลำบาก) ไปทั่วแผ่นดิน พรรคบัวขาวทางเหนือก็ปล่อยข่าวแบบนี้เช่นเดียวกัน จูหยวนจางในขณะที่ร่อนเร่พเนจรอยู่นั้น ได้ยินข่าวและคำพูดเหล่านั้น พระองค์ได้แลเห็นสถานการณ์ของประเทศ สภาพชีวิตของชาวบ้านที่เสื่อมคุณภาพไปเรื่อยๆ รับรู้ความวุ่นวายในแผ่นดินกำลังมาถึงในเร็ววันนี้ หลังจากกลับมาถึงวัดหวางเจ๋ยสึพระองค์ทรงศึกษาตำราอย่างขยันขันแข็ง คบหาสร้างมิตร เตรียมพร้อมที่จะเข้าร่วมก่อการ
1
ค.ศ. 1351 พรรคบัวขาวโดยการนำของหานซันถง (韩山童) หลิวฝูทง (刘福通) ลุกขึ้นก่อการจลาจลที่อิ่นโจว (颍州, ปัจจุบัน คือ เมืองฟู่หยาง 阜阳 มณฑลอันฮุย) พร้อมแต่งตั้งหานซันถงเป็นหมิงหวาง (明王) เดือนแปดปีเดียวกัน เผิงอิ๋งยวี้ (彭莹玉) สวีโส่วหุย (徐寿辉) ลุกขึ้นก่อการจลาจลที่ฉีสุ่ย (浠水, ปัจจุบัน คือ เมืองฉีสุ่ย มณฑลหูเป่ย) ผู้ก่อการกบฎเหล่านี้ต่างโพกผ้าแดงบนหัวเป็นสัญลักษณ์ ดังนั้นจึงเรียกว่า กองทัพ“หงจินจวิน” (红巾军) ค.ศ.1352 กัวจึซิง (郭子兴) และซุนเต๋อหยา (孙德崖) ลุกขึ้นก่อการที่เหาโจว
1
จูหยวนจางได้ยินข่าวการลุกขึ้นก่อการจลาจล ไม่คิดอะไรมากเก็บตัวอยู่ในวัด ในช่วงเวลานั้นอาจถูกทหารราชวงศ์หยวนจับตัวไปได้ทุกเวลา ชีวิตตกอยู่ในอันตราย ตอนนั้นจูหยวนจางได้รับจดหมายของทางเหอ (汤和) เพื่อนเล่นสมัยเด็กๆ ในจดหมายของทางเหอชักชวนให้จูหยวนจางเข้าร่วมกับกลุ่มก่อการกบฎของกัวจึซิง ครั้งนี้พี่ชายรองของจูหยวนจางบอกต่อพระองค์ว่า จดหมายนี้เป็นจดหมายลับ ถ้าหลุดเผยแพร่ออกไปจนชาวบ้านรู้อาจถูกชาวบ้านเอาไปกล่าวโทษต่อทางการได้ ดังนั้นจูหยวนจางจึงทิ้งบาตรข้าวแล้วหนีไปเข้าร่วมกับกองทัพโพกผ้าแดงของกัวจึซิง ปีนั้นจูหยวนจางอายุได้ 25 ปี
"เส้นทางสู่การเติบโต"
หลังจากจูหยวนจางเข้าร่วมกับกองทัพโพกผ้าแดง พระองค์ร่วมต่อสู้อย่างกล้าหาญและปราดเปรียว แต่ยังเขียนหนังสือไม่ค่อยได้ ในไม่ช้าเป็นที่โปรดปรานของกัวจึซิง ดังนั้นกัวจึซิงจึงดึงตัวจูหยวนจางเข้าสู่กองบัญชาการมาเป็นผู้ติดตามเขา แต่งตั้งเป็นชินปิงจิ่วฝูจ่าง (亲兵九夫长, รองแม่ทัพทัพเก้า) จูหยวนจางกล้าทำงานอย่างฉลาดเฉลียว จัดการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เป็นผู้นำในการทำศึก เมื่อชนะศึกต่างๆรายงานผลงานทั้งหมดให้แก่แม่ทัพกัวจึซิงรับทราบ มีความดีความชอบแต่ยกความดีความชอบให้แก่ทุกคนทั่วหน้าและนำรางวัลแจกจ่ายให้แก่ทุกๆคน ชื่อเสียงของจูหยวนจางในกองทัพจึงแพร่กระจายด้วยคำชม กัวจึซิงก็ยกย่องพระองค์เป็นขุนพลคู่ใจ เมื่อมีกิจการสำคัญมักจะปรึกษาหารือกับจูหยวนจาง ตอนนั้นกัวจึซิงมีลูกสาวบุญธรรมนางหนึ่งชื่อว่า หม่าซิ่วอิง (马秀英,ต่อมาดำรงตำแหน่ง ต้าเจี่ยวหม่าฮวงโฮ้ว大脚马皇后) ซึ่งเป็นลูกสาวของหม่ากง (马公) เพื่อนรักของเขา เมื่อหม่ากงเสียชีวิตลูกสาวคนสุดท้องของเขาหม่าซิ่วอิงจึงถูกกัวจึซิงรับมาเป็นบุตรสาวบุญธรรม กัวจึซิงเห็นว่าจูหยวนจางเป็นคนมีความสามารถ และสามารถช่วยภาระกิจงานใหญ่ของเขาได้เป็นอันมาก จึงยกลูกสาวบุญธรรมของเขา หม่าซิ่วอิง ให้แต่งงานกับจูหยวนจาง ดังนั้นภายในกองทัพจึงเรียกชื่อพระองค์ว่า จูกงซึ (朱公子) เมื่อมีคนข้างเคียงแล้วก็ไม่สามารถกลับใช้ชื่อเล่นในอดีตว่า จ้งปา (重八)แล้ว ดังนั้นจึงเปลี่ยนชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า หยวนจาง (元璋, จู “朱” มาจากคำว่า จู “ 诛” แปลว่า การฆ่าหรือประหาร, หยวน元 หมายถึง ราชวงศ์หยวน, จาง璋 คือ เครื่องมือตัดหยกที่แหลมคมชนิดหนึ่ง, ความหมายทั้งหมด คือ เครื่องมือประหารทำลายราชวงศ์หยวน)
ตอนนั้นในเมืองเหาโจวกองทัพโพกผ้าแดงมีแม่ทัพถึงห้านาย พวกกัวจึซิงพวกหนึ่ง พวกซุนเต๋อหยาอีกพวกหนึ่ง และพวกคนอื่นๆอีกสามพวก ความขัดแย้งระว่างสองฝ่ายหนักขึ้นเรื่อยๆ เดือนเก้าปีเดียวกันจือมาลี่ (芝麻李) ผู้บัญชาการกองทัพโพกผ้าแดงเมืองสวีโจวถูกกองทัพราชวงศ์หยวนฆ่าตาย แม่ทัพอื่นเผิงต้า (彭大) และจ้าวจวิน (赵均) จึงยกทัพมาสมทบที่เมืองเหาโจว เผิงต้าและกัวจึซิงมีไมตรีดีต่อกัน แต่ซุนเต๋อหยากับพวกดึงจ้าวจวินมาเป็นพวก พร้อมทั้งการยุแยงของซุนเต๋อหยา จ้าวจวินลอบลักพาตัวกัวจึซิงมาพร้อมจับตัวกัวจึซิงส่งให้ตระกูลซุนทรมานด้วยการตีหนึ่งยกใหญ่ ก่อนที่จะเตรียมฆ่ากัวจึซิง จูหยวนจางทราบข่าวโดยได้รับความช่วยเหลือจากเผิงต้า จึงยกทัพไปช่วยกัวจึซิงกลับมาได้ ตั้งแต่นั้นความสัมพันธ์ของสองฝ่ายยิ่งร้าวลึกเข้าไปอีก
1
จูหยวนจางแลเห็นขุนศึกต่างๆในเมืองเหาโจวต่างต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ ความขัดแย้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัดสินใจที่จะพึ่งพากำลังของฝ่ายตนเองเพื่อเปิดทางสร้างโอกาสในอนาคต ปีที่สิบสามศักราชจื้อเจิ้ง (至正, ค.ศ.1353) ช่วงกลางเดือนหก จูหยวนจางกลับไปภูมิลำเนาเดิมเพื่อรวบรวมคนมาเป็นทหาร เพื่อนในวัยเด็กของพระองค์ สวี่ต๋า (徐达) โจวเต๋อซิง (周德兴) กัวอิงเติ่ง (郭英等) และถงชุน (同村) หลินเซียง (邻乡)ซึ่งเป็นคนรู้จัก ได้ยินว่าจูหยวนจางได้เป็นผู้นำคนหนึ่งในกองทัพโพกผ้าแดงรีบมาพบเพื่อขอเข้าร่วม ครั้งนั้นจูหยวนจางสามารถรวบรวมคนมาเป็นพวกได้ถึงเจ็ดร้อยกว่าคนจึงกลับมาเมืองเหาโจว กัวจึซิงดีใจเป็นอย่างมากจึงประกาศแต่งตั้งจูหยวนจางเป็น เจิ้นฝู
ฤดูหนาวปีนั้นเผิงฮั่น (彭旱) ลูกชายเผิงต้า (彭大) อ้างสิทธิแต่งตั้งตนเป็นลู่หวยหวาง (鲁淮王) จ้าวจวินแต่งตั้งตนเป็นหย่งอี้หวาง (永义王) แต่กัวจึซิงและคนอื่นๆยังเป็นแค่แม่ทัพ จูหยวนจางเห็นคนเหล่านี้หกเดือนแล้วยังไม่ยกทัพออกจากเมืองเหาโจว ดังนั้นพระองค์ทรงคัดเลือกคนที่ไว้ใจจากทหารใหม่ทั้งหมดเช่นสวี่ต๋า ทางเหอและพวกอีกยี่สิบสี่คนลอบออกจากเมืองเหาโจวไปที่หนานเลี้ยติ้งหย่วน (南略定远) ในระหว่างทางไปหนานเลี้ยติ้งหย่วนจูหยวนจางได้อภัยโทษให้แก่จางเจียเป่า (张家堡) และกองอาสาสมัครป้องกันหมู่บ้านจำนวนสามพันคน จากนั้นยังอภัยโทษให้แก่ฮั้วปี๋จึ (豁鼻子) ฉินป่าโถว (秦把头) และพวกอีกแปดร้อยคน รวบรวมเข้ามาเป็นพวกในใต้บังคับบัญชาของพระองค์ จูหยวนจางยกทัพออกสู่ทิศตะวันออก ลอบเข้าโจมตีค่ายทหารราชวงศ์หยวนของเหิงเจี้ยนซัน (横涧山) ที่ติ้งหย่วนในตอนกลางคืน แม่ทัพเหมี้ยวต้าเหิ่น (缪大亨) ยอมจำนน จูหยวนจางคัดเลือกทหารชาวฮั่นที่มีร่างกายแข็งแรงจากกองทัพที่ยอมจำนนได้สองหมื่นคนรวมเข้ามาในกองทัพของพระองค์ จากนั้นยกทัพลงใต้เพื่อตีเมืองฉูโจว (滁州, ปัจจุบัน คือ เมืองฉูโจว มณฑลอันฮุย)
ในระหว่างยกทัพลงใต้มุ่งสู่ฉูโจว หลี่ซ้านจ่าง (李善长) ผู้มีชื่อเสียงในเมืองติ้งหย่วนขอเข้าพบหน้าค่ายทหาร จูหยวนจางและหลี่ซ้านจ่างเมื่อพบกันครั้งแรกต่างประทับใจซึ่งกันและกัน หลี่ซ้านจ่างยกเรื่องจักรพรรดิฮั่นเกาจู่หลิวปัง (汉高祖刘邦) มาโน้มน้าวให้จูหยวนจางฟัง โดยเฉพาะเรียนรู้วิธีรู้คนและใช้คน (知人善任,จือเหรินซ่างเหริ่น) จากหลิวปัง ไม่ประหารคนโดยไม่จำเป็น รีบลงมือยึดประเทศ จูหยวนจางฟังดูแล้วมีเหตุผล จึงขอให้หลี่ซ้านจ่างอยู่กับตนแต่งตั้งเป็นเลขาผู้บัญชาการทัพ ทั้งยังขอร้องให้หลี่ซ่านจ่างเป็นผู้ประสานงานความสัมพันธ์ต่างๆในกองทัพให้ดี เพื่อสร้างเสริมการทำการใหญ่
1
จูหยวนจางตีเมืองฉูโจวได้อย่างรวดเร็ว หลานชายของพระองค์จูเหวินเจิ้น (朱文正) และหลี่เจิน (李贞) พี่เขยของพระองค์นำหลานชายที่ยังเป็นทารก (ต่อมาตั้งชื่อให้ว่า เหวินจง文忠) มาคารวะอยู่ด้วย หลังจากพูดคุยกัน จูหยวนจางจึงทราบว่า พี่รอง พี่สามและพี่สาวต่างลาจากโลกไปแล้ว สร้างความเสียใจให้พระองค์เป็นอันมาก อีกทั้งยังมีเด็กกำพร้าที่น่าสงสารอีกคนชื่อว่า มู้อิง (沐英) จูหยวนจางจึงรับเด็กทั้งสามนี้มาเป็นบุตรบุญธรรม เปลี่ยนแซ่เป็นแซ่ จู หลังจากนั้นจูหยวนจางยังรับเด็กกำพร้าคนอื่นๆอีกยี่สิบกว่าคนเป็นบุตรบุญธรรม
1
ในขณะที่จูหยวนจางเข้าตีเมืองฉูโจว กัวจึซิงถูกจ้าวจวินเล่นงาน โดยมีซุนเต๋อหยาและพวกเข้าร่วมบีบคั้น ดังนั้นเมื่อจูหยวนจางตีเมืองฉูโจวแตกได้ไม่นาน กัวจึซิงจึงเดินทางมายังเมืองฉูโจว จูหยวนจางจึงแบ่งทหารให้สามหมื่นนายซึ่งเคร่งครัด มีระเบียบวินัยทหารอย่างดีมอบแก่กัวจึซิง กัวจึซิงยินดีเป็นอย่างยิ่ง
ค.ศ. 1355 จูหยวนจางยึดได้ดินแดนเหอเสี้ยน (和县) เมื่อข่าวมาถึงกัวจึซิงจึงแต่งตั้งจูหยวนจางเป็นจ่งปิงกวน (总兵官,ผู้บัญชาการทหาร) ปกป้องเขตแดนรัฐ ครั้งหนึ่งจูหยวนจางออกไปข้างนอกพบเด็กนั่งร้องไห้ จูหยวนจางจึงถามว่าร้องไห้ทำไม เด็กบอกว่านั่งรอพ่อของเขา จูหยวนจางจึงซักถามรายละเอียดจากเด็กจึงทราบว่า แต่ก่อนพ่อกับแม่ของเด็กอยู่ด้วยกันในค่ายทหาร พ่อของเด็กทำหน้าที่เลี้ยงม้า พ่อและแม่ของเด็กไม่กล้าเปิดเผยตัวตน แค่บอกกล่าวว่าเป็นพี่น้องกัน จูหยวนจางทราบในทันที กฎวินัยของกองทัพมีปัญหา หลังจากพวกเขาตีเมืองได้ ได้สร้างปัญหาขึ้นมา กักกันหญิงสาวเอาไว้ ถ้าทำแบบนี้ต่อไป ขวัญกำลังใจของกองทัพจะตกลง จูหยวนจางจึงเรียกตัวแม่ทัพหารือเห็นพ้องแก้ไขกฎวินัยทัพ สั่งการให้หนุ่มสาวในกองทัพสามารถแต่งงานกันได้ ทำให้ครอบครัวทหารที่แยกกันอยู่กลับมารวมกันเป็นครอบครัวเป็นอันมาก เมื่อข่าวแพร่กระจายไป จูหยวนจางได้รับความนิยมจากคนของเขาเป็นอันมาก
ในปีนั้นกัวจึซิงล้มป่วยตาย เสี่ยวหมิงหวาง หานหลินเอ๋อร์ (小明王 韩林儿) แต่งตั้งกัวเทียนชวี้ (郭天叙) บุตรชายของกัวจึซิง เป็น โตวหยวนส้วย (郭天叙, แม่ทัพโตว) ลูกพี่ลูกน้อง จางเทียนโหย้ว (张天佑) แต่งตั้งเป็น โหย้วฟู่หยวนส้วย (右副元帅,แม่ทัพรองฝ่ายขวา) จูหยวนจาง เป็น จั่วฟู่หยวนส้วย (左副元帅, แม่ทัพรองฝ่ายซ้าย) เมื่อประกาศไปแล้วตำแหน่งแม่ทัพทั้งหมดมีศักดิ์เทียบชั้นจู่ (主, ตำแหน่งขุนนางระดับ พระ ตามศักดินาไทย) ตำแหน่งแม่ทัพรองฝ่ายขวามีศักดินาสูงกว่าตำแหน่งแม่ทัพรองฝ่ายซ้าย แต่กองทัพฉูโจว (滁州) และเหอโจว (和州) ต่างเป็นกองทัพที่จูหยวนจางคัดเลือกมาทั้งน้าน อีกทั้งจูหยวนจางยังกล้าหาญและชาญฉลาดกว่ากัวเทียนชวี้ และจางเทียนโหย้ว รวมทั้งมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความสามารถ ดังนั้นอันที่จริงจูหยวนจางจึงเป็นผู้นำทัพในกองทัพเหล่านี้
