20 เม.ย. 2019 เวลา 01:09 • ธุรกิจ
ประวัติ Google ตอนที่ 9 : Going Public
หลักชัยที่สำคัญของทุกธุรกิจ ในการก้าวเข้าสู่อีกระดับนั่นคือการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ กลายเป็นบริษัทมหาชน แต่บริน และ เพจ พยายามที่จะยื้อโครงการที่จะไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
ประวัติ Google ตอนที่ 9 : Going Public
เหตุผลสำคัญอย่างนึงที่คู่หูผู้ก่อตั้งไม่อยากที่จะนำ Google เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยเร็ววันนั้น ปัจจัยหนึ่งคือการที่จะทำให้ เหล่าคู่แข่งสำคัญที่กำลังมองตาเป็นมันอย่าง Microsoft และ Yahoo จะรู้ว่า Google สามารถทำกำไรมหาศาลได้อย่างไร
ซึ่งทันทีที่ข้อมูลต่าง ๆ ถูกเปิดเผยออกสู่สาธารณะตามกฏของตลาดหลักทรัพย์แล้วนั้น แน่นอนว่าการแข่งขันที่ Google ผูกขาดมาเป็นช่วงเวลาหนึ่งแล้วนั้นจะเจอการแข่งขันที่รุนแรงทันที
แม้มันจะส่งผลให้เหล่าพนักงานรุ่นก่อตั้งที่ได้รับหุ้นไป รวยกลายเป็นเศรษฐีทันที แต่ ผลเสียมันก็อาจจะก่อตัวขึ้น เนื่องจาก ทุกอย่างมันจะกลายเป็นเรื่องสาธารณะทันที แม้กระทั่งชีวิตของผู้ก่อตั้ง ก็ดูจะมีแววว่าจะวุ่นวายพอควร เมื่อทุกคนจะโฟกัสมาที่พวกเขา เมื่อรู้ว่าพวกเขาจกำลังจะกลายเป็นมหาเศรษฐี
และสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างคือ ทั้งคู่ไม่ได้ต้องการเงินหลายพันล้านที่จะเข้ากระเป๋ามาเมื่อบริษัทเข้าตลาดหุ้น เพราะทั้งสองนั้นชอบใช้ชีวิต ปลีกวิเวก แบบสมถะ เรียบง่าย ไม่ได้สนใจเรื่องการที่จะกลายเป็นมหาเศรษฐีเลยแต่อย่างใด พวกเขาแค่ต้องการเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นเพียงเท่านั้น และทำสำเร็จแล้วด้วย Google
สองผู้ก่อตั้งมีเป้าหมายต้องการเปลียนโลกให้ดีขึ้น
และพวกเขาก็ยังต้องการเปลี่ยนแปลงในการเสนอขายต่อตลาดหุ้นด้วยการปฏิเสธธรรมเนียมแบบเดิม ๆ ของ วอลล์สตรีท ที่มักมีบริษัทลงทุนเป็นคนจัดการแล้วกระจายให้ผู้มีสิทธิพิเศษก่อน โดยจะกดราคาหุ้น IPO ให้ต่ำไว้ก่อน แล้วหันมาทำการกระจายหุ้นด้วยความเสมอภาค ผ่านคอมพิวเตอร์ Algorithm ที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง คล้าย ๆ กับการประมูลโฆษณาของ Google
และมันก้ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นในวงการตลาดหุ้น เมื่อผู้ใช้ Google นับล้าน ๆ คน รายเล็กรายน้อย ต่างมีโอกาสที่จะได้เข้าถึงหุ้น Google ในวัน IPO มันเป็นวิธีการที่ บริน และเพจ ทำให้หุ้น Google เข้าถึงคนธรรมดาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
บริน และ เพจ ต้องการแหกธรรมเนียมวอลล์สตรีท เพื่อแจกจ่ายหุ้นให้คนทั่วไปมากที่สุด
และที่สำคัญ ทั้งสองผู้ก่อตั้งยังต้อการแก้เผ็ดวอลล์สตรีทด้วยการ จ่ายค่าตอบแทบให้ต่ำกว่าครึ่ง ของอัตราที่จ่ายกันปรกติ และไม่สนใจ โบรกเกอร์ใดที่ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของการแจกจ่ายหุ้นที่สร้างข่าวอื้อฉาวมานานในวอลล์สตรีท
เนื่องจาก Google นั้นเป็นบริษัทเทคโนโลยีล้วน ๆ ที่ต่างจากคู่แข่งอย่าง Yahoo ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมของบริษัทสื่อแบบเก่า ผู้บริหารได้แบ่งหุ้นออกเป็นสองประเภท ได้แก่ หุ้นประเภท ก. เป็นหุ้นที่ขายให้นักลงทุนทั่วไปและมีสิทธิ์หุ้นละหนึ่งเสียง และประเภท ข. หุ้นที่เป็นทุนของพวกเขาเอง มีสิทธิ์หุ้นละสิบเสียง และให้อำนาจในการควบคุมบริษัทโดยตรงแก่พวกเขา
