Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าวิศวกร
•
ติดตาม
19 เม.ย. 2019 เวลา 13:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รอรถไฟฟ้านาน? ทำไมการเพิ่มจำนวนขบวนรถไม่ใช่การแก้ปัญหา
ปัญหาโลกแตกที่เราเจอกันบ่อยๆเมื่อต้องรถรถไฟฟ้านาน ไม่ว่าจะในต่างประเทศหรือในประเทศยิ่งชั่วโมงเร่งด่วนเราจะเห็นภาพชินตาบ่อยๆคือคนรอคิวจนล้นสถานีในชั่วโมงเร่งด่วนเช่นในสถานีสยาม หรือสถานีอโศก บางทีต้องรอ3-4ขบวนถึงจะได้ขึ้น บางคนยอมนั่งย้อนกลับไปอีกหนึ่งสถานีเพื่อจะได้ขึ้นรถยอมเสียเวลาเพราะไม่อย่างงั้นไม่ได้ขึ้นสักที
ผมเห็นบ่อยๆในโลกsocial ที่พูดถึงเรื่องผู้ให้บริการทำไมไม่เพิ่มจำนวนขบวนรถให้มากขึ้น จะได้ขนคนได้เยอะ เพิ่มcapacityของระบบเข้าไป แต่เอาเข้าจริงมันไม่ง่ายแบบนั้นครับ ถ้าตัดประเด็นเรื่องการลงทุนออกไป มันมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่ไม่สามาถเพิ่มจำนวนขบวนรถได้วันนี้ผมขออนุญาตมาเล่าตามประสบการณ์เล็กๆน้อยๆที่ได้ทำ ได้รู้ ได้ฟังมาครับ
1.ตำแหน่งจุดจอด โดยปกรติรถไฟจะถูกคำนวนจุดจอดไว้จากระบบอาณัติสัญญาณ หนึ่งในปัจจัยของการคำนวนจุดจอดคือน้ำหนักของขบวนรถ หากรถ1ขบวนมี4ตู้น้ำหนักรวม40ตันระยะเบรคซึ่งคำนวนจากแรงเฉื่อยของตัวรถจะถูกคำนวนไว้ค่านึง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะใช้มาคำนวนเรื่องของระบบเบรคและอุปกรณ์ระบบควบคุมที่ส่งสัญญาณไปตัวรถให้รถต้องเริ่มลดความเร็วลงที่ระยะเท่าไหร่เป็นต้น
ยิ่งรถไฟหนักมาก ระยะเบรคต้องเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารรู้สึกว่าถูกเหวี่ยงไปข้างหน้า
ทีนี้สมมุติรถไฟขบวนนั้นแต่เดิมมี4ตู้ที่น้ำหนัก40ตัน แล้วเราเพิ่มไปอีก1ตู้ ทำให้ขบวนนั้นมีรถไฟ5ตู้จะทำให้น้ำหนักรวมกลายเป็น50ตัน แรงเฉื่อยหรือMoment of Inertia จะเปลี่ยนไปหมด อุปกรณ์ที่ติดตั้งลงระบบรางหรือที่เรียกว่า Wayside จะต้องถูกคำนวนใหม่หมด อาจจะต้องมีการย้าย เพิ่ม อุปกรณ์และทำการทดสอบระบบใหม่หมดซึ่งจะกระทบกับ System Assurance ด้วยครับ ที่สำคัญน้ำหนักรถที่มากขึ้น ทำให้รถไฟใช้ระยะเบรคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความเร็งลดลง เมื่อความเร็วลดลงก็ทำให้จำนวนรอบที่วิ่งลดลงตามครับ
2. ตำแหน่งของประตูชานชะลาหรือ Platform Screen Door โดยปกติตำแหน่งของPSDจะคำนวนและติดตั้งตามความยาวของตัวรถไฟทั้งขบวน
รถไฟต้องจอดให้ตรงตำแหน่งของPSD ไม่อย่างนั้นผู้โดยสารจะออกจากรถไฟไม่ได้
ซึ่งถ้าเราสังเกตุดูดีๆว่า ตำแหน่งประตูรถไฟมันไม่ได้สมมาตรเท่ากันหมด ประตูรถไฟของตู้ที่อยู่หัวและท้ายขบวนจะอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เท่ากับประตูรถไฟตู้ที่อยู่กลางขบวน PSDจะถูกคำนวนและติดตั้งให้พอดีกับประตูรถไฟและตำแหน่งจุดจอด(ซึ่งสัมพันธ์กับข้อ1) ทีนี้สมมุติเราเพิ่มไปอีก1ตู้ ทำให้ขบวนนั้นมีรถไฟ5ตู้จะทำให้จุดจอดเปลี่ยนไปหมด ประตูรถไฟอาจจะอยู่ไม่ตรงกับPSDทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถออกจากรถได้ ดังนั้นPSDจะต้องคำนวนใหม่และออกแบบการติดตั้งใหม่ทั้งหมดครับ
3. ระยะห่างรถไฟระหว่างขบวน โดยปกติแล้วระบบอาณัติสัญญาณจะออกแบบให้รถไฟมีระยะห่างเพื่อความปลอดภัยของระบบไว้ หมายถึงถ้ามีรถไฟขบวนหนึ่งอยู่ข้างหน้ารถไฟขบวนที่อยู่ข้างหลังจะต้องรักษาระยะห่างไว้ ต่อให้เร่งเข้าไปใกล้แค่ไหนเมื่อเข้าใกล้เกินว่าระยะที่กำหนด รถไฟขบวนที่อยู่ข้างหลังจะถูกสั่งให้ลดความเร็วลงเพื่อรักษาระยะห่างไว้
ภาพจำรองระบบFixed block ที่ทำหน้าที่คุมระยะห่างรถไฟของแต่ละขบวนไว้
ทีนี้สมมุติเราเพิ่มไปอีก1ตู้ ทำให้ขบวนนั้นมีรถไฟ5ตู้จากเดิม4ตู้ จะทำให้ความยาวรถไฟทั้งขบวนเพิ่มขึ้นระบบอาณัติสัญญาณที่ออกแบบมาแล้วต้องรื้อและออกแบบใหม่หมดครับ
ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยหลักๆที่การเพิ่มจำนวนตู้รถไฟไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกเช่น ขนาดของโรงซ่อมบำรุงว่ามีcapacity เพียงพอหรือไม่ ขนาดของระบบspare partที่ต้องเพิ่มตาม จำนวนของบุคคลากรที่เกี่ยวข้องที่ต้องเพิ่มตาม ดังนั้นแล้วการเพิ่มจำนวนตู้รถไฟลงในขบวนรถเป็นเรื่องที่ทำได้แต่ไม่ง่ายเพราะมีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงครับ
2 บันทึก
14
3
4
2
14
3
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย