4 พ.ค. 2019 เวลา 13:18 • การศึกษา
มนุษย์ใช้เวลากว่า 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอน
โดยเฉลี่ยแล้วเราทุกคนใช้เวลากว่าเศษหนึ่งส่วนสามไปกับการนอน ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ถ้าคุณมี
ชีวิตยืนยาวจนถึง 70 ปี คุณจะใช้เวลาไปกับการ
นอนทั้งสิ้น 8,517 วัน หรือเท่ากับ 204,408 ชั่วโมง
การนอนมีความสำคัญมากตรงที่มันเป็นช่วงเวลา
แห่งการบันทึกข้อมูล ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพก็คือ
สิ่งที่เราได้เผชิญ ได้เรียนรู้ และได้จดจำในแต่ละ
วันนั้นเป็นเหมือนน้ำที่หมุนวนอยู่ในแก้ว
ส่วนการนอนคือช่วงเวลาอันนิ่งสงบที่เปิดโอกาสให้สิ่งเหล่านั้นได้มีโอกาสตกตะกอนลงก้นแก้ว
และตกผลึกในที่สุด
สมองของเราฉายภาพชีวิตและความคิดในแต่ละวัน(ทั้งในจิตใต้สำนึกและจิตสำนึก) ซ้ำให้เราดูอีก
ครั้งในยามที่เราหลับ เพื่อช่วยจัดระเบียบสิ่งที่เกิด
ขึ้นให้เข้าที่เข้าทางและช่วยให้เราจดจำเรื่องราว
ต่างๆ (ทั้งดีและร้าย) ให้ยาวนานยิ่งขึ้น
อธิบายอีกอย่างได้ว่า การนอนคือการนำความทรงจำและประสบการ์ณระยะสั้น ถ่ายโอนข้อมูลไปสู่ความทรงจำและประสบการ์ณระยะยาวนั่นเอง
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคนที่อดหลับอดนอนบ่อยเพื่ออ่านหนังสือสอบหรือทำงาน อาจจะจำสิ่งต่างๆได้ตามปกติในช่วงสั้นๆ แต่เพียงไม่นานความรู้ที่ได้มาก็มักจะหายไปอย่างรวดเร็ว เพราะมันไม่ได้ถูกบันทึกลงไปในความทรงจำระยะยาวอย่าง
สมบูรณ์นั่นเอง
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าช่วงเวลานอนคือหนึ่งในช่วงเวลาที่สมองทำงานหนักที่สุด ซึ่งตรงกันข้ามกับที่เรามักเข้าใจกัน
และในขณะที่สมองกำลังจัดระเบียบและเคลื่อนย้ายภาพต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตอย่างขยันขันแข็ง เราก็รับรู้ความโกลาหลที่กำลังเกิดขึ้นในรูปแบบของ "ความฝัน" นั่นเอง
แหล่งข้อมูล : หนังสือขุนเขาเกาสมอง
ผู้เขียน ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร
โฆษณา