ก่อนที่จูหยวนจางจะขึ้นครองราชย์ พระองค์ประทับอยู่ที่เจียงซี (浙西) นาน 6 ปี (ครั้งหนึ่งอู๋หาน吴晗ได้บันทึกว่า มณฑลเจียงซีคือที่สะสมคลังสมบัติและสรรพกำลังของจักรพรรดิหมิงไท่จู่明太祖) ด้วยการเอื้ออำนวยของสภาพภูมิประเทศที่ปกปิดของภูเขาฉวนซัน (船山 คือ ภูเขาป๋ายซัน白山 เมืองหุยโจว徽州,ยอดเขาสูงสุดในเทือกเขารูปเรือที่เป็นยอดแหลม) ได้กลายเป็นศูนย์กลางของที่ทำการลับของกองทัพกู้ชาติหมิง ตามคำแนะนำของจูเซิง (朱升) ที่ปรึกษาชาวหุยโจว ที่วางกลยุทธว่า “กำแพงสูงกัน ธัญญาหารเต็มกว้าง ค่อยๆตั้งตนเป็นจักรพรรดิ” ความลับของการขยายความเข้มแข็งของกองทัพจูหยวนจางอย่างรวดเร็ว อยู่ในบันทึก “จิ่วกงปากว้าเจิ้น” (九宫八卦阵) ว่าด้วยการฝึกทหารกองทัพกู้ชาติหมิง พยายามทำตนไม่ให้เป็นจุดเด่นเพื่อทำการใหญ่ในภายภาคหน้า กำแพงสูงกัน คือการป้องกันกองกำลังที่มีความเข้มแข็งของศัตรู เสริมสร้างการป้องกันจากด้านหลัง ธัญญาหารเต็มกว้าง คือ การพัฒนาเศรษฐกิจการผลิต สะสมสำรองเสบียงอาหาร เพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ค่อยๆตั้งตนเป็นจักรพรรดิ คือ ยังไม่ต้องเร่งรีบตั้งตนเป็นจักรพรรดิ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างศัตรูโดยไม่จำเป็น เนื่องจากในตอนนั้นกองกำลังสิบส่วนยังอ่อนแออยู่ ทั้งพระองค์ยังตกอยู่ในวงล้อมของขุนศึกต่างๆอีกมากมาย ขอแนะนำทั้งสามนี้คือวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธทางการทหาร คือแนวทางอุดมการณ์ของจูหยวนจางในการเริ่มต้นพัฒนาสร้างกองทัพเพื่อกอบกู้ชาติ
"กลยุทธเพื่อชัยชนะ"
จูหยวนจางพำนักอยู่ในกองบัญชาการที่เหอโจวไม่กี่เดือน ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและเสบียง และเมืองเหอโจว อยู่ใกล้กับเมืองไท่ผิง (太平, ปัจจุบัน คือ เมืองตางถู当涂 มณฑลอันฮุย) ตอนใต้ฝั่งแม่น้ำฉางเจียง (长江, แม่น้ำแยงซีเกียง) ที่ราบอูหู (芜湖) คือ ผืนดินที่อุดมไปด้วยการปลูกข้าว แต่ไม่มีเรือเข้าถึง จึงต้องขนส่งไปถึงแม่น้ำ ครั้งนี้โชคดีมีทหารสองกองร้อยของกองทัพเรือเฉาหูสุ่ย (巢湖水)สังกัดกองทัพโพกผ้าแดงมาสวามิภักดิ์ จูหยวนจางจึงจัดการรวมทหารเรือกลุ่มนี้เข้ามาในกองทัพ
2
เดือนเจ็ด กองทัพเรือเฉาหูสุ่ยนำเรือรบพันกว่าลำเข้าโอบล้อมกองทัพราชวงศ์หยวนที่จะยกมาเหอโจว กองทัพม้าของจูหยวนจางยกมาสนับสนุนกองทัพเรือเฉาหูสุ่ยทางบกจากเหอโจวไปทางตะวันออกถึงแม่น้ำฉางเจียงจดเมืองฉ่าย สือ (采石)ฝั่งตรงข้าม ฉางเย่ชุน (常遇春) เป็นผู้นำทัพ นำทัพเข้าไล่ฆ่า ได้รับชัยชนะ เข้ายึดเสบียงอาหารได้อย่างมากมาย ทหารทั้งหมดจึงรวบรวมเสบียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหมดนำกลับไปเมืองเหอโจวเพื่อไว้ใช้สอย เห็นดังนี้ จูหยวนจางตัดสินใจสั่งตัดเชือกเรือ ปล่อยเรือไหลไปตามน้ำ ตัดทางถอยทัพกลับ ทหารไม่เห็นหนทางล่าถอย พยายามต่อสู้อย่างสุดฤทธิ์ ภายใต้การนำของจูหยวนจางรบชนะเข้ายึดเมืองไท่ผิง เมื่อเข้าเมืองไท่ผิง จูหยวนจางประกาศกฎอัยการทหารห้ามทำการปล้นสดมภ์ มีนายทหารคนหนึ่งฝ่าฝืนจึงสั่งประหารชีวิต ดังนั้นกองทัพของจูหยวนจางจึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในเมืองนี้ จูหยวนจางจึงจัดตั้งกองบัญชาการกองทัพไท่ผิงซิงกั๊วอีหยวนส้วยฝู (太平兴国翼元帅府) แต่งตั้งพระองค์เองเป็นจอมทัพ แต่งตั้งหลี่ซ้านจ่างเป็นส้วยฝูโตวซื่อ (帅府都事,เลขานุการจอมทัพ) ดังนี้จูหยวนจางจึงมีฐานที่มั่นมั่นคงในการทำงานกอบกู้ชาติ
ปีที่สิบหกศักราชจื้อเจิ้น (至正, ค.ศ.1356) เดือนสาม จางซื่อเฉิง (张士诚) เปิดฉากการรุก ณ.ดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฉางเจียง (แม่น้ำแยงซีเกียง) เข้าโจมตีกองทัพเจียงหนาน (江南)ของราชวงศ์หยวน โอกาสนี้จูหยวนจางนำทัพใหญ่ทั้งทางบกและทางน้ำมาด้วยตนเอง เข้าโจมตีเมืองจี๋ชิ่ง (集庆, ปัจจุบัน คือ เมืองหนานจิง南京 หรือนานกิง มณฑลเจียงซู江苏) สามครั้งจึงยึดเมืองได้ ในวันที่สามทำลายกำแพงด้านนอกของค่ายทหารของเฉินจ้าวเซียน (陈兆先) ทหารทั้งหมดสามหมื่นหกพันคนมาน้อมสวามิภักดิ์ต่อจูหยวนจาง แต่จูหยวนจางเล็งเห็นกองทัพที่ยอมจำนนยังไม่ยอมแพ้ด้วยใจ ในใจกองทัพยังคลุกกรุ่น ดังนั้นจูหยวนจางจึงคัดเลือกทหารกล้าหาญห้าร้อยนายจากกองทัพที่ยอมจำนนเพื่อตั้งเป็นหน่วยกล้าตาย เป็นยามเฝ้าตอนกลางคืน และข้างกายพระองค์ ทรงเลือกหน่วยกล้าตายนามเฝิงกั๊ว (冯国) มาเป็นองครักษ์เฝ้าพระองค์เพียงคนเดียวในคืนนั้น
วันต่อมากองทัพที่ยอมจำนนทราบเรื่อง ต่างสำนึกในน้ำพระทัยของพระองค์ ความหวาดระแวงหายไปทั้งหมด ยอมติดตามจูหยวนจางไปกอบกู้ชาติ ดังนั้นการทำสงครามครั้งนี้จึงราบรื่น ทำศึกไม่ถึงสิบวัน จูหยวนจางยึดเมืองจี๋ชิ่ง ได้ทั้งหมด
จูหยวนจางหลังจากเข้าเมืองปลอบโยนให้ประชาชนอยู่ในความสงบ เปลี่ยนชื่อเมืองจี๋ชิ่งเป็นอิ้งเทียน (应天) เสี่ยวหมิงหวาง หานหลินเอ๋อร์หลังจากทราบข่าวแต่งตั้งจูหยวนจางเป็นซูมี้หย้วนถงเฉียน (枢密院同佥,สมาชิกในคณะองคมนตรี) ไม่นานก็แต่งตั้งเป็นเจียงหนานเติ่งชูหางจงซูเซิ่งผิงจาง (江南等处行中书省平章,เลขาธิการบริหารรักษาความมั่นคงเขตเจียงหนาน) จูหยวนจางปกครองที่อิ้งเทียนสร้างอาคารบัญชาการเทียนซิงเจี้ยนคังอี้ต้าหยวนส้วยฝู่ (天兴建康翼大元帅府,ที่ทำการจอมพล) แต่งตั้งเลี่ยวเสี่ยวอัน (廖小安) เป็นถงจวินหยวนส้วย (统军元帅) หลี่ซ้านจ่าง เป็นจั่วโหย้วซือหลางจง (左右司郎中, เลขาธิการจอมทัพ)
ตอนนี้จูหยวนจางมีกำลังทหารอยู่ประมาณหนึ่งแสนนาย มีศักยภาพมากกว่าในอดีตมากแต่ยังครอบครองดินแดนได้เป็นส่วนน้อย ทั้งยังถูกโจมตีจากศัตรูรอบทิศ ทางทิศตะวันออกและทิศใต้โดยกองทัพราชวงศ์หยวน ทิศตะวันออกเฉียงใต้โดยกองทัพของจางซื่อเฉิง (张士诚) ทิศตะวันตกโดยกองทัพของสวีโส้วหุย (徐寿辉) ถึงแม้ว่าทั้งสองทัพหลังจะทำการกบฎต่อต้านราชวงศ์หยวนเช่นกันแต่จางซื่อเฉิงและสวีโส้วหุยทั้งสองต่างก็เป็นศัตรูกับเสี่ยวหมิงหวาง อย่างไรก็ดีกองทัพเสี่ยวหมิงหวางทางเหนือมีกองทัพโพกผ้าแดงของหลิวฝูทง (刘福通) เป็นกำลังหลักสร้างปัญหาให้แก่กองทัพราชวงศ์หยวนได้เป็นอันมาก อีกทั้งกองทัพของจางซื่อเฉิงและสวีโส้วหุยรวมกันยังมีกำลังน้อยกว่ากองทัพของจูหยวนจาง ดังนั้นจูหยวนจางบางครั้งจึงไม่คิดที่จะจัดการกับศัตรูทั้งสองคนนี้เพียงแต่รอคอยโอกาสที่ดีในการจัดการ
หลังจากประสบความสำเร็จในการใช้กลยุทธ “กำแพงสูงกัน” จูหยวนจางเริ่มนำกลยุทธ “ธัญญาหารเต็มกว้าง” มารณรงค์และปฎิบัติ ขั้นแรกแก้ไขปัญหาเสบียงอาหารของกองทัพโดยหลักคือการอาศัยการจัดสรรแบ่งปัน ที่เรียกว่า “จ่ายเหลียง” (寨粮.การสะสมเสบียงอาหาร) แต่ในระยะยาวกองทัพก็อาจจะเป็นการทำลายพลังบริสุทธิ์ของประชาชน ขาดการสนับสนุนจากประชาชน เพื่อจะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารจูหยวนจางระดมคนมาเพาะปลูกในพื้นที่นอกการควบคุมเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร ตัดสินใจใช้วิธีให้กำลังทหารปกป้องอารักขา แต่งตั้งแม่ทัพคังเม้าไฉ้ (康茂才) เป็นโตวสุ่ยหยินย่งสื่อ (都水营用使) รับผิดชอบระบายชลประทานสู่พื้นที่เกษตร แล้วนำนายทหารไปถากถางพื้นที่บุกเบิกเพื่อการเกษตร
เพียงไม่กี่ปี พื้นที่ต่างในซิงถุง (兴屯) เต็มไปด้วยรถทางการ รถขนเสบียงอาหารเพื่อให้เพียงพอ ค.ศ. 1360 จูหยวนจางประกาศไม่เก็บภาษีนโยบายจ่ายเหลียงเพื่อบรรเทาภาระของชาวเกษตรกร เพื่อจะรวบรวมสะสมพืชพันธ์ธัญญาหาร จูหยวนจางออกคำสั่งงดผลิตสุรา แต่หูซานเซ่อ (胡三舍) บุตรชายของแม่ทัพหูต้าไห่ (胡大海) ผู้ใต้บังคับบัญชาของพระองค์และพวกฝ่าฝืนละเมิดกฎ ตั้งโรงงานผลิตสุราทำกำไร เมื่อจูหยวนจางทราบข่าวลงโทษประหารชีวิตหูซานเซ่อ มีคนแนะนำพระองค์ว่าตอนนี้แม่ทัพหูต้าไห่กำลังทำศึกตีเมืองเส้าซิง (绍兴) จึงทักทานจูหยวนจางให้เห็นแก่หน้าแม่ทัพหูต้าไห่ละเว้นโทษแก่หูซานเซ่อ จูหยวนจางโกรธตัดสินใจแน่วแน่ที่จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รักษาระเบียบวินัยของกองทัพอย่างกวดขัน จึงตัดสินใจประหารหูซานเซ่อด้วยน้ำมือของพระองค์เอง
ในการเอาชนะใจของประชาชน จูหยวนจางมีความสามารถพิเศษในเรื่องนี้ โดยเฉพาะกับชนชั้นเจ้าของที่ดินและปัญญาชน ในขณะที่จูหยวนจางพำนักอยู่ที่อิ้งเทียนทรงสร้างและซ่อมแซมหอรับรองหลี่เสียงกว่าน (礼贤馆) โดยเฉพาะเพื่อไว้ต้อนรับบุคคลชนชั้นเหล่านั้น บุคคลเหล่านี้หลังจากที่จูหยวนจางรวบรวมประเทศได้แล้วเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการบริหารประเทศ อาทิเช่นหลี่ซ้านจ่าง จูเซิน (朱升) จูหยวนจางมีศรัทธาอย่างมากต่อนักปราชญ์จากสำนักข่งจื้อ ค.ศ. 1358 จูหยวนจางเชิญนักปราชญ์สำนักข่งจื้อ ถังจ่งสือ (唐仲实 หรือที่ชอบเรียกชื่อกันว่า ถังกุ้ยฟาง唐桂芳) มาพบ ถามประวัติของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ (汉高帝) จักรพรรดิฮั่นกวงอู่ (汉光武) จักรพรรดิถังไท่จง (唐太宗) จักรพรรดิซ่งไท่จู่ (宋太祖) จักรพรรดิหยวนซื่อจู่ (元世祖,จักรพรรดิกุบไล่ข่าน) สมัยที่รวบรวมประเทศเป็นปึกแผ่น นี่เป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนว่า จูหยวนจางตัดสินใจแน่วแน่ที่จะกอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นและสถาปนาราชวงศ์ของพระองค์เอง
"รวบรวมเจียงหนานเป็นปึกแผ่น
(สงครามใหญ่ที่ผอหยางหู)
