17 เม.ย. 2019 เวลา 13:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ขนส่งมวลชนด้วยระบบรถไฟ รู้หรือไม่ทำไมการก่อสร้างรถไฟถึงแพง?
บทความแรกในบล็อคดิท บกพร่องอย่างไร ยินดีน้อมรับคำติชมครับ 🤗
ภาพชินตาของคนที่อาศัยอยู่ในกทม.คือการจารจรที่หนาแน่น เนื่องจากจำนวนประชากรที่มีอยู่มาก สถิติจำนวนประชากรปี2558ของกทม.อยู่ที่ 5.6ล้านคน ทั้งที่กทม.นั้นมีพื้นที่เพียง 1.5ล้านตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับว่ามีประชาการ3651คนต่อตารางกิโลเมตร เทียบกับจังหวัดใหญ่อื่นเช่นเชียงใหม่ที่มีพื้นที่รวม20ล้านตารางกิโลเมตร แต่กับมีประชากรแค่1.5ล้านคน
เมื่อจำนวนคนเยอะขึ้น การที่จะเคลื่อนย้ายคนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งนั้นด้วยการใช้พาหนะส่วนตัว หรือขนส่งสาธารณะเช่นรถเมล์ หรือแม้แต่แท๊กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้างอาจจะไม่เพียงพอแล้ว ภาพชินตาที่เราเห็นกันคือรถในตัวเมืองติดมากเพราะทุกคนเอารถออกมาใช้หมด ทำให้เวลาที่ใช้ในการเดินทางมากขึ้น
ขนส่งสาธารณะแบบรถไฟฟ้าจึงถูกออกแบบมาเพื่อเป็นขนส่งทางเลือกให้กับผู้ที่อยากเดินทางปลอดภัย ถึงที่หมายตรงเวลา การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้านั้นใช้เงินลงทุนสูงมาก โดยทั่วไปรัฐมักจะไม่ลงทุนเอง แต่จะหาเอกชนที่มีประสบการณ์ มีความสามารถมาทำสัมปทาน และเอกชนยังมีความสามารถในการระดมทุนจากทั้งในและต่างประเทศได้
1
ดังนั้นแล้วการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าจึงจำเป็นที่ต้องมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาก โดยเฉพาะส่วนของงบประมาณที่ต้องใช้ในการก่อสร้าง ปัจจัยที่ทำโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแต่ละสายจะถูกหรือแพงจะมีปัจจัยโดยหลักดังนี้ (ในที่นี้จะพูดถึงค่าก่อสร้างและระบบเดินรถเท่านั้นนะครับ)
• Total length of the system: ความยาวของเส้นทางเดินรถทั้งหมด แน่นอนว่าเส้นทางเดินรถยิ่งยาว ยิ่งทำให้มีการก่อสร้างสูง ทั้งนี้ยังไม่รวมระบบการซ่อมบำรุง ระบบการจัดการจราจรหรือTraffic control จำนวนขบวนรถที่ต้องใช้ จำนวนพนักงานที่อยู่ในระบบเดินรถ อุปกรณ์อาณัติสัญญาณที่ต้องติดตั้งตลอดเส้นทาง ยิ่งเส้นทางเดินรถยาวมากขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ต้องใช้ทรัพยากรเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย
• Topography ภูมิประเทศที่เส้นทางรถวิ่งผ่าน หากรถต้องวิ่งผ่านภูมิประเทศที่เป็นภูเขา แม่น้ำ ลำธาร จะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าไม่ได้สร้างในที่รกร้างว่างปล่าว จะต้องสร้างในเขตเมือง หรือแม้แต่พื้นที่ที่มีกฏหมายควบคุมเช่นโรงพยาบาล สถานศึกษา สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้การออกแบบทางวิศวกรรมต้องมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มขึ้น ภูมิประเทศที่มีความซับซ้อนจะทำให้ต้นทุนทางวิศวกรรมสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1
ตัวอย่างบีทีเอสสถานีสะพานตากสิน ที่เส้นทางวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
• Location: ทำเลและพื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้าง หากต้องก่อสร้างในพื้นที่ชุมชน พื้นที่ธุรกิจ ซึ่งอาจต้องมีการปิดถนน มีการกั้นพื้นที่ บางพื้นที่ไม่สามารถทำงานได้กลางวันจะต้องทำกลางคืนเท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อชุมชน งานติดตั้งอุปกรณ์บางชนิดมีเสียงและฝุ่นรบกวนจะต้องได้รับการตรวจสอบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหรือEIAก่อนที่จะเริ่มทำการติดตั้งได้
