15 เม.ย. 2019 เวลา 12:25 • ประวัติศาสตร์
“ตี โมง ทุ่ม ยาม ย่ำ” มีที่มาอย่างไร ระบบเวลาอย่างไทย ไม่ไกลปืนเที่ยง
“ตี โมง ทุ่ม ยาม ย่ำ”มีที่มาอย่างไร
"2โมง" " 3 ทุ่ม" "ตี4" "ย่ำรุ่ง" คำเหล่านี้ไม่ใช่คำแปลกใหม่ แถมยังใช้บ่อยมากๆ จนบางครั้งเราอาจจะมองข้ามไปว่า ที่มาของมันเป็นอย่างไร แล้วไกลปืนเที่ยง เกี่ยวอะไรกับการนับเวลา
มาหาคำตอบกันครับ🤔😄
ในอดีตที่เรายังไม่มีนาฬิกาไว้ดูเวลาเป็นของใครของมัน เพราะราคาที่สูงเกินคนทั่วไปจะหาซื้อได้ การบอกเวลาให้คนทั้งเมืองรู้เวลาโดยทั่วกันนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
จึงมีการคิดค้นระบบบอกเวลาขึ้น โดยใช้เสียง เพื่อบอกเวลาขณะตีให้คนในเมืองรู้ทั่วกัน
ซึ่งมีมาตั้งแต่ สมัยอยุธยา แต่ได้รับการจัดระบบชัดเจนในสมัย รัชกาลที่5
โดยการใช้เสียงเพื่อบอกเวลา จะให้เสียงในจุดสำคัญของเมือง ของหมู่บ้าน แห่งหนตำบลนั้นๆ
ซึ่งจะแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 6 ชั่วโมง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้เสียงก็ต่างกัน คือ ในช่วงเช้าจนถึงเย็น จะใช้การตี “ฆ้อง” ช่วงหัวค่ำ
ถึงเที่ยงคืนใช้ “กลองใบใหญ่” และช่วงหลังเที่ยงคืนถึงเช้าตรู่ใช้ “แผ่นโลหะ”
การนับเวลา
เริ่มจากเวลา 07.00 น. จะมีการตีฆ้อง 1 ครั้ง เสียงดังว่า"โมง" 08.00 น.ตี 2 ครั้ง เป็น "2โมง"
ไปจนถึง 11.00 น. ตี 5ครั้ง เป็น"5โมง"
เวลา 13.00 น. ก็ตี 1 ครั้ง เป็น”บ่ายโมง” 14.00 น. ตี 2 ครั้ง เป็น “บ่าย2โมง” จนถึง 17.00 น.
ตี 5 ครั้ง เป็น”บ่าย5 โมง”
1
แล้วเมื่อเวลาค่ำ 19.00 น. ก็จะเปลี่ยนเป็นการตี กลอง 1 ครั้งคือ 1 ทุ่ม 20.00น. ตี2 ครั้ง 2ทุ่มไปจน 5 ทุ่ม พอหลังเที่ยงคืน การตีบอกเวลาจะใช้การตีโลหะ เป็นเสียง แก้กๆ หรือเป่งๆ ซึ่งทำให้
พูดตามยาก จึงเรียกเป็นตี แทน 01.00 น.ก็ตี 1 ไปจนถึงตี5
ย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ ยาม
ส่วนช่วงเที่ยงคืน เที่ยงวัน ช่วงคาบเกี่ยวอย่างนี้จะให้ใช้กลองตีรัวๆแทน เรียกว่า"ยํ่า"
เวลา 06.00 น.ก็เรียก"ยํ่ารุ่ง" 18.00น.ก็”ยำค่ำ” เวลาเที่ยงวันบ้างก็ว่า"ยํ่าเที่ยง" และเวลาเที่ยงคืนบ้างก็เรียก"สองยาม"
"ยาม" เป็น การนับอย่างไทยในเวลากลางคืน โดยมี 4ยาม ยามละ 3 ชั่วโมงคือ 18.00-21.00น. เป็น ยามที่ 1 เวลา 21.00-24.00น. เป็นยาม2 หรือ 2ยาม ไปอย่างนี้จนยาม3ยาม4 โดยมีที่มาจากการอยู่เวรยามในอดีต
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเพิ่มการบอกเวลาเที่ยงวัน ภายในพระนคร โดยเมื่อถึงเวลาเที่ยง
ให้มีการ "ยิงปืน" บอกประชาชนในพระนคร โดยให้กองทัพเรือ ทำหน้าที่ยิงปืนเที่ยงนี้ จึงเป็นที่มาของ คนที่อยู่ห่างไกลพระนคร ห่างความเจริญ เรียกกันว่า"ไกลปืนเที่ยง"
https://images.app.goo.gl/3vAs3wsh5WcREXSJ7
นี่คือที่ไปที่มา ของ”โมง ทุ่ม ตี ยาม ย่ำ”ที่เราใช้กันประจำ คนรุ่นก่อนนี่เขา ช่างคิดช่างแก้ปัญหา
ดีจริงๆนะครับ จนเมื่อนาฬิกาเริ่มหาง่ายขึ้น เสียงบอกเวลาทุ่มๆโมงๆ ก็เงียบลงคงไว้เพียง
คำบอกเวลาให้เราใช้กันในทุกวันนี้นะครับ☺
โฆษณา