จูหยวนจางสถาปนาเมืองอิ้งเทียนเป็นเมืองศูนย์กลางบัญชาการ โดยมีเฉินโหย่วเหลี้ยง (陈友谅) อยู่ต้นแม่น้ำฉางเจียง จางซื่อเฉิง (张士诚) อยู่ปลายน้ำแม่น้ำฉางเจียง ฟางกั๊วเจิน (方国珍) อยู่ดินแดนแถบตะวันออกเฉียงใต้ เฉินโหย่วติ้ง (陈友定) อยู่ดินแดนแถบทิศใต้ ฟางกั๊วเจินกับเฉินโหย่วติ้งรักษาและปกป้องดินแดนของตน จางซื่อเฉิงอดีตกองทัพราชวงศ์หยวนเป็นกองกำลังที่ไม่เป็นโล้เป็นพายไม่ค่อยมีความกล้าในการทำศึก กำลังของเฉินโหย่วเหลี้ยงเข้มแข็งที่สุด คือ กองทัพที่จูหยวนจางเข้ายึดเมืองอิ้งเทียนแล้วประสบกับศัตรูที่อันตรายที่สุด
1
เฉินโหย่วเหลี้ยง เคยเป็นลูกน้องในกองร้อยของแม่ทัพหนีเหวินจิ้น ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของแม่ทัพสวีโส้วหุย ภายหลังเขาฆ่าแม่ทัพหนีเหวินจิ้น และในปี ค.ศ.1360 จับตัวสวีโส้วหุ้ยได้พร้อมตีเมืองไท่ผิง เมืองฉ่ายสือ ได้ ดังนั้นเฉินโหย่วเหลี้ยงเพื่อคิดจะทำการต่อไปตีเมืองอิ้งเทียน โดยฆ่าสวีโส้วหุย ที่เมืองฉ่ายสือตั้งตนเป็นกษัตริย์สถาปนาราชวงศ์ฮั่นใหม่ เปลี่ยนความชอบธรรมเป็นของตน
1
แล้วเฉินโหย่วเหลี้ยงจึงนัดแนะจางซื่อเฉิงร่วมแรงกันเข้าตีเมืองอิ้งเทียนจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เพื่อนำดินแดนของจูหยวนจางมาแบ่งกัน เมืองอิ้งเทียนจึงตกอยู่ในอันตราย จูหยวนจางทราบข่าวจึงเรียกแม่ทัพนายกองทั้งหมดมาปรึกษาหารือหามาตรการป้องกัน ต่างคนต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน มีเพียงหลิวจี้ม้อ (刘基默) นั่งเงียบๆไม่ออกความคิดเห็นใดๆ จูหยวนจางรู้ว่าหลิวจี้ม้อมีข้อเสนอให้พิจารณา ดังนั้นจึงซักถามความเห็นจากเขา หลิวจี้ม้อบอกความเห็นว่าศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดในตอนนี้คือ เฉินโหย่วเหลี้ยง ต้องมีสมาธิทุ่มกำลังไปจัดการเขา แม้ว่าเฉินโหย่วเหลี้ยงมีสรรพกำลังมาก แต่เขาเป็นคนฆ่าแม่ทัพนายกองของตน ทหารในทัพจะเอาใจออกห่าง ประชาชนก็ไม่เห็นด้วย ดังนั้นไม่ยากที่จะเอาชนะ ดังนั้นต้องรอให้เขายกทัพลึกเข้ามาแล้วส่งทัพไปลอบซุ่มโจมตี ไม่ยากที่จะมีชัยชนะ จูหยวนจางเห็นด้วยกับความเห็นของหลิวจี้ม้อ จึงวางแผนล่อศัตรูให้ยกทัพเข้ามาให้ลึกเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำศึก แม่ทัพคังเม้าไฉ้ (康茂才) ของจูหยวนจางและเฉินโหย่วเหลี้ยงคือเพื่อนเก่ากัน ดังนั้นคังเม้าไฉ้จึงเขียนจดหมายหนึ่งฉบับให้คนส่งไปให้เฉินโหย่วเหลี้ยงในค่ายทหารของเขา นัดแนะเวลาให้เฉินโหย่วเหลี้ยงเข้าตีเมืองอิ้งเทียน และบอกว่าจะอยู่ภายในเป็นไส้ศึกเปิดสะพานเจียงตง และประตูเมืองให้
1
วันที่ 23 เดือนหกตอนเช้า เฉินโหย่วเหลี้ยงยกทัพเรือเป็นทัพใหญ่มาถึงนอกเมืองอิ้งเทียน ณ.สะพานเจียงตง จึงพบว่าสะพานเป็นสะพานหินและไม่มีส่วนใดเป็นสะพานไม้ จึงรู้ตัวว่าถูกหลอกแล้ว แต่มันก็สายเกินแก้ กองกำลังซุ่มโจมตีของจูหยวนจางยกออกโจมตี เฉินโหย่วเหลี้ยงจึงพ่ายแพ้ จูหยวนจางยึดเมืองไท่ผิง ซิ่นโจว (信州) และ อันชิ่ง (安庆) เฉินโหย่วเหลี้ยงแพ้หนีไปที่จิ่วเจียง (九江) ปีที่สอง เดือนแปดตียึดเมืองอันชิ่ง นั่นหมายความว่า จูหยวนจางยกทัพบุกตรงเข้าไปยังรังของเฉินโหย่วเหลี้ยงที่เจียงโจว (江州) เฉินโหย่วเหลี้ยงหนีไปที่อู่ชาง (武昌) จูหยวนจางยึดได้ดินแดนมณฑลเจียงซีและดินแดนทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลหูเป่ย
ตอนนี้กองทัพโพกผ้าแดงได้แบ่งแยกเป็นกลุ่มๆ พลังอำนาจอ่อนลง ปีที่ 23 ศักราชจื้อเจิ้น เดือนสอง จางซื่อเฉิงและพวกเป็นภัยอันตราย ส่งแม่ทัพลวี่เจิน (吕珍) เข้าตีเมืองอันเฟิง (安丰) หลิวฝูทง (刘福通) เข้าขอความช่วยเหลือจากจูหยวนจาง เมื่อจูหยวนจางยกทัพมาถึงเมืองอันเฟิง หลิวฝูทงถูกลวี่เจินฆ่าตายแล้ว จูหยวนจางเพียงช่วยเหลือได้แต่เสี่ยวหมิงหวาง หานหลินเอ๋อร์ นำเขากลับมาพำนักที่ฉูโจว ขณะที่จูหยวนจางยกทัพหลักไปช่วยเสี่ยวหมิงหวาง เฉินโหย่วเหลี้ยงเห็นเป็นโอกาสมาถึงแล้วจึงยกทัพเข้าตีเมืองหงโตว (洪都, ปัจจุบัน คือ เมืองหนานชาง南昌มณฑลเจียงซี) จูเหวินเจิ้น (朱文正) หลานชายจูหยวนจางนำทัพไปสกัดเป็นเวลานาน 85 วัน จึงเข้าเมืองหงโตวได้ เฉินโหย่วเหลี้ยงทราบข่าวภายหลังจึงถอนทหารที่ล้อมเมืองไว้ เปิดศึกกับจูเหวินเจิ้น ทั้งสองฝ่ายเปิดศึกรบกันแตกหักที่ผอหยางหู การศึกที่ผอหยางหูเริ่มต้นวันที่ 29 เดือนแปด ถึงวันที่ 3 เดือนสิบ รบกันอยู่ 36 วัน กองทัพเรือของจูหยวนจางใช้กองเรือเล็กที่มีความคล่องแคล่วยืดหยุ่นให้เป็นประโยชน์สูงสุดในการรบ เผาทำลายกองทัพของเฉินโหย่วเหลี้ยง ในที่สุดมีชัยชนะ เฉินโหย่วเหลี้ยงถูกเกาทัณฑ์ยิงตายในสนามรบ
1
ในปีใหม่ ค.ศ. 1364 จูหยวนจางถูกขนานนามว่า อู๋หวาง สร้างวังป่ายกวนซือซู่ ในศักราชหลงเฟิ้นจี้เนียน ,ปีของมังกรและหงส์ฟีนิกซ์) เพื่อเป็นที่ออกพระราชโองการ “พระราชกฤษฎีกาจักรพรรดิ อู๋หวางน้อมเสนอ” , หวางตี้เสิ่นจื่อ อู่หวางหลิ่งจื้อ) ใช้บังคับในดินแดนตน เพราะว่าปี ค.ศ. 1363 จางซื่อเฉิงแต่งตั้งตนเองเป็นอู๋หวางเช่นกัน ประวัติศาสตร์จึงบันทึกจางซื่อเฉิงคือตงอู๋หวาง ( อู๋หวางตะวันออก) จูหยวนจางคือซีอู๋หวาง , (อู๋หวางตะวันตก)
ปีที่ 24 ศักราชจื้อเจิ้น เดือนสาม จูหยวนจางยกทัพมากำกับการรบที่อู่ชางอีกครั้ง เฉินหลี่ (陈理) ในที่สุดออกจากเมืองมายอมจำนน เมื่อผนวกดินแดนของเฉินโหย่วเหลี้ยงได้แล้ว เป้าหมายต่อไปของจูหยวนจาง คือ จางซื่อเฉิง
จางซื่อเฉิงเป็นชาวไท่โจว (泰州) แต่ก่อนทำกิจการขนส่งขายเกลือ ปลายสมัยราชวงศ์หยวนมีการก่อจลาจลต่อต้านเรื่องเกลือ เริ่มขึ้น ค.ศ. 1354 โดยเฉิงหวาง (诚王) ที่เกาโหยว (高邮) ตั้งตนเป็นใหญ่เรียกว่า โจว (周) รัชกาลเทียนโหย้ว (天佑) ค.ศ. 1356 ตั้งเมืองหลวงที่ผิงเจียง (平江, ปัจจุบัน คือเมืองซูโจว苏州) หลังจากกำจัดเฉินโหย่วเหลี้ยงและตระกูลลงแล้ว ปีที่ 25 ศักราชจื้อเจิ้น เดือนสิบ จูหยวนจางยกทัพโจมตีจางซื่อเฉิง ยึดได้เมืองทงโจว (通州) ซิ่นฮว้า (兴化) เยี๋ยนเฉิง (盐城) ไท่โจว (泰州) เกาโหยว (高邮) หวยอัน (淮安) สวี่โจว (徐州) สู้โจว (宿州) อันเฟิง (安丰) และเมืองอื่นๆตามลำดับ กองกำลังของอู๋ตะวันออกถูกขับออกจากพื้นที่เจียงเป่ย (江北)
1
ปีที่ 26 ศักราชจื้อเจิ้น เดือนห้า จูหยวนจางแถลงการณ์ประนามจางซื่อเฉิง กล่าวหาจางซื่อเฉิงกระทำผิดแปดข้อหา นอกจากข้อหาที่สี่และข้อหาที่แปดและข้อหาที่อู่หวางตะวันออกคบคิดกับต่างชาติ นอกนั้นกล่าวหาจางซื่อเฉิงขายตัวให้แก่ราชวงศ์หยวน ไม่หันมามองห้วมองหาง เห็นได้ง่ายมากคือคนชั่วที่ทำสงครามตามคำสั่งของราชวงศ์หยวน นี่เป็นการแสดงชัดเจนว่าจูหยวนจางได้ประกาศตนเองชัดเจนเป็นจักรพรรดิลูกหลานแห่งฟ้าดิน เตรียมการที่จะสถาปนาตั้งราชวงศ์ใหม่ในประเทศจีน
กองทัพของจูหยวนจางรุกรบอย่างรวดเร็ว ปีที่ 26 ศักราชจื้อเจิ้น เมืองหางโจว (杭州) หูโจว (湖州) มายอมสวามิภักดิ์ เมืองผิงเจียง (平江) ถูกตัดขาด ดังนั้นจูหยวนจางกรีฑาทัพไปล้อมเมืองผิงเจียงเพื่อเปิดฉากทำสงครามกับเมืองผิงเจียง
ขณะที่ล้อมเมืองจูหยวนจางส่งเหลี้ยวหย่งจง (廖永忠) ไปฉูโจวเชิญเสี่ยวหมิงหวาง หานหลินเอ๋อร์ มาที่เมืองอิ้งเทียน แต่ที่แม่น้ำตู้เจียง (渡江) เมืองกว้าโจว (瓜州) ขณะที่พายเรือข้ามน้ำท้องเรือมีรอยรั่วทะลุ เสี่ยวหมิงหวางจึงจมน้ำตายในแม่น้ำสายนั้น จูหยวนจางจึงประกาศยกเลิกการใช้ศักราชหลงเฟิ้นจี้เนียน (龙凤纪年) ประกาศให้ปี ค.ศ. 1367 เป็นปีแรกศักราชอู๋หยวน (吴元)
เมื่อเปิดสงครามเมืองผิงเจียง จูหยวนจางนำทัพล้อมเมือง สร้างหอรบสูงสามชั้นสูงกว่ากำแพงเมืองพร้อมด้วยเกาทัณฑ์หน้าไม้พร้อมที่จะยิงเข้าไปในกำแพงเมือง ทั้งยังสร้างเครื่องยิงหินยิงเข้าไปในเมืองทั้งวันทั้งคืน ชาวเมืองในกำแพงต่างตระหนกตกใจ จางซื่อเฉิงพยายามที่จะตีฝ่าวงล้อมอยู่หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จางซื่อเฉิงเป็นคนใจร้อนและทำงานหยาบ ชอบทำอะไรง่ายๆและรักความสนุกสนาน ชอบตามใจผู้ใต้บังคับบัญชา ในวันสุดท้ายของการล้อมเมืองผิงเจียง จางซื่อซิ่น (张士信) น้องชายจางซื่อเฉิงขึ้นบัญชาการรบที่กำแพงเมืองยังไม่คลายจากความรักสนุก นั่งบนเก้าอี้เงินบนกำแพงเมืองดื่มเหล้าพร้อมทั้งแจกจ่ายลูกพีชให้ทุกคนทั้งด้านซ้ายขวากินกันทั่วหน้า ผลลัพธ์ลูกพีชยังไม่ถึงปากมีลูกหินลูกหนึ่งถูกยิงขึ้นมาถูกหัวของเขาตายคาที่
จูหยวนจางส่งคนไปให้ในเมืองให้ยอมจำนนอยู่หลายครั้งแต่ถูกปฎิเสธโดยจางซื่อเฉิง จางซื่อเฉิงต้องการปกป้องเมืองผิงเจียงจนตัวตาย เมื่อเสบียงอาหารหมด ใช้หนูและหญ้าเป็นอาหาร เอากระเบื้องหลังคามาทำลูกศรและลูกยิง ปีที่ 27 ศักราชจื้อเจิ้น (ค.ศ.1367) วันที่แปดเดือนเก้า จูหยวนจางนำทัพบุกเข้าเมืองผิงเจียง จางซื่อเฉิงยกทัพสู่ถนนออกสู้ต่อต้านแบบจนตรอก สุดท้ายจางซื่อเฉิงถูกจับส่งกลับไปที่เมืองอิ้งเทียน เมื่อจูหยวนจางตรัสถาม จางซื่อเฉิงไม่ตอบคำถามใดๆ หลี่ซ้านจ่างถาม เขาก็เปิดปากด่าทอ เมื่อหมดหนทางแล้วจูหยวนจางจึงตรัสสั่งให้องครักษ์นำตัวจางซื่อเฉิงไปกุดหัว ปีนั้นจางซื่อเฉิงมีอายุ 47 ปี หมดสิ้นอู๋หวางตะวันออก
"สถาปนาราชวงศ์หมิง"
(ศักราชหงอู่ เดินทางมุ่งสู่ภาคเหนือ)
ปีที่ 24 ศักราชจื้อเจิ้น (ค.ศ.1364) จูหยวนจางปราบดาตนเองเป็นอู๋หวาง ปีที่ 27 ศักราชจื้อเจิ้น (ค.ศ.1367)เดือนสิบ อู๋หวางจูหยวนจางแต่งตั้งซูโหย้วเฉิงเซี่ยง สวี่ต๋า เป็นแม่ทัพเจิงลู่วต้าเจียงจวิน ผิงจาง ฉางเย๋วชุน เป็นรองแม่ทัพ ยกทัพสองแสนห้าหมื่นนายขึ้นเหนือสู่กลางประเทศ การขึ้นเหนือครั้งนี้เพื่อประกาศให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่รับทราบถึงอำนาจของพระองค์ ในประกาศมีเนื้อความรณรงค์ว่า “ขับไล่สัตว์ร้ายชาวหู ฟื้นฟูแผ่นดินจีน เปิดศักราชใหม่ของจักรพรรดิ บรรเทาทุกข์ยากของประชาชน เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ชาวจีนทางเหนือลุกขึ้นต่อต้านณาชวงศ์หยวน
จูหยวนจางปฎิบัติตามประกาศรณรงค์นี้ด้วยพรสวรรค์และความคิดสร้างสรรของพระองค์ มีวิสัยทัศน๋กว้างไกลในการเตรียมการอย่างละเอียดรอบคอบก่อนยกทัพมุ่งสู่ภาคเหนือ โดยเริ่มจากยึดดินแดนซันตง (山东) ก่อนเพื่อกำจัดอุปสรรคจากทัพราชวงศ์หยวน นำทัพสู่เหอหนาน (河南) เพื่อตัดปีกของกองทัพหยวน เข้ายึดเมืองถงกวน (潼关) เพื่อยืนทัพตรงปากประตูราชวงศ์หยวน จากนั้นจึงยกทัพไปเมืองต้าตู (大都) เช่นนี้แล้วราชวงศ์หยวนก็จะยากที่จะเยียวยา ใช้กลยุทธเข้ายึดครองโดยไม่ทำสงคราม หลังจากนั้นยกทัพมุ่งสู่ภาคตะวันตก สู่ซันซี (山西) ส่านเป่ย (陕北) กวนจง (关中) กานซู (甘肃) สามารถรวบรวมได้ดินแดนทั้งหมด
1
กองทัพยกไปทางเหนือดำเนินการตามแผนการทั้งหมด สวี่ต๋ายกทัพเข้ายึดดินแดนซันตงก่อน จากนั้นเบนเข็มสู่ตะวันตกยึดเมืองเปี้ยนเหลียง หลังจากนั้นจึงกวาดล้างเมืองถงกวน จูหยวนจางเข้าสู่เปี้ยนเหลียงบัญชาการรบ ณ.ที่นั่น ปีศักราชหมิงหงอู่หยวน (ค.ศ.1368) เปลี่ยนชื่อเมืองอิ้งเทียนเป็นหนานจิง ตั้งเป็นเมืองหลวง สถาปนาราชวงศ์ต้าหมิง ปีศักราชหงอู่
ศักราชหงอู่ (ค.ศ.1368) เดือนเจ็ด กองทัพหมิงทั้งหมดเรียงรายไปตามแม่น้ำจนจดเมืองเทียนจิน (天津) ใช้เวลา 27 วันจึงยึดเมืองทงโจว (通州) ได้ ปีค.ศ. 1368 เดือนแปด กองทัพหมิงมุ่งหน้าสู่เป่ยจิง จักรพรรดิหยวนซุ้นตี้ (元顺帝) นำมเหสีซานกงโฮ้วเฟย (三宫后妃) มกุฎราชกุมาร นางสนมกำนัลและข้าราชบริพารเปิดประตูเมืองเจี้ยนเจ๋อเหมิน (健德门) ของเมืองเป่ยจิงเผ่นหนีกลับไปที่เมืองต้าตู (大都) หลังจากจวีหย้งกวน (居庸关) หนีไปที่เมืองซ่างตู (上都) ละทิ้งเมืองหลวงหนีกลับไปยังถิ่นเดิมมองโกลเลีย กองทัพมองโกลที่ยังหลงเหลือของเที่ยมู้หว่าน (帖木尔) หลี่ซื่อฉี (李思齐) นำทัพจำนวนมากออกปราบปรามและขับไล่ขุนศึกมองโกลเหล่านั้น เมื่อกองทัพ หมิงขับไล่ขุนศึกและกองทัพมองโกลออกจากแผ่นดินจีนได้หมด การปกครองของมองโกลบนแผ่นดินจีนเป็นเวลานาน 98 ปีก็มาถึงวันอวสาน ราชวงศ์หมิงได้ขับไล่มองโกลออกนอกกำแพงเมืองจีน (长城, ฉางเฉิง)มีสิทธิอันชอบธรรมในการปกครองประเทศจีน ประเทศจีนได้กลับมาเป็นประเทศที่ปกครองโดยจักรพรรดิชาวจีนเชื้อชาติฮั่นอีกครั้งหนึ่ง เป็นปรากฎการณ์อีกครั้งหนึ่งของประเทศ
ค.ศ.1368 ชาวหยวนที่เมืองต้าตูถูกจับเป็นเชลย จักรพรรดิหยวนซุ้นตี้ถูกลงโทษประหารชีวิต แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1352 ที่จูหยวนจางทำสงครามเป็นต้นมานี่คือสงครามใหญ่ที่สุดที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของพระองค์ พระองค์ไม่จำเป็นต้องต่อสู้อีกต่อไปเพื่อชีวิตทางการเมือง เพื่อการอยู่รอดของชีวิตหรือแม้แต่การอยู่รอดในสงคราม และไม่จำเป็นต้องต่อสู้อีกต่อไปเพื่อยึดครองดินแดนรวบรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่น แม้ว่าการศึกสงครามยังเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แต่ต่อไปจากนี้สงครามที่จะเกิดต่อไปจะจำกัดอยู่แต่การปกป้องชายแดนประเทศ และปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทำสงครามกำลังปรากฎออกมาเรื่อยๆ ปัญหาอื่นๆอาทิเช่น ตำแหน่งจักรพรรดิของจูหยวนจางจะได้รับการยอมรับจากนายทหารทั้งหมดในกองทัพหรือไม่ การสถาปนาระบบเศรษฐกิจให้สามารถขับเคลื่อนไปได้และการจัดการกับระบบการทหารในภาวะที่บ้านเมืองสงบสุข รวมทั้งการลดความตึงเครียดในการปลดทหารเป็นพลสำรองที่มีจำนวนมหาศาลซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สังคม ถึงแม้ว่าปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่ควรเป็นกังวลอย่างยิ่ง แต่ตั้งแต่ ค.ศ. 1368 ถึง ค.ศ. 1372 ยังมีภาระกิจทางทหารที่ยังต้องดำเนินการต่อเนื่อง ซึ่งมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อประวัติศาสตร์การสืบราชวงศ์หมิงในอนาคต มีสามดินแดนที่สู้รบกันบ่อยๆ คือ ซานซี (山西) ส่านซี (陕西) กานซู (甘肃) และซื่อโจว (四川)
"สิ้นพระชนม์"
“ข้ารับใช้โองการสวรรค์นาน 30 ปี กังวลใจกับอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ทุกๆวันไม่ได้หลับนอน รับใช้เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เริ่มจากการอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่มีผู้อาวุโสคอยชี้แจงแนะนำ รักความดีและเกลียดความชั่ว ซึ่งไม่ห่างไกลจากความเป็นจริง วันนี้ข้ามีทุกสิ่งทุกอย่าง ทำไมข้ายังคงเศร้าโศกเสียใจ โอรสของข้า ซุนหยิ่นเหวิน (孙允炆) ผู้มีความเมตตาปราณีอยู่เคียงข้างข้าอย่างซื่อสัตย์ ฟ้าดินยังรับรู้ เหมาะสมที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งใหญ่ เสนาบดี แม่ทัพนายกอง ขุนนาง ข้าราชบริพารทั้งนอกและในโปรดช่วยค้ำชูเพื่อความสงบร่มเย็นของประชาชนของข้า การจัดการงานศพของข้าไม่ต้องจัดพิธีให้ใหญ่โตมโหฬาร นำศพข้าไปฝังบนภูเขาเสี้ยวหลิงซัน (孝陵山) ห้ามเปลี่ยนราชโองการ ขุนนางและประชาชนให้ไว้ทุกข์เพียงสามวัน จากนั้นให้ทำงานเป็นปกติ การแต่งงานในช่วงนี้ให้จัดได้ เจ้าครองเมืองต่างๆทั้งหมดไม่ต้องเดินทางเข้าเมืองหลวง ถ้าผู้ใดไม่ปฎิบัติตามพระราชโองการ ให้สอบสวนตามพระราชโองการนี้” นี่คือพระราชโองการของจูหยวนจางก่อนสิ้นพระชนม์
ปีที่ 31 ศักราชหงอู่ (洪武) วันที่ 10 เดือนห้า (วันที่ 24 เดือนหก ค.ศ.1398) จักรพรรดิจูหยวนจางเสด็จสิ้นพระชนม์ที่พระราชวังอิ้งเทียนฮวงกง (应天皇宫) พระศพถูกฝังที่ภูเขาเสี้ยวหลิง ปีที่ 31ศักราชหงอู่ เดือนหกเป็นวันฝังพระศพ ประกาศพระนามหลังสิ้นพระชนม์ว่า “ชิงหมิงฉี่หยิ้นจวิ้นเต๋อเฉิงกงถ่งเทียนต้าเสี้ยวเกาฮวงตี้” สลักนามว่า “ไท่จู่” (太祖) วันที่ 11 เดือนหก ปีศักราชหย่งเล่อหยวนเนียน (永乐元年) จักรพรรดิหย่งเล่อทรงเสริมพระนามหลังสิ้นพระชนม์แก่จูหยวนจางว่า “เสิ้นเซินเหวินอู่ชิงหมิงฉี่หยิ้นจวิ้นเต๋อเฉิงกงถ่งเทียนต้าเสี้ยวเกาฮวงตี้” (圣神文武钦明启运俊德成功统天大孝高皇帝) วันที่หนึ่งเดือนสิบเอ็ดปีที่ 17 ศักราชเจียจิ้ง (嘉靖) เปลี่ยนพระนามว่า “คายเทียนหางเต้าจ้าวจีลี่จี๋ต้าเสิ้นจื้อเซินเหรินเหวินอี้อู่จวิ้นเต๋อเฉิงกงเกาฮวงตี้” (开天行道肇纪立极大圣至神仁文义武俊德成功高皇帝) ภายหลังจักรพรรดิค้งซี (康熙) เสด็จทางใต้ไปเคารพพระศพที่สุสานเสี้ยวหลิงทรงถวายพระอักษรสดุดีว่า “จื้อหลงถังซ่ง” (治隆唐宋) แก่จูหยวนจาง
"บทบาททางการเมือง"
(ลดอำนาจสมุหนายก)
ยุคเริ่มต้นราชวงศ์หมิงระบบการบริหารราชการแผ่นดินยังคงใช้ระบบสืบเนื่องมาจากราชวงศ์หยวน จูหยวนจางตระหนักเป็นอย่างดีในข้อบกพร่องของระบบแต่ก่อนนี้ดังนั้นจึงทำการปฎิรูป เริ่มต้นโดยการยกเลิกระบบปกครองส่วนจังหวัด ค.ศ.1376 จูหยวนจางประกาศยกเลิกตำแหน่งสิงจงซูเสิ่น (行中书省,ผู้บริหารสำนักเลขาธิการ) ) จัดตั้งเฉิงซวนปู้เจิ้งสือซือ (承宣布政使司,เลขาธิการดูแลการบริหารแผ่นดิน การเมืองและกิจการพลเรือน) ถีสิงอ้านฉาสือซือ (提刑按察使司,เลขานุการดูแลเรื่องยุติธรรม กรมตำรวจ ความมั่นคงภายใน) โตวจือหุ้ยสือซือ (都指挥使司,เลขานุการตำแหน่งจอมพลดูแลกิจกรรมทางทหารทั้งหมด) เป็นสามหน่วยงานใหญ่แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบแทนตำแหน่งสิงจงซูเสิ่น และร่วมมือประสานงานกัน เพื่อป้องกันไม่ให้อำนาจการบริหารท้องถิ่นมีมากเกินไป
2
เพื่อเน้นการปฎิรูประบบการปกครองส่วนกลางทรงยกเลิกระบบสมุหนายก (丞相制, เฉิงเซี่ยงจื้อ) ในต้นราชวงศ์หมิง ตำแหน่งซูเสิ่น (书省, เลขาธิการ) รับผิดชอบเรื่องดูแลการบริหารราชการของแผ่นดินซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุด ตำแหน่งข้าราชการสูงสุด คือ จั่วเฉิงเซี่ยง (左丞相) และ โหย้วเฉิงเซี่ยง (右丞相) ซึ่งมีอำนาจมากที่สุด เฉิงเซี่ยงสามารถแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับจักรพรรดิได้ ราชวงศ์หมิงในสมัยที่หูเหวยยง (胡惟庸) เป็นสมุหนายกเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุด
หูเหวยยงเป็นชาวอำเภอติ้งหยวน (定远) เมืองเฟิ้งหยาง (凤阳) ปีค.ศ. 1373 ได้รับแต่งตั้งจากจั่วเฉิงเซี่ยงเป็นโหย้วเฉิงเซี่ยง ลูกศิษย์ของหูเหวยยงและขุนนางเก่ามักคอยทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน รวมตัวเป็นกลุ่มการเมืองที่มีอำนาจเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจขององค์จักรพรรดิ ค.ศ. 1378 จูหยวนจางลงมือแก้ไขปะญหาของซูเสิ่น วันหนึ่งลูกชายหูเหวยยงขี่ม้าบนถนนใหญ่ในเมืองก่อความวุ่นวายบนท้องถนน ผลลัพธ์คือตกจากหลังม้าถูกรถม้าอีกคันที่ขับมาตามถนนทับใส่ หูเหวยยงจึงจับตัวคนดูแลม้าแล้วฆ่าทิ้ง จูหยวนจางโกรธเป็นอันมาก
เดือนสิบเอ็ดเกิดเรื่องเหตุการณ์เจ้าพนักงานจ้านเฉิงก้งซือ (占城贡使,เจ้าพนักงานดูแลเครื่องราชบรรณาการ) จ้านเฉิงก้งซือนำเครื่องราชบรรณาการถวายแก่เมืองหนานจิง นำช้างและม้าสู่ประตูพระราชวัง ถูกขันทีผู้ดูแลประตูพบเห็นรายงานต่อจูหยวนจาง จูหยวนจางโมโหมาก ออกคำสั่งให้จับโหย้วเฉิงเซี่ยง หูเหวยยง และจั่วเฉิงเซี่ยง วางกว่างหยาง (汪广洋) มาจำคุก แต่เฉิงเซี่ยงทั้งสองไม่ยอมรับความผิด กลับโยนความผิดการส่งมอบเครื่องราชบรรณาการเป็นความรับผิดชอบของกรมพิธีกรรม ดังนั้นจูหยวนจางจึงเรียกเจ้าหน้าที่กรมพิธีกรรมทั้งหมดมาแล้วล้อมจับเฉิงเซี่ยงทั้งสอง
เฉิงเซี่ยงทั้งสองเมื่ออยู่ในคุก เจ้าหน้าที่สอบสวนต่างเข้าใจในเจตนาขององค์จักรพรรดิ จึงรวบรวมกำลังเข้ากำจัดกลุ่มการเมืองของหูเหวยยงจนหมดอำนาจ ดังนั้นในปีค.ศ. 1380 จูหยวนจางจึงรวบอำนาจใช้ในทางมิชอบสั่งลงโทษประหารชีวิตหูเหวยยงและเจ้าหน้าที่พรรคพวกที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันประกาศยกเลิกตำแหน่งจงซูเสิ่น (中书省,เลขาธิการกลาง) ภายหลังไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งสมุหนายก
