25 เม.ย. 2019 เวลา 14:36 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เรื่องของ รีโมท TV ที่คุณไม่รู้
“ช้างคู่กับซีดี ฉันใด รีโมท ก็คู่กับ ทีวี ฉันนั้น”
ยังคงใช้ได้อยู่ แม้โลกเราจะมี Smart TV จอ 4K 8K แล้วก็ตาม
คุณเคยสงสัยกันไหมครับว่า เวลาเรากดปุ่มบน รีโมทแล้วเนี่ย ที่จอทีวีมัน รู้ได้ยังไง ว่าเรากดปุ่มไหน
💡เกร็ดความรู้ :
รีโมท ไร้สาย ตัวแรกของโลก เป็นของบริษัท Zenith ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 64 ปีก่อน (ค.ศ. 1955) มีชื่อว่า “Flashmatic” โดยวิศวกรชาวอเมริกา Eugene Polley สามารถเปิด ปิด และเปลี่ยนช่องได้
typepad.com
ในยุค ค.ศ. 1956 ถึง 1977 รีโมทใช้เทคโนโลยี Ultrasonic
จนถึงประมาณปี 1980 เป็นต้นมา รีโมท จึงมีการพัฒนามาใช้ เทคโนโลยี Infrared (IR) ในการส่งสัญญาณแทน
Infrared มาจากคำว่า infra- แปลว่า ใต้ รวมกับ red ที่แปลว่าแดง เป็น “รังสีใต้แดง” หรือ “รังสีความร้อน”
wikipedia
รังสีนี้เป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชนิดหนึ่ง ที่ตาของเรา ไม่สามารถมองเห็นได้
หากอยากจะเห็น Infrared จากรีโมท สามารถลองได้ด้วยการใช้มือถือ ที่คุณอ่าน Blockdit อยู่นี้
เปิดไปที่แอพ กล้องถ่ายรูป แล้วลองเอา รีโมทมา หันหน้าใส่กล้องแล้วกดปุ่มดูครับ
Sony.co.th
เมื่อเรากดปุ่ม บนรีโมท
จะเกิดการกำหนด “ชุดรหัสฐาน 16” ซึ่งเก็บอยู่ในรูป “ชุดรหัสฐาน 2” ที่มีแต่ เลข 0 และ เลข 1 เหมือนที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์
jebbush.co
ชุดรหัสจะถูกนำไปสร้างสัญญาณ infrared โดยหากเป็นเลข 1 จะให้เปิดสวิทช์ ส่งคลื่นออกไป และเลข 0 ให้ปิดสวิทช์ไม่ต้องส่งคลื่นออกไป
การเปิดและปิดสวิทช์นี้จะทำอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปอยู่ที่ความถี่ 38Khz หรือประมาณ 26 microsecond (0.000026 วินาที) เท่านั้น
ในแต่ละปุ่มบนรีโมท จะมีชุดรหัสฐาน 2 ที่ต่างกันออกไป ถ้าชุดรหัสเดียวกัน ก็คือปุ่มเดียวกันนั่งเอง
irdb
ซึ่งแน่นอนว่า ต่างยี่ห้อกันถึงแม้จะเป็นปุ่มเดียวกันจาก 2 รีโมท เช่น “ปุ่มเลข 1” การเข้า ชุดรหัสฐาน 2 จะต่างกันออกไป ตามมาตรฐาน Protocol ที่แต่ละเจ้าเลือกใช้งาน
นั่นเป็นสาเหตุที่ว่า รีโมท เหมือนกัน คนละยี่ห้อ ถึงใช้ด้วยกันไม่ได้ นั่นเอง
บนทีวีจะมี ตัวรับสัญญาณ Infrared อยู่ ก็จะแปลง และถอดรหัส สัญญาณนี้ ส่งเข้าชิพประมวลผล เพื่อทำงาน ตามชุดคำสั่งที่ได้รับ จากรีโมท นั่นเอง
ภาพด้านล่างเป็นภาพสัญญาณทางไฟฟ้า ที่เกิดจากการจับดูสัญญาณที่ส่งออกมาจากรีโมท จากตัวรับ Infrared จำลองว่าอยู่ฝั่ง ทีวีครับ
EEVblog
TechGuy รายงาน
หากชอบ กดไลค์ กดติดตาม TechGuy
เพื่อรับข่าวสารและเทคโนโลยี
ส่งตรงถึงมือคุณทุกวันนะครับ
โฆษณา