ซึ่งการสร้างโครงสร้างสองระดับเช่นนี้ จะถูกคุกคามจากควบรวมกิจการได้ยาก หากไม่ได้รับการยินยอมโดยเหล่าผู้ก่อตั้ง เป็นการควบคุมอำนาจในบริษัทแบบเบ็ดเสร็จ จะไม่มีการแทรกแซงจากภายนอก ทั้งสองผู้ก่อตั้งยังคงควบคุม Google ได้แบบเบ็ดเสร็จ โดยที่สามารถทำเงินเป็นพันล้านเหรียญได้จากการเข้าตลาดหุ้น และ เป็นเป็นแบบอย่างให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ยุคหลัง ทำตามกันมา
ดังคำขวัญประจำใจของ Google ที่ทั้งสองผู้ก่อตั้งกำหนดไว้คือ “Don’t be Evil” ซึ่งมันเป้นคำประกาศที่เป็นการ ยิงตรงเข้าใส่คู่แข่งศัตรูในขณะนั้นอย่าง Microsoft และ Yahoo เป็นการกล่าวหา Yahoo คู่แข่งอันดับสองในตลาดเดียวกันว่า “ชั่วร้าย” ที่ยอมรับเงินจากเว๊บไซต์ต่าง ๆ เพื่อจะได้มีโอกาสมากขึ้นในการไปปรากฏบนหน้รายงานผลการค้นหา ทั้งบริน และ เพจ มองว่าผลการค้นหาของ Google นั้นเป็นผลการค้นหาที่เท่าเทียมและบริสุทธิใจ แต่ของ Yahoo เต็มไปด้วยมลทิน
Don’t Be Evil คำขวัญประจำใจของ Google
แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมองเหมือนกับสองเหล่าผู้ก่อตั้ง ผู้คนจำนวนมากก็ตั้งคำถามกับ Google เช่นเดียวกัน ความดีความชั่วที่ Google พูดถึงนั้นดูเหมือนจะเป็นการกล่าวยกยอตัวเองแทบจะทั้งสิ้น เพราะหาเงินจากโฆษณาเหมือนกัน
และเมื่อรายงานทางการเงินของ Google ได้ถูกเปิดเผยเมื่อเข้าสู่กระบวนการทำ IPO แล้วนั้น ทำให้เหล่าคู่แข่ง รวมถึงนักวิเคราะห์ต่างตกตะลึง กับกำไรที่เกิดขึ้น เพียงแค่ครึ่งปีแรกของปี 2004 บริษัทมีรายได้กว่า 1.4 พันล้านเหรียญ มีกำไรถึง 143 ล้านเหรียญ มันเป็นการเติบโตที่รวดเร็วมาก และไม่มีวี่แววว่าจะหยุดการเติบโตเลยด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ
บรินและเพจ มีแนวคิดที่จะหนีออกจากเรื่องการเงินเดิม ๆ พวกเขาไม่ได้ต้องการเงินมากมาย ในคำบรรยายเกี่ยวกับเป้าหมายของ Google นั้น สองผู้ประกอบการกล่าวว่า
“ตนหวังว่าความมั่งคั่งและความเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมันจะสามารถถูกนำไปใช้แก้ปัญหาใหญ่ ๆ ของโลกได้ เรามุ่งมั่นปราถนาที่จะทำให้ Google กลายเป็นบริษัทที่สร้างโลกที่น่าอยู่มากขึ้น เราอยู่ในกระบวนการก่อตั้งมูลนิธิ Google และตั้งใจอุทิศทรัพยากรก้อนใหญ่ให้แก่มูลนิธิรวทั้งเวลาของพนักงานและหุ้นกับกำไร 1% เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สักวันหนึ่ง สถานบันแห่งนี้จะบดบัง Google เองในแง่ของการส่งผลกระทบต่อโลกโดยรวม”
ถือได้ว่าการเข้าสู่ตลาดหุ้นของ Google นั้น มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าเรื่องเงิน แต่ในรายงานผลประกอบการนั้นก็สวนทางเพราะรายได้มีแต่เติบโตขึ้น และเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว เหล่าคู่แข่ง อย่าง Microsoft และ Yahoo ต่างมองตาปริบ ๆกับผลประกอบการของ Google แล้วเหล่าคู่แข่งจะจัดการอย่างไร จะแย่งส่วนแบ่งเค้กมโหฬารก้อนนี้มาได้หรือไม่ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไป​
อ่านตอนที่ 10 : Space Race
Credit แหล่งข้อมูลบทความ
หนังสือ The Google Story by David A.Vise , Mark Malseed
หนังสือ เรื่องราวของกูเกิล
ผู้เขียน Dvid A.Vise , Mark Malseed
ผู้แปล วิภาดา กิตติโกวิท
หนังสือ คิดอย่างผู้นำ ทำอย่าง Google
ผู้เขียน Eric Schmidt (เอริก ชมิดท์),Jonatha Rosenberg (โจนาธาน โรเซนเบิร์ก),Alan Eagle (อแลน อีเกิล)
ผู้แปล ณงลักษณ์ จารุวัฒน์,นุชนาฎ เนตรประเสริฐศรี,อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา