16 เม.ย. 2019 เวลา 14:00 • สุขภาพ
โรคพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้า
เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งอยู่ในน้ำลายของสัตว์ติดเชื้อ เข้าสู่คนและสัตว์จากการโดนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ข่วน เลียบาดแผล
.
คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเกิดได้แค่หมาและแมว แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ลิง หนู กระต่าย กระรอก วัว ควาย แกะ เกิดโรคพิษสุนัขบ้าได้
.
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด
.
รายการ Pet Care onair | คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
บาดแผลแบบไหน?! ต้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า
ตรวจเช็กบาดแผล หลังถูกสุนัข/แมวกัด ทันที!
.
⚠️หากมีบาดแผลดังนี้⚠️
ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
.
1. แผลฉีกขาด มีเลือดออก
2. เป็นรอยช้ำ แม้ไม่มีเลือดออก
3. ถูกข่วน ไม่มีเลือดออก/ เลือดออกเล็กน้อย
4. ถูกเลีย บริเวณรอยแผล รอยถลอก
.
กรณีที่ถูก สุนัข-แมว กัด! อาจไม่ต้องฉีดวัคซีน ถ้าหาก!
1. สุนัข-แมว รับวัคซีนทุกปี และต้องเคยฉีดมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง *ครั้งล่าสุดไม่เกิน 1 ปี
2. ถูกเลี้ยงในระบบปิด ไม่ได้พาออกไปเจอสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ข้างนอก
3. มีสาเหตุให้ถูกกัด เช่น สัตว์เลี้ยงหวงลูก หรือเราไปแหย่/เหยีบสัตว์เลี้ยง
*หมายเหตุ : หากไม่มั่นใจ หรือมีข้อสงสัย ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด
.
ด้วยความปรารถดีจากโรงพยาบาลศิครินทร์
.
การปฏิบัติตัวเมื่อถูกสุนัขไม่ทราบประวัติกัด | รายการ Pet Care onair https://www.youtube.com/watch?v=uCsEPgLQp3c
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัส โรคพิษสุนัขบ้า 2561 และ คำถามที่พบบ่อย. พศ 2561. สถานเสาวภา สภากาชาดไทย. : ดีงาม ตอบครบ. คำถามที่พบบ่อย จริงๆ http://www.lpnh.go.th/newlp/wp-content/uploads/2013/10/Rabies-book-2018-4-09-2018-ok.pdf
โรคแมวข่วน หรือ Cat scratch disease สามารถติดต่อจากแมวสู่คนได้เมื่อคนถูกแมวกัด ข่วนหรือถูกแมวเลียที่บาดแผล . หากโดนแมวข่วนแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบไปพบแพทย์ -แผลที่โดนกัดหรือข่วนหายช้า -รอบรอยกัดหรือข่วนแดงขึ้นและกว้างขึ้น -ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือขาหนีบบวมและปวดเป็นเวลานาน ปวดกระดูกหรือปวดข้อ -มีอาการอ่อนเพลียอย่างผิดสังเกตและเป็นไข้นานหลายวัน
💉 เพราะวัคซีนบาดทะยักเป็นสิ่งที่หมอทุกคนในห้องฉุกเฉิน "ต้องรู้" 💉