เมื่อจูหยวนจางใช้อำนาจในทางมิชอบสั่งลงโทษประหารหูเหวยยง กรณีของหูเหวยยงได้กลายเป็นเครื่องมือของจูหยวนจางในการกำจัดศัตรูทางการเมือง ดังนั้นได้มีการประหารผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นจำนวนสามหมื่นกว่าคน ในที่สุดไท่สือหางกั๊วกง หลี่ซ้านจ่าง (太师韩国公 李善长) ถูกลงโทษประหารเช่นกัน หลี่ซ้านจ่างมีอายุได้ 77 ปีและครอบครัวทั้งหมดถูกประหารเรียบทั้งตระกูล
จากนั้นในปีค.ศ.1393 จูหยวนจางสั่งประหารหลานยวี้ (蓝玉) ขุนนางที่มีผลงานโดดเด่น หลานยวี้คือแม่ทัพราชวงศ์หมิงตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศถูกจูหยวนจางแต่งตั้งดำรงตำแหน่งเหลียงกั๊วกง (凉国公) ค.ศ.1391 เมืองเจี้ยนชาง (建昌) มณฑลซื่อโจว (เสฉวน) เกิดการจลาจล จูหยวนจางส่งหลานยวี้ไปปราบปราม ก่อนยกทัพไปจูหยวนจางพบหน้าและบอกความลับตรงๆแก่หลานยวี้ให้เขาเกษียณจากกองทัพ พร้อมทั้งเน้นย้ำกับเขาถึงสามครั้ง จูหยวนจางไม่มีคนรู้ใจอยู่เคียงข้างแม้สักคนเดียว แต่หลานยวี้ก่อนจากไปเพียงแค่โบกมือครั้งเดียวไม่ได้แสดงท่าทางตอบโต้ในทันใด นี่เป็นการทำให้จูหยวนจางตัดสินใจแน่วแน่ที่จะกำจัดหลานยวี้
วันหนึ่ง ค.ศ.1392 ตอนสายทหารองครักษ์หมิง (锦衣卫,จิ่นอีเวย) รับคำสั่งรวมพลเข้าจับหลานยวี้ที่ก่อกบฎ จูหยวนจางออกคำสั่งให้จับตัวการมาให้หมดทันทีพร้อมให้ศาล (吏部, ลี่ปู้)ตัดสินในทันใด เมื่อศาลถวายฎีกาว่า จานฮุย (詹徽) และหลานยวี้ (蓝玉) สมรู้ร่วมคิดกันตั้งกลุ่มแก็งค์ขึ้นมา หลานยวี้ ตะโกนเสียงอันดังอย่างที่ไม่เคยได้ยิน ว่า “จานฮุยนะหรือคือพวกของข้า” ทหารจึงนำตัวจานฮุยเข้ามา เจ้าหน้าที่ศาลต่างตกอยู่ในความเงียบ ไม่สอบสวนต่อไป สามวันต่อมาจูหยวนจางสั่งลงโทษประหารชีวิตหลานยวี้ ต่อมามีการปัดกวาดและตรวจสอบผู้มีส่วนร่วมครั้งยิ่งใหญ่ เหตุการณ์กรณีหูเหวยยงและหลานยวี้ทั้งสองกรณีก่อนและหลังนี้ทำให้มีผู้ถูกฆ่าตายไปถึงสี่พันคน
1
การฆ่าหลานยวี้ของจูหยวนจาง มกุฎราชกุมารจูเปี่ยว(朱标) แสดงออกว่าไม่เห็นด้วยอย่างลึกซึ้ง กล่าวว่า “ฝ่าบาทประหารหลานยวี้ กลัวว่าจะเป็นการทำลายมิตร” ตอนแรกจูหยวนจางไม่ได้กล่าวว่าอะไร วันที่สองพระองค์จงใจวางพระราชลัญจกรลงบนพื้น แล้วสั่งให้มกุฎราชกุมารจูเปี่ยวเก็บขึ้นมา จูเปี่ยวกลัวพระราชลัญจกรไม่กล้าเก็บขึ้นมาในทันทีทันใด จูหยวนจางจึงตรัสว่า “ เจ้ากลัวพระราชลัญจกรไม่กล้าเก็บขึ้นมา ข้ากำจัดพิษร้ายออกจากพระราชลัญจกรนี้ แล้วค่อยมอบแก่เจ้า ไม่ดีหรอกหรือ ที่ข้าฆ่าก็คือคนที่จะเป็นภัยอันตรายต่อแผ่นดิน ลบพวกมันออกไปเสีย เจ้าจึงจะสามารถครองราชย์อย่างมั่นคง” อย่างไรก็ดีจูเปี่ยวกล่าวตอบว่า “มีจักรพรรดิแบบไหน ก็จะมีขุนนางแบบนั้น” จูหยวนจางโกรธมากจึงปาพระราชลัญจกรใส่มกุฎราชกุมารจูเปี่ยว จูเปี่ยวโชคดีที่วิ่งหนีไปก่อน
"ปราบปรามเจ้าหน้าที่คอรัปชั่น"
จูหยวนจางเกิดในตระกูลที่ลำบากยากจน ในวัยเด็กเดือดร้อนยากเข็ญเพราะถูกเจ้าหน้าที่ราชวงศ์หยวนข่มขู่และฉ้อโกง พ่อแม่พี่น้องของพระองค์ตายไปจากการแสวงหาผลประโยชน์ที่โหดเหี้ยมและภัยโรคระบาด ตัวเองต้องถูกบังคับให้จำเป็นต้องบวชเป็นพระตั้งแต่เด็ก ดังนั้นเมื่อตนเองเข้าร่วมกองทัพกบฎชาวนำได้สาบานไว้ว่า ถ้าตนได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิ จะประหารเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตคอรัปชั่นก่อนเป็นงานแรก
หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ยังไม่ลืมคำสาบาน พอประเทศมั่นคงพระองค์จึงจัดตั้งรณรงค์นโยบาย “ต่อต้านการคอรัปชั่น” ทั่วประเทศมุ่งไปที่เจ้าหน้าที่จากส่วนกลางและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต่างๆทั้งหมดที่คิดคดคอรัปชั่น วิธีการของพระองค์เป็นวิธีที่พิเศษมาก
เริ่มแรก จูหยวนจางจับเจ้าหน้าที่ที่คอรัปชั่นเงินมากกว่า 62 เหรียญมาประหารชีวิต เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าในตัวของยวี่เหวินกุ้ย (宇文桂) ผู้ตรวจสอบราชการมีจดหมายฝากฝังขอเลื่อนตำแหน่งเป็นจำนวนสิบกว่าฉบับ พระองค์ทรงส่งคนไปตรวจสอบทันทีทั้งในแต่ละแผนกของการปกครองส่วนกลางและแต่ละสำนักงานท้องถิ่น ผลลัพธ์พบว่ามีความเสียหายอย่างมากจากการคอรัปชั่นตั้งแต่ระดับบนจนถึงระดับล่าง พระองค์ทรงโกรธมาก ประกาศราชโองการทันที “ ตามพระราชอำนาจนี้ เพื่อประชาชนที่น่าสงสารทั้งหลาย ข้าราชการคนใดที่คอรัปชั่นเงินมากกว่า 62 เหรียญ ลงทัณฑ์ประหารได้ทันที ไม่มีข้อยกเว้น” พร้อมทั้งประกาศว่า ตั้งแต่สำนักงานส่วนท้องถิ่นจนถึงหกกระทรวงของสำนักงานส่วนกลางและสำนักงานเลขาธิการกลาง ตราบใดที่มีการทุจริตคอรัปชั่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดเกี่ยวข้อง จะไม่มีการปราณี จะต้องมีการสอบสวนให้ถึงที่สุด
ข้อที่สอง จูหยวนจางกล้าลงมือผ่าตัดหน่วยงานที่ใกล้ชิดตนเองที่เรียกว่า “เกากาน” (高干) จัดกระทรวงของสำนักงานเลขาธิการในยุคเริ่มราชวงศ์หมิงแบ่งเป็น ลี่ (吏) หู้ (户) หลี่ (礼) ปิง (兵) สิง (刑) กง (工) หกกระทรวง เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่เก่าตั้งแต่ราชวงศ์หยวนหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมากรวมทั้งมีเจ้าหน้าที่บางคนคอยต่อต้านเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถซึ่งฝากอนาคตไว้กับแผ่นดิน พวกเขาเหล่านั้นดำรงชีวิตอยู่ด้วยการทุจริตรับสินบาทคาดสินบนและบิดเบือนกฎหมาย จูหยวนจางกล้าที่จะจัดการเจ้าหน้าที่เหล่านี้นำตัวมาลงโทษ
ปีที่สิบห้าศักราชหงอู่ เจ้าพนักงานของกระทรวงหู้ปู้ (户部) สมรู้ร่วมคิดกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยใช้รายงานกระดาษเปล่าก่อนแสตมป์ปิดตรากรอกรายการค่าใช้จ่ายตัวเลขเป็นเท็จโดยตนเองเพื่อทุจริตแสวงหารายได้ยักยอกมาเป็นของตนและพวก จูหยวนจางภายหลังจับได้ รีบส่งเจ้าพนักงานหย๋าเหมิน(衙门)ปิดล้อมเจ้าพนักงานจ่างกวน (长官,ผู้บริหาร) ทั้งหมดแล้วฆ่าทิ้ง ส่วนฟู่จ่างกวน (副长官,รองผู้บริหาร) ถูกโบยร้อยทีแล้วเนรเทศไปอยู่ชายแดน
สามปีผ่านมายังตรวจสอบพบรองเสนาบดี (侍郎,สึหลาง ปัจจุบันคือตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ) กระทรวงหู้ปู้ กัวฮวน (郭桓) กับอธิบดีกรม (司郎,ซือหลาง)ต่างๆ รองอธิบดีกรม (员外郎, หยวนไหว้หลาง)ต่างๆ และพนักงานท้องถิ่นต่างๆนำภาษีอากรมาส่งมอบให้ส่วนกลางพบว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นเป็นพรรคเป็นพวก ใช้วิธีกินเล็กกินน้อยจากภาษีที่รวบรวมมา จากรายงานประเมินความเสียหายของกรมธนารักษ์จากการทุจริตคอรัปชั่นในครั้งนี้เป็นอาชญากรรมทำความสูญเสียพืชพันธ์ธัญญาหารถึง 24 ล้านต้าน (石,มาตราหน่วยวัดพืชพันธ์ที่เป็นเมล็ดของจีน) พระองค์จับข้าราชการทุจริตเหล่านี้ไปประหาร เจ้าพนักงานตามแต่ละจังหวัด สำนักงานปกครอง มณฑลที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่มีใครหนีรอด ในช่วงเวลาอันสั้นข้าราชการทุจริตนับเป็นหมื่นถูกกุดหัวจนสิ้นด้วยวิธีการจัดการและประหารที่ต่างๆนาๆกัน
ปีที่ยี่สิบห้าศักราชหงอู่ กระทรวงหู้ปู้ถวายฎีกากล่าวหาจ้าวเหมี่ยนหั่ว (赵勉伙) กับภรรยารับสินบนทั้งในและนอกเป็นเงินนับแสนเหรียญจนเรื่องแดงออกมา ผลลัพธ์คือสามีภรรยาทั้งสองโดนประหารชีวิตตัดหัวกลายเป็นผี
1
ปีที่สิบหกศักราชหงอู่ กระทรวงสิงปู้ (刑部) ถวายฎีกากล่าวหาคายจี้ (开济) รับเงินหนึ่งหมื่นสองพันจากครอบครัวนักโทษประหารเป็นค่าสินบน แล้วนำคนอื่นมาสวมรอยเป็นนักโทษประหารเป็นแพะรับบาป นอกจากนี้เขายังกรรโชกทรัพย์จากครอบครัวนักโทษคดีรายอื่นๆ และนำไปสู่โศกนาฎกรรมการฆ่าตัวตายของครอบครัวเดียวถึง 20 คน ปีที่สิบเก้าศักราชหงอู่ เจ้าพนักงานหลางจง (郎中) กระทรวงสิงปู้ลงโทษหยวนไหว้หลางที่รับสินบนและรายงานเท็จพร้อมทั้งปล่อยตัวนักโทษประหารสองคน ข้าราชการทุจริตคอรัปชั่นเหล่านี้ต่างถูกจูหยวนจางกุดหัวทิ้ง
ปีที่สิบแปดศักราชหงอู่ กระทรวงกงปู้ (工部, กระทรวงก่อสร้าง) เลือกข้าราชการเป็นจำนวนมากเพื่อก่อสร้างพระราชวังในโอกาสนั้น ทำรายงานเท็จเรื่องจำนวนคนและวันทำงานของช่างฝีมือเพื่อเบิกเงินเพิ่มเติมส่วนเกินเมื่อหักค่าแรงของช่างฝีมือแล้วยักยอกเงินไปใช้ส่วนตัว เป็นอีกครั้งหนึ่งที่จูหยวนจางลงมาสอบสวนรองเสนาบดี หานตั๋ว (韩铎) โดยตรง และกรณีทุจริตของหลี่เจิน (李桢) รวมทั้งส่งผู้ตรวจการพิเศษจากส่วนกลางเพื่อกำกับดูแลตรวจสอบเรื่องราวทั้งหมดของหน่วยงานก่อสร้างของกระทรวงกงปู้
ปีที่สิบแปดศักราชหงอู่ หวางจื้อ (王志) รองเสนาบดีกระทรวงปิงปู้ (兵部, กระทรวงทหาร) ใช้การคัดเลือกทหารหาเงินเข้ากระเป๋าตนเอง รับสินบนจากผู้หนีทหารตามการคัดเลือกจากสำมโนครัวโดยทั้งหมดส่งเงินให้ถึงสองแสนสามหมื่นเหลี่ยง (两, 1 เหลี่ยง เท่ากับ 50 กรัม) จูหยวนจางจึงจับหวางจื้อส่งขึ้นลานตัดหัว
1
ปีที่สิบเก้าศักราชหงอู่ จางเสียง (章祥) รองเสนาบดีกระทรวงหลี่ปู้ (礼部, กระทรวงพิธีกรรม) ร่วมมือกับรองอธิบดี (หยวนไหว้หลาง) ซินชิน (辛钦)แอบยักยอกเงินที่จักรพรรดิให้เป็นของขวัญแก่องค์หญิงเนื่องในงานแต่งงานขององค์หญิง ถูกจูหยวนจางตรวจจับได้ จูหยวนจางเพื่อที่จะกำกับดูแลพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ จัดตั้งสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (都察院御史,โตวฉาหย้วนยวี้ซื่อ) และกรมรับเรื่องร้องทุกข์อีก 6 กรม แต่อย่างไรก็ดีสำนักผู้ตรวจสอบและกรมรับเรื่องต่างๆเหล่านี้เกิดเรื่องคอรัปชั่นเช่นเดียวกัน
