Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Red Diary
•
ติดตาม
13 เม.ย. 2019 เวลา 14:17 • ประวัติศาสตร์
พิธีฝังเสาหลักเมืองด้วยการสังเวยคนทั้งเป็น - อิน จัน มั่น คง
สวัสดีปีใหม่ไทยทุกท่านนะคะ ขอให้ทุกท่าน สุข สมหวัง อายุมั่นขวัญยืน คิดสิ่งใดสมปรารถนา เดินทางโดยสวัสดิภาพนะคะ 😊🙏 และวันนี้ Red Diary ก็มีอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีการฝังเสาหลักเมืองในอดีตของไทย
ย้อนกลับไปใน ปี พ.ศ. 2543 มีการพูดถึงละครเรื่องหนึ่งอย่างหนาหูที่ทำให้ผู้รับชมถึงกับอิน มีอารมณ์ร่วมตามไปด้วย ละครเรื่องนั้นคือ "เจ้ากรรมนายเวร" รับบทโดยคุณ "หมิว ลลิตา" ดาราผู้มากฝีมือ
แต่ก็มีท่านผู้ชมบางส่วน ตั้งคำถามกลับว่า แล้วเรื่องที่เกิดขึ้นจากในละคร มันคือเรื่องจริงที่เคยเกิดขึ้นหรือเปล่า ?? เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ต่อจากนี้เราจะเล่าให้คุณฟังเองค่ะ...
เดิมประเพณีไทยแต่โบราณ เมื่อมีการสร้างเมืองใหม่ (ณ ที่ใดก็ตาม) สิ่งที่ต้องทำประการแรก ก็คือ การหาฤกษ์ยามอันดี สำหรับการฝังเสาหลักเมือง หลังจากนั้นก็จะดำเนินการสร้างบ้านเมืองกันต่อไป
ประเพณีการตั้งเสาหลักเมืองนั้น มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีพราหมณ์ ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในชมพูทวีปหรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน และประเพณีพราหมณ์นี้เอง ก็ได้แพร่เข้ามาในแหลมทอง
เกิดจากการเดินทางเข้ามา ค้าขายของพ่อค้าชาวอินเดียในสมัยโบราณที่เข้ามาค้าขาย และ ตั้งรากฐานวัฒนธรรมที่เมืองนครศรีธรรมราชอันเป็นเมืองใหญ่ของภาคใต้ในสมัยนั้น
จนกระทั่งประเพณีพราหมณ์เผยแพร่เข้ามาสู่เมืองสุโขทัยและเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา แม้แต่ในสมัยปัจจุบันนี้ก็ตาม ประเพณีพราหมณ์หลายอย่างก็เป็นพิธีที่นับเนื่องอยู่ในการพระราชพิธีต่าง ๆ
และที่เราจะเห็นได้ชัดที่สุดก็ คือ การตั้งศาลพระภูมิภายในอาณาเขตบ้านของเรา และสิ่งนี้ก็เป็นประเพณีที่เรารับมาจากพราหมณ์ ไม่มีในพระพุทธศาสนา ฉะนั้น ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จะไม่มีการตั้งศาลพระภูมิในบ้านเลย
การตั้งเสาหลักเมือง เมื่อจะมีการสร้างเมืองขึ้นใหม่นั่นเอง ถึงแม้ว่าธรรมเนียมการตั้งเสาหลักเมือง จะเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ก็ตามที แต่ชาวไทยเราก็ได้ปฏิบัติกันมาจนแทบจะกลายเป็นประเพณีไทยไปแล้ว และบันทึกตามตำนาน อิน จัน มั่น คง
