การบรมราชาภิเษก ๒ ตำรา
.
ดังที่มีการประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในระหว่างวันที่ ๓-๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านมานั้น โครงหลักการประกอบพระราชพิธี คือ
.
๑. การรับน้ำสหัสธาราสรงมุรธาภิเษก พระที่นั่งกระยาสนาน
๒. การรับน้ำอภิเษกจากพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาส์น
๓. การเสด็จประทับขั้นพระที่นั่งภัทรบิท
๔. การเสด็จประทับขึ้นพระที่นั่งเศวต
.
ทั้งนี้แล้วสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตรัสว่าในเรื่องดังกล่าวนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริถึงโครงสร้างของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่าประกอบไปด้วย ๒ ตำราผสมกัน คือ พระราชพิธีอย่างน้อย กับ พระราชพิธีอย่างใหญ่ กล่าวคือ
.
๑. พระราชพิธีอย่างน้อยประกอบไปด้วยการรับน้ำอภิเษกจากพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาส์นโดยพราหมณ์แล้วเสด็จประทับขั้นพระที่นั่งภัทรบิท
๕. พระราชพิธีอย่างใหญ่ ประกอบด้วย การรับน้ำสหัสธาราสรงมุรธาภิเษก พระที่นั่งกระยาสนานซึ่งตรงนี้ก็ได้รับน้ำอภิเษกจากพราหมณ์อยู่ด้วยแล้ว และเสด็จประทับขึ้นพระที่นั่งเศวต
.
สำหรับการเขย่งของพระราชพิธีอันเป็น ๒ ตำรานั้นคาดว่าจะได้รับตำราเมื่อครั้งกรุงเก่า เนื่องจากตลอดระยะเวลา ๔๑๗ ปีที่กรุงศรีอยุธยานั้นเป็นราชธานี มีการผลัดเปลี่ยนในกลุ่มพระราชวงศ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก บางระยะเวลาก็เตรียมการไม่ทันหรือรีบประกอบพระราชพิธี จึงได้มีการประกอบพระราชพิธีในรายละเอียดที่แตกต่างกัน เช่น การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกไม่จำเป็นต้องพ่วงการพระราชพิธีเฉลิมพระมหามณเฑียร หรือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายการแก่งแย่งชิงราชสมบัติกันทำให้ไม่สามารถประทับพระที่นั่งอัฐทิศได้ก็ไม่ประทับ เป็นต้น ต่อเมื่อมีการรวบรวมตำราพระราชพิธีเก่าสมัยพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรกอปรกับคำให้การของเจ้านายนำโดยเจ้าฟ้าพินทวดี และกลุ่มพรามหณ์จึงได้พระราชพิธีออกมาทั้งสองตำรา
.
ครั้นจะละเลยตำราใดตำราหนึ่งก็เกรงว่าจะไม่ครบถ้วนจึงได้นำทั้งสองตำรานำมาผสมผสานกันตามอย่างที่เห็นในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ผ่านมา นอกจากนี้ในแต่ละรัชกาลก็ยังมีการปรับลดเพิ่มรายละเอียดเนื้อหาในพระราชพิธีในแต่ละราชการให้เหมาะสมกับสมัยกาล
.
แหล่งอ้างอิง พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๕