ปีที่สิบเก้าศักราชหงอู่ โตวฉาหย้วนยวี้ซื่อ หลิวจื้อเหริน (刘志仁) ถูกส่งไปยังเมืองหวยอัน (淮安) เพื่อจัดการเรื่องลับเรื่องหนึ่ง เมื่อมาถึงเขาจงใจลากคดีนี้ให้ยาวโดยไม่ใส่ใจพิจารณา กินทั้งเงินโจทย์กินทั้งเงินจำเลยกรรโชกทรัพย์สินเงินทองของสองคู่กรณีนี้เป็นเงินจำนวนมาก แถมยังล่อลวงลูกสาวชาวบ้าน ภายหลังถูกจูหยวนจางจับตัดหัว จูหยวนจางยังตรวจสอบพบว่ามีเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นที่หนักเบาแตกต่างกันถึง 61 คดีถูกดองไว้อยู่ที่กรมรับเรื่องร้องทุกข์ทั้งหกแห่ง จึงนำมาพิจารณาเป็นรายๆไป
"ชุดเสื่อผ้าข้าราชการราชวงศ์หมิง"
ข้อที่สาม จูหยวนจางคิดค้นการกำจัดอาชญากรรมที่โหดร้ายของข้าราชการทุจริตและคอรัปชั่นที่เรียกว่า “ปอผีซวนเฉา” (剥皮揎草, ถลกหนังถอนรากหญ้า) วันหนึ่งจูหยวนจางพลิกอ่านจำนวนข้าราชการทุจริตคอรัปชั่นที่ถูกประหารชีวิตในหนังสือม้วนซึ่งเป็นไปตามพระราชประสงค์ ประชาชนต่างเกลียดชังข้าราชการทุจริตเหล่านี้การใช้ดาบตัดหัวแค่ครั้งเดียวมันง่ายเกินไปไม่สาสมต่อความผิด ทำไมไม่ใช้วิธีตัดเส้นเอ็น ตัดนิ้ว ตัดมือ ตัดหัวเข่า หรือวิธีการทรมานอื่นๆ พระองค์ยังทรงคิดค้นกฎหมายอาชญากรรม “ปอผีซวนเฉา” นำเอาข้าราชการทุจริตทั้งหลายไปยังสำนักปกครอง จังหวัด มณฑลทุกแห่งและถลกหนังสลักคำว่า “ผีฉ่างเมี่ยว” (皮场庙) ลงไปบนหนัง จากนั้นนำฟางและมะนาวมายัดลงไปในเนื้อชั้นใน แล้วนำตัวไปวางใกล้กับข้าราชการทุจริตที่ต้องโทษประหารชีวิตตรงด้านข้างของโต๊ะในห้องพิจารณาคดี เป็นการตักเตือนข้าราชการทั้งหลายที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งไม่ให้กระทำผิดซ้ำซาก ไม่อย่างนั้นการลงทัณฑ์ “โช่วผีท่ง” (臭皮统, ถลกหนังจนเหม็นเน่า) จะเป็นชตากรรมของข้าราชการเหล่านั้นในอนาคต มาตรการการลงทัณฑ์ที่น่ากลัวให้เห็นต่อหน้านี้สร้างความตกใจและความหวาดกลัวให้แก่ข้าราชการทั้งหลายเพื่อจะให้ข้าราชการที่คิดจะทุจริตลดจำนวนน้อยลงไป
ข้อที่สี่ จูหยวนจางเกี่ยวกับการสร้างกรมมหาดเล็ก (干部, กานปู้) ของตนยังไม่ได้ดั่งใจ เพื่อจะให้หน่วยงานนี้พัฒนาขึ้นและเสริมสร้างความเข้มแข็งขึ้นมาใหม่ จูหยวนจางจัดตั้งสถาบันการศึกษาหลวงเป็นพิเศษเพื่อฝึกอบรมบุคคลากรเหล่านี้ เป็นการเปิดโอกาสให้แก่นักการศึกษาที่ไม่มีโอกาสเข้าสู่เส้นทางการเมืองได้เรียนรู้ พระองค์ทรงมีความรักชอบชื่นชมกับบัณฑิตใหม่ที่จบจากสถาบันหลวงนี้และนักการศึกษาที่กำลังเรียนรู้ ทั้งยังมักสั่งสอนให้นักการศึกษาเหล่านี้มีความซื่อสัตย์ต่อการรับใช้ชาติและประชาชน ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง แต่ปีที่สิบเก้าศักราชหงอู่ พระองค์ทรงส่งบัณฑิตและนักศึกษาจำนวนมากลงไปสำรวจปัญหาพื้นฐานของการเกิดน้ำท่วม ผลลัพธ์ 141 คนยอมรับเข้าร่วมการจัดงานเลี้ยงเพื่อความบันเทิง รับเงินสินบนและของกำนัลพิเศษจากท้องถิ่น จูหยวนจางในระหว่างลงโทษตัดหัวประหารชีวิตนักศึกษาคนแล้วคนเล่าได้แต่ถอนหายใจเจ็บใจตนเองเป็นอย่างยิ่ง
ข้อที่ห้า จูหยวนจางจัดตั้งโครงการเพื่อปราบปรามการคอรัปชั่น ชื่อว่า “ต้าก้าว” (大诰) เกือบสองปีที่รวบรวม “ต้าก้าว” เป็นหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งพระองค์เองเป็นผู้สอบสวนพิจารณาและสั่งลงโทษคดีทุจริตคอรัปชั่นบางคดีจนจบคดีและให้บันทึกไว้ หนังสือยังกล่าวถึงทัศนคติของพระองค์ที่มีต่อการทุจริตคอรัปชั่น วิธีการรับมือและวิธีการกำจัดคอรัปชั่น จูหยวนจางมีพระราชโองการให้เผยแพร่หนังสือเล่มนี้ไปทั่วประเทศ พระองค์ยังให้คนคัดลอกข้อความบางส่วนปิดประกาศตามท้องถนนที่เห็นได้ชัดหรือตามศาลาริมทางต่างๆ เพื่อให้เจ้าพนักงานและข้าราชการอ่านด้วยตนเอง ให้ประชาชนเรียนรู้ที่จะรับมือกับข้าราชการทุจริตในอนาคต
การขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกราชวงศ์หมิงของจูหยวนจาง ประชาชนมีความรู้และเข้าใจในการเมืองสูง ด้วยศักดิ์ศรีอันสูงส่งของพระองค์ ทรงลงโทษข้าราชการทุจริตคอรัปชั่นด้วยกฎหมายขั้นรุนแรง การใช้หลักในการตัดสินใจที่ถูกต้อง การใช้มาตรการที่แม่นยำเป็นเครื่องมือที่แข็งแกร่งในการรับมือกับอุปสรรคปัญหาที่หนักหน่วงเหล่านั้น จูหยวนจางตั้งแต่ขึ้นครองราชย์จนเสด็จสิ้นพระชนม์ ได้ตัดหัวข้าราชการทุจริตไปมากมาย และไม่เคยยอมอ่อนข้อหยุดรณรงค์การปราบปรามตลอดชีวิตพระองค์ แต่ปรากฎการณ์คอรัปชั่นยังไม่เคยกำจัดได้อย่างสิ้นซาก เมื่อพระองค์ชราภาพแล้วท่องกล่าวอย่างเสียใจว่า “ถ้าไอ้พวกคอรัปชั่นยังไม่ถูกจับ ไม่เพียงพอที่จะนำมาตัดหัว ฆ่าแล้วก็เกิดอีก”
"การปกครองอำนาจรวมศูนย์"
เนื่องจากจูหยวนจางเป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิง พระองค์จึงมีอำนาจมากสืบไปจนถึงช่วงปลายสมัยราชวงศ์หมิงที่อำนาจบริหารแผ่นดินมีความเข้มแข็ง จูหยวนจางใช้ระบบหน่วยสืบราชการลับ ส่งตัวแทนหน่วยสืบราชการลับที่เรียกว่า “เจี่ยนเสี้ยว” (检校,หน่วยสอบสวน) จำนวนมากสอดแนมข้าราชการฝ่ายบริหารและฝ่ายค้าน ครั้งหนึ่งบัณฑิตซ่งเหลียง (宋濂) เข้าเฝ้า จูหยวนจางถามซ่งเหลียงเมื่อวานนี้อยู่บ้านทานเหล้าหรือเปล่า เชิญแขกคนไหนมาทานบ้าง ซ่งเหลียงตอบคำถามทีละประโยคตามความเป็นจริง จูหยวนจางพอใจในคำตอบของซ่งเหลียงตรัสว่า “เจ้าไม่ได้หลอกข้า”
1
เฉียนจ่าย (钱宰) นักปราชญ์ลัทธิขงจื้อที่มีชื่อเสียงได้ลิขิตหนังสือ “เมิ่งจื้อเจ๋ยเหวิน” (孟子节文, บทกวีของเมิ่งจื้อ) ครั้งหนึ่งทุกคนแยกย้ายกลับบ้านทุกคนต่างคร่ำครวญบกกวีนี้ “กลองสี่ตีดังเร่งรีบแต่งเสื้อผ้า บ่ายอยู่ในประตูก่อนที่จะสายเกินไป (ให้ใครจะมาสอดแนม) หรือวันไหนที่มีความสุขในลานบ้าน หลับจนตื่นขึ้นมาพบข้าวจะสุก” ผลลัพธ์สองวันจากนั้นเฉียนจ่ายเข้าเฝ้า จูหยวนจางถามเฉียนจ่ายว่า “เมื่อวานบทกวีไม่เลวเลย แต่ข้าไม่มีคำว่า สายเกินไป แทนคำว่า เสียใจ หรือ” เฉียนจ่ายรับฟังตกใจคุกเข่าขออภัยโทษ
"บัณฑิตในสำนักราชวังราชวงศ์หมิง"
ค.ศ. 1382 ด้วยความต้องการมีพนักงานฝ่ายตรวจสอบ จูหยวนจางจัดการเปลี่ยนแปลงทหารองครักษ์รักษาจักรพรรดิก่วนเสียฮวงตี้ (管辖皇帝) ทั้งหมดเป็นทหารรักษาพระราชวัง (锦衣卫.จิ่นอีเว่ย) พร้อมให้มีหน้าที่สอบสวน จับกุม นำตัวมาสอบสวน มีอำนาจลงโทษผู้กระทำผิด นี่คือองค์กรณ์ทหารหน่วยสืบราชการลับทางการเมืองขึ้นตรงต่อองค์จักรพรรดิ องค์กรณ์นี้มีสำนักงานและสถานกักขังเป็นของตนเอง มีชื่อว่า “จ้าวยวี้” (诏狱, คุกหลวง) ในคุกหลวงมีการทรมานใช้วิธีถลกหนัง อัดน้ำเข้าไปในลำไส้ แทงหัวใจและวิธีการทรมานอื่นๆอีกมากมาย จูหยวนจางยังให้จิ่นอีเว่ยมีหน้าที่ในการลงโทษข้าราชการทั้งหลายในท้องพระโรงพระราชวัง มีขุนนางผู้ใหญ่จำนวนมากที่ถูกลงโทษฆ่าตายอย่างน่าอนาถ เสนาบดีกระทรวงกงปู้ เสวลู่ (薛禄) คือตัวอย่างถูกตีจนตายในระหว่างเข้าเฝ้า
ตามท้องถิ่นต่างๆ สำนักปกครองหรือมณฑลที่สำคัญ จูหยวนจางจะจัดตั้งหน่วยงานฉวินเจี่ยนซือ (巡检司,หน่วยตรวจสอบ) รับผิดชอบตรวจสอบสินค้าคงคลัง จับกุมพวกลักขโมย ตรวจสอบผู้ทรยศ ค.ศ.1370 จูหยวนจางมีพระราชโองการจัดตั้งหน่วยงานสาขาโดยรับบัณฑิตไปประจำสาขาผ่านการสอบของวังหลวงถึงสามสนาม ไม่ว่าจะเป็นข้อเขียนหรือภาพพจน์หรือตรวจสุขภาพซึ่งไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน
"ความขยันและความซื่อสัตย์"
จูหยวนจางเป็นหนึ่งในจักรพรรดิจีนที่มีความขยันทำงานมากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน พระองค์ไม่เคยท้อแท้หรือกลัวที่จะแบกรับภาระกิจอันหนักหน่วง ตั้งแต่พระองค์ขึ้นครองราชย์จนสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงภาระกิจหนักทุกๆวันไม่มีเวลาพักผ่อน พระองค์ให้พันธสัญญาว่า “สามสิบวันคือหนึ่งปี ในใจกังวลแต่ภัยอันตราย ทุกวันทำงานหนักไม่ลดละ” ตามบันทึกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ปีที่ 18 ศักราชหงอู่ (ค.ศ.1385) เดือนเก้า วันที่ 14 ถึงวันที่ 21 เป็นเวลา 8 วัน จูหยวนจางอ่านตรวจสอบและลงนามอนุมัติพระราชบัญญัติและรายงานต่างๆทั่วประเทศเป็นจำนวนถึง 1,660 ฉบับ จัดการกับกิจการการบริหารราชการแผ่นดินเป็นจำนวน 3,391 เรื่อง ประมาณแล้วทุกวันต้องอ่านและลงนามอนุมัติพระราชบัญญัติ 200 เรื่องต่อวัน จัดการบริหารราชการแผ่นดิน 400 กว่าเรื่องต่อวัน เช่นนี้แล้วเราไม่อาจจินตนาการได้ถึงความขยันขันแข็งของพระองค์
ความมัธยัสถ์ของจูหยวนจาง การดำรงตำแหน่งจักรพรรดิในประวัติศาสตร์จีนถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดแล้ว เมื่อจูหยวนจางดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ อาหารเช้าทุกวันของพระองค์ ก็คือ เพียงผักและเต้าหู้ เตียงบรรทมของพระองค์ก็ไม่มีมังกรทองประดับ เหมือนเตียงนอนชาวบ้านทั่วๆไป พระองค์สั่งช่างให้มาทำราชรถม้าให้พระองค์ประทับให้สร้างประดับทองตามแต่ที่เห็นสมควร ส่วนใหญ่ใช้ทองเหลืองประดับ จูหยวนจางยังให้คนในพระราชวังหาที่ในวังปลูกผักที่ขาดแคลนไว้สำหรับเสวย ปีที่สามศักราชหงอู่ (ค.ศ.1370) วันหนึ่งในเดือนอ้าย จูหยวนจางนำเอาผ้าปูเตียงไปให้เสนาบดีผู้ใหญ่ดู เมื่อทุกคนเห็น คือการเอาผ้าไหมชิ้นเล็กๆมาเย็บรวมกันจนกลายเป็นผ้าผืนใหญ่ จูหยวนจางตรัสว่า “ผ้าผืนนี้ทำจากเศษผ้าเล็กๆเพราะข้ากังวลว่ามันจะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์”
"เคล็ดลับในการบริหารข้าราชการพลเรือน"
หนึ่ง เคารพนับถือในวิถีกษัตริย์ของลัทธิขงจื้อและเมิ่งจื้อ มีความรักและความเมตตากรุณาต่อประชาชน และเป็นผู้นำรับใช้ประเทศด้วยความซื่อสัตย์และใจที่มั่นคงแน่วแน่
สอง ประพฤติตนสอดคล้องกับฟ้าดินและจิตใจของประชาชน
สาม เชิญชวนนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมาร่วมทำงานกันรับใช้ฟ้าดิน อาทิเช่น หลิวจี (刘基) จางอี้ (章溢) เย่เชิน (叶琛) ซ่งเหลียน (宋濂) เฝิงกั๊วย่ง (冯国用) เฟิงเซิ่ง (冯胜) สวี่ต๋า (徐达) ฉางยวี้ชุน (常遇春) หลี่ซ้านจ่าง (李善长) เป็นต้น
สี่ ใส่ใจในการเกษตร ก่อสร้างระบบชลประทาน
"รูปปั้นนักรบราชวงศ์หมิง"
"การจัดตั้งระบบโครงสร้างทางทหาร"
ด้านการทหาร จูหยวนจางยกเลิกศูนย์บัญชาการทหารแห่งชาติ และแบ่งออกเป็นกองทัพส่วนกลาง ส่วนซ้าย ส่วนหน้า ส่วนหลัง และส่วนขวา ห้ากองบัญชาการพร้อมทั้งให้ผู้บัญชาการทหาร (兵部,ปิงปู้) ร่วมมือและคานอำนาจกัน ผู้บัญชาการทหารมีอำนาจออกคำสั่ง แต่ไม่ได้ควบคุมกองทัพโดยตรง กองบัญชาการทำหน้าที่ดูแลค่าใช้จ่ายและการฝึกอบรมทหารในกองทัพ แต่ไม่มีอำนาจเคลื่อนย้ายกำลังพลหรือทำการซ้อมรบ ดังนั้นอำนาจการทหารทั้งหมดจึงอยู่ในมือขององค์จักรพรรดิ
การยกทัพปราบทางเหนือของจักรพรรดิหมิงไท่จู่เกิดขึ้นหลังจากราชวงศ์หมิงถูกสถาปนาแล้ว มีการยกทัพใหญ่ไปทำศึกบนดินแดนทางเหนือเหนือแม่น้ำฮวงเหอเป็นจำนวน 8 ครั้ง
"การต่างประเทศ"
จูหยวนจางขึ้นครองราชย์ใหม่ๆได้ส่งฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อแสดงออกถึงสองนัยความหมาย หนึ่ง หวังว่าญี่ปุ่นจะส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย สอง เพื่อสั่งให้ประเทศญี่ปุ่นแก้ไขปัญหาโจรสลัดที่มาปล้นสดมภ์ชายทะเลอาณาจักรราชวงศ์หมิงอยู่เนืองๆ ผลปรากฎว่า เมื่อฑูตนำหนังสือถวายประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นไม่เพียงไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการแต่ยังตัดหัวฑูตจีนทั้งหมด เมื่อประเทศใหญ่อย่างจีนถูกประเทศเล็กที่เป็นเกาะอย่างญี่ปุ่นลบหลู่ จูหยวนจางโกรธจัด ขู่ว่าจะยกทัพไปทำสงครามตีประเทศญี่ปุ่น แต่ท้ายสุดไม่ได้ส่งกองทัพไปจริงๆ เพียงแต่ทิ้งตัวแทนไว้เพื่อเป็นตัวแทนติดต่อระหว่างสองรัฐ จูหยวนจางกำหนดบทบาทต่อญี่ปุ่นอย่างชัดเจนว่าเป็นประเทศที่ไม่เจริญสัมพันธไมตรีด้วย
"พระศพของจูหยวนจางที่สุสานหมิงเสี้ยวหลิง"
เมื่อเริ่มสถาปนาราชวงศ์หมิง แผ่นดินจีนได้รับความเสียหายเนื่องจากการทำสงครามต่อเนื่องกว่าสองทศวรรษเป็นสภาพที่น่าหดหู่ ในสถานการณ์เช่นนี้ จูหยวนจางนำเสนอการพัฒนาการผลิต และนโยบายช่วยเหลือผ่อนเบาภาระให้แก่ประชาชน ค.ศ.1368 จูหยวนจางครองราชย์ได้ไม่นานเท่าไหร่ ข้าราชการจากต่างจังหวัด ต่างมณฑลมาเข้าเฝ้า จูหยวนจางตรัสแก่ข้าราชการทุกคน “แผ่นดินสงบสุขเป็นครั้งแรก ประชาชนยังเหนื่อยยากต่อฐานะการเงิน เหมือนนกที่พึ่งหัดบิน เราไม่ควรรีบถอนขนนก เหมือนการปลูกต้นไม้ใหม่ อย่าไปถอนรากต้นไม้ที่มั่นคง สิ่งสำคัญที่สุด คือ การฟื้นฟูและการเสริมสร้างความเข้มแข็ง”
ค.ศ.1370 จูหยวนจางรับฟังความเห็นของขุนนางเสนาบดีผู้ใหญ่สนับสนุนให้มีการบุกเบิกที่ดินทำกิน และมีพระราชโองการว่า แผ่นดินแห้งแล้งที่แค้วนและมณฑลทางเหนือมีจำนวนมหาศาล สามารถทำกินโดยยกเว้นการเก็บภาษีเป็นเวลาสามปี พระองค์ยังออกนโยบายบีบบังคับอพยพชาวไร่ชาวนาจากที่ดินที่ความหนาแน่นผู้คนมากและที่ดินน้อยไปยังดินแดนที่ที่ดินมากความหนาแน่นของคนน้อย สำหรับการจับจองที่ดินรัฐบาลจัดหาวัวควายไถนา เครื่องมือการเกษตรและเมล็ดพันธ์พืชให้ พร้อมทั้งยกเว้นการจัดเก็บภาษีสามปี การจับจองที่ดินว่างเปล่าจึงถูกผู้บุกเบิกที่ดินเข้าจับจองทั้งหมด นอกจากนี้ยังจัดให้ชาวไร่ชาวนามีที่ดินทำกินห้าถึงสิบมู่ (亩, มาตราวัดจีน, 1 มู่ =0.667 เฮกเตอร์) ต้องปลูกต้นหม่อน ต้นฝ่าย ต้นป่านอย่างน้อยครึ่งมู่ ถ้ามีที่ดินมากกว่าสิบมู่ต้องปลูกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า มาตราการเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้ชาวไร่ชาวนาหันมาบุกเบิกจับจองที่ดินที่แห้งแล้งว่างเปล่า
นอกจากนโยบายบุกเบิกที่ดินเพื่อประชาชน จักรพรรดิหมิงไท่จู่จูหยวนจางยังมีนโยบายบุกเบิกที่ดินเพื่อการทหารและการค้า ที่ดินเพื่อการทหารมีทหารรักษาการณ์เป็นผู้ดูแล เจ้าพนักงานจัดหาวัวควายไถนาและเครื่องมือการเกษตรให้ มีการจัดแบ่งสัดส่วนในหมู่ทหารชั้นประทวนดังนี้ ทหารรักษาชายแดนได้รับจัดสรรสามส่วน ที่เหลือเจ็ดส่วนเพื่อการเพาะปลูก ทหารในประเทศได้รับส่วนแบ่งสองส่วน ที่เหลือแปดส่วนเพื่อทำการเพาะปลูก เมล็ดพันธ์พืชของกองทัพโดยทั่วไปตามความพอใจของแต่ละกองทัพ การบุกเบิกที่ดินเพื่อการค้า คือ ที่ดินที่ใกล้เคียงกับแหล่งจ้างแรงงานบุกเบิกเพื่อการเกษตร สามารถแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธ์พืชได้ กำจัดการค้าแรงงานมนุษย์ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น การดำเนินงานบุกเบิกที่ดินเพื่อการค้าเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเมล็ดพันธ์พืชของกองทัพ ในเวลาเดียวกันยังเป็นการพัฒนาที่ดินแถบชายแดน
1
"การก่อสร้างระบบชลประทาน"
เพื่อที่จะฟื้นฟูและพัฒนาการผลิต จูหยวนจางให้ความสำคัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์น้ำระบบชลประทานและการบรรเทาภัยพิบัติ เมื่อเริ่มขึ้นครองราชย์จูหยวนจางมีพระราชโองการให้ประชาชนทุกคนนำเสนอความเห็นในการอนุรักษ์รักษาน้ำ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องทำเรื่องเสนอโดยทันที มิฉะนั้นจะมีความผิดถูกลงโทษ ค.ศ.1395 มีการขุดสระน้ำชลประทานทั่วประเทศ 40,987 สระ ขุดคลองชลประทานถึง 4,162 สายเป็นผลงานที่โดดเด่น จูหยวนจางเกิดมาเป็นลูกหลานชาวไร่ชาวนา ตระหนักถึงความทุกข์ยากลำบากเนื่องจากความอดหยากของชาวไร่ชาวนาเมื่อการเพาะปลูกล้มเหลว เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ มักจะลดการจัดเก็บภาษีจากชาวไร่ชาวนาที่ประสบปัญหาจากภัยพิบัติตามธรรมชาติหรือภัยพิบัติจากสงครามอยู่บ่อยๆหรือให้การบรรเทาช่วยเหลือ
จูหยวนจางยังรักและหวงแหนประชาชนของพระองค์ พยายามทำตนมัธยัสถ์ เมื่อจูหยวนจางขึ้นครองราชย์ ทรงเพียงซ่อมแซมพระราชวังที่เมืองอิ้งเทียน เรียกร้องเสริมความแข็งแรงเฉพาะตรงส่วนที่สึกหรอ ไม่ต้องตกแต่งให้สวยงามวิลิศมาหรา ทั้งยังให้คนเขียนภาพเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไว้บนกำแพงพระราชวังเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจพระองค์เอง การใช้ชีวิตทั่วไปจูหยวนจางใช้รถเทียมม้า เครื่องใช้และสิ่งของต่างๆซึ่งควรจะทำหรือตกแต่งประดับด้วยทองแท้ แต่จูหยวนจางมีพระราชโองการให้ทุกคนรับทราบให้ใช้ทองเหลืองทำหรือประดับแทน หัวหน้าขุนนางกราบเรียนพระองค์ว่า สิ่งของเหล่านี้ใช้ทองแท้ทำไม่เท่าไหร่เอง จูหยวนจางตรัสว่า มันไม่ใช่เป็นการประหยัดทองแต่เป็นการสร้างความมัธยัสถ์ ตัวเองควรทำตนให้เป็นตัวอย่าง เมื่อจูหยวนจางผลักดันสิ่งต่างๆเป็นไปในทางบวก ชาวไร่ชาวนามีความกระตือรือร้นในการผลิตผลิตผลทางเกษตรสูงเป็นอย่างมาก การพัฒนาทางเกษตรต้นราชวงศ์หมิงเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ฉากทรุดโทรมของชนบทในสมัยปลายราชวงศ์หยวนถูกเปลี่ยนแปลงดีขึ้นมาก
การฟื้นฟูและการพัฒนาการผลิตทางการเกษตรช่วยส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมหัตถกรรมและการค้าอย่างมาก นโยบายฟื้นฟูประเทศและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของจูหยวนจางทำให้การปกครองของราชวงศ์ใหม่นี้มั่นคงเป็นปึกแผ่น ทำให้ชีวิตชาวไร่ชาวนามีความมั่นคง เสริมสร้างการพัฒนาของผลิตผลและผลิตภัณฑ์
"นโยบายการอพยพ"
ราชวงศ์หมิงรัชสมัยหงอู่เป็นยุคที่มีการอพยพของผู้คนที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เป็นอีกยุคหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีนที่มีการจัดระเบียบและจัดการวางแผนอพยพชาวฮั่นเกี่ยวพันกับผู้คนนับเป็นจำนวนนับล้าน มีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ ขอบเขตกว้างไกลซึ่งไม่เคยลืมเลือนไปด้วยกาลเวลา จนมีสุภาษิตพื้นบ้านแต่โบราณว่า “ถามข้าบรรพบุรุษของข้ามาจากไหน ซานซีหงตงต้นไม้ต้าหวย” การอพยพผู้คนรัชสมัยหงอู่ไม่ใช่เพียงแต่การกระจายผู้คนไปยังพื้นที่ว่างเปล่าต่างๆให้เหมาะสม แต่เป็นการอพยพชาวพื้นเมืองดั้งเดิมไปพร้อมวัฒนธรรมพื้นถิ่นเดิมของตนและจิตวิญญาณของตนไปด้วย กลายเป็นการผสมผสานและแลกเปลี่ยนประเพณีวัฒนธรรมกัน เป็นอารยธรรมของแต่ละภูมิภาคผูกพันดูแลซึ่งกันและกัน กลายเป็นการสร้างเมล็ดพันธ์อารยธรรมใหม่ในประเทศจีน เป็นบันทึกหนึ่งในประวัติศาสตร์การอพยพชาวจีนที่มีสีสรรในอดีต เป็นรากฐานของแผ่นดินราชวงศ์หมิงที่ทำให้ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจที่สุดในโลก เพื่อวัฒนธรรมของชาวฮั่นที่พัฒนาเผยแพร่ออกไป
เมื่อราชวงศ์หมิงสถาปนาขึ้น เนื่องจากมีการทำสงครามยาวนานมาหลายปี รวมทั้งเกิดโรคภัยระบาด ดินแดนแถบแม่น้ำฮวงเหอ (黄河) แม่น้ำหวยเหอ (淮河) แม่น้ำหยิ่นเหอ (运河) เกิดอุทกภัยน้ำท่วมต่อเนื่องเป็นเนืองๆ ประชาชนตอนกลางของประเทศจีนและแถบดินแดนเจียงหนาน (江南) ลดลงเป็นจำนวนมาก แต่มณฑลซานซี (山西) ซึ่งไม่ประสบกับภัยสงครามขนาดใหญ่ทำให้เพิ่มความหนาแน่นของประชากร มณฑลเหอหนาน (河南) เหอเป่ย (河北) และซานตง (山东) สามมณฑลนี้มีประชากรรวมกันยังไม่เท่ากับครึ่งหนึ่งของประชากรมณฑลซานซี ปีที่แปดราชวงศ์หงอู่ เกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ท่วมมณฑลซานตงอย่างหนัก และอีกหลายจังหวัดในมณฑลเจียงซู เหอหนาน เหอเป่ย และอันฮุย น้ำท่วมไหลออกสู่ทะเลประกอบกับมีน้ำทะเลหนุน ทำให้การจัดเก็บภาษีเกลือซึ่งเป็นรายได้สำคัญของราชวงศ์หมิงต้องสูญเสียไปด้วย แผ่นดินตอนกลางนับพันลี้กลายเป็นดินแดนร้างผู้คน กล่าวขานกันว่า กองกระดูกเรียงรายเต็มป่า ระยะทางพันลี้ไม่มีแม้แต่ไก่ขัน ดังนั้นจูหยวนจางจึงตัดสินใจอย่างฉับไวอพยพผู้คนจากซานซีมาสู่ดินแดนที่รกร้างว่างเปล่าเหล่านี้ เพื่อฟื้นฟูการผลิตเกลือ พัฒนาการผลิตสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพิ่มจำนวนประชากรของแผ่นดินตอนกลางและดินแดนเจียงหนาน
