29 เม.ย. 2019 เวลา 10:29 • ธุรกิจ
== Start up Vietnam by Andrew P. Rowan ==
ตั้งใจหาหนังสือเกี่ยวกับเวียดนามสมัยใหม่ เพราะทำงานเกี่ยวกับเวียดนามเยอะอยู่เหมือนกัน เลยอยากเข้าใจมากขึ้น ก้อไปเจอเล่มนี้ ลองโหลดตัวอย่าง kindle มาส่องแล้ว ก้อเออๆ เหมือนจะโอเค ลองเอาเล่มเต็มมาอ่านหน่อยสิ (เค้ามักจะมีแต่หนังสือเรื่องสงครามเวียดนาม แต่เราว่าตอนนี้เวียดนามเปลี่ยนไปแล้ว ควรเขียนอะไรใหม่ๆออกมาบ้างได้แล้ว)
อ่านไปแล้วก้อเหมือนจะมีน้ำๆเยอะอยู่เหมือนกัน แบบเขียนนอกเรื่องบ้าง เเต่ลองสรุปคร่าวๆตามนี้ก่อนค่ะ
เล่มนี้เพิ่งออกมาต้นเดือนเมษา 2019 เกี่ยวกับว่าเวียดนามจะเป็น start up nation ได้อย่างไร มีกฎหมายอะไรที่ทางรัฐบาลพยายามร่างขึ้นมาเพื่อให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในเวียดนามบ้าง
คนเขียน (Andrew) เป็นนักธุรกิจอเมริกันที่เข้าไปทำงานในเวียดนามตั้งแต่ 2013 (ไปพร้อมๆกับคลื่นนักลงทุนต่างชาติยุคนั้น) เขาเป็นผู้ก่อตั้ง GKTA group ที่ร่วมมือกับฟินแลนด์ลงใน start up ของเวียดนาม ด้วยข้อมูลการเติบโตของเวียดนามที่เรารู้อยู่แล้วว่าน่าสนใจ ถึงขนาดที่ Mark Mobius บอกว่าสมมติมีเงินลงทุน 3 ล้านบาท (US$ 100,000) ให้แบ่งเงินลงทุน 3 ส่วน ลงใน commodities 1 ส่วน, ลงในแอฟริกา 1 ส่วน และอีกส่วนที่เหลือให้ลงในเวียดนาม (ความเห็นของมาร์กที่หนังสือเขียนไว้)
หนังสือเล่าว่าคนเวียดนามเป็นพวก result-oriented แต่ไม่มี process-oriented (แม้แต่คนเวียดนามที่ไปจบการศึกษาจากเมืองนอกยังมองว่าพวกเค้าเป็นแบบนั้น) หมายความว่าเน้นที่ผลลัพธ์โดยไม่สนใจวิธีการที่ได้มา ซึ่งมันจะทำให้ไม่ยั่งยืนในการทำธุรกิจ ชาวเวียดนามพร้อมที่จะกระโดดเข้าไปธุรกิจโดยที่ไม่มี business plan รองรับ
FPT เดิมชื่อ Food Processing Technology เป็นบริษัทที่ก่อตั้งในปี 1988 นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจของคนเวียดนาม เพราะอีก 2 ปีต่อมา คือปี 1990 เค้าได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Financing and Promoting Technology ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี, โทรคมนาคม, ค้าปลีก&กระจายสินค้า และการศึกษา ทุกวันนี้ทำกิจการใน 21 ประเทศทั่วโลก ให้บริการแก่ลูกค้าที่ติดใน Fortune 500 อยู่ประมาณ 50 บริษัท
ในปี 2015 ทาง FPT ได้ก่อตั้ง FPT ventures ที่มีเงินทุน US$ 3 ล้านเหรียญสำหรับให้การสนับสนุนกับเหล่า start up (ขั้นต่ำอยู่ที่รายละ US$ 50,000)
แต่การจะทำธุรกิจให้ครอบคลุมเวียดนามทั้งประเทศนั้นไม่ง่าย เพราะความหลากหลายของคนเวียดตั้งแต่เหนือจรดใต้ ยกตัวอย่างเช่น Yamaha Motors เวียดนามนั้น แค่ปล่อยรถมอเตอร์ไซต์ผู้หญิงขับรุ่น Nozza Grande ออกมาขายอยู่รุ่นเดียวในปี 2014 ..ถึงแม้ว่าเค้าจะมาเล่นในตลาดเวียดนามตั้งแต่ปี 1998 เพราะว่ามันใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคของเวียดนาม
หนังสือเล่าเรื่อง Venture Capitals จากต่างประเทศหลายๆแห่งที่เข้าไปลงทุนใน start up เวียดนาม แต่ถึงกระนั้น ก้อยังมีบริษัทของเวียดนามเองที่พยายามจะจับมือกับทุนต่างชาติเหล่านั้นเพื่อลงใน start up เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นในปี 2016 ที่ FPT ลงขันร่วมกับ Dragon Capital, Hanwa Securities และ BIDV ก่อตั้ง VIISA (Vietnam Innovation Startup Accelerator) ขึ้นมา เพื่อที่จะปั้น global startup ที่เป็นสัญชาติเวียดนามให้ได้ ตอนนี้ VIISA มี seed funding ประมาณ US$ 6 ล้านเหรียญ โดยตั้งใจที่จะปั้น 3 batches (10 startups) ในแต่ละปี ซึ่งทาง VIISA มีเครือข่ายที่จะช่วย connect startup เวียดนาม ให้กับพวก startup ที่มีประสบการณ์อยู่แล้วอย่างเช่น Go-Jek เป็นต้น
ในปี 2004 มีบริษัทที่ชื่อ Vinagame (ก่อต่ั้งโดยกลุ่มเพื่อน 5 คน คนนึงเป็นต่างชาติ) มีความตั้งใจที่ว่าจะทำซอฟต์เเวร์เกมที่เป็นของคนเวียดนามขึ้นมา ปัจจุบันบริษัทนี้ rebrand มาเป็น VNG แล้วเเละมีมูลค่าสูงถึง US$ 1 พันล้านเหรียญ จัดเป็นยูนิคอร์นตัวเเรกของเวียดนาม เเละตั้งใจว่าจะเอาบริษัทเข้าจดทะเบียน IPO ในตลาด NASDAG ด้วย (บริษัทนี้ทำโปรแกรมแชท Zalo ที่เป็นของเวียดนามด้วย)
สำหรับในแง่กฎหมาย ทางเวียดนามพยายามจะร่างกฎหมายที่ครอบคลุมเนื้อหา การใช้งานอินเตอร์เนทออกมาให้ครอบคลุม ทันสมัย ซึ่งปัจจุบันยังเป็นร่างกฎหมายอยู่ แต่ว่าบางอย่างมันไม่ทันกับ application ที่เข้ามาในประเทศเวียดนามแล้ว อาจจะทำให้เจ้าของ app ต้องไปแก้ไขตามหลัง อย่างเช่นเคส Facebook ที่จำเป็นต้องยอมทำตามให้สอดคล้องกับกฎหมายท้องถิ่นด้วยการยอมแยก channel สำหรับสื่อสารกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องของเวียดนาม
มีเปเปอร์ของ Worldbank ที่พี่แจ๊ค เคยแนะนำเอาไว้ เกี่ยวกับ Vietnam 2035 เรื่องกรอบการพัฒนาประเทศเวียดนามให้ทันสมัยมากขึ้น ให้ตามไปอ่านเอาเองค่ะ เพราะในหนังสือเขียนไว้ ในปี 2035 จะเป็นปีที่ครบรอบ 90 ปีที่ประเทศเวียดนามประกาศอิสรภาพ , ครบ 60 ปีของการรวมประเทศ และครบรอบ 50 ปีของการประกาศใช้ Đối Mới
ย่อหน้าสุดท้ายก่อนจบ พี่แจ๊คเคยเล่าเรื่อง Timo bank ซึ่งเป็น Digital life style bank แห่งแรกของเวียดนาม มีอยู่ 3 สาขาคือที่โฮจิมินท์, ฮานอย และเป็นติ่งๆอยู่ดานัง จะเป็นตัวอย่างแรกของ localizing global solution คือเค้าพยายามทำแบงก์ที่ถูกต้องตามกฎหมายการเงินของเวียดนาม แต่ไปอาศัยความร่วมมือกับแบงก์อื่นเช่น VP bank ใช้ตู้ ATM ของ VPbank ที่มีอยู่ครอบคลุมทั่วประเทศโดยที่ Timo bank ไม่ต้องลงทุนเอง ถ้าเจอตัวลองไปกดดันให้พี่แจ๊คเล่าให้ฟังก้อได้ค่ะ นางรู้เยอะอยู่
สำหรับเล่มนี้ก้อพอแค่นี้ละกันค่ะ
โฆษณา