ได้เผยเรื่องราวที่เล่าสืบกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โบราณถือว่า พิธีสร้างพระนคร หรือ สร้างบ้าน สร้างเมือง โดยในพิธีนั้น จะมีการฝังเสาหลักเมือง และเสามหาปราสาท โดยจะต้องเอาคนที่มีชีวิตทั้งเป็นฝังลงในหลุม เพื่อให้เป็นผู้เฝ้ามหาปราสาทบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรู มิให้มีโรคภัยเกิดแก่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ผู้ปกครองนครบ้านเมือง
2
ซึ่งการทำพิธีกรรมดังกล่าวนี้ จำต้องนำเอาคนที่มีชื่อ อิน จัน มั่น คง ฝังลงหลุมจะถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เมื่อถึงเวลาทหารจะเรียกชื่อ อิน จัน มั่น คง ตามบ้านเรือน และหากใครโชคร้ายขานรับขึ้นมา จะถูกนำตัวไปเลี้ยงดูอย่างดี อิ่มหนำ สำราญ โดยไม่บอกอนาคตล่วงหน้า ว่าพวกเขาจะเจอกับอะไร !!?? ซึ่งเรื่องนี้เป็นกุศโลบายมาถึงปัจจุบัน คือ พ่อแม่จะสอนเราเสมอว่าเวลากลางค่ำ กลางคืน ถ้าใครเรียกชื่อห้ามขานรับ เพราะนั่นอาจจะเป็นภูติ ผี ปีศาจ ที่มาเอาชีวิตลูกหลานไป
แต่ความเป็นจริงคือ เมื่อสมัยก่อนจะมีการออกตามหาคนที่มีชื่อ อิน จัน มั่น คง เพื่อนำไปฝังหลุมทั้งเป็นต่างหาก พ่อแม่จึงสร้างกุศโลบายนี้ขึ้นมาเพื่อให้ ลูกหลานเกรงกลัวและไม่ทำเช่นนั้น
4
ในการเลือกคนที่จะเอามาทำพิธีกรรม ต้องเลือกให้ได้ลักษณะตามที่โหรพราหมณ์กำหนด ต้องไม่ใช่นักโทษประหาร และจะต้องเป็นคนที่อยู่ในวัยต่างกัน มีตั้งแต่คนมีอายุจนถึงเด็กทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
9
ทุกคนต้องมีฐานะดีเป็นที่ยกย่องในกลุ่มชน และต้องเกิดตามที่โหรกำหนด ถ้าเป็นชายต้องไม่มีรอยสัก ผู้หญิงต้องไม่เจาะหู เมื่อสั่งเสียร่ำลาญาติพี่น้องแล้วก็จะถูกนำตัวไปลงหลุม ญาติพี่น้องก็จะได้รับพระราชทานรางวัล (ซึ่งคงไม่มีใครเต็มใจที่จะรับเท่าไหร่นัก)
1
แต่แหล่งที่มาบางที่ ก็บอกว่า เลือกตามความสมัครใจ ไม่มีการบังคับใดๆ เพราะคนเหล่านั้น ถือว่า ตนได้ทำเพื่อชาติ ได้รักษาบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย
1
และเมื่อได้ฤกษ์ก็จะแห่แหนพวกเขา (อิน จัน มั่น คง) ไปที่หลุม และทำการสั่งเสียกับพวกเขา ว่า ให้คอยเฝ้ารักษาประตูเมือง และพระราชวังไว้ และให้แจ้งข่าวให้รู้กันทั่ว หลุมเสาหลักเมืองนั้น จะผูกเสาคานใหญ่ ชักขึ้นเหนือหลุมนั้นในระดับสูงพอสมควรและ โยงไว้ด้วยเส้นเชือกสองเส้น
1
ครั้นเมื่อถึงวันกำหนดที่จะปลิดชีวิตพวกเขานี้ จะมีการแห่นำก่อน และเมื่อชาวบ้านมาชุมนุมกัน เขาก็ตัดเชือกปล่อยให้เสาหรือซุงหล่น ลงมาบนศีรษะผู้เคราะห์ร้ายที่ตกเป็นเหยื่อของการถือโชคถือลางนั้น บี้แบนอยู่ในหลุมเสาหลักเมือง
3
Cr.clicknewtv
โดยคนไทยโบราณเชื่อว่า ผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้จะกลายสภาพเป็นอารักษ์ จำพวกที่เรียกว่า "ผีราษฎร" เจ้าขุนมูลนาย และรวมถึงคนสามัญ บางคนก็กระทำการฆาตกรรมแก่ทาสของตนในทำนองเดียวกันนี้ เพื่อใช้ให้เป็นผีเฝ้าขุมทรัพย์ที่ตนฝังซ่อนไว้
นอกจากนี้ ในบันทึกของ "วันวลิต" ซึ่งเป็นชาวฮอลันดา ที่เดินทางมาพำนักพักในกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กล่าวไว้ในบันทึกของเขาตอนหนึ่งว่า . . . ที่กรุงศรีอยุธยา มีพิธีก่อนการสร้างประตูเมืองที่น่าสะพรึงกลัวเรื่องหนึ่ง คือ การโยนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ลงไปในหลุมแล้วตอกเสาลงไปให้ตายทั้งเป็น โดยหวังว่าผู้หญิงคนนั้นจะกลายเป็นผีรักษาเฝ้าประตูเมือง
4
เยเรเมียส ฟาน ฟลีต หรือ วันวลิต
วันวลิต บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “….พระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันทรงเปลี่ยนประตูทั้งหมด…ประตูเหล่านี้ถือเป็นที่ๆ ศักดิ์สิทธิ์ในประเทศสยาม พระเจ้าแผ่นดินทรงสั่งให้โยนหญิงมีครรภ์ 2 คน ลงใต้เสาแต่ละเสา และจำเป็นต้องใช้หญิงมีครรภ์ถึง 68 คน สำหรับประตู 17 ประตูนี้…”
1
อย่างไรก็ตาม วันวลิต ได้เล่าต่อว่า หลังจากได้นำผู้หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดมาเพื่อเตรียมการทำพิธีพร้อมแล้ว จู่ ๆ มีหญิง 5 คน คลอดบุตรเสียก่อน ทำให้เกิดความสังเวชขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ออกญาจักรีจึงกราบทูลฯ ขอให้ปล่อยผู้หญิงเหล่านั้นไป และคงเหลือตัวแทนเพียง 4 คนเท่านั้น ที่ถูกโยนลงหลุมไปแทน
วันวลิตยังเล่าอีกว่า ไม่เพียงแต่ประตูวังเท่านั้น การสร้างที่ประทับในพระบรมมหาราชวังก็ได้ทำพิธีนี้เช่นเดียวกัน ดังบันทึกตอนหนึ่งว่า “ถ้าสร้างพระราชวัง หอสูง หรือที่ประทับ…ใต้เสาแต่ละต้น ก็จะต้องต้องโยนหญิงมีครรภ์คนหนึ่งลงไป หญิงผู้ตายในเวลาใกล้คลอดยิ่งดี…
เชื่อว่าผู้หญิงเหล่านี้เมื่อตายแล้วจะกลับเป็นผีปีศาจที่ดุร้าย ไม่เพียงคอยปกป้องเสาซึ่งตนถูกโยนลงมาข้างใต้ แต่ยังช่วยให้บ้านเมืองพ้นจากโรคร้ายอีกด้วย…”
2
แม้วันวลิตจะย้ำว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด
และธรรมดาค่ะ หลังจากเรื่องนี้เริ่มตกเป็นประเด็น ทำให้หลายฝ่ายก็ออกมาค้านว่า ไม่จริง มันไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้น ความเชื่อเรื่องฝังคนทั้งเป็นนี้เข้าใจว่า เป็นการบอกเล่าสืบต่อกันมา
2
และเป็นธรรมดาค่ะ หลังจากเรื่องนี้เริ่มตกเป็นประเด็น ทำให้มีการค้านกันว่าเรื่องที่เล่ากันมานั้น ไม่เป็นความจริง มันไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้น ความเชื่อเรื่องฝังคนทั้งเป็นนี้เข้าใจว่า เป็นการบอกเล่าสืบต่อกันมา เป็นการเชื่อแบบชาวบ้านโดยที่ไม่มีหลักฐานยืนยันจน ถึงกับนำมาเขียนเป็นประวัติศาสตร์ก็มี
1
เท่าที่พบมีอยู่แห่งหนึ่งคือการฝังหลักเมือง ของเมืองถลาง ในหนังสือ "ประวัติจังหวัดภูเก็ตฉบับฉลอง 25 พุทธศตวรรษ" เมื่อพ.ศ.2500 ได้กล่าวถึงการฝังหลักเมืองไว้ตอนหนึ่งว่า . . .