"ด้านวัฒนธรรม"
(การศึกษา)
จูหยวนจางสถาปนาราชวงศ์หมิงสำเร็จเป็นที่รู้จักันทั่วไปแล้ว ราชวงศ์หยวนถึงการล่มสลาย นอกจากการมีมาตรฐานในการปกครองตนเองแล้ว การศึกษาก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งในสังคมที่สูญเสีย ดังนั้นตั้งแต่พระองค์ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงนำมาตราการภาคบังคับก่อสร้างสำนักการศึกษา คัดเลือกขุนนางนักวิชาการ พร้อมทั้งยืนยันในงานเกี่ยวกับการศึกษาเป็นดัชนีสำคัญในการวัดประสิทธิภาพของการทำงานของข้าราชการท้องถิ่นต่างๆ เพื่อที่จะคัดเลือกข้าราชบริพารที่สามารถปฎิบัติตามคำสั่งพระจักรพรรดิ รัฐบาลราชวงศ์หมิงกำหนดให้มีการสอบคัดเลือกข้าราชการผ่านทางข้อสอบของหนังสือสี่เล่มในขอบเขตวิชาการทั้งห้าของจีน ผู้เข้าสอบสามารถตอบคำตามมุมมองความคิดเห็นที่ระบุไว้ ไม่อนุญาติให้ตอบนำเสนอมุมมองความคิดเห็นของตน คำตอบเหล่านั้นจะมีการแบ่งแยกเป็นแปดบทความ (ในแปดบทความประกอบไปด้วย หนึ่ง อธิบายสาระสำคัญของหัวข้อบทความสอง การรับรองบทความ สาม การพูด สี่ อารัมภบท ห้า บทเริ่มต้น หก เนื้อหาตอนกลาง เจ็ด บทสรุป แปด ข้อเสนอความคิดเห็น) ซึ่งเรียกว่า “ปากู่เหวิน” (八股文)
"ลายมือของจูหยวนจาง"
ปีที่เก้า (ค.ศ.1376) เดือนหก หม่าเหลียง (马亮) ผู้ปกครองเขตรื่อจ้าว (日照) มณฑลซานตงจัดให้มีการสอบคัดเลือกเต็มรูปแบบเพื่อถวายตัวแก่องค์จักรพรรดิ ทางจังหวัดได้ให้ความเห็นแก่เขาว่า “ไม่มีเขตชนบทจัดการสอบประสบความสำเร็จสอบแข่งขันกับการจัดสอบของจังหวัด” เมื่อได้ยินการตีค่าแบบนี้ จูหยวนจางเขียนราชโองการว่า อาหารและเสื้อผ้าของชาวบ้าน คือ สิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน การศึกษา คือ แหล่งที่มาของมารยาทศีลธรรม การที่ผู้ปกครองเขตจัดให้มีการสอบแบ่งเขตนี้แข่งกับการจัดการสอบของจังหวัด มันใช่หน้าที่ของเขานะหรือ ผลลัพธ์ คือ ผู้ปกครองเขตแซ่หม่าไม่ได้รับการโปรโมทให้เลื่อนตำแหน่งทั้งยังถูกปลดออกจากตำแหน่งอีกต่างหาก
มีเรื่องที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นอีกครั้งในเวลาไม่นาน ปีที่สิบสองราชวงศ์หงอู่ วันที่ 27 เดือนสาม หลังจากบริหารราชการมาสักพัก จูหยวนจางเรียกขุนนางลัทธิขงจื้อมาปรึกษาการบริหารรัฐนาวา ทุกคนสามารถออกความเห็นได้อย่างอิสระ มีแต่นักปราชญ์บัณฑิตของสำนักศึกษาหลวง หลี่สือตี๋ (李思迪) และหม่าอี้ (马懿) นั่งเงียบไม่พูดจา จูหยวนจางไม่พอใจมากลดตำแหน่งพวกเขาทั้งสอง จากนั้นมีพระราชโองการให้แก่สำนักการศึกษาหลวงว่า “ในฐานะที่เป็นนักปราชญ์บัณฑิตควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ข้าราชการอื่น ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มกำลัง รับใช้แผ่นดินตามความสามารถของตน ไม่ใช่เอาแต่ฝึกฝนร่ำเรียน” หลี่สือตี๋ และหม่าอี้ เกิดมาเป็นสามัญชนธรรมดา สามารถเข้าเฝ้าถวายคำปรึกษาแก่องค์จักรพรรดิ จักรพรรดิมีใจที่จะน้อมรับคำชี้แนะ แต่พวกเขาแม้แต่คำพูดเดียวยังไม่เต็มใจที่จะถวายงาน อย่างนี้เห็นองค์จักรพรรดิคือตัวอะไร แล้วจะสามารถคาดหวังให้เขาทั้งสองทุ่มเทสั่งสอนลูกศิษย์ในสำนักการศึกษาหลวงได้ยังไง
กับการดูแลนักปราชญ์ราชบัณฑิตอาวุโส สำนักการศึกษาหลวง จูหยวนจางได้ตั้งมาตรฐานเอาไว้สูง นอกจากการเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของประชาชน แต่ยังต้องมีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาทางการเมืองเพื่อพัฒนาประเทศให้มีคุณภาพ ดังนั้นลองคิดดูเหล่านักปราชญ์บัณฑิตที่มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยหงอู่ โดยเฉพาะในขณะที่จูหยวนจางครองราชย์และเข้มงวดกับสำนักการศึกษาหลวงแบบหายใจรดต้นคอ ชีวิตความเป็นอยู่ของนักปราชญ์บัณฑิตเหล่านั้นจะต้องมีความระมัดระวังจริงๆ
จูหยวนจางบำรุงรักษาชีวิตและศีลธรรมธรรมดาแบบเรียบง่ายของชาวชนบทเป็นพิเศษ โดยให้ความเคารพกับคนแก่และผู้สูงอายุเป็นพิเศษ พระองค์ทรงประกาศ “นโยบายชดเชยดูแลผู้สูงอายุ” กำหนดว่า “ณ.สถานที่ใดที่มีผู้สูงอายุ อายุ 80 ปี หรือ 90 ปี ถือว่าเป็นหมู่บ้านและชุมชนที่ดี ต้องมีการจัดเตรียมการฉลองประจำปี จริงแล้วคือสถานที่ที่มีบรรยากาศที่ดี ถ้ายากจนหรือไม่มีงานทำ คนที่อายุ 80 ปีขึ้นไป จะแจกข้าวให้เดิอนละ 5 โต่ว (斗, 1 โต่ว = 1 เดคาลิตร) เนื้อสัตว์ 5 จิน (斤, 1 จิน = ครึ่งกิโลกรัม) เหล้า 3 โต่ว คนที่อายุ 90 ปีขึ้นไป แจกเพิ่มผ้าไหมและม้าให้หนึ่งตัว ฝ้าย 10 จิน การทำงานเพียงแค่เดินด้วยเท้าไปถึง ดังนั้นจึงให้เหล้า เนื้อสัตว์ ฝ้ายและผ้าไหม
เพื่อที่จะกำจัดพ่อค้าขูดรีด จูหยวนจางจงใจออกพระราชกำหนด ชาวบ้านชาวชนบทสามารถสวมใส่ผ้าไหม ผ้าทอด้าย ผ้าถักไหม ผ้าถักทอซึ่งเป็นผลผลิต 4 อย่างที่ชาวชนบทผลิตได้เอง และพ่อค้าสามารถใส่ผ้าไหมและผ้าถักทอได้เพียง 2 อย่างที่ชาวบ้านผลิตเท่านั้น พ่อค้า นักศึกษา ข้าราชการจะต้องโดนตรวจสอบด้วยข้อจำกัดและความยุ่งยากต่างๆมากมาย
"บทสรุปความสำเร็จ"
ที่สำคัญที่สุดของจักรพรรดิหมิงไท่จู่จูหยวนจาง คือการขับไล่ชนเผ่าทางเหนือของจีนออกนอกประเทศจีน นอกจาการปราบจลาจลเพื่อกู้ชาติกลับคืนมา ยกเลิกการกำหนดชนชั้นวรรณะซึ่งเป็นนโยบายของชนเผ่ามองโกล ฟื้นฟูประเทศจีนกลับคืนมา
จูหยวนจางกำเนิดในที่อำเภอผิงหยวน (平原) จังหวัดหวยเหอ (淮河) มณฑลอันฮุย (安徽) ในปัจจุบันเป็นครอบครัวชาวนาที่ยากจน ในช่วงเวลาที่ชาวมองโกลกดขี่ชาวจีนเชื้อสายฮั่นและชนกลุ่มน้อยต่างๆเป็นทาสอย่างเหี้ยมโหด จูหยวนจางไม่เคยมีประสบการณ์ชีวิตทีเต็มไปด้วยความสุขและความมั่นคงในสังคมเกษตรแบบชาวบ้านทั่วๆไปที่ควรจะเป็น และไม่ได้รับการเรียนการศึกษาในระบบการศึกษาสำนักขงจื้อ แต่ด้วยความฉลาดปราดเปรื่องของพระองค์ ความศรัทธาในความเชื่อและการบัญชาการการรบเพื่อล้มล้างราชวงศ์มองโกลและปลดปล่อยชาวจีนจากการเป็นทาส สถาปนารัฐประเทศของชาวฮั่นขึ้นใหม่และชี้นำประเทศให้รอดพ้นจากชนเผ่าป่าเถื่อน ฟื้นฟูความเชื่อมั่น ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของประเทศขึ้นมาใหม่
"สุสานหมิงเสี้ยวหลิง ของจักรพรรดิหมิงไท่จู่จูหยวนจาง"
ราชวงศ์หมิงก่อตั้งได้ครึ่งศตวรรษมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดความวุ่นวายขึ้นเปิดโอกาสในยุคของคนป่าเถื่อนเข้าทำลายล้างซึ่งดำรงอยู่ตลอดเวลา การดำรงชีวิตของชาวจีนส่วนใหญ่มีประสบการณ์เพิ่มขึ้นกับการเผชิญการใช้ความรุนแรง ความศิวิไลซ์ในอารยธรรมตกต่ำลง ชาวฮั่นตกต่ำกลายเป็นทาส เปิดโอกาสให้ชนเผ่าป่าเถื่อนรุกราน
ในขณะที่ราชวงศ์มองโกลล่มสลายและราชวงศ์หมิงขึ้นปกครองจริงๆแล้วไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น แต่เพื่อความอยู่รอด เพื่อเสรีภาพ เพื่อศักดิ์ศรีของชาวฮั่นและชนเผ่าชนกลุ่มน้อยต่างๆ ต้องต่อสู้กำจัดชาวมองโกลที่กดขี่เหยียบหยามบังคับให้เป็นทาสอย่างหมดหวัง จักรพรรดิหมิงไท่จู่นำทัพชาวฮั่นและชนกลุ่มน้อยต่างๆชี้นำกำจัดพวกมองโกลออกจากแผ่นดิน ชาวมองโกล ชาวเซ่อมู่ (色目) ไม่ถือว่าเป็นชาวจีนฮั่น แต่ถ้าในความชอบธรรม เพื่อความหวังประชาชน และความทัดเทียมกันของชาวจีนจึงรุกขึ้นสู้ สิ่งนี้คือสิ่งที่สะท้อนเต็มที่ให้เห็นถึงความชอบธรรมของชาวจีน
1
นี่คือวีรบรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่รอดพ้นจากภัยธรรมชาติ ความโชคร้ายที่มนุษย์สร้างขึ้นและความอดอยากหิวโหยในหมู่บ้านจงหลี (钟离) จนกระทั่งมุ่งสู่เมืองหนานจิงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิ เส้นทางที่พระองค์กับขุนนางและนายทหารของพระองค์เดินทางไปสายนี้ไม่ใช่เป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของตนอย่างเดียว แต่เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ของพระองค์โดยเอาฝั่งขวาแม่น้ำหวยเหอเป้นที่มั่นเพื่อสร้างแผ่นดินใหม่ในภายภาคหน้า
จูหยวนจางในใจเต็มไปด้วยยุทธศาสตร์การทหาร มีความสุขุมเข้าใจลึกซึ้งในความต้องการของตน มีความสามารถในการควบคุมและบัญชาการการทำสงคราม มีความคิดริเริ่มซึ่งสามารถจับได้ มีความรับผิดชอบสูงในหน้าที่การงาน นำการจัดการที่เข้มงวดมาใช้อย่างแพร่หลาย ปกครองทหารอย่างเข้มงวด จัดตั้งระบบการทหารที่สมบูรณ์ ฝึกอบรมทหารอยู่เสมอ เน้นคำสั่งให้นายทหารเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวิชาความรู้ การแสวงหา ความเมตตาและความกล้าหาญ สนับสนุนให้ทหารทำเกษตรเมื่อพักรบและทำสงครามเมื่อภัยมา เพื่อรักษากองทัพให้เข้มแข็งตลอดเวลา
เรื่องราวของจักรพรรดิหมิงไท่จู่ จูหยวนจาง จบบริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้ละครับ....🙇
youtube.com
ประวัติ : จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิง by CHERRYMAN
ประวัติศาสตร์จีน ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิง จูหยวนจาง
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านนะครับขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านนะครับ ขอบคุณครับ😊🙇"
References :
https://th.m.wikipedia.org/wiki/จักรพรรดิหงอู่
http://oknation.nationtv.tv/blog
เรียบเรียงเนื้อหา/นำเสนอบทความโดย :
"สาระหลากด้าน"
28 บันทึก
28
9
32
28
28
9
32
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย