30 เม.ย. 2019 เวลา 15:24 • สุขภาพ
ADR ผื่นแพ้ยา
ผื่นแพ้ยา ตอนที่ 1
1.Maculopapular rash:
ลักษณะ เป็นผื่นแดง คัน, มีไข้, เมื่ออาการทุเลาะจะมีสีคล้ำๆ เป็นขุย หายแล้ว ไม่เป็นแผลเป็น
เกิดจากยาAmpicillin, Amoxicillin และAllopurinol เป็นต้น
2.ผื่นลมพิษ
ลักษณะผื่นจะมีขอบสีแดงตรงกลางขาว คันมาก
สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก อาหารที่กิน อากาศ ยาบางชนิด เป็นต้น
3.angioedema
ลักษณะจะมีการบวมที่เนื้อเยื่ออ่อน เช่น ปาก เปลือกตา เป็นต้น
สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก อาหารที่กิน อากาศ ยาบางชนิด เป็นต้น
4. Fixed Drug Eruption
ลักษณะ ช่วงเเรกเป็นตุ่มน้ำ ปวดแสบร้อน หลังจากนั้น
แผลจะแตก แล้วสีคล้ำขึ้น
มักเกิดจากยา ยาฆ่าเชื้อ เช่น trimethorprim
sulfamethoxazole, ยาในกลุ่ม NSAIDs, Pseudoephedrine, กลุ่มยากันชัก
5.Eczematous drug Eruption
ลักษณะผื่นจะคล้ายกับ MP rash คือแดงคัน แต่จะมีเปื้อนที่หนากว่า MP rash
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากยา ampicillin, amoxicillin เป็นต้น
6.Exfoliative Dermatitis (ED)
ลักษณะผื่นจะเป็นแผลอักเสบก่อนจากนั้นจะแห่งจนเป็นขุย โดยขุยสามารถปลิวไปตามลมได้
สาเหตุมากจากยา เช่น allopurinol, lithium เป็นต้น
7. Phototoxicity
ลักษณะ เป็นผื่นขึ้นจากการโดนแสงแดด จะมีลักษะสีแดงบริเวณนั้น
เกิดจากยาในกลุ่มNSAIDs,ยาลดความดัน(amiodarone), ยาฆ่าเชื้อ เช่น tetracyclines, quinolones เป็นต้น
8.Vasculitis
ลักษณะการแพ้ จะเป็นแบบมีจุดคล้ายจ้ำเลือด ส่วนใหญ่ขึ้นตามขาและสะโพก
สาเหตุมาจากยา hydralazine, minocycline และpropylthiouracil เป็นต้น
9.Acneiform drug reaction
ลักษณะทั่วไปจะเป็นสิวที่มีหนอง อักเสบ บางที่จะสีดำ
สาเหตุมาจากยาที่มีส่วนผสมของ สเตียรอยด์
ผื่นแพ้ยา ตอนที่ 2
10.Bullous drug eruption
ลักษณะจะเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นผิวหนังตามตัวและบริเวณเยื่ออ่อนที่ปาก
สาเหตุมาจากยา penicillins, cephalosporins, captopril เป็นต้น
11.Erythema Multiforme (EM)
ลักษณะจะเป็นแบบเป้าธนู บริเวณนอกสุดของตุ่มจะมีสีแดงถัดเข้ามาจะมาสีอ่อนลงขาวๆถัดมาชั้นในสุดจะมีสีแดงผสมดำ โดยจะสามารถหายได้เองหากหยุดยา
สาเหตุมาจากยาประมาณ 10% เช่น ยา Sulfonamides, phenytoin, barbiturates, phenylbutazone,
Penicillins และallopurinol เป็นต้น
12. SJS/TEN
sjsและten มีลักษณะอาการเหมือนกัน แต่แตกต่างตรงความรุนแรง โดยดูจากพื้นที่ผิวที่มีผื่น
📍 ถ้าน้อยกว่า 10%
สำหรับsjs
📍ถ้ามากกว่า 30%
สำหรับ ten
สาเหตุจากยา เช่น Allopurinol, phenytoin, carbamazepine เป็นต้น
13.Drug Reaction with Eosiophilia and
Systemic Syndrome (DRESS)
ลักษณะผื่นจะเป็นผื่นแดงกระจายไปทั่วตัว มีไข้ แาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับยีนส์แพ้ยาได้ และมีการติดเชื้อของอวัยวะภายในร่วมด้วย เช่น acute interstitial nephritis ของไต เป็นต้น
สาเหตุมาจาก“phenytoin hypersensitivity syndrome, drug hypersensitivity syndrome, drug-induced hypersensitivity syndrome (DIHS) เป็นต้น
14.Acute Generalized Exanthematous Pustulosis (AGEP)
ลักษณะผื่นจะเป็นผื่นที่มีหนองแต่ไม่มีการติดเชื้อร่วมกับการมีไข้
สาเหตุมาจากยา aminopenicillins,
pristinamycin และhydroxychloroquineเป็นต้น
#ADR
#แพ้ยา
ผื่นแพ้ยาที่พบบ่อย
เตรียมตัวนำเสนอเรื่องแพ้ยา
ฝึกงานร้านยาแต่ละแห่งจะได้ประสบการณ์​ต่างกัน
ความรู้ที่ได้จาก​ BETTER.​PHARMACY​ จะเน้นเรื่องที่เรียนมา​ แล้วเอามาใช้จริง​ ส่วนเรื่องอื่นๆที่ได้เป็นเรื่องของแต่ละคนที่ต้องแสวงหาด้วยตัวเอง
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2016142888494810&id=325980554177727
จัดทำโดย
นสภ. ศรัณย์ กิริยา
นสภ. สุพิชญา สมเพ็ชร
นิสิตฝึกงานคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
"เภสัชคะ consult แพ้ยาค่ะ" ถ้าคุณเป็นเภสัชกรเวรนั้น
ประโยคนี้จะทำให้ตาสว่างยิ่งกว่ากินกาแฟไปอีก 555+ สำคัญคือ
1.ตั้งสติ 😂
2.ดูว่าผู้ป่วยได้รับยาอะไรอยู่บ้าง ? และดูประวัติการเคยได้รับยาครั้งก่อนๆด้วย เคยได้ ไม่เคยได้
3.เริ่มซักประวัติ ดูการได้ยาครั้งสุดท้าย อาการเกิดขึ้นตอนไหน เมื่อไหร่ ผื่นแบบไหน ผื่นกระจาย หรือย้ายตำแหน่งหรือไม่ "เขียนเป็น timeline ให้ละเอียดมากที่สุด
4.ดูหลักฐานทางการแพทย์ประกอบ /ผลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจเลือด(ถ้ามี)ประกอบ
5.อย่าลืมถามประวัติการแพ้อาหาร อาหารมื้อสุดท้ายที่กิน ประวัติการแพ้สารเคมี ประวัติการแพ้อากาศ ประวัติการแพ้เครื่องสำอางค์
6.ค่อยๆตัดยาที่น่าจะมีโอกาสแพ้น้อยที่สุดออก --> ทำ Naranjo score
7. เขียนแนะนำแพทย์ /เขียนลงบันทึกใน ชาร์ตเอาไว้ หรือหากสรุปยังไม่ได้ ให้บันทึกเพื่อติดตามผู้ป่วยต่อ หรือคำแนะนำในการให้ยาแก้แพ้ คำแนะนำการบริหารยา เช่นกรณียานั้น อาจทำให้เกิดผื่นได้ถ้าให้ยาในอัตราเร็วเกินไป เช่น Ceftriaxone เป็นต้น
8.หากสรุปได้ ออกบัตรแพ้ยา ลงประวัติ ให้ข้อมูลผู้ป่วย พยายามถามทวนซ้ำการปฏิบัติตัว การพกบัตรแพ้ยา
9.ถ้าไม่เขียนชื่อยาบนซองยามา จะต้องใช้เวลาพิสูจน์เอกลักษณ์ยาไปอีกกกกกกกกกกกก เขียนเถอะะะะะะะะ
10.ถ้ายังไม่ได้หยุดยา บางทีต้องติดตามต่อไปอีก สรุปไม่ได้ อย่าเพิ่งวีนเภจ้า 😭😭😭
#นี่เป็นเพียงประสบการณ์ในการประเมินการแพ้ยาที่แอดอยากแบ่งปันค่ะ
หากท่านใด มีข้อเสนอแนะ หรือเทคนิคดีๆ เชิญแบ่งปันได้เลยค่ะ ❤❤❤
#เวรหนูไม่รู้เป็นอะไร
ที่มา
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
190820
UPDATED 2022.11.25
บทความอื่นๆ
🚨แพ้ยาเพนนิซิลลิน​
😪แพ้ยาแก้แพ้
ผื่นแพ้ยารุนแรงป้องกันได้
SJS/TEN
การแพ้ยาข้ามกัน
คู่ยาที่ห้ามใช้ร่วมกัน (Fatal drug interaction)
💥
ไปร้านยาถามหาเภสัชกร
จรรยาบรรณ
โฆษณา