29 เม.ย. 2019 เวลา 05:39 • การศึกษา
"วัคซีน" คืออะไร เเล้วทำไมเราถึงต้องฉีด...?
ผมเชื่อว่าหลายๆคนก็คงสงสัยเหมือนผมว่า ไอ้เจ้าวัคซีนที่เราโดนบังคับให้ฉีด ตั้งเเต่เด็กเนี่ยมันคืออะไร เป็นยารักษาโรคหรือ...? ถ้าอยากทราบข้อมูลเบื้องต้นเเล้วละก็...
1
ก่อนอื่นเลยครับ เราต้องรู้ก่อนว่าในร่างกายเรา
เนี่ยมันมีระบบภูมิคุ้มกัน ที่คอยตรวจจับเเละทำลายสิ่งเเปลกปลอม ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ซึ่งเเน่นอนว่าการจะทำลายได้นั้นมันต้องรู้จักเชื้อโรคที่ว่านี้ก่อน...
เช่น ในกองทัพผู้บังคับบัญชาบอกว่า ให้ไปฆ่าผู้ร้าย...!? เเต่ไม่ได้บอกว่าเป็นใคร ก็ไม่สามารถฆ่าได้ถูก เเต่หากบอกว่า ไปฆ่าผู้ร้ายที่ใส่หมวกสีเเดง เสื้อเขียว กางเกงน้ำเงิน ยืนถืออมยิ้มลายสายรุ้งตรงหน้า มันก็ง่ายเเละชัดเจนในการจัดการ
ซึ่งร่างกายเรามีระบบที่ว่านั้นอยู่ คือเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่จดจำเชื้อโรค เเละผลิตสารที่สามารถยับยั้งได้ตรงจุด
เเต่หากเชื้ิอโรคนั้นเป็นเชื้อโรคหน้าใหม่ที่ไม่รู้จักมาก่อน เเละมีความอันตรายสูงอีกล่ะ...? ร่างกายเราอาจรับมือด้วยไม่ทัน จนทรุดหนักเลยก็ได้
🚩เข้าเรื่องเลยดีกว่า
วัคซีน(vaccine) คือ เชื้อโรคที่เป็นอันตราย เเต่ถูกทำให้ตายหรืออ่อนกำลังลง เเต่ยังมีเเอนติเจน หรือยังมีความเป็นเชื้อนั้นอยู่ พูดง่ายๆคือ เหมือนเอาศพเชื้อโรคส่งให้เม็ดเลือดขาวชันสูตรนั่นเอง
หลังจากได้รับวัคซีด โดยวิธีใดวิธีหนึ่งเข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดขาวจะจดจำ วิเคราะห์ เเละผลิต สารที่เรียก เเอนติบอดี้ (Antibody)หรืออีกชื่อคือภูมิคุ้มกันนั่นเอง คงเดาต่อได้สินะครับว่าผลจะเป็นอย่างไรต่อ...?
ถ้าหากมีเชื้อโรคชนิดนั้น เข้าสู่ร่างกายโดยยังเป็นๆอยู่ ร่างกายที่เตรียมพร้อมอยู่เเล้วก็จะทำลายอย่างง่ายดายนั่นเอง นี่จึงเป็นสาเหตุที่เราควรฉีดวัคซีน ก่อนเกิดโรคจริง...
⏩เเล้ววัคซีน มีประเภทอะไรบ้าง
วัคซีนมี 3ประเภทคือ
1. วัคซีน จากเชื้อที่ตายเเล้ว (Killed vaccine)
เช่น วัคซีน-ตับอักเสบเอ,บี -ไมเกรน-ไข้หวดใหญ่
-ไข้สมองอักเสบเจอี
2. วัคซีนจาก จากเชื้อที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ( live artenuated vaccine)
เช่น วัคซีน -โปลิโอ -โรคหัด -วัณโรค -อีสุกอีไส
3. วัคซีน จากพิษ หรือเรียก ท็อคซอยด์(toxoid)
เช่น วัคซีน -บาดทะยัก- โรคคอตีบ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ บทความนี้ได้เเรงบันดาลใจจากการเรียนชีวะในห้องเรียนครับ เเต่ต้องบอกว่าเรื่องนี้สำคัญทีเดียว เพราะทุกคนต้องได้รับการฉีดวัคซีน หากรู้ที่มาที่ไปเเละความสำคัญของมันจะช่วยให้เรารู้ถึงคุณค่า ของเรื่องที่เราคิดว่าเล็กๆน้อยๆเเบบนี้ครับ เเล้วเจอกันใหม่บทความหน้านะครับ.......เเอดมิน
โฆษณา