3 พ.ค. 2019 เวลา 02:47 • ปรัชญา
ไพโรจน์ ร้อยแก้ว (เจ้าของตลาดนัดรถไฟ)
ทุกๆครั้งที่ผมผ่านถนนศรีนครินทร์ตอนมืดๆ
แรกๆผมสงสัยมากว่า รถติดอะไรขนาดนั้น
คนจะเข้าห้างซีคอน ก็ไม่น่าใช่เพราะมันมืดแล้ว
จนผมมารู้ทีหลังว่ามีตลาดนัด
และผมก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมตลาดนัดนี้
มันถึงมีคนมาเยอะขนาดนี้นะ
จนผมได้ไปดูรายการ Perspective ของพี่เปอร์
จึงทำให้ผมเข้าใจเลยว่าทำไม
ผมเลยอยากเอาที่มาของตลาดที่มีคนเยอะขนาดนี้
มาแบ่งปันเพื่อนๆนะครับ
1
คุณไพโรจน์ ร้อยแก้ว เป็นคนจังหวัดอยุธยา
ที่บ้านมีฐานะค่อนข้างยากจน
เขาต้องเก็บเศษไม้ไปขายในตอนเด็ก
จึงทำให้เขาอยากเป็นพ่อค้าตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา
ตอนเขาอายุ 15 ปีด้วยความที่บริเวณที่เขาอยู่มีของเก่าเยอะ
จึงทำให้มีแนวคิดอยากขายของเก่า
เริ่มจากการขายเสื้อผ้ามือสอง ปรากฎว่าขายดี
ตั้งแต่ตอนนั้นก็ทำให้เขาเริ่มมีเงินจากเสื้อผ้ามือสอง
จึงรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเรียน
ปรากฎว่ามันไม่เป็นอย่างที่เขาคิดเสมอไป
จึงเกิดความลำบากขึ้น จึงรู้สึกว่าคิดผิดที่ไม่ได้ตั้งใจเรียนต่อ
เพราะเสื้อผ้ามือสองมันมีเวลาของมัน มันมาแล้วมันก็ไป
จากนั้นก็ต้องรับจ้างเป็นเด็กยกของในกองถ่าย
แต่ก็ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้
จนกระทั่ง ต้องเอาเครื่องซักผ้าไปจำนำ เพื่ออยู่รอด
วันหนึ่งเขาได้มีโอกาสไปตลาดนัดคลองถม
เห็นว่ามีของทุกอย่างมาขาย เขารู้สึกว่ามันเจ๋งมาก
ด้วยความที่บ้านที่อยุธยาของเขา มีของเก่าเยอะ
จึงเอามาขายบ้างนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ”พ่อค้าของเก่า”
แล้วก็ขายดีมาเรื่อยๆ และได้เปลี่ยนที่การขายไปที่จตุจักร
ทำให้มีลูกค้าต่างชาติจำนวนมากขึ้น และขายดีมากขึ้นเรื่อยๆ
จนขายได้หลักล้านต่อเดือน
จากนั้นก็ไปเปิดร้านที่เอกมัยเพื่อเพิ่มมูลค่าของของเก่า
ทำให้เขาขายได้หลายล้านต่อเดือน แต่ไม่นานเขาก็โดนไล่ที่
และที่เก่าที่เคยขายอยู่จตุจักรก็ถูกเวรคืน
ด้วยความที่เขาไม่เคยยอมแพ้
เขาได้เห็นโกดังการรถไฟเก่าอยู่ข้างหลังจตุจักรอยู่หลังหนึ่ง
จึงได้ขอการรถไฟเช่าต่อ สภาพฝุ่นหนามากทั้งโกดัง
การรถไฟก็ถามว่าจะเช่าไป จะไปทำอะไรได้
แต่เขาก็ยืนยันที่จะเช่า
จากนั้นเขาก็ขายของเก่าต่อ และเขาก็ยังคงขายได้ดี
เพราะมีลูกค่าเก่าตามมาจากหลายๆที่
เริ่มมีคนเห็น ก็มีคนมาขอแบ่งพื้นที่เช่าบ้าง เขาจึงรู้สึกเหมือนมี
คนมาช่วยจ่ายค่าเช่ากับการรถไฟให้ เขาจึงแบ่งให้เช่า
แต่ร้านที่มาเช่ากลับขายไม่ดีเหมือนเขา
ถ้าคนที่มาเช่าอยู่ไม่ได้ เขาก็ต้องจ่ายค่าเช่าคนเดียวเต็มๆ
เขาเลยคิดว่าจะทำยังไงดีให้คนเช่ากับเขาอยู่ได้
จึงไปขอเช่าพื้นที่หน้าโกดังอีก เพื่อเปิดเป็นตลาด
ดึงดูดคนเข้ามาให้มากขึ้น และทำให้คนที่เช่าอยู่ได้
และจากนั้นก็เริ่มมีรายการทีวีไปทำรายการ
และก็ดังขึ้นเรื่อยๆ จนประสบความสำเร็จในเวลา 6 เดือน
จากนั้นโชคร้ายก็มาเยือน
การรถไฟขอที่คืนไปสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง
ทำให้เขามีความคิดว่า พอแล้วดีไหม
กลับไปขายของเก่าเฉยๆก็ได้ ไม่ต้องทำตลาดแล้ว
เพราะเขาก็มีเงินเยอะมากแล้ว
แต่ด้วยความที่สนิทกับพ่อค้าในตลาดหลายๆคน
พวกเขาก็มาคุยด้วยว่า พวกเขายังมีภาระเยอะอยู่เลย
จะทำยังไงต่อดี
ทำให้คุณไพโรจน์ทิ้งพวกพ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้
จึงได้คุยกันว่า พอดีเขารู้จักอีกที่หนึ่งที่เขาให้เช่า
แต่อยู่ที่ศรีนครินทร์นะ จะไปต่อด้วยกันไหม
พอมีพ่อค้าส่วนหนึ่งตามไปด้วย
เขาจึงตัดสินใจเนรมิตพื่นที่ว่างเปล่าให้เป็นเหมือนโกดังรถไฟ
เพื่อให้ได้กลิ่นอายเก่าๆ เหมือนจตุจักร
และเขาก็ได้ทำให้ตลาดนี้มีชีวิตชีวามากๆอีกครั้ง
จึงเกิดเป็นตลาดนัดรถไฟศรีนครินทร์ อย่างทุกวันนี้
สุดท้ายเขายังบอกถึงหลักการ
ที่ทำให้ตลาดเขายังคงมีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ว่า
“ต้องซื่อสัตย์กับคนที่มาเช่า
เคยให้สัญญาอะไรไว้กับคนเช่า ต้องทำให้ได้
เพราะ ถ้าคนขายอยู่ไม่ได้ เราก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน”
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ 🙏🏻
ถ้าชอบบทความแบบนี้
ฝากกด Like กด Share และกดติดตาม
เพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ
และหากมีข้อติชมอะไร
คอมเมนท์ไว้ที่ด้านล่างได้เลยนะครับ ^^
หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์และนำมันไปปรับใช้
แล้วชีวิตของคุณในวันพรุ่งนี้จะดีขึ้นกว่าวันนี้แน่นอนครับ
โฆษณา