18 เม.ย. 2019 เวลา 07:42 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กลิ่นหอมของดินหลังฝนตกเกิดจากอะไร?
หลังฝนตกเรามักจะได้กลิ่นหอมของไอดิน หอมจนรู้สึกว่า ถ้ากินเข้าไปคงจะอร่อยน่าดู (แอดมินคือหนึ่งในคนที่ไปชิมดินหอมๆพวกนั้น) แน่นอนว่ากินแล้วก็ไม่ได้อร่อยเลยจริงๆ
คำว่ากลิ่นไอดิน มีคำเรียกเฉพาะว่า Petrichor เป็นคำโบราณที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1960 จากนักวิจัยออสเตรเลียสองคน คือ อิสเบล แบร์ และอาร์จี โธมัส ทั้งสองคนอธิบายว่ากลิ่นหอมของไอดินจริงๆแล้วเกิดจากแบคทีเรียที่เรียกว่า Streptomyces
Streptomyces เป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่มีวิวัฒนาการสูง มีลักษณะเป็นสายยาว พวกมันมักจะอาศัยอยู่ในที่ชื้นและอบอุ่น
Streptomyces
และสารที่แบคทีเรีย Streptomyces ปล่อยออกมาจนทำให้เกิดกลิ่นหอม มีชื่อว่า Geosmin เป็นเรื่องแปลกที่มนุษย์ซึ่งประสาทรับกลิ่นด้อยกว่าสัตว์อื่น แต่กลับไวต่อกลิ่นหอมนี้มากกว่าสัตว์อื่นๆ
และเมื่อไหร่ที่ฝนตกลงสู่พื้นดิน Geosmin ก็จะลอยขึ้นมาในอากาศ ยิ่งฝนตกมากเท่าไหร่ Geosmin ก็จะมากขึ้นเท่านั้น พอฝนหยุดตกเราก็จะได้กลิ่นหอมไอดินชัดเจน เป็นกลิ่นที่ทำให้รู้สึกสดชื่น
ในทศวรรษ 1960 มีผู้คิดค้นวิธีเปลี่ยนไอดินให้เป็นกลิ่นน้ำหอม มีการทำขึ้นครั้งแรกที่อินเดีย
ส่วนปัจจุบัน Geosmin ได้กลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำหอมหลายๆชนิดไปแล้ว
หากเราอยากจะรู้รสชาติของ Geosmin ที่มีกลิ่นหอมนั้นไม่ยาก แค่เรากินบีทรูทเข้าไปเราจะได้รับรสชาติของ Geosmin
1
นอกจาก Geosmin แล้วนักวิจัยหลายๆท่านยังกล่าวว่า ฝน สามารถนำเอากลิ่นต่างๆออกมาจากพืชได้ และสายฟ้าก็มีส่วนทำให้กลิ่นไอดินหอมเตะจมูกเรา ซึ่งเกิดจากการที่สายฟ้าแล่นผ่านอากาศ รวมถึงการแล่นของสายฟ้าในรูปแบบอื่นๆในบรรยากาศอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
โฆษณา