• Utilities: สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเช่นน้ำ ไฟ ระบบสื่อสาร หากพื้นที่นั้นๆไม่มีระบบเหล่านี้อยู่จะต้องมีการเดินระบบเข้าไป หรือแม้แต่การก่อสร้างระบบสถานีจ่ายไฟฟ้าหรือ Sub-Station ที่ต้องมีพื้นที่ตามข้อกำหนดของหลักวิศวกรรม
• Land: ราคาของที่ดินที่ต้องเข้าไปก่อสร้าง เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าจำเป็นต้องมีที่ดินเป็นของตัวเอง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องซื้อที่ดินนั้นไว้ หากการก่อสร้างอยู่ในทำเลที่แพง ต้นทุนการซื้อที่ดินก็จะสูงตาม ในบางกรณีโครงการต้องมีการซื้อที่ดินข้างเคียงจำนวนมากเพื่อทำลานจอดรถ(park and ride) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร ต้นทุนของที่ดินถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การก่อสร้างมีราคาสูง
• Passenger requirements: ชนิดของตัวรถไฟว่าจะใช้รุ่นไหน จากบริษัทอะไร ความต้องการทางด้านเทคนิคเช่น จำนวนที่ผู้โดยสารที่ต้องการรองรับต่อวัน ระยะเวลาที่ผู้โดยสารต้องรอต่อขบวน จำนวนรอบในการวิ่งให้บริการความเร็วของรถไฟที่ต้องการ ซึ่งหากสัมพันธ์เส้นทางที่เดินรถ หากเส้นทางมีจำนวนโค้งหรือลาดชันมากจะทำให้รถไฟทำความเร็วได้น้อยลงส่งผลให้จำนวนรอบในการวิ่งแต่ละวันด้วย ยิ่งมีความต้องการที่สูงมากจะทำให้การออกแบบตัวรถซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ
• Passenger Safety ระบบความปลอดภัยที่ใส่เข้าไปเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารเช่นประตูกั้นชานชะลา(Platform Screen Door) ซึ่งระบบดังกล่าวมีราคาสูงมาก การติดตั้งยังต้องเชื่อมโยงกับระบบควบคุมรถไฟด้วย ในอดีตเราจะเห็นรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทมีPSDแค่บางสถานี แต่ในปัจจุบันโรงการใหม่มีการติดตั้งPSDทุกๆสถานีแล้ว
• Number of Stations: จำนวนสถานี ทั้งนี้ไม่ใช่แค่จำนวนสถานีที่มากที่จะส่งผลการก่อสร้างใช้เงินสูงด้วย ยังเกี่ยวเนื่องกับทำเลและราคาที่ดินของบริเวณั้น
• Special Structures: สิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมที่ทำให้รถไฟวิ่งได้เช่น อุโมงค์ สะพาน ทางเชื่อมพิเศษ เพื่อให้รถไฟสามารถวิ่งผ่านได้
อุโมงค์ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างแพงมากขึ้น
• Environmental Mitigation: อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเช่น Noise barrier ที่ป้องมลพิษทางเสียงจากล้อเสียดสีกับรางไปรบกวนชุมชน หรืออุปกรณ์ที่ป้องกันคลื่นวิทยุสำรหรับระบบสื่อสารไปรบกวนชุมชน สถานพยาบาล
ตัวอย่างการติดตั้noise barrier เพื่อลดมลพิษทางเสียงจากการเคลื่อนที่ของรถไฟในที่ชุมชน
จากปัจจัยข้างต้นจะเห็นได้ว่าทำไมการก่อสร้างรถไฟฟ้าถึงได้ใช้เงินลงทุนสูงต่างจากขนส่งสาธารณะอื่นๆเช่นเครื่องบินที่เมื่อสร้างเครื่องบินแล้วก็มีแค่สนามบินก็สามารถให้บริการได้ เพราท้องฟ้าเป็นทรัพยากรที่ไม่ต้องลงทุนเครื่องบินก็สามารถขึ้นไปบินได้ หรือรถโดยสารเมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ลงไปวิ่งบนถนนได้เลย ทั้งท้องฟ้าและถนนนี้ไม่ได้ถูกนำมาบวกเป็นต้นทุนในการก่อสร้างซึ่งต่างจากรถที่จะต้องมีสถานี ต้องมีระบบราง ต้องมีระบบอาณัติสัญญาณ รถไฟจึงจะสามารถวิ่งได้ อย่างไรก็ตามรถไฟก็ยังเป็นขนส่งมวลชนหลักในหลายๆประเทศเนื่องจากต่อกิโลเมตรสามารถขนคนได้มากกว่า ทั้งยังสามารถสนับสนุนขนภาคธุรกิจอื่นๆที่เครื่องบินและรถยนต์ไม่สามารถทำได้อีกด้วย รถไฟจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวสำหรับในหลายๆประเทศครับ
1
โฆษณา