1. หลักสูตรทหารเสือราชินี
หลักสูตรนี้ใช้เวลาฝึกทั้งสิ้นประมาณ 16 สัปดาห์ โดยแบ่งช่วงการฝึกไว้ คือการปรับสภาพร่างกายและจิตใจ เตรียมร่างกายให้พร้อมในการฝึกภาคต่อๆ ไป ระยะเวลา 4 สัปดาห์,การฝึกภาคป่า-ภูเขา ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ,การฝึกภาคทะเล ระยะเวลา 3 สัปดาห์ ,การฝึกภาคปฏิบัติการในเมือง ระยะเวลา 3 สัปดาห์ เน้นการปฏิบัติในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง ต่อต้านการก่อการร้ายสากลและการฝึกภาคอากาศ ระยะเวลา 2 สัปดาห์
2. หลักสูตรการรบแบบจู่โจม (แรงเยอร์) หรือ เสือคาบดาบ
หลักสูตรการรบแบบจู่โจม หรือ เสือคาบดาบเป็นหลักสูตรหลักของกองทัพบก เน้นการลาดตระเวณ ระดับหมู่ ประกอบด้วย ภาคที่ตั้ง ภาคป่าเล็กหรือป่าราบ ภาคทะเล ภาคป่าภูเขา ถือว่าเป็นหลักสูตร ที่เป็นทีหมายปองสำหรับ ทหารหารทั้งหลาย ว่าซักครั้งในชีวิตต้องเอามาประดับบ่าเบื้องขวาให้ได้
ระยะเวลา 10 สัปดาห์ ประมาณ 3 เดือน
3. หลักสูตรลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกและจู่โจมนาวิกโยธิน (Recon)
เชื่อแน่ว่าคงไม่มีไคร ไม่รู้จักหลักสูตรนี้ครับ recon ชื่อเต็มๆ คือ หลักสูตรลาดตะเวนสะเทินน้ำสะเทินบกและจู่โจมนาวิกโยธิน กองทัพเรือ สังกัดกองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรตัวท๊อป หลักสูตรหนึ่ง ของประเทศไทย และเป็นของกองทัพเรือ ระยะการฝึก 3 เดือน แบ่งออกเป็น 3 ภาค ครับภาคที่ตั้ง ภาคทะเล และภาคป่าภูเขา ลักษณะการฝึกจะคล้ายๆกับ จู่โจมของทหารบก แต่จะมีภาคน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะเกณฑ์ผ่านที่ท้าทายคือ ว่ายน้ำกลางคืนและว่ายน้ำ 5 ไมล์ทะเล
การพีที ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก…เป็นหลักสูตรวัดใจอีกหลักสูตร
ระยะการฝึก 3 เดือน
4. หลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม หรือ มนุษย์กบ (seal )
สุดยอดหลักสูตรรบพิเศษ…ที่ให้ดีกรี อันดับหนึ่งตลอดกาลของรบพิเศษไทย
ด้วยระยะการฝึก ถึง 7 เดือนครึ่ง (ประมาณ 8 เดือน) ประกอบกับความเข็มข้นในการรบทุกรูปแบบ ทั้งฟ้า ฝั่ง หลักสูตรนี้นำรูปแบบมาจากรูปแบบการฝึกของสหรัฐอเมริกา เดิมทีเป็นหลักสูตรทีมทำลายใต้น้ำ UDT (Underwater Demolition Team) ต่อมาสหรัฐต้องการให้หน่วยนี้ ปฏิบัติงานให้มีขอบเขตกว้างขวางมากขึ้น จึงพึ่งหลักสูตรการรบแบบ 3 มิติ น้ำ ฟ้า ฝั่ง จึงเพิ่มการฝึกแบบ Seal เข้าไป (SEa Air Land )
5. หลักสูตรปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน (COMMANDO & Pj & CCT )
คอมมานโด ทอ. หรือ pj anti hi – jack เป็นคำพูดติดหูสำหรับหลักสูตร ปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน ด้วยรูปแบบการฝึกการ ต่อต้านการก่อวินาศกรรมบนเครื่องบิน และต่อต้านการก่อการร้าย สากล ทำให้หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อพัฒนากำลังพล เพื่อใช่ในการปฏิบัติการพิเศษ บนอากาศยานและตัวเครื่องบิน เป็นหลักสูตรตัวท๊อปของ ทัพฟ้าเลยทีเดียว
ระยะการฝึก 6 เดือน
6. หลักสูตร ช่วยเหลือและค้นหาผู้ประสบภัย. ( rescue ) หรือ มนุษยกบตำรวจ
หลักสูตร Sea Air Rescue หรือกู้ภัย 3 มิติ (มนุษย์กบตำรวจ) ถือเป็นหลักสูตรรบพิเศษทางน้ำ
ของตำรวจพลร่ม จสต.พลาม เขียนเอาไว้ในหนังสือหลักสูตรรบพิเศษที่แกเขียนว่า เป็นหนักสูตรที่หนักที่สุดของตำรวจ ความหนักหนาเทียบเท่ากับรีคอนของนาวิกโยธินเลยทีเดียว คนจบน้อยมาก เพียงแต่การฝึกหลักสูตรนี้จะเน้นไปด้านการกู้ภัยและกู้ชีพในทุกสภาวะการ จะมีภาคการรบพิเศษหรือปฎิบัติการพิเศษอยู่หน่อยนึง ในขณะที่รีคอนเน้นไปทางด้านการรบพิเศษของทหารแบบร้อยเปอร์เซ็น
7. หลักสูตรต้านก่อการร้าย (นเศวร 261 และ อรินทราช 26)
หลักสูตรอันลือชื่อตัวท๊อปของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มักจะถูกเรียกติดปากว่า หลักสูตร อินทราช 26 ซึ่งความจริงแล้วชื่อเต็มๆ ของมันคือ หลักสูตร ต่อต้านก่อการร้าย โดยจะฝึกให้กับกำลังพลของ หน่วยนเรศวร 261 ค่ายนเรศวร และ หน่วยอรินทราช 26 ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบให้ หน่วยอรินทราช 26 รับผิดชอบพื้นที่ ในกทม และ หน่วยนเรศวร 261 รับผิดชอบ พื้นที่ทั่วประเทศหลักสูตรดังกล่าว ปัจจุบัน เปิดทำการอบรมที่ ค่ายนเรศวรเป็นหลัก เว้นแต่ว่า หน่วยอรินทราชจะมีกำลังมาใหม่และเพียงพอ ถึงจะเปิดฝึกเอง ระยะเวลากว่า 4 เดือนเศษ สำหรับหลักสูตรต่อต้านก่อการร้าย หล่อหลอมให้ตำรวจ กลายเป็นตำรวจรบพิเศษ ได้เลยทีเดียว
ระยะเวลา 4 เดือนเศษ
8. หลักสูตรเก็บกูวัตถุระเบิด eod (ทั้ง 4 เหล่าทัพ)
กองทัพบก เรียก หลักสูตรนักทำลายล้างวัตถุระเบิด
กองทัพเรือ เรียก หลักสูตรถอดทำลายอมภัณฑ์กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ เรียก หลักสูตรนักทำลายล้างวัตถุระเบิดกองทัพอากาศ
สำนักงานตำรวจแห่งขาติ เรียก หลักสูตรเก็บกู้วัตถุระเบิด
เมื่อเอ่ยคำว่า eod ในหมู่ทหารตำรวจ คงจะคุ้นหูกันดีกว่า เป็นหน่วยเก็บกู้ระเบิดของแต่ละเหล่าทัพ
แม้จะเป็นหลักสูตรที่ไม่หนักมาก เน้นการอบรม และฝึกเทคนิคทางยุทธวิธี ในการเก็บกูวัตถุระเบิดซะมากกว่าแต่ก็มีความจำเป็นอย่างมากที่ หน่วยรบพิเศษ ต้องมีติดตัว โดยเฉพาะนักล่าเครื่องหมายของแต่ละเหล่า มีความใฝ่ฝันที่จะสอยเอามาประดับบนบ่า เพื่อเสริมเขียวเล็บในการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย
ระยะห่วงการฝึก 3 เดือน (แล้วแต่เหล่า)