25 เม.ย. 2019 เวลา 10:57 • ปรัชญา
พี่ตูนคิดอย่างไรกับ 2215 กิโลเมตร ?
ตูน อาทิวราห์ คงมาลัย หรือที่เรารู้กันในชื่อ ตูน Bodyslam
เขาไม่ใช่นักวิ่งมืออาชีพมาก่อน แต่ด้วยใจที่รักการวิ่ง
จึงทำให้เกิดการวิ่งก้าวแรก 400 กม. เพื่อรับบริจาคให้
โรงพยาบาลบางสะพาน และก็เกิดอีก 1 โปรเจค ก็คือ
วิ่งจากใต้สุดของประเทศ คือ เบตง จ.ยะลา
ไปจนถึงเหนือสุดของประเทศ คือ แม่สาย จ.เชียงราย
ระยะทาง 2215 กิโลเมตร ในระยะเวลา 55 วัน
ต่อให้เป็นนักวิ่งอาชีพก็เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก
ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ
Homo Finisher ของพี่เอ๋ นิ้วกลม
เป็นตอนที่พี่เอ๋ได้มีโอกาสไปวิ่งกับพี่ตูนที่จังหวัดชุมพร
และได้คุยกันไประหว่างวิ่งและทำให้เข้าใจ
ความคิดและจิตใจของผู้ชายที่ขื่อว่า “ตูน”
พี่เอ๋ : ตูนเคยมีภาพบ้างไหมว่าจะไปไม่ถึงแม่สาย ?
พี่ตูน : ไม่มีเลยครับ (พี่ตูนตอบนิ่งๆ)
พี่เอ๋ : แปลว่า คิดว่ายังไงก็จบ
พี่ตูน : ใช่ครับ (ยังคงหน้านิ่งและก้าวต่อไปเรื่อยๆ)
ผมไม่กล้าคิดว่าจะไม่จบ ผมไม่มีความคิดนั้นในหัวเลย
พี่เอ๋ : แล้วกำหนดการ 55 วัน มาจากไหนหรอครับ ?
พี่ตูน : มาจากการคำนวณว่าผมน่าจะวิ่งไหว
วันละ 40-50 กม.
พี่เอ๋ : แล้วมันต้อง 55 วันเลยไหมครับ นานกว่านี้ได้ไหม
พี่ตูน : เราตั้งเป้าหมายไว้แล้ว ผมอยากทำให้ได้
(พี่ตูนที่พึ่งพักไป 1 วันจากอาการบาดเจ็บ หันมายิ้ม)
“ผมอยากท้าทายตัวเองว่าจะทำได้ไหม”
พี่เอ๋ : แต่เราประเมินร่างกายตัวเองตลอดเวลาใช่ไหม
พี่ตูน : ครับ ถ้ายังไหวก็วิ่งเรื่อยๆ
พี่เอ๋ : ตูนหยุดไป 1 วัน เวลาจะยืดออกไป 1 วันใช่ไหมครับ
พี่ตูน : เปล่าครับ เราจะเอาระยะทางที่ขาดไปมาเฉลี่ย
แล้ววิ่งให้จบ 55 วันเหมือนเดิมครับ
พี่ตูนยังพูดต่อ “เราประกาศไปแล้ว เราก็อยากทำให้ได้ครับ”
พี่ตูนยิ้มอีกครั้ง แล้วก็วิ่งต่อ
ผมอ่านแล้วรู่สึกว่า
ความคิดของพี่ตูนเป็นต้นแบบที่ดีมาก
“ไม่กล้าคิดว่าจะไม่จบ” เป็นความคิดที่สำคัญที่ทำให้
เขาล้มเหลวหรือสำเร็จได้เลย
ถ้าพี่ตูนยอมอ่อนข้อต่อตัวเอง แค่มีความคิดที่ว่า
“ช้าไปหน่อย หรือ ไม่จบก็ไม่เป็นไร”
แม้แต่นิดเดียวเข้ามาในหัว ในวันที่เขาเจ็บ
อาจทำให้ “ภาพใหญ่” ของการวิ่ง 2215 กม. พังลงก็ได้
ในหนังสือยังบอกต่ออีกว่า
“Mission Impossible” ภารกิจที่ไม่น่าเป็นไปได้
คือสิ่งที่ทำให้หัวใจของนักฝัน ขยายใหญ่จนทำอะไรเกิน
ขีดจำกัดของมนุษย์ได้
หลายครั้งเราจะพบว่าคนส่วนมากมีความกระตือรือร้น
กับความฝันตัวเอง แต่ไม่นานก็หายไป
ในวันที่มันไม่ได้ดั่งใจหรือเจ็บปวดจากการฝัน
มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถรักษามันไว้ได้ต่อเนื่อง
“ความกระตือรือร้นอย่างต่อเนื่อง” เท่านั้นที่มีคุณค่า
ที่ทำให้ฝันเป็นจริงได้ ยังมุ่งมั่นแม้ในวันที่เจ็บปวด
เจออุปสรรคก็ก้าวข้ามมันมาได้ และสิ่งนี้แหละ
ที่แยก “นักฝันมืออาชีพ” ออกจาก “นักฝันมือสมัครเล่น”
- นิ้วกลม -
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ 🙏🏻
ถ้าชอบบทความแบบนี้
ฝากกด Like กด Share และกดติดตาม
เพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ
และหากมีข้อติชมอะไร
คอมเมนท์ไว้ที่ด้านล่างได้เลยนะครับ ^^
หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์และนำมันไปปรับใช้
แล้วชีวิตของคุณในวันพรุ่งนี้จะดีขึ้นกว่าวันนี้แน่นอนครับ
โฆษณา