2
เมื่อท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรได้ถึงอสัญกรรมแล้ว พระยาถลาง (ทองพูน) ได้เป็นเจ้าเมืองถลาง ได้จัดหาสถานที่เพื่อสร้างเมืองใหม่ขึ้น และได้ตกลงให้สร้างเมืองใหม่ขึ้น ที่ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลางในปัจจุบันนี้ โดยเรียกว่า "บ้านเมืองใหม่" เมื่อจัดหาที่ได้แล้ว จึงได้ประกอบพิธีกรรมขึ้นเพื่อฝังหลักเมืองโดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์รวม 32 รูป เจริญพระพุทธมนต์อยู่ 7 วัน 7 คืน
2
แล้วจึงให้อำเภอทนายป่าวร้องหาตัวผู้ที่จะเป็นแม่หลักเมือง (ผู้ที่จะเป็นแม่หลักเมือง ได้ต้องเป็นคนที่เรียกกันว่า สี่หูสี่ตา คือ กำลังตั้งครรภ์นั่นเอง) การป่าวร้องหาตัวแม่หลักเมืองนี้ได้ป่าวประกาศร้องไปเรื่อย ๆ ไปตลอดทุกหมู่บ้าน
1
ว่า "โอ้เจ้ามั่น โอ้เจ้าคง อยู่ที่ไหนมา ไปประจำที่" ในที่สุดจึงไปได้ผู้หญิงชื่อนางนาคท้องแก่ประมาณ 8 เดือนแล้ว นางนาคได้ขานตอบกลับ 3 ครั้ง แล้วได้เดินตามผู้ประกาศไป ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำแล้ว เมื่อไปถึงหลุมที่จะฝังหลักเมือง นางนาคก็กระโดดลงไปในหลุมนั้นทันที ฝาหลุมก็เลื่อนปิด เจ้าพนักงานก็กลบหลุมฝังหลักเมืองเป็นอันเสร็จพิธีการฝังหลักเมือง
ตามเรื่องข้างต้นนี้ไม่มีในพงศาวดาร คนเขียนขึ้นตามที่เคยฝังเขาเล่ากัน หรือจับเอาเรื่อง "ราชาธิราช" เมื่อพระเจ้าฟ้ารั่วสร้างปราสาทมาเป็นพิธีฝังหลักเมือง ดังมีข้อความดังต่อไปนี้ว่า . . .
2
"ครั้นวันฤกษ์พร้อมกันคอยหาฤกษ์แล้วนิมิตกึ่งฤกษ์เวลากลางวัน พอหญิงมีครรภ์คนหนึ่งเดินมาริมหลุม คนทั้งปวงพร้อมกันว่าได้ฤกษ์ แล้วก็ผลักหญิงนั้นลงในหลุม จึงยกเสาปราสาทนั้นลงหลุม"
2
บางทีจะเป็นเรื่องนี้เองก็ได้ ที่คนเอาไปโจษขานเล่าลือกัน แล้วหลงเข้าใจผิดไปว่า การฝังหลักเมืองหรือประตูเมืองนั้นต้องฝังคนท้องทั้งเป็น หรือคนที่มีชื่อว่า อิน จัน มั่น คง จนพวกฝรั่งฟังไม่ได้ศัพท์จึงเอาไปเขียนอธิบายกันยืดยาว และที่น่าอัศจรรย์ใจก็คือ หนังสือประวัติจังหวัดภูเก็ตเล่มดังกล่าวได้ตีพิมพ์เรื่องตอนนี้ออกไปได้อย่างไร คนอ่านไม่ได้คิดตาม ก็จำเรื่องผิด ๆ ไป
1
ตามตำราพระราชพิธีฝังหลุมพระนคร หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตำราพระราชพิธีนครฐาน ฉบับโบราณก็มีอยู่หลายฉบับ ได้กล่าวถึงพิธีการตั้งแต่ต้นจนสุดท้ายไว้อย่างละเอียด และไม่มีตอนใดกล่าว ถึง คนชื่อ อิน จัน มั่น คง หรือคนที่มีครรภ์ มีแต่กล่าวไว้ว่า ให้เอาดินจากทิศทั้ง 4 มาปั้นเท่าผลมะตูม สมมุติว่าเป็นธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ให้คนมาถือก้อนดินคนละก้อน ยืนปากหลุมทั้ง 4 ทิศ