อ้างตามตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2556 โดย กรมควบคุมโรค
❤️ ปัจจุบันแนะนำให้ฉีดวัคซีนรวม dT (diphtheria & tetanus) แทนการฉีดวัคซีนบาดทะยักเดี่ยว T (tetanus toxoid) ในทุกกรณี จะได้ภูมิต้านทานต่อโรคคอตีบด้วย เพราะช่วงนี้โรคคอตีบกลับมาระบาดใหม่ในผู้ใหญ่
🔹 การฉีดวัคซีนบาดทะยักกรณีมีบาดแผล ให้พิจารณา 3 อย่างคือ
1. แผลสกปรกหรือสะอาด แผลสกปรกคือแผลที่อาจปนเปื้อนด้วยเชื้อบาดทะยัก หรือ Tetanus Prone Wound เช่น แผลปนดิน ทราย น้ำลาย อาเจียน อุจจาระ สิ่งสกปรก, แผลถูกสัตว์หรือแมลงกัด, แผลที่มีระยะเวลานานเกิน 6 ชั่วโมง, แผลถูกแทง ทะลุ, แผลที่เนื้อเยื่อถูกบดขยี้, แผลที่เนื้อหลุดออกไป, แผลไหม้, แผลน้ำแข็งกัด, แผลกระดูกหัก และแผลกระสุนปืน
2. เคยฉีดวัคซีนบาดทะยักครบไหม (การฉีดครบคือได้วัคซีน 3 ครั้งขึ้นไป)
3. ฉีดเข็มสุดท้ายเกิน 5 หรือ 10 ปีไหม
💉 การฉีดวัคซีนบาดทะยัก 1 คอร์ส dT 0.5 ml IM (ไม่ต้องปรับตามน้ำหนัก) ฉีดที่ day 0, 1-2 เดือน และ 6-12 เดือน (มาตรงนัดจะดีที่สุด) ภูมิจะเริ่มเกิดประมาณ 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนครั้งแรก
⁉️ กรณีมา "ก่อนนัด" ⁉️
- การฉีดวัคซีนเร็วกว่าระยะห่างน้อยสุดที่แนะนำ อาจส่งผลต่อการสร้างภูมิที่ไม่เพียงพอ ดังนั้น...
❤️ ถ้าผู้ป่วยมาก่อนนัดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 วัน ถ้าผู้ป่วยยืนยันฉีด สามารถให้วัคซีนต่อไปได้ตามปกติ
❤️ ถ้ามาก่อนนัดมากกว่าหรือเท่ากับ 5 วัน...
- ในเข็ม 2 ให้ตั้งต้นนับหนึ่งใหม่ ถือว่าเข็มที่ผิดเป็นเข็มแรกสุด เช่น นัดฉีดเข็ม 2 วันที่ 06/01/57 แต่ผู้ป่วยมาฉีด 01/01/57 ให้นับวันที่ 01/01/57 เป็นเข็ม 1 แล้วนัดเข็ม 2 และ 3 ใหม่ (ได้วัคซีนรวมทั้งหมด 4 เข็ม กลายเป็น 0,1,2,7 เดือน
- ในเข็ม 3 ไม่ต้องนับหนึ่งใหม่ ให้นัดอีกเข็มห่างจากวันที่ฉีดผิดอย่างน้อย 6 เดือน เช่น นัดฉีดเข็ม 3 วันที่ 06/01/57 แต่ผู้ป่วยมาฉีด 01/01/57 ให้ฉีดเข็ม 3 ได้ แล้วนัดเพิ่มอีก 6 เดือน เป็น 01/07/57 (ได้วัคซีนรวมทั้งหมด 4 เข็ม กลายเป็น 0,1,6,12 เดือน)
⁉️ กรณีมา "หลังนัด" ⁉️
💙 หากคนไข้มาหลังนัดในเข็มที่ 2 และ 3 ถ้าอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนด (0, 1-2, 6-12 เดือน) ก็สามารถฉีดต่อได้เลย โดยเลื่อนนัดเข็ม 3 ออกไปให้มากกว่า 6 เดือน เช่น
- ฉีดเข็ม 1 วันที่ 01/01/62 มีนัดฉีดเข็ม 2 วันที่ 01/02/62 แต่ผู้ป่วยมาวันที่ 10/02/62 ก็ให้ฉีดได้เลย และเลื่อนนัดเข็มที่ 3 จากเดิม 01/07/62 เป็น 10/07/62 แทน
⚠️ Special Population ⚠️
👶🏻 ในเด็ก < 7 ปี ให้ฉีด DTP (เด็กฉีด DTP ที่ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 18 เดือน, 4-6 ปี ถ้าอายุ 11-12 ปี ฉีด dT หรือ Tdap ได้) ถ้าเด็กได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือไม่เคยได้วัคซีนใดๆ มาก่อน ให้นัดเข้า OPD เด็ก เพื่อนัดฉีดวัคซีนอื่นๆ เพิ่มด้วย
😷 ใน immunocompromised host หรือ HIV ให้ฉีด Tetanus antitoxin ร่วมด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเคยได้รับวัคซีนครบมาก่อนหน้านี้ก็ตาม
🤱🏻 คนท้อง ถ้ามีแผล ฉีด dT ได้ โดยพิจารณาว่าเคยฉีดวัคซีนบาดทะยักขณะฝากครรภ์หรือยัง เพราะคนท้องต้องฉีดกระตุ้นอยู่แล้ว
📍Adverse Reaction 📍
- Arthus Reaction หลังฉีด dT แล้วมีอาการปวดบวมมากกว่าปกติ เช่น บวมทั้งแขน ยกแขนไม่ได้ แสดงว่าร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อบาดทะยักสูง แนะนำให้เลื่อนการฉีด dT ครั้งต่อไปเป็นระยะเวลา 10 ปี
- Serum Sickness
✅ Tetanus Immunoglobulin (TIG) หรือ Tetagam ✅
- ทำจากเลือดคน ดังนั้นไม่ต้องทำ skin test แต่ต้องฉีดคนละข้างกับวัคซีน
- ถ้าอายุมากกว่า 7 ปี ฉีด TIG 250 unit IM
- ถ้าอายุน้อยกว่า 7 ปี ฉีด TIG 4 unit/kg IM
❎ Tetanus Antitoxin (TAT) ❎
- ปัจจุบันไม่แนะนำแล้ว
- ทำจากเลือดม้า จึงต้องทำ skin test ก่อนให้
- Dose 1500 unit IM ฉีดคนละข้างกับวัคซีน
- เจือจาง TAT 1:100 ปริมาตร 0.02 ml ฉีดที่ท้องแขน และฉีดน้ำเกลือ 0.02 ml ที่ท้องแขนอีกข้างหนึ่ง อ่านผลที่ 15-20 นาที positive คือข้างที่มี TAT ใหญ่กว่าน้ำเกลือ > 3 mm ให้เปลี่ยนไปใช้ TIG แทน
สรุป
✔️ กรณีแผลสะอาด
- ไม่ต้องฉีด TIG / TAT
- ฉีดวัคซีนบาดทะยักครบ : ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้น ถ้าเข็มสุดท้าย > 10 ปี
- ฉีดวัคซีนบาดทะยักไม่ครบ : ให้ฉีดใหม่ 1 คอร์ส
✖️ กรณีแผลสกปรก
- ฉีดวัคซีนบาดทะยักครบ : ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้น ถ้าเข็มสุดท้าย > 5 ปี
- ฉีดวัคซีนบาดทะยักไม่ครบ : เป็นกรณีเดียวที่ให้ฉีด TIG ร่วมกับวัคซีน 1 คอร์ส
⭐️ วัคซีนบาดทะยักเป็นวัคซีนที่ฉีดบ่อยที่สุดในห้องฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่ต้องรู้สำหรับคนที่ประจำอยู่ ER สามารถฉีดได้ 0, 1-2, 6-12 เดือน (ไม่ใช่ 0,1,6 เพียงอย่างเดียว) มาตามนัดจะดีที่สุด ถ้ามาหลังนัด ฉีดต่อได้ แต่ถ้ามาก่อนนัด จะกระตุ้นภูมิไม่ค่อยดี
Reference
ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2550 กรมควบคุมโรค
ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2556 กรมควบคุมโรค
แนวทางการฉีดวัคซีนบาดทะยัก รพ. น่าน http://www.nanhospital.go.th/site/pdf/67
Tintinalli's Emergency Medicine 8th Edition section 13 Imfectious disease Chapter 156 หน้า 1062-1064
190820
โฆษณา