17 เม.ย. 2019 เวลา 13:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ครั้งแรกของโลก 3D Print หัวใจเทียม
โดยสร้างจากเซลล์ของผู้ป่วยเอง
3D printer หรือเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เคยมีบทบาทสำคัญกับ เกี่ยวกับเรื่องของหัวใจมาแล้ว ตั้งแต่ปี 2013
โดย Children’s National Medical Center ศูนย์กุมารแพทย์ในวอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา ได้ทำการใช้ เครื่องพิมพ์ 3 มิติในการ พิมพ์หัวใจผู้ป่วย เพื่อนำมาศึกษา เพราะในตอนนั้นไม่มีเทคโนโลยีไหนที่จะให้ภาพหัวใจที่สมบูรณ์แบบขนาดนี้
smh.com.au
และในปี 2017 นักวิจัยจาก ETH Zürich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำการพิมพ์ หัวใจเทียม ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จาก ซิลิโคน มีขนาด 390 กรัม ที่ให้ความยืดหยุ่นและสามารถเต้นได้เหมือนกับหัวใจจริงๆ
แต่นี่เป็นครั้งแรกของโลก!!
ที่นักวิทยาศาสตร์ ชาวอิสราเอล สามารถ
“สร้างหัวใจเทียม จากเนื้อเยื่อของมนุษย์ โดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ”
ทีมวิจัยของ มหาลัย Tel Aviv University เปิดเผยว่า หัวใจเทียมที่สร้างขึ้นนี้ มีขนาดเท่ากับหัวใจของกระต่าย แต่มีโครงสร้างใกล้เคียงของจริงทั้งหมด
วิธีการสร้าง หัวใจเทียมนี้
เริ่มจากการทำการตรวจและนำชิ้นเนื้อไขมัน บริเวณท้องของผู้ป่วย ออกมา
youtube
การนำเซลล์ของผู้ป่วยมาใช้ในการสร้าง เป็นใจความสำคัญหลักในการสร้างอวัยวะเทียม เพื่อให้อวัยวะสามารถเข้ากันได้ดี
จากนั้น ทำการแยกส่วนที่เป็น เซลล์ออก เหลือไว้แต่ Extracellular matrix(ECM)
[ ECM(Extracellular matrix) เป็นสารที่ถูกสร้างออกมาด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์ ของเซลล์สัตว์ มีไกลโคโปรตีน จำพวก เส้นใยคอลลาเจน เป็นส่วนมาก ]
gotoknow
เซลล์จะถูกทำให้กลายเป็น เซลล์ต้นกำเนิด โดยที่คงความแตกต่างจากเซลล์หัวใจ และผ่านกรรมวิธีกับ hydrogel ที่เป็นหมึกชีวภาพ (bio-ink) ของเครื่องพิมพ์ 3 มิตินี้
โดยแบบของหัวใจผู้ป่วยที่จะทำการพิมพ์ จะถูกสแกนโดยวิธี MRI หรือ CT Scan ให้กลายเป็นภาพ 3 มิติ
[MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วน CT Scan คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ]
แล้วทำการปริ้น แต่ละชั้นของหัวใจขึ้นมาด้วยหมึกพิมพ์ชีวภาพ
ก่อนหน้านี้ พวกเขาได้นำไปทดลอง
สร้างเนื้อเยื่อธรรมดาๆ โดยไม่มีเส้นเลือดอยู่ภายใน เพื่อทดสอบดูความเป็นไปได้
หลังจากคอนเฟิร์มว่าทำได้
จึงทดลอง สร้างหัวใจเทียมสำหรับกระต่าย โดย หัวใจเทียมที่สร้าง มีโครงสร้างห้องหัวใจและหลอดเลือด เทียบเคียงกับขนาดของจริง 2.5 เซนติเมตร เป็นผลสำเร็จในที่สุด
หัวใจที่พิมพ์เสร็จแล้ว ต้องให้ระยะเวลาหลายวัน กว่าจะสามารถทำงานได้เหมือนหัวใจจริงๆ
AFP
โดยนักวิจัยกล่าวว่า การปลูกถ่ายหัวใจเทียมนี้ จะนำไปทดลองในสัตว์ก่อน แล้วจึงนำมาใช้กับคน
ลองคิดดูเล่นๆ ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้
หากการปลูกถ่ายอวัยวะเทียมด้วย เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ สำเร็จ และใช้กันอย่างแพร่หลาย
โลกเราจะเปลี่ยนไปมากขนาดไหน
TechGuy รายงาน
อย่าลืมกดไลค์ กดติดตาม TechGuy
เพื่อรับข่าวสารและเทคโนโลยี
ส่งตรงถึงมือคุณทุกวันนะครับ
โฆษณา