4
เมื่อตอนเริ่มพิธี จะมีโหรผู้ใหญ่ถามถึงก้อนดินแต่ละก้อนนั้นมีคุณประการใด ผู้ที่ถือก้อนดินก็ตอบไปตามลำดับคือ
ธาตุดิน มีพระคุณจะทรงไว้ซึ่งอายุพระนครให้บริบูรณ์ ด้วยคามนิคมเป็นที่ประชุมประชาชนพลพาหนะ ตั้งแต่ประถมตราบเท่าอวสาน
คนถือธาตุน้ำตอบว่า มีพระคุณให้สมเด็จบรมกษัตริย์ แลเสนาอำมาตย์ราษฎรทั้งหลาย เจริญอายุวรรณะสุขะพละสิริสวัสดิมงคลทั้งปวง
คนที่ถือธาตุไฟตอบว่า มีพระคุณให้โยธาทหารทั้งปวงแกล้วกล้า มีตบะเดชะแก่หมู่ข้าศึก
1
คนที่ถือธาตุลมตอบว่า มีพระคุณจะให้เจริญสมบัติธนธัญญาหาร กสิกรรมวาณิชกรรมต่าง ๆ เมื่อกล่าวตอบครบแล้วก็ทิ้งก้อนดินนั้นลงในหลุม แล้วเชิญแผ่นศิลายันต์ลงในหลุม และเชิญหลักตั้งบนแผ่นศิลานั้น อัญเชิญเทวดาเข้าประจำรักษาหลักพระนคร
1
พิธีสำคัญก็มีเพียงเท่านี้ ไม่มีการฝังคนทั้งเป็นแต่อย่างใด หากแต่ที่กล่าวมาข้างต้น บางตำนานก็กล่าวไว้ว่า เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นจริง โดยมี "วันวลิต" พ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ ทำการบันทึกเอาไว้
อย่างไรก็ตาม ตำนานเป็นเพียงการเล่าต่อ ๆ กันมา ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ถ้ามีหลักฐานจะไม่ใช่เพียงแค่ตำนาน แต่จะเป็นในกลุ่ม พงศาวดาร จดหมายเหตุ จารึก ซึ่งต้องมีร่องรอยตามที่เขียนเอาไว้
สำหรับท่านใดมีข้อมูลดี ๆ หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เสนอแนะ ติชม หรือเพิ่มเติมข้อมูลได้เลยนะคะ เรดยินดีค่ะ จะได้มีข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้นจากความคิดของหลายๆท่านด้วย หากข้อมูลขาด ตก บกพร่อง ประการใด ขออภัย ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณที่ติดตามกันค่า
มีคลิปตัวอย่างจากในละคร เจ้ากรรมนาย เป็นพิธีกรรมตอนลงเสาหลักเมือง ทุกท่านลองรับชมได้นะคะ ตามลิ้งข้างล่างเลยจ้า
youtube.com
เจ้ากรรมนายเวร Jao Kam Nai Wen 1
CH 3 ปิ๊บ รวิชญ์ เทิดวงส์, หมิว ลลิตา
Cr.ดร.สินชัย เชาว์เจริญรัตน์ , sarakadee , tnews
เรียบเรียง : Red Diary ❤
53 บันทึก
145
21
115
53
145
21
115
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย